วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การใช้ไส้เดือนเป็นทางเลือกใหม่ของการผลิตอาหารสัตว์

                การใช้แมลงเป็นทางเลือกสำหรับการผลิตอาหารสัตว์กำลังได้รับความสนใจในการวิจัยขณะนี้ ตั้งแต่แมลงวันไปจนถึงตัวอ่อนของแมลง ทางเลือกใหม่นี้อาจเป็นคำตอบสำหรับราคาอาหารสัตว์ที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน  ไส้เดือนกำลังได้รับการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้สามารถเป็นแหล่งอาหารสัตว์ทางเลือกใหม่ได้ นอกจากนั้น ของเสียจากการผลิตยังสามารถใช้เป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพสูงได้ เป็นประโยชน์แบบชนะ ชนะ ในครั้งเดียว
                เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ย และของเสียทุกชนิด เช่น ของเสียจากมนุษย์ ปัสสาวะของสัตว์ในฟาร์มของตน เพื่อปรับปรุงการผลิตทั้งฟาร์มโคนม สัตว์ปีก และปลา ซึ่งใช้อาหารสัตว์ที่เตรียมมาจากวัตถุดิบที่หลากหลาย เช่น รำข้าว แกลบ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปจึงได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ในการใช้ไส้เดือนเป็นอาหารสัตว์  นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตร Makaree (MUARIK) เริ่มเลี้ยงไส้เดือนเป็นโปรแกรมสำหรับการจัดการมูลสัตว์ที่ผ่านการหมักย่อยด้วยแมลง โดยผสมรำบดกับอาหารเหลือ และน้ำเพื่อเป็นอาหารให้กับไส้เดือน โดยโครงการวิจัยนี้ได้เริ่มขึ้นมาราวหนึ่งปีแล้ว เป็นความท้าทายต่อปัญหาราคาอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น และการใช้ของเสียอินทรีย์โดยเกษตรกรเพื่อเพาะปลูกพืช ไส้เดือนใช้เวลา ๑ เดือนสำหรับการผลิตปุ๋ย แต่วงชีวิตของไส้เดือนยาวนานถึง ๒ ปี ไส้เดือนจะไม่วางไข่ แต่สร้างเป็นรังไหมดิบ ซึ่งจะฟักออกมาหลังจากที่รังไหมดิบนี้เจริญสมบูรณ์เต็มที่ ทำให้สร้างเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก และปลา สามารถให้ไก่ และปลากินไส้เดือนเป็นๆ หรือเก็บเกี่ยวไส้เดือน แล้วผสมกับอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ปลาบด รำ และข้าวเปลือกสำหรับกการผลิตอาหาร เกษตรกรสามารถทดลองเลี้ยงไส้เดือนเป็นธุรกิจเสริม เนื่องจาก ไม่ต้องใช้แรงงานมาก ดังนั้น เกษตรกรผู้เพาะปลูกพืช และเลี้ยงไก่ และปลา สามารถได้รับผลตอบแทนจากทั้งสองธุรกิจ เนื่องจาก ของเสียจากไส้เดือนสามารถใช้เป็นปุ๋ยได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชให้สูงขึ้น และใช้ไส้เดือนเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เป็นแหล่งโปรตีนต่อไปได้    
แหล่งที่มา             Daily Monitor    

หวัดนกหยุดการจำหน่ายไก่ในเนปาล

การจำหน่ายไก่ในเนปาลได้หยุดลงชั่วคราวภายหลังคนงานติดเชื้อหวัดนกหลายฟาร์มใกล้กับเมืองหลวงกาตมันธุ  
เจ้าพนักงานรัฐได้บังคับการห้ามการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกเป็นเวลา ๑ สัปดาห์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส H5N1 สู่มนุษย์ อย่างไรก็ตามอาจมีการยืดเวลาการบังคับใช้คำสั่งนี้ต่อไปอีกหากไม่สามารถควบคุมเชื้อไวรัสไว้ได้ภายในสัปดาห์นี้ โดยการบังคับใช้กฏระเบียบในตลาดมีความเข้มงวดอย่างมาก ขณะนี้ ได้มีการทำลายไก่ไปแล้ว ๒๐,๐๐๐ ตัว และทำลายไข่ไปแล้ว ๑๒,๐๐๐ ฟอง ในฟาร์ม ๓๐ แห่งที่มีการระบาดครั้งล่าสุดเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา

แหล่งที่มา             World Poultry (2/8/13)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...