วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

ช๊อก!!! จีนเสียหายรุนแรงจากหวัดนก

ความเสียหายของธุรกิจสัตว์ปีกในประเทศจีนจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก H7N9 สร้างความเสียหายแล้วกว่าหกหมื่นล้านบาทจากการประเมินของสมาคมอุตสาหกรรมสัตว์ปีก
ลูกไก่ที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ต่อไป สร้างความเสียหายไปมากกว่าสองหมื่นล้านบาท ความต้องการนำเข้าสัตว์ปีกร่วมลง และการจำหน่ายเนื้อไก่ทั้งภายในประเทศ และนำเข้าลดลงไปแล้วกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์
                เจ้าพนักงานปศุสัตว์มีมาตรการทำลายสัตว์ปีกจำนวนมาก และปิดตลาดค้าขายสัตว์ปีกในเซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสสับไทป์ H7N9 สู่มนุษย์ ห้องปฏิบัติการทั้งในระดับชาติ และระดับจังหวัด ทดสอบสิ่งส่งตรวจ จำนวน ๔๗,๘๐๑ ตัวอย่าง จากการเก็บทั้งหมด ๘๔,๔๔๔ ตัวอย่างทั่วประเทศ จากข้อมูลของกระทรวงเกษตร ตัวอย่างที่เป็นบวก ๓๙ ตัวอย่างมาจากสัตว์ปีกมีชีวิตในเซี่ยงไฮ้ และจังหวัดอานฮุย เจ้อเจียง และเจียงสู ทุกตัวอย่างยืนยันแล้วว่าเป็น การระบาดครั้งนี้ส่งผลให้อุตสาหกรรมหยุดลง ผู้บริโภคเพียงไม่กี่คนที่ยังคงซื้อผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก ส่งผลให้ราคาไก่ และเป็ดตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย รวมถึง ไข่ อีกด้วย จนถึงปัจจุบัน ยืนยันผู้ป่วยแล้วทั้งหมด ๗๗ รายทั่วประเทศ และมีผู้เสียชีวิต ๑๖ ราย ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวซินหัว    
แหล่งข้อมูล          World Poultry (18/4/13)

