วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566

๑๐๐ องศาฟาเรนไฮต์เป็นตัวเลขมหัศจรรย์ในโรงฟัก

 โรงฟักมีบทบาทสำคัญต่อคุณภาพลูกไก่แรกเกิด และผลผลิตของสัตว์ปีกในช่วงสัปดาห์แรก นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยวาเคอนิงเงิน ค้นพบปัจจัยที่น่าสนใจที่อาจส่งผลให้ไก่เนื้อรับมือกับโรคติดเชือ้ได้ เช่น โรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตาย และโคลัยบาซิลโลซิส นั่นคือ การรักษาอุณหภูมิที่ผิวเปลือกไข่ไว้ที่ ๑๐๐ องศาฟาเรนไฮต์ หรือ ๓๗.๗๘ องศาเซลเซียสตลอดระยะเวลาการบ่มไข่ฟัก  

            ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจกับเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ กระตุ้นให้เกิดความสนใจในการค้นหาทางเลือกใหม่สำหรับการป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อ วิธีการหนึ่งคือ รีไซเลนซ์ (animal resilence) เป็นการส่งเสริมให้สัตว์สามารถปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น โรคติดเชื้อ และฟื้นฟูสุขภาพให้เกิดสูญเสียต่อการทำหน้าที่ของร่างกายน้อยที่สุด การรีไซเลนซ์สำหรับโรคติดเชื้อ สามารถประเมินได้ ๓ ส่วน ได้แก่ ความต้านทานต่อการติดเชื้อ ความทนทานระหว่างการติดเชื้อ และการฟื้นตัวจากการติดเชื้อ งานวิจัยด้านสุขภาพสัตว์ส่วนใหญ่เน้นเพียง ๑ ใน ๓ ส่วนนี้เท่านั้น ขณะที่ จำเป็นต้องรวมไว้ทั้งสามข้อเพื่อให้บรรลุข้อสรุปที่แท้จริงถึงปัจจัยที่ช่วยในการควบคุมโรคได้ งานวิจัยครั้งล่าสุดนี้จะครอบคลุมทุกส่วนที่ส่งผลกระทบต่อโรคทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ

               สิ่งแวดล้อมในช่วงแรกของชีวิตจะมีผลกระทบต่อชีวิตของสัตว์ไปอีกยาวนาน ดังนั้น จึงสนับสนุนแนวความคิดเรื่อง รีไซเลนซ์ อย่างไรก็ตาม ผลของสิ่งแวดล้อมในช่วงแรกของชีวิตต่อโรคติดเชื้อในไก่เนื้อยังไม่ค่อยมีการศึกษากันมากนัก ข้อแรก อุณหภูมิสำหรับการฟักอาจส่งผลกระทบต่อ รีไซเลนซ์ในช่วงชีวิตถัดมา เนื่องจาก ผลกระทบต่อการพัฒนาตัวอ่อน คุณภาพลูกไก่แรกเกิด และการเจริญเติบโตในเวลาต่อมา อุณหภูมิที่เปลือกไข่อย่างสม่ำเสมอ (Constant eggshell temperature, EST) ระหว่างการฟักไข่ที่ ๑๐๐ องศาฟาเรนไฮต์เหมาะสมที่สุด อย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยบางกลุ่มก็เห็นต่างกันว่า อุณหภูมิที่สูงกว่านี้ ๑๐๒ องศาฟาเรนไฮต์ (๓๘.๘๙ องศาเซลเซียส) ระหว่างช่วงกลางของการฟัก และต่ำลงที่ ๙๘ องศาฟาเรนไฮต์ (๓๖.๖๗ องศาเซลเซียส) ระหว่างช่วงท้ายของการฟักน่าจะเหมาะกับการพัฒนาตัวอ่อนและลูกไก่ ผู้วิจัยจึงเชื่อว่า รูปแบบของอุณหภูมิในระหว่างการฟักมีส่วนช่วยในกระบวนการรีไซเลนซ์ในไก่เนื้อได้เช่นเดียวกัน ข้อที่สอง การเคลื่อนที่เข้าหาอาหารและน้ำครั้งแรกภายหลังการฟัก มีอิทธิพลต่อกระบวนการรีไซเลนซ์ของไก่เนื้อในช่วงชีวิตถัดมา ในทางปฏิบัติแล้ว ลูกไก่เนื้อเข้าถึงอาหาร และน้ำโดยตรงได้ภายหลังการฟัก เรียกว่า การให้อาหารเร็ว (early feeding) หรือเข้าหาอาหารและน้ำช้าออกไปจนกระทั่งลงลูกไก่ในฟาร์มเรียบร้อยแล้ว เรียกว่า การให้อาหารช้า (delayted feeding)  

