วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ไต้หวันแบนเนื้อวัวสหรัฐฯ



องค์การอาหาร และยาไต้หวันตรวจพบยา Zilpaterol ที่ใช้เป็นสารเติมอาหารสัตว์ในเนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐฯ ทำให้ต้องเพิ่มการตรวจสอบเนื้อนำเข้าจากสหรัฐฯอย่างเข้มงวด
                ตัวอย่างเนื้อดังกล่าวถูกพบในร้านอาหารของบริษัท Wowprime Corp. ผู้จำหน่ายอาหาร และผู้ประกอบการบริการอาหาร บริษัทได้ทำลายเนื้อวัวที่มีปัญหาทั้งหมด ๒๐๓ กิโลกรัม ปัจจุบัน ประเทศย่านเอเซีย และยุโรปได้สั่งห้ามการใช้สารเติมอาหารสัตว์ เช่น Zilpaterol เนื่องจากผลข้างเคียงของยาที่ตกค้างต่อสุขภาพผู้บริโภค ขณะเดียวกัน เจ้าพนักงานรัฐในเกาหลีใต้ก็ได้สั่งห้ามนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐฯที่จัดจำหน่ายโดย Greeley, Colo.-based JBS หลังจากตรวจพบ Zilpaterol ในเนื้อเช่นกัน
                สำหรับ Zilpaterol เป็นข่าวมาตั้งแต่บริษัท Springdale อันเป็นบริษัทลูกของไทสันฟู้ดส์ในรัฐอาร์คันซอ ประกาศหยุดการซื้อวัวที่ให้ยา Zilpaterol เนื่องจาก สารเติมอาหารสัตว์ชนิดนี้เป็นสาเหตุของอาการขาเสีย และส่งผลลบต่อคุณภาพเนื้อวัว บริษัท Merck Animal Health ผู้ผลิต Zilmax (Zilpaterol hydrochloride) ได้หยุดจำหน่ายสินค้าตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา และประกาศว่า จะทำการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ต่อไป  
                สารเติมอาหารสัตว์ Zilmax (Zilpaterol) เป็นสารเร่งเนื้อแดงชนิดใหม่ในกลุ่มเบต้า อะโกนิสต์ ช่วยเร่งเผาผลาญไขมัน และทำให้กล้ามเนื้อขยายใหญ่ นิยมใช้ติดต่อกันหลายวันโดยเฉพาะในระยะขุนก่อนส่งตลาด สำหรับประเทศไทย พรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๒ ห้ามใช้ในการเป็นส่วนผสมในการผลิต และนำเข้า สำหรับประเทศไทย Zilmax อาจไม่เป็นที่คุ้นหูมากนัก สารเบต้า อะโกนิสต์ที่เป็นที่รู้จักกันดีในบ้านเราคือ Clenbutarol และ Salbutamol หวังว่า ยาชนิดใหม่นี้จะไม่เข้ามาทำลายปศุสัตว์ของประเทศไทยอีก    
แหล่งที่มา             Meat &Poultry (30/10/13)

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ไวรัส PEDV ระบาดเป็นครั้งแรกในเคนตักกี



รัฐเคนตักกียืนยันการตรวจพบเชื้อไวรัส Porcine Epidemic Diarrhea Virus (PEDV) เป็นครั้งแรก 
              เชื้อไวรัสชนิดนี้พบเป็นครั้งแรกในสหรัฐฯช่วงฤดูใบไม้ผลิตของปี ค.ศ.๒๐๑๓ ได้รับการยืนยันแล้ว ๑๘ รัฐ ตามรายงานจากเครือข่ายห้องปฏิบัติการด้านสุขภาพสัตว์ระดับชาติทั้งหมด ๒๔ ฉบับระหว่างวันที่ ๒๒ เดือนกันยายนจนถึง ๑๙ ตุลาคมที่ผ่านมา เคนตักกีได้รับการยืนยันแล้ว ๑ ราย ระหว่างวันที่ ๖ ถึง ๑๓ ตุลาคมที่ผ่านมา รวมแล้วขณะนี้ มีการระบาดไปแล้วทั้งหมด ๘๒๘ ราย ส่งผลให้ลูกสุกรมีอัตราการตายถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์โดยไม่มีวิธีการรักษา โดย ๑๑ ราย ไม่สามารถเชื่อมโยงไปยังรัฐที่เคยมีการระบาดก่อนหน้านี้ได้  
แหล่งที่มา             WATTAgNET.com (25/10/13)