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

TESCO ยกเลิกการใช้อาหาร Non-GM

บริษัทยักษ์ใหญ่ซูเปอร์มาร์เก็ต TESCO ยกเลิกการรับประกันเนื้อสัตว์ปีก และไข่ ไม่ได้มาจากไก่ที่ให้อาหารดัดแปลงพันธุกรรม
       ผู้ค้าปลีกได้ยกเลิกข้อตกลงด้านจริยธรรมที่รักษาไว้เป็นระยะเวลายาวนานกว่า ๑๑ ปี เนื่องจากการพัฒนาการผลิตกากถั่วเหลือง GM ในตลาดการส่งออกเมล็ดพันธุ์หลักของโลกไม่สามารถรองรับการผลิตอาหารสัตว์ปีกได้อย่างเพียงพอ โดยข้อตกลงมีจุดเริ่มต้นมาจากผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสัญลักษณ์ของ TESCO
       การประกาศนี้พึ่งออกมาได้ ๑ เดือนภายหลังจาก ผู้จำหน่ายสินค้าได้ตีพิมพ์ถ้อยคำเต็มหน้ากระดาษเพื่อขออภัยในหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของประเทศ และสัญญาว่าจะเพิ่มขั้นตอนการสอบย้อนกลับ และแสวงหาแหล่งผลิตภัณฑ์จากภายในสหราชอาณาจักร ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรอย่างยุติธรรมเพิ่มขึ้น และจัดการห่วงโซ่สินค้าให้ดีขึ้น ถ้อยคำขอโทษของบริษัทมีขึ้นภายหลังกรณีข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับการปนเปื้อนของเนื้อสัตว์
       ในจดหมายถึงลูกค้าที่ตีพิมพ์ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ผู้อำนวยการด้านเทคนิค ทิม เจ สมิท ได้อ้างถึงเหตุผลที่บริษัทไม่สามารถให้คำสัญญาได้อีกต่อไป เนื่องจากไม่สามารถแน่ใจได้ว่าจะยังคงสามารถรักษาหลักเกณฑ์นี้ไว้ต่อไปได้ ปัจจุบัน ไม่สามารถหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็น Non-GM ให้เพียงพอได้อีกต่อไป ในตลาดทั่วโลก ๘๐ เปอร์เซ็นต์เป็นถั่วเหลืองที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรมทั้งหมดแล้ว วงการซูเปอร์มาร์เก็ตอย่าง Asda and Morrisons ก็ได้ยกเลิกคำสัญญาเกี่ยวกับอาหารสัตว์ Non-GM แล้วเช่นกัน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นภายหลังบริษัทใหญ่ได้ล๊อบบี้ NFU สภาสัตว์ปีกแห่งสหราชอาณาจักร และสภาอุตสาหกรรมไข่แห่งสหราชอาณาจักรให้โน้มน้าวจิตใจผู้ค้ายอมยกเลิกคำสัญญา การใช้อาหารที่ปราศวัตถุดิบตัดแต่งพันธุกรรม
อย่างไรก็ตาม ผู้อำนวนการนโยบายการจัดการดิน Peter Melchett ก็ได้โต้แย้ง TESCO โดยให้ความเห็นว่า ยังคงมีวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิด Non-GM อยู่มากมาย และปริมาณของวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็น Non-GM ที่นำเข้ามาสู่ยุโรปก็กำลังเพิ่มสูงขึ้น บริษัทน่าจะตัดสินใจผิดพลาดไปแล้วโดยคิดไปตามกระแสของบริษัทผู้นิยมสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม และเกษตรอุตสาหกรรม ประเทศบราซิลแห่งเดียวก็สามารถผลิตอาหารสัตว์ Non-GM ป้อนยุโรปได้ และกำลังเพิ่มมากขึ้นปีต่อปี ขณะที่ ซูเปอร์มาร์เก็ตในหลายประเทศย่านยุโรป เช่น ฝรั่งเศส และเยอรมัน หลีกเลี่ยงอาหารสัตว์ชนิด GM แต่ TESCO กลับทำสิ่งที่ตรงกันข้าม
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา FSA ในสหราชอาณาจักรได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาที่ทำไว้เมื่อฤดูร้อนปี ค.. ๒๐๑๒ เปิดเผยว่า ผู้บริโภคยังคงกังวลประเด็นเรื่อง GM และส่วนใหญ่ยังต้องการให้มีการติดฉลากสินค้าเพื่อแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์มาจากสัตว์ที่เลี้ยงด้วยเมล็ดพืช GM
           ผู้อำนวนการนโยบายการจัดการดินยังให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า TESCO กำลังวางแผนแอบใช้อาหารสัตว์ GM feed โดยไม่มีการติดฉลากผลิตภัณฑ์บอกลูกค้าว่า ผลิตภัณฑ์มาจากสัตว์ที่เลี้ยงด้วยอาหาร GM เช่นเดียวกับ ดร. Helen Wallace ผู้อำนวยการขององค์กร GeneWatch แห่งสหราชอาณาจักรก็แสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจของ TESCO โดยยกตัวอย่างผู้ส่งออกรายใหญ่ของอาหารสัตว์ non-GM feed และซูเปอร์มาร์เก็ต Carrefour ในฝรั่งเศสที่ปัจจุบันยังจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากว่า ปราศจากอาหารสัตว์ GM feed
แหล่งที่มา World Poultry (17/4/13)