               นักวิชาการทราบกันอยู่แล้วว่า กลยุทธ์การให้อาหารภายหลังการฟัก ส่งผลต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน และการเจริญเติบโตจนถึงอายุจับ แต่ยังไม่ทราบถึงผลกระทบต่อกระบวนการรีไซเลนซ์ต่อโรคติดเชื้อในไก่เนื้อ นอกจากนั้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิการฟัก และกลยุทธ์การให้อาหารภายหลังการฟักเป็นตัว ยังไม่เคยศึกษามาก่อนจนถึงปัจจุบัน นักวิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่า รูปแบบของ EST ที่เหมาะสม ร่วมกับการให้อาหารเร็ว จะส่งผลต่อกระบวนการรีไซเลนซ์ในการเลี้ยงไก่เนื้อได้

ภาพที่ ๑ การทดลองด้วยการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิการฟักต้องใช้วิธีการควบคุมอุปกรณ์ที่แตกต่างจากปรกติ (แหล่งภาพ Brockotter)








 วิธีการวิจัย

การทดลองที่ ๑ ศึกษาผลของรูปแบบ EST ต่อคุณภาพลูกไก่แรกฟัก โดยเฉพาะ การพัฒนาอวัยวะในระบบภูมิคุ้มกัน การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในเวลาต่อมา และการเจริญเติบโต ผลการศึกษายังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆข้างต้น ผลการทดลองพบว่า EST ในช่วงท้ายต่ำลงก็ยิ่งทำให้การเจริญเติบโตจนถึงอายุจับต่ำลงด้วย เชื่อว่าเป็นผลมาจากช่วงเวลาการฟักที่ช้าออกไป และเวลาสำหรับการเจริญเติบโตน้อยลง สำหรับระบบภูมิคุ้มกัน กรณี EST ช่วงกลางสูงขึ้น หรือ EST ช่วงท้ายต่ำลง ช่วยให้เกิดความแตกต่างของรูปร่างต่อมเบอร์ซาในลูกไก่แรกเกิดอย่างชัดเจนเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม รวมถึง รูปแบบของเซลล์เม็ดเลือดขาว  นอกจากนี้ แนวโน้มอัตราการตายที่สูงขึ้นในช่วงการเลี้ยงทั้งหมด พบว่า EST ในช่วงท้ายต่ำลงเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม บ่งชี้ว่า อุณหภูมิการฟักไข่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงไก่เนื้อ และระบบภูมิคุ้มกัน แต่ผลต่อกระบวนการรีไซเลนซ์ยังไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจาก ยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง EST ช่วงกลางที่สูงขึ้น และ EST ช่วงท้ายที่ต่ำลง ผลกระทบของ EST จึงนำมาทดสอบแยกจากกันในอีกสองการทดลองติดตามมา โดยรวมเอากลยุทธ์การให้อาหารภายหลังการฟักเป็นตัวลูกไก่รวมไว้ด้วย 

การทดลองที่ ๒ เป็นการศึกษาอุณหภูมิการฟักในช่วงท้ายที่ต่ำลง กลยุทธ์การให้อาหารภายหลังการฟักเป็นตัวลูกไก่ โดยมีทั้งให้อาหารเร็ว หรือช้าลง ๔๘ ชั่วโมง และความสัมพันธ์ของปัจจัยเหล่านี้ต่อกระบวนการรีไซเลนซ์ต่อโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตาย ตลอดช่วงอายุ ๔ สัปดาห์ โรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตาย เหนี่ยวนำโดยการป้อนเชื้อ บิด และเชื้อ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ เก็บข้อมูลอัตราการตาย และน้ำหนักรายตัวเป็นรายวันเป็นเวลา ๒ สัปดาห์ภายหลังการป้อนเชื้อ แล้ววัดจำนวนไข่บิด หรือโอพีจี และอัตราการป่วยที่อายุ ๒๘ และ ๒๙ วัน ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง EST และกลยุทธ์การให้อาหารภายหลังการฟักเป็นตัวลูกไก่ ต่อกระบวนการรีไซเลนซ์ต่อโรค EST ช่วงท้ายที่ต่ำลง ลดกระบวนการรีไซเลนซ์ต่อโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตายเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม จากความเสียหายที่สูงขึ้นต่ออัตราการเจริญเติบโต และค่าโอพีจีที่สูงขึ้น การให้อาหารเร็วมีแนวโน้มส่งเสริมกระบวนการรีไซเลนซ์ต่อโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตายเปรียบเทียบกับการให้อาหารช้า จากอัตราการตายที่ต่ำลง การป่วยจากโรคประเมินจากรอยโรคที่ลำไส้ที่อายุ ๒๘ และ ๒๙ วัน ไม่ได้รับอิทธิพลจาก EST หรือกลยุทธ์การให้อาหารภายหลังการฟักเป็นตัวลูกไก่