แก้ไขกฏหมายยุโรปให้ใช้แมลงในอาหารสัตว์



กระแสความสนใจในการใช้แมลงเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนในอาหารสัตว์ทำให้โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปชื่อว่า PROteINSECT ร่วมกับสหราชอาณาจักรโดย FERA (The Food and Environment Research Agency) ร่วมกันทำงานอย่างหนักเพื่อให้มีการแก้ไขกฏหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน
                กฏหมายสหภาพยุโรปในปัจจุบันยังเป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนาการผลิตระดับใหญ่ ขณะที่ ความมั่นคงทางอาหารทำให้ทุกคนต้องตระหนักถึงการแสวงหาแหล่งโปรตีนทดแทนสำหรับใช้ในอาหารสัตว์ แมลงกำลังเป็นที่ยอมรับกันในฐานะที่เป็นโปรตีนทดแทนที่วิเศษยิ่ง หลายชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการ และการผลิตแมลงยังสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยเปรียบเทียบกับโปรตีนอาหารสัตว์ทั่วไป
                นอกจากนั้น แมลงยังเป็นแหล่งโปรตีนที่สามารถเลี้ยงให้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ของเสีย เช่น ผัก ของเสียจากสัตว์ และมนุษย์ ลดปริมาณขยะลงได้ประมาณ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่หลงเหลืออยู่จากการใช้ยังสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้เป็นปุ๋ยต่อไปได้ แต่ในปัจจุบัน กฏหมายสหภาพยุโรบยังห้ามการผสมโปรตีนใดๆจากแมลงในอาหารสัตว์ ยกเว้น ใช้สำหรับเป็นอาหารปลา หรือหอย อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานสนับสนุนความปลอดภัยของโปรตีนจากแมลงเพิ่มขึ้นจากงานวิจัยตามโครงการ ProteINSECT ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปทำให้เป็นความหวังต่อไปว่า โปรตีนจากแมลงจะอนุญาตให้ใช้ในอาหารสุกร และสัตว์ปีกในอนาคต โดยเฉพาะ สัตว์เหล่านี้ก็ได้กินแมลงตามธรรมชาติเป็นประจำอยู่แล้ว ขณะนี้ผู้ประสานงานโครงการกำลังพยายามเสนอแก้ไขกฏหมายสหภาพยุโรป เพื่อให้สามารถใช้โปรตีนจาแกมลงผสมในอาหารสุกร และสัตว์ปีกได้เช่นเดียวกับปลา เพื่อเสริมสร้างความมั่งคงทางอาหาร ความปลอดภัย และคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ สำหรับการผลิตอาหารคุณภาพให้มนุษย์บริโภค และรักษาสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีข้อมูลสนับสนุนด้านความปลอดภัยจากวัสดุที่ใช้ผลิตแมลง เช่น ผัก ของเสียจากสัตว์ และมนุษย์ และขณะนี้ โครงการกำลังสำรวจประชาพิจารณ์ทางเวบไซต์เพื่อประกอบการนำเสนอ
                วัตถุดิบอาหารสัตว์เป็นคอขวดที่สำคัญของการเพิ่มกำลังการผลิตปศุสัตว์ และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นแหล่งโปรตีน ประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าเกือบทั้งหมด โครงการนี้จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่จำเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างประสบการณ์การเลี้ยงแมลงท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมพร้อมทั้งการเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี และสามารถใช้กำจัดขยะ และของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมๆกันในระดับอุตสาหกรรม นับเป็นโจทย์วิจัยที่น่าสนใจไม่น้อย ผู้ประกอบการใดเริ่มต้นก่อนก็จะสร้างความได้เปรียบในการผลิตมากเท่านั้น และเมื่อสหภาพยุโรปแก้ไขกฏหมายเรียบร้อยแล้ว เราอาจเห็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนจากแมลงมาแข่งขันในตลาดโลก
แหล่งที่มา             AllAboutFeed (18/10/13)