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

พ่อค้าไอร์แลนด์ประท้วงเนื้อไก่และไข่แพง

ผู้ผลิตไข่ และเนื้อสัตว์ปีกในไอร์แลนด์ประท้วงหน้าโรงงาน และสถานีบรรจุสินค้าที่ไม่สามารถจัดหาสินค้าที่มีราคาเหมาะสมให้ได้
                ขณะนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในไอร์แลนด์ กำลังประสบปัญหาที่ยากลำบาก และร้ายแรงจนกระทั่ง บางฟาร์มไม่มีทางเลือก จำเป็นต้องปิดฟาร์มลง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นคือ จะมีการนำเข้าเนื้อไก่ และไข่ส่งผลต่อมาตรฐานของประเทศ รวมถึง การว่างงาน และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ตามคำแนะนำของสมาคมฟาร์มเลี้ยงสัตว์แห่งไอร์แลนด์เกษตรกรต้องการค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นอีก 7 เซนต์สำหรับไก่ 1 ตัว และ 1 เซนต์สำหรับไข่ 1 ฟองจากผู้จำหน่ายคืนให้กับผู้ผลิต เพื่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคต จากปัจจุบัน เกษตรกรได้รับเพียงเล็กน้อย 35 เซ็นต์ต่อไก่ 1 ตัว และ 10 เซนต์ต่อไข่ 1 ฟอง โดยทั่วไปแล้ว ซูเปอร์มาร์เก็ตในไอร์แลนด์มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง Bord Bia Quality Assured Chicken แต่ผู้ผลิตมิได้รับการคุ้มครองจากการเพิ่มต้นทุนการผลิตเลย ขณะนี้ ต้นทุนการผลิตกำลังทะยานสูงขึ้นทุกที แม้ว่า โรงงานจะได้รับการชดเชยบ้างผ่านห่วงโซ่การผลิต แต่เกษตรกรในฟาร์มไม่ได้รับสิ่งใดเลย จนถึงตอนนี้สถานการณ์กำลังยากลำบากอย่างยิ่ง ผู้ผลิตถูกบังคับให้ต้องทำสัญญาการจัดหาสินค้าให้กับโรงงานแปรรูป ผู้จำหน่ายสินค้าเข้าใจดีกว่า โรงงานมีความลำบากเพียงใดเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด และใช้โอกาสนี้ในการต่อสู้สงครามราคา แม้ว่าโรงงานจะเป็นภาคที่อ่อนแอ โดยยินยอมผ่อนปรนไปตามความต้องการของผู้จำหน่ายสินค้า และพยายามผลักภาระต้นทุนกลับไปสู่ผู้ผลิตอย่างต่อเนื่อง
แหล่งข้อมูล          PW Reporters, Farmers Weekly (16/4/13)