               การทดลองที่ ๓ ศึกษาผลของอุณหภูมิการฟักไข่ช่วงกลางที่สูงขึ้น กลยุทธ์การให้อาหารภายหลังการฟักเป็นตัวลูกไก่ และความสัมพันธ์ของปัจจัยเหล่านี้ต่อกระบวนการรีไซเลนซ์ต่อโรคโคลัยบาซิลโลซิสในไก่เนื้อ โรคโคลัยบาซิลโลซิสถูกเหนี่ยวนำที่อายุ ๘ วัน ชั่งน้ำหนักทุกวันเป็นเวลา ๑๓ วัน บันทึกอัตราการป่วย ๖ ครั้งหลังการให้เชื้อ และอัตราการตายทุกวัน ผลการทดลอง แสดงให้เห็นว่า EST ช่วงกลางที่สูงขึ้น ช่วยลดโอกาสในการรอดชีวิตจากโรคโคลัยบาซิลโลซิส นอกจากนั้น การให้อาหารเร็วจะช่วยลดอุบัติการณ์การติดเชื้อเฉพาะที่ การสูญเสียน้ำหนักตัวรายวันลดลง และอัตราการเจริญเติบโตสูงขึ้นจนกระทั่งจับ นอกจากนั้น ยังพบความสัมพันธ์ระหว่าง EST และกลยุทธ์การให้อาหารหลังฟัก เมื่อ EST ช่วงกลางสูงขึ้น การให้อาหารเร็วจะเพิ่มอุบัติการณ์ของโรคขึ้น แต่ไม่รุนแรง บ่งชี้จาก อัตราการพบเชื้อ อี.โคลัย ในเลือดของไก่เนื้อ และรอยโรคในตับและ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจที่สูงขึ้น ในกลุ่มควบคุม การติดเชื้อตามระบบไม่ได้มีผลกระทบจากกลยุทธ์การให้อาหาร และความรุนแรงของรอยโรคเฉลี่ยโดยรวมต่ำลง สำหรับการให้อาหารเร็วเปรียบเทียบกับการให้อาหารช้า

              โดยสรุปแล้ว EST ช่วงกลางที่สูงขึ้นน่าจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาตัวอ่อน และยังส่งผลทางลบต่อประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากการให้อาหารเร็วที่มีต่อกระบวนการรีไซเลนซ์ในไก่เนื้อ ซึ่งสามารถพบได้จากกลุ่มควบคุม EST นักวิจัยยังไม่พบความสัมพันธ์กับกลไกทางชีววิทยาที่ใช้อธิบายผลการทดลองนี้ อาจเป็นผลมาจากความเครียดที่เกิดขึ้น เมื่อระดับของฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรนมีระดับสูงขึ้นในลูกไก่ที่ให้อาหารช้า ความเครียดมีผลกระทบทางลบต่อระบบภูมิคุ้มกันอ อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบความแตกต่างของความเครียดในแต่ละกลุ่มการทดลอง ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เมตาโบลิซึมของสารอาหาร ภูมิคุ้มกัน ความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิ หรือบางสิ่งที่อาจแตกต่างกันไปบ้าง โดยสรุปแล้ว นักวิจัยยังไม่เข้าใจแน่ชัด และจำเป็นต้องมีงานวิจัยพื้นฐานสำหรับศึกษาเชิงลึกต่อไปว่า สภาวะในช่วงแรกเกิดของลูกไก่ส่งผลต่อกระบวนการรีไซเลนซ์ในไก่เนื้อต่อการติดเชื้อโรคอย่างไรบ้าง  

ภาพที่ ๒ อุณหภูมิที่ผิวเปลือกไข่ถูกตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด ด้วยเซนเซอร์รายฟอง (แหล่งภาพ Brockotter)   