ซัลโมระบาดในสหรัฐฯป่วยสามร้อยราย



การระบาดเชื้อซัลโมเนลลาที่เชื่อมโยงกับเนื้อไก่ดิบในสหรัฐฯได้แพร่กระจายไปยัง ๒๐ มลรัฐ และเปอร์โตริโก้ จนถึงตอนนี้มีผู้ป่วยมากกว่า ๓๐๐ ราย ตามรายงานของ CDC
                ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ๗๓ เปอร์เซ็นต์อยู่ในแคลิฟอร์เนีย จนถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ
                การระบาดครั้งนี้เชื่อมโยงไปถึงไก่จากโรงเชือดของฟาร์มฟอสเตอร์ในแคลิฟอร์เนียกลาง ซึ่งได้เตือนให้บริษัทส่งแผนการปรับกระบวนการฆ่า และแปรรูปให้กับ USDA   
                แต่ที่ผ่านมา USDA และกระทรวงสาธารณสุขรัฐแคลิฟอร์เนียยืนยันว่า สินค้าจากฟาร์มฟอสเตอร์มีความปลอดภัยเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีกอื่นๆในสหรัฐฯ เมื่อมีการเตรียม และปรุงสุกอย่างถูกต้อง เจ้าพนักงาน USDA-FSIS ยังคงตรวจสอบ และรับรองความปลอดภัยไก่จากฟาร์มฟอสเตอร์เป็นประจำทุกวันในแต่ละโรงงาน ขณะเดียวกัน ฟาร์มฟอสเตอร์ก็ได้พยายามทำงานอย่างหนักเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นผู้บริโภคอีกครั้ง การระบาดครั้งนี้ พบเชื้อซัลโมเนลลา ไฮเดล์เบอร์ก ทั้งหมด ๗ สายพันธุ์ และหลายสายพันธุ์มีความต้านทานต่อยาปฏิชีวนะอย่างน้อยหนึ่งชนิด และมีหนึ่งสายพันธุ์ที่ต้านทานต่อยาห้าชนิดพร้อมกัน ปัจจุบัน การระบาดครั้งนี้กำลังเป็นที่จับตามองเนื่องจากความรุนแรงของเชื้อ โดย CDC รายงาน ๔๒ เปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นสองเท่าของการติดเชื้อซัลโมเนลลาทั่วไป
แหล่งที่มา             World Poultry (18/10/13)

สิงค์โปรยกเลิกแบนไก่ไทยแล้ว



สิงค์โปรอนุญาตให้มีการนำเข้าไก่แช่แข็งจากไทยแล้ว หลังจากแบนมาเป็นเวลานานเก้าปี
                การตัดสินใจยกเลิกการนำเข้าไก่ไทยเกิดขึ้นภายหลังการประชุมครั้งที่สามของ Singapore-Thai Enhanced Economic Relationship (Steer) ในประเทศสิงค์โปร์เมื่อเร็วๆนี้ โดยนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาลมั่นใจว่า ประเทศสิงค์โปร์เป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับสินค้าไก่ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ
                ประเทศสิงค์โปร์หยุดการซื้อไก่แปรรูป และแช่แข็งจากไทยภายหลังการระบาดโรคไข้หวัดนก ถึงตอนนี้ สิงค์โปร์มีความมั่นใจมากในการนำเข้าไก่แช่แข็งจากประเทศไทย เนื่องจาก การยอมรับมาตรฐานด้านสุขศาสตร์สูง ข้อตกลงใหม่นี้ช่วยให้การนำเข้าไก่แช่แข็งจากไทยเพิ่มขึ้นอีกมาก
                ตลาดส่งออกไก่สดแช่แข็งเปิดประตูกว้างอีกครั้ง ประเทศไทยได้ยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าจากไก่ และผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ความต้องการโปรตีนราคาถูกจากเนื้อไก่ยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป หลายประเทศกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การผลิตทั้งเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และการเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ให้กับประเทศ ประเทศไทยมีจุดแข็งในการผลิตสินค้ามาตรฐานที่ดี แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ต้องมีการวางแผนการจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อให้เพียงพอต่อการขยายกำลังการผลิตต่อไป
แหล่งที่มา             World Poultry (28/10/13)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...