วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ผลการวิจัย กัมโบโรในเดนมาร์ก


วารสารวิชาการพยาธิวิทยาสัตว์ปีก รายงานการวิจัยภาคสนาม และภาคห้องปฏิบัติการหลังใช้วัคซีนกัมโบโรชนิดปานกลางในเดนมาร์ก ยืนยันว่า การใช้เทคนิคเทคนิค อาร์ที-พีซีอาร์ แล้วตรวจลำดับสารพันธุกรรมยังเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการตรวจคัดกรองการระบาดของโรคกัมโบโรชนิดความรุนแรงสูงในฟาร์ม
               ประเทศเดนมาร์กยังคงมีการระบาดของโรคกัมโบโรชนิดความรุนแรงสูง หรือวีวีไอบีดีมาหลายปีติดต่อกัน รายงานการระบาดครั้งแรกๆ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีรายงานการระบาดของโรคกัมโบโรชนิดรุนแรงสูง หรือวีวีไอบีดี ในเดนมาร์กทั้งหมด ๔๓ ราย คิดเป็นสัดส่วนราว ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของฟาร์มไก่เนื้อในประเทศ โดยหนึ่งในสามของฟาร์มที่เกิดโรคระบาด ให้วัคซีนเชื้อเป็นชนิดปานกลาง ๒ ครั้งคิดเป็น ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ๑ ครั้งคิดเป็น ๔๐ เปอร์เซ็นต์ การระบาดครั้งนี้เชื่อว่ามีสาเหตุมาจากระดับภูมิคุ้มกันจากแม่ที่สูงมากในวันที่ให้วัคซีนจนรบกวนการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจากการให้วัคซีน หรือเทคนิคการให้วัคซีนที่ไม่เหมาะสมจนส่งผลต่อการให้วัคซีนได้ไม่ทั่วถึง หรือเชื้อกลายพันธุ์ใหม่อุบัติขึ้น
รายงานการวิจัยล่าสุดตีพิมพ์ในวารสารพยาธิวิทยาสัตว์ปีกฉบับล่าสุด ประเทศเดนมาร์กมีการระบาดของโรคกัมโบโรชนิดรุนแรงสูง การใช้คะแนนรอยโรคที่ต่อมเบอร์ซาทางจุลพยาธิวิทยา (HBLS) ใช้เป็นเกณฑ์การคัดกรองสำหรับจำแนกฟาร์มที่ให้วัคซีนกัมโบโรแล้วเกิดการติดเชื้อจากพื้นที่ สังเกตพบว่า รอยโรครอยโรคสูงในสัดส่วนที่สูงในฟาร์มที่สุขภาพดี ผลการเลี้ยงดี โดยไม่มีสัญญาณใดบ่งชี้ว่า เกิดโรคกัมโบโรชนิดรุนแรงมาก ผลการตรวจสอบด้วยเทคนิค อาร์ที-พีซีอาร์ แล้วตรวจลำดับสารพันธุกรรมแสดงให้เห็นว่า สายพันธุ์ของเชื้อกัมโบโรที่พบได้บ่อย ได้แก่ เอช ๒๕๓ คิว และเอช ๒๕๓ เอ็น มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมใกล้ชิดกับลำดับของสารพันธุกรรมจากวัคซีนกัมโบโรชนิดปานกลางโดยมีอัตราความเสี่ยงสัมพัทธ์เป็น ๑๓.๐ (p<0.0001) ในฟาร์มที่ให้วัคซีนชนิดปานกลาง เอ หรือบีเปรียบเทียบกับฟาร์มที่ไม่ให้วัคซีน
               ความสัมพันธ์ของสายพันธุ์เอช ๒๕๓ คิว และเอช ๒๕๓ เอ็น ถูกนำมาประเมินภายใต้สภาวะการทดลองโดยใช้แผนการทดลองที่ประยุกต์มาจากยูโรเปียน ฟาร์มาโคเปีย เพื่อทดสอบความปลอดภัยของวัคซีนกัมโบโรเชื้อเป็น ผลการทดลองยืนยันว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวก่อโรคได้รุนแรงกว่าวัคซีนชนิดปานกลาง และส่งผลลบต่อการตอบสนองของแอนติบอดีต่อการให้วัคซีนนิวคาสเซิลในกลุ่มที่ต่อมเบอร์ซาถูกทำลายมากที่สุด  ประสิทธิภาพของการให้วัคซีนนิวคาสเซิลยังเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์เอช ๒๕๓ คิว และเอช ๒๕๓ เอ็น อาจใช้พัฒนาเป็นเชื้อไวรัสวัคซีนที่มีความปลอดภัย
               โดยสรุป การใช้คะแนนรอยโรคที่ต่อมเบอร์ซาทางจุลพยาธิวิทยาเพื่อตรวจคัดกรองฟาร์มไก่เนื้อเชิงพาณิชน์ที่ให้วัคซีนกัมโบโรชนิดปานกลาง สำหรับการปรากฏของเชื้อไวรัสกัมโบโรชนิดรุนแรงสูง ไม่น่าจะเป็นวิธีการที่น่าเชื่อถือได้ เนื่องจาก การปรากฏของว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์เอช ๒๕๓ คิว และเอช ๒๕๓ เอ็น ในฟาร์ม สำหรับการตรวจคัดกรองฟาร์มที่ให้วัคซีนกัมโบโรว่า มีการปรากฏของเชื้อไวรัสกัมโบโรชนิดรุนแรงสูง การใช้เทคนิคเทคนิค อาร์ที-พีซีอาร์ แล้วตรวจลำดับสารพันธุกรรมยังเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด

เอกสารอ้างอิง
Olesen et al. 2018. Field and laboratory findings following the large-scale use of intermediate type infectious bursal disease vaccines in Denmark. Avian Pathol. 47(6): 595-606.    


วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วัคซีนบีซีโอ พยายามแล้วแต่ไม่สำเร็จ


ผลการวิจัยพยายามพัฒนาวัคซีนเชื้อตายชนิดโพลีวาเลนท์สำหรับป้องกันโรคจากเชื้อ เอนเทอโรคอคคัส ซีโครัม ไม่สามารถป้องกันโรคในลูกไก่ได้จากปัญหาไขสันหลังอักเสบจากการติดเชื้อเอนเทอโรคอคคัสได้
               เชื้อก่อโรค เอนเทอโรคอคคัส ซีโครัม เป็นสาเหตุของอาการอัมพาตในไก่เนื้อ เนื่องจากการติดเชื้อที่กระดูกสันหลังส่วนอกที่เคลื่อนที่ได้เป็นอิสระเป็นจุดอ่อนทางวิวัฒนาการตั้งแต่สมัยยุคสมัยบรรพกาล ดรคนี้มีสาเหตุมาจากเชื้อ อี. ซีโครัม รู้จักกันดีกันในวงการวิชาการว่า ไขสันหลังอักเสบจากการติดเชื้อเอนเทอโรคอคคัส (Enterococcal spondylitis)” หรือ คิงกี้-แบค์ (Kinky back)” ยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของความเสียหายในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อทั่วโลก การเกิดโรคนี้มีเหตุมาจากเชื้อ อี. ซีโครัม เริ่มจากการสร้างนิคมในทางเดินอาหาร และติดเชื้อในกระแสเลือดปรากฏขึ้นในช่วงสามสัปดาห์แรกของชีวิต ในเวลานี้ ภูมิคุ้มกันจากแม่จากการให้วัคซีนในไก่พันธุ์ชนิดโพลีวาเลนท์ ควรจะป้องกันลูกไก่ได้จากการให้เชื้อพิษทับ
               คณะผู้วิจัยจึงนำเชื้อ อี. ซีโครัม ก่อโรคจาก ๗ จีโนไทป์ที่มีการระบาดในสหรัฐฯ เพื่อผลิตเป็นวัคซีนเชื้อตาย หรือแบคเทอริน ฉีดให้กับแม่ไก่พันธุ์ พบว่า การใช้สายพันธุ์เดี่ยวไม่สามารถกระตุ้นแอนติบอดีระดับสูงต่อสายพันธุ์อื่นๆได้ อย่างไรก็ตาม การเตรียมวัคซีนโดยใช้เชื้อหลายสายพันธุ์ร่วมกันตั้งชื่อเป็น เอสเอ ๓ และเอสเอ ๗ สามารถต้านทานต่อเชื้อทุกจีโนไทป์ได้ การให้วัคซีนกับแม่ไก่พันธุ์เนื้อโดยใช้แบคเทอรินที่ประกอบด้วยเชื้อเอสเอ ๓ และเอสเอ ๗ ไม่มีผลข้างเคียง แม่ไก่ที่ให้วัคซีนสามารถพัฒนาแอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อ อี. ซีโครัม ได้ ไม่พบความแตกต่างของอัตราการรอดชีวิตในลูกไก่ที่ติดเชื้อจากแม่ไก่ที่ให้วัคซีน หรือกลุ่มควบคุมที่ใช้แอดจูแวนท์ฉีดเข้าไปแทน ลูกไก่จากแม่ไก่ที่ให้วัคซีนไม่สามารถต้านทานโรคจากการป้อนเชื้อพิษทับด้วยสายพันธุ์เดียวกัน หรือต่างสายพันธุ์ระหว่างการทดลอง ในการทดสอบการฆ่าเชื้อด้วยมาโครฝาจ (Macrophage killing assay) พบว่า เชื้อ อี. ซีโครัม สามารถหลบหลีกกระบวนการเก็บกิน และแอนติบอดีที่สูงขึ้นได้ ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า เชื้อ อี. ซีโครัม มีกลไกก่อความรุนแรงของโรคได้ โดยการต่อต้านกระบวนการเก็บกินที่อาศัยแอนติบอดีจนทำให้การพัฒนาวัคซีนต่อเชื้อนี้ในไก่เนื้อ ยังไม่ประสบความสำเร็จ      
 เอกสารอ้างอิง
Borst et al. 2018. Vaccination of breeder hens with a polyvalent killed vaccine for pathogenic Enterococcus cecorum does not protect offspring from Enterococcal spondylitis. Avian Pathol.  

ภาพที่ ๑ ไขสันหลังอักเสบจากการติดเชื้อเอนเทอโรคอคคัสเป็นโรคอุบัติใหม่ในการเลี้ยงไก่เนื้อที่กำลังเป็นที่สนใจในวงการวิชาการอย่างกว้างขวาง (แหล่งภาพ Talebi et al. 2016)



ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...