อุณหภูมิคงที่

               ทั้ง EST ช่วงกลางที่สูงขึ้น และ EST ช่วงท้ายที่ต่ำลง ส่งผลต่อการลดกระบวนการรีไซเลนซ์ต่อการติดเชื้อในไก่เนื้อเปรียบเทีบกับ EST ด้วยอุณหภูมิคงที่ ๑๐๐ องศาฟาเรนไฮต์ หรือ ๓๗.๗๘ องศาเซลเซียส สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสมมติฐาน รูปแบบ EST ข้างต้นอางส่งผลเสียต่อพัฒนาการตัวอ่อน นอกจากนั้น การพัฒนาตัวอ่อนที่ไม่ดีสามารถส่งผลกระทบทางลบต่อกลยุทธ์การให้อาหารภายหลังการฟักเป็นตัวที่มีต่อกระบวนการรีไซเลนซ์ในไก่เนื้อได้

ภาพที่ ๓ ลูกไก่แรกเกิดทุกตัวถูกประเมิน และตรวจติดตามระหว่างการเลี้ยง (แหล่งภาพ Brockotter)









การจัดการ EST ที่ไม่เหมาะสม ร่วมกับการให้อาหารเร็ว อาจไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามระบบ ขณะที่ โดยทั่วไปแล้ว ไก่เนื้อที่ให้อาหารเร็วจะมีกระบวนการรีไซเลนซ์ต่อโรคติดเชื้อได้ดีกว่าไก่เนื้อที่ให้อาหารช้าไป ๔๘ ชั่วโมงอย่างชัดเจนมาก ความเบี่ยงเบนของอุณหภูมิที่เปลือกไข่เล็กน้อย ระหว่างการฟักราว ๒ องศาฟาเรนไฮต์ อาจส่งผลอย่างมากต่อกระบวนการรีไซเลนซ์ต่อโรคในช่วงเวลาถัดมาของการเลี้ยงไก่ สิ่งที่สำคัญสำหรับการฟักไข่ แนะนำว่า การรักษาอุณหภูมิเป้าหมายที่ ๑๐๐ องศาฟาเรนไฮต์ หรือ ๓๗.๗๘ องศาเซลเซียสที่เปลือกไข่คงที่ไว้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงเสร็จสิ้น เป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในการเลี้ยงไก่เนื้อ อุณหภูมิที่เปลือกไข่คงที่ ๑๐๐ องศาฟาเรนไฮต์ หรือ ๓๗.๗๘ องศาเซลเซียส จะสร้างผลลัพธ์ที่มหัศจรรย์ในกระบวนการฟักไข่    

ภาพที่ ๔  Dr Jan Wijnen กล่าวไว้ว่า การจัดการช่วงแรกของชีวิต จะส่งผลต่อกระบวนการรีไซเลนซ์ไปได้ตลอดชีวิต (แหล่งภาพ Brockotter)   









เอกสารอ้างอิง  

Brockotter F. 2023. 100°F is where the magic happens in the hatchery. [Internet]. [Cited 2023 Jan 9]. Available from: https://www.poultryworld.net/poultry/layers/100f-is-where-the-magic-happens/

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566

นิวซีแลนด์เข้มงวดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์

 นักวิจัยในนิวซีแลนด์เรียกร้องให้ภาครัฐฯ กำหนดมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นในการควบคุมเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์

               นักวิจัยพบว่า เนื้อไก่สดเป็นแห่งสำคัญที่ใหญ่ที่สุดแหล่งเดียวของโรคติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในประเทศ เป็นปัญหาด้านความปลอดภัยอาหารที่ใหญ่ที่สุดในเวลานี้ ขณะเดียวกัน นักวิจัยได้เสนอให้ภาครัฐฯ พยายามค้นคว้าวิธีการควบคุมเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในเนื้อไก่ อ้างอิงตามวารสารวิชาการ Epidemiology and Infection สำหรับการจัดการความปลอดภัยอาหารที่จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นหน่วยงานควบคุมที่มีความเป็นอิสระ เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานสาธารณสุข เนื้อไก่สด มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดโรคติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ ๕๓๙,๐๐๐ ราย เข้าโรงพยาบาล ๕,๔๘๐ ราย และเสียชีวิต ๒๘๔ ราย สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจราว ๓๘๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ระหว่างช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ถึง ๒๕๖๑ เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติจากทั่วโลก ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ อุบัติการณ์สูงกว่าสหรัฐฯมากกว่า ๗ เท่า อ้างอิงตามวารสารวิชาการ International Journal of Infectious เนื้อสัตว์ปีกเป็นแหล่งสำคัญของการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในนิวซีแลนด์