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

FAO ให้ยกระดับ Biosecurity เพื่อหยุดยั้งหวัดนก

                การระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิด A สับไทป์ H7N9 ในเมืองจีนจำเป็นต้องวางมาตรการป้องกันโรคทางชีวภาพอย่างเข้มงวด ไม่เหมือนไข้หวัดใหญ่ชนิดอื่นๆรวมถึง ไข้หวัดนกสับไทป์ H5N1 ไวรัสชนิดนี้ตรวจสอบได้ยากในสัตว์ปีก เนื่องจาก ไม่ก่อให้เกิดอาการในสัตว์เลย
 โรคไข้หวัดนกชนิดใหม่นี้ไม่เหมือนกับสับไทป์ H5N1 ที่ไก่ตายจำนวนมาก จึงไม่สามารถปักธงแดงส่งสัญญาณเตือนภัยไว้ได้ หมายความว่า เกษตรกรก็จะไม่ได้ระมัดระวังการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในฟาร์ม มาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ และสุขศาสตร์เท่านั้นที่สามารถช่วยคุ้มครองมนุษย์จากเชื้อไวรัสที่วานเวียนอยู่ในฟาร์มที่สัตว์ดูเหมือนจะยังมีสุขภาพปรกติ
                องค์การอาหารแนะนำให้จีนเปิดเผยผู้ป่วย และรายละเอียดข้อมูลให้รวดเร็ว เพื่อให้ทราบถึงธรรมชาติของเชื้อไวรัส และมาตรการระวังโรค องค์การอาหาร และกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ระหว่างชาติจะได้นำมาวิเคราะห์ลำดับของเชื้อไวรัส เพื่อหวังว่าจะเข้าใจพฤติกรรม และความเสี่ยงของเชื้อไวรัสต่อมนุษย์ และสัตว์ต่อไป เนื่องจาก เชื้อไวรัสตรวจสอบได้ยาก ดังนั้น มาตรการป้องกันโรคที่ดีจึงมีความจำเป็นต่อการลดความเสี่ยงที่เชื้อไวรัสจะถ่ายทอดจากมนุษย์ และสัตว์ ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และสุขอนามัยที่ดีจากเกษตรกร ผู้ผลิตปศุสัตว์ การขนส่ง คนงานในตลาด และผู้บริโภภคเป็นหนทางแรกที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการคุ้มครองห่วงโซ่อาหาร
                ขณะที่ นักวิจัยกำลังประเมินเชื้อไวรัสชนิดใหม่นี้ FAO ก็ยังแนะนำมาตรฐานการระมัดระวังโรค ดังต่อไปนี้
๑.       เลี้ยงสัตว์ปีก และปศุสัตว์ทุกชนิดแยกจากพื้นที่อาศัยของมนุษย์ การสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับสัตว์ที่ติดเชื้อทำให้มนุษย์มีความเสี่ยง เนื่องจาก เชื้อไวรัส H7N9 แทบไม่ทำให้สัตว์ปีกแสดงอาการ ดังนั้น การแยกพื้นที่อาศัยของสัตว์ และมนุษย์เป็นกุญแจสำคัญ
๒.    ป้องกันสัตว์ปีกป่าให้ห่างไกลจากสัตว์ปีก และสัตว์ชนิดอื่นๆ เลี้ยงสัตว์ปีกต่างชนิด และสัตว์ต่างชนิดกันแยกจากกัน ม่าน รั้ว หรือตาข่ายสามารถใช้แยกสัตว์ชนิดต่างๆจากกัน และช่วยป้องกันการแพร่กระจายโรค
๓.        ให้รายงานสัตว์ป่วย หรือตายไปยังเจ้าพนักงานสัตวแพทย์ท้องถิ่น หรือสาธารณสุข หากไม่สามารถกระทำได้ ให้บอกเพื่อนบ้าน หรือผู้นำหมู่บ้าน สิ่งสำคัญคือ อาการป่วยทั้งหมด การตายอย่างเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ สัตว์ในฟาร์ม นกป่า หรือสัตว์ชนิดอื่นๆถูกรายงานไปยังเจ้าพนักงาน เพื่อให้วางมาตรการที่ปลอดภัย และช่วยหยุดยั้งการระบาดของโรค
๔.      ล้างมือบ่อยๆเพื่อฆ่า และกำจัดไวรัส โดยเฉพาะภายหลังการจับสัตว์ปีก หรือสัตว์ชนิดอื่นๆ รวมถึง การประกอบอาหาร หรือเตรียมอาหารจากเนื้อสัตว์ และก่อนการกินอาหาร
๕.     รับประทานอาหารที่ปรุงสุก
๖.      ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ป่วย หรือตาย และไม่จำหน่ายไปยังผู้อื่น รวมถึง ไม่นำมาเป็นอาหารสัตว์อื่นๆด้วย
๗.     หากแสดงอาการไข้ภายหลังสัมผัสกับสัตว์ปีก สัตว์เลี้ยง นกป่า หรือสัตว์ชนิดอื่นๆ ให้รีบพบแพทย์
๘.     หากยืนยันแล้วว่า สัตว์ป่วย เป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์ ควรทำลายอย่างเหมาะสม และอย่างมีมนุษยธรรม รวมถึงมีการชดเชยอย่างเหมาะสมด้วย
FAO เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดผ่านเครือข่ยของประเทศ และเจ้าหน้าที่ภูมิภาค และองค์กรสำคัญ รวมถึง WHO และ OIE โดยศูนย์อ้างอิง FAO และ OIE รวมถึง สถาบันวิจัยทางสัตวแพทย์ฮาร์บิน เป็นผู้นำในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ขณะนี้ FAO และกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ระหว่างชาติ กำลังร่วมกันวิเคราะห์วิธีการวินิจฉัยโรคที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสอบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดใหม่นี้ให้ดีขึ้นต่อไป  
แหล่งข้อมูล          World Poultry (8/4/13)

