วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รณรงค์ลดเชื้อดื้อยา เพื่อสุขภาพไก่ และความรับผิดชอบต่อสังคม

ความเชื่อมโยงระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ปศุสัตว์ และการดื้อยาเป็นประเด็นสำคัญในด้านความปลอดภัยอาหาร และเป็นรับผิดชอบของสัตวแพทย์ ต่อสำนึกในความเสี่ยงที่จะสร้างเชื้อดื้อยาหลายชนิดพร้อมกันในนุษย์ และก็เป็นสำนึกของแพทย์ในการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ สั่งยาปฏิชีวนะเกินกว่าความจำเป็น และผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รับประทานยาจนครบกำหนด
               ศ. ฮาเฟซ หัวหน้าสถาบันโรคสัตว์ปีกที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน กล่าวว่า ยาต่อต้านจุลชีพเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับควบคุมโรคติดเชื้อแบคทีเรีย สิ่งนี้สร้างคามมั่นใจต่อสุขภาพไก่เพื่อให้เกิดสวัสดิภาพสัตว์ และลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยยาต้านชีพก็เป็นอาวุธสำคัญสุดท้าย การรักษาโดยปราศจากการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง การเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ขนาดยาที่ถูกต้อง ระยะเวลา และการตรวจติดตามที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ ในเยอรมัน กฏหมาย และการควบคุมโดยรัฐมีประสิทธิภาพในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์ม โดยจำเป็นต้องมีการให้ความรู้สัตวแพทย์ และเกษตร อย่างไรก็ตาม การสั่งให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นไปได้ยาก แต่ต้องมีการพัฒนาวิธีทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการต่อสู้การติดเชื้อแบคทีเรีย
               การควบคุมความผิดปรกติของทางเดินอาหาร ศ. ฮาเฟซ เน้นย้ำว่า มุมมองที่สำคัญของสุขภาพสัตว์ปีกในวันนี้คือ การควบคุมความผิดปรกติของลำไส้ จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารปรกติส่วนใหญ่ถูกปกป้องโฮสต์จากการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย (มีความต้านทานต่อการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย) แม้ว่า ความต้านทานต่อการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียจะลดลงภายหลังการให้ยาต่อต้านจุลชีพ เชื้อโรคหลายชิด เช่น ไวรัส แบคทีเรีย และปรสิตล้วนส่งผลต่อความผิดปรกติของลำไส้ไม่ว่าจะโดยลำพัง หรือร่วมกับจุลชีพอื่นๆ ความผิดปรกติของลำไส้อาจเป็นผลมาจากโรคไม่ติดเชื้อ ได้แก่ อาหาร และการจัดการ ภายใต้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นการยากที่จะเสาะหาสาเหตุที่แท้จริงของโรคความผิดปรกติของทางเดินอาหารว่ามาจากโรคติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อ นับตั้งแต่การยกเลิกการใช้ยาต่อต้านเชื้อจุลชีพเพื่อเร่งการเจริญเติบโต พบว่า คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์มีบทบาทสำคัญต่อความผิดปรกติของลำไส้ในสัตว์ปีก
               การวินิจฉัยโรคตั้งแต่เริ่มแรกเป็นกุญแจสำคัญ และยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคลำไส้อักเสบ โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ แล้วแก้ไขปัญหาอย่างทันเหตุการณ์ เช่น การปรับปรุงการจัดการ สูตรอาหารสัตว์ที่ดี และลดปริมาณเชื้อก่อโรคโดยอาศัยระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ รวมถึง การใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกอื่นๆเพื่อปรับสภาพจุลินทรีย์ในลำไส้ เช่น พรีไบโอติก โพรไบโอติก เอนไซม์ ผลิตภัณฑ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน กรด และน้ำมันที่จำเป็น ช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะ และลดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา นอกเหนือจาก การใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย

แหล่งที่มา:          Emmy Koeleman (21/10/15)

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ยุโรปเดินหน้าวิจัยหนอนแมลงวันมีชีวิตเลี้ยงไก่

การเลี้ยงไก่เนื้อทดลองแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆที่ใช้หนอนแมลงวันมีชีวิตที่อัตราส่วน ๕ ๑๐ หรือ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ ทดแทนโปรตีนจากถั่วเหลือง ๗๕ เปอร์เซ็นต์ คำถามวิจัยคือ ลูกไก่ยังสามารถเจริญเติบโตได้อย่างดีที่อัตราการเจริญเติบโตเหมาะสมหรือไม่เปรียบเทียบกับอาหารปรกติ และพิจารณาต่อไปว่า พฤติกรรมไกเนื้อดีขึ้นด้วยหรือไม่ เพื่อแสวงหาเทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
               การทดลองที่ ForFarmers ในเนเธอร์แลนด์ โดยใช้ไก่ทั้งหมด ๑,๐๐๐ ตัวแบ่งเป็น ๔ กลุ่มการทดลอง กลุ่มควบคุมใช้อาหารปรกติ ขณะที่ อีกสามกลุ่มที่เหลือใช้แมลงมีชีวิตในอัตราส่วน ๕ ๑๐ หรือ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ โดยใช้หนอนแมลงวันทหารดำ (Black soldier fly larva) โปรตีนสูงจากหนอนแมลงวันสามารถทดแทนโปรตีนจากถั่วเหลืองได้ถึง ๗๕ เปอร์เซ็นต์ โดยหนอนแมลงวันชนิดนี้กินอาหารจากทั้งพืช และสัตว์ จึงเลี้ยงง่าย ช่วยให้เกษตรกรมีผลกำไร และเป็นไปตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน หนอนแมลงวันเหล่านี้สามารถเพาะเลี้ยงจากของเสียในอุตสาหกรรมอาหาร ที่นอกเหนือจากการแปรรูปไปเป็นพลังงานชีวภาพแล้ว ยังจะสามารถนำมาใช้แปรรูปเป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย หากการวิจัยประสบความสำเร็จก็จะเป็นแหล่งทางเลือกของวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนอีกด้วย
               การใช้แมลงเป็นอาหารสัตว์นับว่าเป็นโภชนาการอาหารจากธรรมชาติ และเปิดโอกาสให้ไก่สามารถแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ ปัจจุบันพึ่งเริ่มนำร่องในฟาร์มขนาดเล็ก และคาดหวังว่า ในไม่ช้าจะมีการขยายผลไปยังฟาร์มเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์ แต่ต้นทุนขณะนี้ยังค่อนข้างสูงในระยะแรง หากผลการวิจัยเป็นไปในเชิงบวกก็จะเป็นการขยายผลเพื่อปรับหาวิธีการเลี้ยง และเพิ่มจำนวนที่เหมาะสมต่อไป อย่างน้อย การให้ไก่ได้แสดงพฤติกรรมการกินอาหารตามธรรมชาติ โดยเฉพาะ แมลงเป็นส่วนหนึ่งของอาหารสำหรับการเจริญเติบโตก็น่าจะช่วยให้พวกเขาสามารถแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้
               สำหรับ ForFarmers ปรารถนาจะเป็นผู้นำการผลิตอย่างยั่งยืน โดยการสร้างความสมดุลทั้งเศรษฐกิจ และการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนโดยการผลิตอาหารสัตว์ที่ประสิทธิภาพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สัตว์ใช้อาหารส่งเสริมสุขภาพที่ดี และวิถีชีวิตที่ดี เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร

แหล่งที่มา:          Fabian Brockotter (17/9/15)


ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...