ข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหา

               นิวซีแลนด์ผลิตเนื้อสัตว์ปีกเกือบทั้งหมดภายในประเทศ ดังนั้น จึงเป็นการเหมาะสมที่จะวางแผนการจัดการปัญหาตามข้อเสนอของนักวิจัย  ผลกระทบต่อสุขภาพผู้บริโภค และเศรษฐกิจ การควบคุมเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ที่สัมพันธ์กับการปนเปื้อนเนื้อไก่สดควรเป็นความสำคัญลำดับแรกสำหรับกระทรวงอุตสาหกรรมพื้นฐาน (Ministry for Primary Industries, MPI)   และสำนักงานมาตรฐานอาหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (Food Standards Australia New Zealand, FSANZ) นักวิจัย แนะนำให้ MPI กำหนดปริมาณเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ต่ำลงสำหรับเนื้อสัตว์ปีกสด และ FSANZ ต้องกำหนดให้มีป้ายเตือนผู้บริโภค ผู้บริโภคเองก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปยังอาหารที่ปลอดภัยกว่า เช่น เลือกซื้อแต่ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ที่ปรุงสุกก่อน และเนื้อไก่แช่แข็งเท่านั้น   

เอกสารอ้างอิง  

Berkhout N. 2021. Call to tackle Campylobacter in New Zealand. [Internet]. [Cited 2021 Feb 2]. Available from:  https://www.poultryworld.net/poultry/call-to-tackle-campylobacter-in-new-zealand/

ภาพที่ ๑ เนื้อไก่สดเป็นแหล่งที่ใหญ่ที่สุดแหล่งเดียวของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในนิวซีแลนด์ (แหล่งภาพ Eiliv-Sonas Aceron)   



วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566

ค้นพบจีนที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์

 การตอบสนองของไก่ต่อเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ที่แตกต่างกัน จะช่วยในการค้นพบจีนที่มีความสำคัญต่อการต้านทานการติดเชื้อได้

               นักวิจัยค้นพบจีนในไก่ที่ช่วยให้ไก่ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่อันตรายในสัตว์ปีก และมีโอกาสใช้ควบคุมความเสี่ยงจากโรคอาหารเป็นพิษในมนุษย์ได้

               การศึกษานำโดยนักวิจัยจากสถาบันโรสลิน เมืองอีดินเบิร์ก ค้นพบจีนจำนวนมากในลำไส้ไก่ที่อาจช่วยให้ไก่ต้านทานต่อการติดเชื้อแคมไพโลแลคเตอร์ได้ ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ปีกที่มีโอกาสเป็นพาหะของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ และลดความเสี่ยงให้กับผู้บริโภคนักวิจัย ทดสอบผลของการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ต่อไก่ที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ให้เกิดความต้านทาน หรือไวรับต่อเชื้อแบคทีเรีย การวิเคราะห์เนื้อเยื่อลำไส้ แสดงให้เห็นความแตกต่างของการทำหน้าที่ของจีนจำนวนมาก รวมถึง จีนที่มีส่วนควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน เช่น เมเจอร์ ฮิสโตคอมแพติบิลิตี คอมเพล็กซ์ และเปปไทด์ต่อต้านจุลชีพ ความแตกต่างระหว่างจีนเหล่านี้กับความต้านทาน หรือไวรับต่อเชื้อแบคทีเรีย อาจช่วยอธิบายถึงการตอบสนองของร่างกายสัตว์ต่อเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ได้

               ศาสตราจารย์ มาร์ก สตีเวน แห่งสถาบันโรสลิน ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์พบได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของไก่ที่ผู้บริโภคซื้อไป บ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อผู้บริโภค และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ปีกให้ต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรียน่าจะเป็นเป็นวิธีที่มีศักยภาพวิธีหนึ่งในการควบคุมเชื้อนี้ได้ ผลการวิจัย แสดงให้เห็นถึงความหวังข้างหน้าที่จะใช้เทคนิคทางพันธุกรรมในไก่ เพื่อให้ร่างกายมีการตอบสนองต่อเชื้อแบคทีเรีย และเป็นแนวทางในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ปีกให้ต้านทานต่อเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ และเพิ่มความปลอดภัยอาหารให้กับผู้บริโภคได้

ซูเปอร์มาร์เก็ตควบคุมการปนเปื้อนได้ดีขึ้น

               สถิติจากร้านค้าปลีกสหราชอาณาจักร สำรวจร้านซูเปอร์มาร์เก็ตสำคัญทั้งหมด พบว่า ตัวอย่างจากไก่ผลเป็นบวกร้อยละ ๑.๖ สำหรับการปนเปื้อนในระดับสูงที่สุดในไตรมาสแรกของปี นับว่า แนวโน้มเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ร้านค้าปลีกทั้ง ๙ แห่ง มีระดับที่ต่ำกว่า FSA กำหนดเป้าหมายไว้สูงที่สุดร้อยละ ๗ ของการปนเปื้อนระดับสูงมากกว่า ๑๐๐๐ ซีเอฟยูต่อกรัม ส่วนใหญ่ต่ำกว่าช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคมที่ผ่านมา อัลดิ มอร์ริสซัน และเวททรอส ไม่พบเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนในระดับสูงในตัวอย่าง ขณะที่ แอสดา และลิเดิล พบการปนเปื้อนต่ำกว่าร้อยละ ๒ ของตัวอย่าง เซนส์บูรี พบในอัตราร้อยละ ๒.๔ ลดลงกว่าเดิมจากร้อยละ ๗.๑ ในช่วงปลายปี ขณะที่ มาร์กแอนด์สเปนเซอร์ พบร้อยละ ๓ ถึง ๔ ของตัวอย่างที่สูงมากกว่า ๑๐๐๐ ซีเอฟยูต่อกรัม

เอกสารอ้างอิง  

Mcdougal T. 2021. Research shows genes could offer resistance to Campylobacter. [Internet]. [Cited 2021 Jun 30]. Available from:  https://www.poultryworld.net/poultry/research-shows-genes-could-offer-resistance-to-campylobacter/

ภาพที่ ๑ ความแตกต่างในการตอบสนองของไก่ต่อเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์อาจช่วยให้ค้นพบจีนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการต้านทานต่อการติดเชื้อได้ (แหล่งภาพ Henk Riswick)   




วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566

เนื้อสัตว์ปีกยังเป็นแหล่งสำคัญของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์

จำนวนผู้ป่วยจากเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในมนุษย์เชื่อมโยงกับเนื้อสัตว์ปีกที่ปนเปื้อน ติดตามด้วยเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น เนื้อแกะ เนื้อสุกร และเนื้อโค จากรายงานการศึกษาล่าสุด

               หน่วยงานมาตรฐานอาหาร (Food Standards Agency, FSA) ยังเน้นย้ำความกังวลต่อเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ที่ดื้อยาต้านจุลชีพ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึง ๒๕๖๑ โดยจำนวนผู้ป่วยจากเชื้อแคมไพโลแบเคตอร์ราว ๓๐๐,๐๐๐ ราย ได้รับจากการบริโภคอาหารในแต่ละปีในสหราชอาณาจักร จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ๖๓๐,๐๐๐ รายที่เกิดโรคอาหารเป็นพิษ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์อาศัยในทางเดินอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด รวมถึง สัตว์ปีก และแมลง

แหล่งสำคัญของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในมนุษย์

               นักวิจัยเริ่มโครงการสำรวจหาแหล่งพักพิงของการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในมนุษย์ เพื่อช่วยวางกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อ โดยโครงการนี้ประเมินจำนวนตัวอย่างจากผู้ป่วยใน ๒ พื้นที่ในเมืองในไทน์ไซด์ และออกฟอร์ดเชียร์ รวมถึง ตัวอย่างอาหารจากร้านค้าปลีกในเมืองยอร์ก ซอล์สบรี และลอนดอน

เชื้อดื้อยา

               ผลการศึกษา พบเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ที่ดื้อยาฟลูออโรควิโนโลน และเตตราซัยคลิน เพิ่มขึ้นจากผู้ป่วยระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึง ๒๕๖๑ โดยพบว่า เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ดื้อยาฟลูออโรควิโนโลนจากเนื้อไก่บ่อยกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ ขณะที่ เชื้อดื้อยาเตตราซัยคลินจากเนื้อสัตว์ปีก และเนื้อสุกรบ่อยกว่าเนื้อสัตว์เคี้ยวเอื้อง ขณะที่ การดื้อยากลุ่มมาโครไลด์ และอะมิโนไกลโคไซด์ค่อนข้างต่ำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ฟื้นตัวเป็นปรกติอย่างรวดเร็ว แต่อาจเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงในระยะยาว โดยเฉพาะ เด็ก และคนชรา ริค มัมฟอร์ด หัวหน้าหน่วยวิทยาศาสตร์ หลักฐาน และงานวิจัย เห็นว่า ผลการสำรวจครั้งนี้จะช่วยให้เข้าใจถึงการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ และใช้เป็นแนวทางการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษต่อไป และเป็นโจทย์วิจัยเพื่อหาทางลดการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในสหราชอาณาจักรให้ได้                   

เอกสารอ้างอิง  

Mcdougal T. 2023. Poultry continues to be a major source Campylobacters. [Internet]. [Cited 2021 Aug 16]. Available from:  https://www.poultryworld.net/health-nutrition/poultry-continues-to-be-a-major-source-campylobacters/

ภาพที่ ๑ ปัญหาเชื้อดื้อยา โดยเฉพาะ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ที่ดื้อยาฟลูออโรควิโนโลน และเตตราซัยคลิน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากผู้ป่วยระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึง ๒๕๖๑ (แหล่งภาพ Hans Prinsen)  


 

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566

การควบรวมธุรกิจสัตว์ปีกกระทบต้นทุนการผลิตสัตว์ปีก

 ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกกำลังวิตกกับการควบรวมธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดสองแห่งของยุโรปจะเป็นเหตุให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นสำหรับการผลิตสัตว์ปีก  

สำนักงานควบคุมการแข่งขันในตลาด (Competitions and Markets Authority, CMA) แห่งสหราชอาณาจักรคาดว่า การควบรวมธุรกิจระหว่างโบพาราน (Boparan) ของสหราชอาณาจักร และฟอร์ฟาร์มเมอร์ (ForFarmers) ของเนเธอร์แลนด์ จะทำให้ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกต้องจ่ายค่าอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น ทั้งสองบริษัทผลิต และจำหน่ายเนื้อไก่ และอาหารสัตว์ปีกในสหราชอาณาจักร กำลังวางแผนรวมธุรกิจโรงงานอาหารสัตว์ โดยมีโรงงานทั้งหมด ๑๙ แห่งในสหราชอาณาจักร ภายหลังผ่านไปได้ระยะหนึ่งแหล้ว CMA พบว่า ส่งผลต่อกลไกการแข่งขันทางการตลาดในเมืองแองเกลียตะวันออก นอร์ธเวสต์อิงแลนด์ และนอร์ธเวลส์ จนอาจทำให้ราคาอาหารสัตว์ปีกสูงขึ้น คุณภาพอาหารสัตว์ลดลง หรือคุณภาพบริการที่ด้อยลงอีกด้วย    

               ขณะที่ทั้งสองธุรกิจกำลังแข่งขันกันเพื่อจำหน่ายสินค้าให้ผู้บริโภค CMA กังวลว่า การควบรวมธุรกิจจะส่งผลให้กลไกการแข่งขันทางการตลาดไม่เพียงพอ และเกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้เลี้ยงไก่ และแปรรูปเนื้อไก่ให้กับโบพาราน เนื่องจาก ทางเลือกที่น้อยลงสำหรับผู้ผลิตรายเล็ก แค่เพียงระยะแรกเท่านั้น CMA ก็ได้รับข้อร้องเรียนจำนวนมากจากผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตลาดอื่นๆ จากผลกระทบของการควบรวมธุรกิจต่อทางเลือกของผู้จำหน่ายอาหารสัตว์ และราคาอาหารสำหรับสัตว์ปีก ซอร์ชา โอแคร์โรลล์ ผู้อำนวยการอาวุโสของ CMA แสดงความเห็นว่า อาหารสัตว์เป็นต้นทุนหลักของผู้เลี้ยงไก่เนื้อ ซึ่งเป็นเนื้อสัตว์ที่ชาวสหราชอาณาจักรโปรดปรานที่สุด เมื่อราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น ก็จะส่งผลต่อค่าครองชีพ และ CMA ไม่ยอมให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดที่ลดลง ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ของตลาดเนื้อสัตว์ปีกแย่ลงไปอีกทั้งกับผู้เลี้ยงสัตว์ปีก และผู้บริโภค กำหนดเวลา ๕ วันให้ทั้งสองบริษัทตอบข้อกังวลของ CMA หากไม่ได้คำตอบที่เหมาะสม CMA ก็จะเดินหน้าไปสู่การสอบสวนระยะที่สอง

เอกสารอ้างอิง

Mcdougal T. 2023. Concerns that JV could mean higher costs for poultry farmers. [Internet]. [Cited 2023 Jan 4]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/concerns-that-jv-could-mean-higher-costs-for-poultry-farmers/

ภาพที่ ๑ โบพาราน (Boparan) ของสหราชอาณาจักร และฟอร์ฟาร์มเมอร์ (ForFarmers) ของเนเธอร์แลนด์

ผู้ผลิต จำหน่ายเนื้อไก่ และอาหารสัตว์ปีก (แหล่งภาพ  Andreas Göllner)



วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566

ไม่พบความเสี่ยงหวัดนก H5N1 ติดต่อสู่คน

 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสหราชอาณาจักรไม่พบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากโรคไข้หวัดนกยูราเซียน  เอช ๕ เอ็น ๑ ต่อสุขภาพมนุษย์จากการประเมินโดยละเอียด แต่เน้นย้ำว่า ความเชื่อมั่นยังต่ำ และจำเป็นต้องทบทวนเป็นประจำ เนื่องจาก การระบาดในสัตว์ปีกอย่างต่อเนื่อง

               หน่วยงานความปลอดภัยสุขภาพ (Health Security Agency, HSA) โดยสำนักงานสุขภาพสัตว์และพืช (Animal and Plant Health Agency, APHA) รายงานข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไม่ได้อ้างถึงการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสที่ปรับตัวเข้าสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่างไรก็ตาม พบหลักฐานแสดงให้เห็นถึงการแพร่จากสัตว์ปีกไปสู่สัตว์กินซาก เช่น สุนัขจิ้งจอก และนาก จนถึงปัจจุบันพบเชื้อไวรัสเอช ๕ เอ็น ๑ จำนวน ๔ ตัวอย่างเท่านั้นที่พบในมนุษย์ ๒ ตัวอย่างในสเปน ๑ ตัวอย่างในสหราชอาณาจักร และ ๑ ตัวอย่างในสหรัฐฯ ผลการประเมินความเสี่ยงแบ่งได้เป็น ๖ ระดับ โดยสหราชอาณาจักรอยู่ในระดับที่ ๓ หมายความว่า พบหลักฐานการกลายพันธุ์ที่เอื้อต่อการปรับตัวของเชื้อไวรัสเข้าสู่มนุษย์

สถานการณ์การระบาด

               นับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เป็นต้นมา ซึ่งเป็นวันที่เริ่มต้นฤดูกาลใหม่ พ.ศ.๒๕๖๕ ถึง ๒๕๖๖ พบการระบาดของโรคในอังกฤษจากการตรวจพบเอช ๕ เอ็น ๑ ไปแล้วในนกป่า ๔๔๗ ครั้งจาก ๒๘๐ พื้นที่ จำนวนครั้งในฟาร์มสัตว์ปีกลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้านั้น เจมส์ มอตเตอร์ชีด ประธานกรรมการสหภาพฟาร์มสัตว์ปีกแห่งชาติ เชื่อว่าจะเห็นการระบาดในฟาร์มสัตว์ปีกลดลงในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ โดยอ้างถึงข้อมูลจากผู้บริหารสัตวแพทย์ภาครัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร คริสตีน มิดเดิลมิส ว่าเป็นความสำเร็จจากระบบความปลอดภัยทางชีวภาพที่ดี แม้ว่าภาพที่เกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาจะเห็นสัญญาณที่ดี แต่ก็ยังเกิดความเสียหายในอังกฤษ โดยสังเกตว่า จำนวนครั้งของการระบาดระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ มีสถิติเทียบเท่ากับการระบาดในรอบปี พ.ศ.๒๕๖๕ ถึง ๒๕๖๖ ตลอดปี

การให้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก

         สหภาพฟาร์มสัตว์ปีกแห่งชาติ พยายามผลักดันในเกิดความก้าวหน้าในการใช้มาตรการให้วัคซีน โดยกำหนดการประชมระหว่างภาครัฐ และเอกชนจะเกิดขึ้นในช่วงต้นปีนี้ โดยเป็นการสำรวจแนวแบร์ริเออร์ที่จะให้วัคซีนสัตว์ และจะควบคุมโรคได้อย่างไร ภาครัฐ และสหภาพฟาร์มสัตว์ปีกแห่งชาติมีโอกาสพบปะกันประจำ โดยการประชุมครั้งที่ ๕ พึ่งจัดขึ้นก่อนคริสมาสต์ที่ผ่านมา และให้ข้อมูลล่าสุดสำหรับการระบาดโรคไข้หวัดนกที่เกิดขึ้นล่าสุด และเตือนว่า อาจพีคในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ ทั้งนี้ ภาครัฐก็ได้มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชย  รวมถึง การวางแผนการทำงานสัตวแพทย์จากการทำงานโดยตรงในพื้นที่ระบาดไปเป็นการสิ้นสุดงานที่ภายในพื้นที่เฝ้าระวังเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง

Mcdougal T. 2023. No increased risk to human health from H5N1 bird flu in poultry. [Internet]. [Cited 2023 Jan 3]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/health/no-increased-risk-to-human-health-from-h5n1-bird-flu-in-poultry/

ภาพที่ ๑ นับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ มีรายงานโรคไข้หวัดนกไปแล้ว ๑๓๐ ครั้ง (แหล่งภาพ Jan-Willem Schouten






ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...