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

การควบคุมเชื้อซัลโมเนลลา ไฮเดลเบิร์ก ในไก่งวงบดคาร์กิลช้าเกินไป

การตรวจพบการระบาดของเชื้อซัลโมเนลลา ไฮเดลเบอร์ก เชื่อมโยงกับเนื้อไก่งวงบด แสดงให้เห็นว่า เจ้าพนักงานสุขภาพต้องเข้มงวดในการตรวจสอบ และตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพจากอาหารเป็นพิษ ตามรายงานฉบับล่าสุดของ Pew Charitable Trusts ในหัวข้อเรื่อง ช้าเกินไปแล้ว การวิเคราะห์การระบาดของเชื้อซัลโมเนลลาในเนื้อไก่งวงบด และคำแนะนำสำหรับการปรับปรุงการตรวจสอบ และการตอบสนองต่อปัญหา
                จำนวนผู้ป่วยจากการบริโภคเนื้อไก่งวงที่มีการปนเปื้อนรวมทั้งหมด ๑๓๖ รายในสหรัฐฯ ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ๓๗ ราย และเสียชีวิต ๑ ราย
                ศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค (CDC) และหน่วยบริการความปลอดภัยอาหาร และการตรวจสอบ (FSIS) ในกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐฯ ร่วมกับศูนย์สุขภาพรัฐ ใช้เวลา ๒๒ สัปดาห์ติดตามการป่วยตั้งแต่รายแรกในวันที่ ๒๗ กุมภาพันฑ์ เพื่อสืบหาแหล่งต้นตอของการปนเปื้อน วันที่ ๓ สิงหาคม คาร์กิล เริ่มต้นเรียกสินค้าผลิตภัณฑ์เนื้อไก่งวงบดปริมาณ ๓๖ ล้านปอนด์ นับเป็นการเรียกคืนสินค้าครั้งที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา รายงานฉบับนี้ตั้งข้อสังเกตถึงข้อบกพร่องของหน่วยงานรัฐฯในการตรวจสอบ และการตอบสนองต่อปัญหาการระบาดที่ต้องถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น
๑.      เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขของรัฐ และประเทศยังไม่ให้ความสำคัญต่อปัญหาเชื้อซัลโมเนลลาเท่าที่ควร ทั้งที่แต่ละปีมีผู้ป่วยกว่าล้านราย มูลค่าการรักษาพยาบาลกว่า ๑๑ ล้านเหรียญฯ และยังมีผู้ป่วยที่ต้องเสียโอกาสในการทำงาน ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเสียชีวิตมากกว่าเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษจากแบคทีเรีย และไวรัสชนิดอื่นๆ
๒.    ฐานข้อมูลลายพิมพ์ดีเอ็นเอของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษระดับชาติของ CDC มิได้มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดของเชื้อแบคทีเรียที่ถูกเพาะเชื้อได้จากตัวอย่างเนื้อขายปลีก สถานที่อาหารปนเปื้อนถูกผลิต หรือแม้กระทั่งฉลากชื่อสินค้า
๓.      หน่วยงานรัฐบาล มักรีรอจนกระทั่งแน่ใจถึงแหล่งต้นตอของอาหารที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ก่อนที่จะติดต่อกับบริษัทผู้ผลิตอาหาร
                โครงการอาหารปลอดภัยของ Pew ให้ความเห็นว่า ความจริงแล้ว โรคอาหารเป็นพิษสามารถป้องกันได้ ดังนั้น เมื่อเราเคยมีบทเรียนจากการระบาดมาแล้ว เราต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดท่ผ่านมา ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า มีหลายขั้นตอนที่หน่วยงานสาธารณสุขระดับรัฐ และชาติสามารถทำได้รวดเร็วกว่านี้ เพื่อบ่งชี้แหล่งต้นตอของการระบาด และเริ่มต้นเรียกสินค้าคืน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ในรายงานฉบับนี้ Pew ยังให้ข้อแนะนำหลายประการเพื่อปรับปรุงการเฝ้าระวังโรคอาหารเป็นพิษ การตรวจสอบ และการตอบสนองต่อปัญหา
                เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรตรวจสอบ และตอบสนองต่อปัญหาการระบาดของเชื้อซัลโมเนลลา โดยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก คิดค้นระบบการเฝ้าระวังโรค และสืบหาแหล่งต้นตอของโรคอย่างรวดเร็ว และเจ้าหน้าที่สุขภาพควรสัมภาษณ์ผู้ป่วยให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอัพโหลดลายพิมพ์ดีเอ็นเอของเชื้อแบคทีเรียของตัวอย่างเนื้อ และสัตว์ปีกจากร้านขายปลีกไปยังฐานข้อมูลระดับชาติ ควรมีการระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตอาหาร โรงงานที่ผลิต และวันที่ที่มีการจัดจำหน่าย ข้อมูลเหล่านี้ต้องสามารถสืบค้นหาแหล่งต้นตอของอาหารที่ปนเปื้อนได้อย่างรวดเร็ว
                FDA, FSIS, CDC และเจ้าหน้าที่รัฐต้องควบคุมบริษัทอาหารตั้งแต่เริ่มต้นการระบาด เพื่อให้ได้รับข้อมูล เช่น ตารางการผลิต และรูปแบบการกระจายสินค้าที่อาจช่วยให้สามารถแหล่งต้นตอของอาหาร และป้องกันการป่วยได้ดีขึ้นกว่านี้
แหล่งข้อมูล          World Poultry (4/4/13)

วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556

รัสเซียยกเลิกการห้ามนำเข้าจากบราซิลบางส่วนแล้ว

รัสเซียให้การรับรองการนำเข้าสัตว์ปีกจากโรงงานแปรรูป ๒ แห่งในบราซิล นับเป็นก้าวแรกในการยกเลิกห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์จากสามรัฐทางใต้ของบราซิล
                โรงงานทั้งสองแห่งตั้งอยู่ในรัฐพารานา ที่รัสเซียห้ามนำเข้าสัตว์ปีก เนื้อสุกรและโคตั้งแต่กลางปี ค.ศ. ๒๐๑๑ เป็นต้นมา รวมถึง เนื้อสัตว์จากรัฐ Mato Grosso do Sul และ Rio Grande do Sul เนื่องจาก ทั้งสองโรงงานมีการจัดการด้านสุขอนามัยล้มเหลว อย่างไรก็ตาม รัสเซียได้เห็นควรในหลักการเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาที่จะยกเลิกการห้ามนำเข้าโดยพิจารณาเป็นรายโรงงานไป โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องส่งรายละเอียดเอกสารวิธีการดำเนินการ และมาตรฐานของแต่ละโรงงาน
                กระทรวงเกษตรแห่งบราซิลได้รายงานไว้ว่า Russia veterinary regulator ได้แก่ Rosselkhoznadzor ได้ขึ้นรายชื่อโรงงานแปรรูปสัตว์ปีกสองแห่งที่ได้รับการรับรองให้สามารถนำเข้ารัสเซียได้ไว้ในเวบไซต์ ในระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดี Dmitry Medvedev ในเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งสองประเทศมีข้อตกลงให้เร่งรัดการทำงานของเจ้าพนักงานสุขอนามัยเพื่อผลักดันให้ยกเลิกการจำกัดการนำเข้า โรงงานแปรรูปการผลิตเนื้อสัตว์ปีกที่สำคัญในบราซิล ได้แก่ JBS, Marfrig และ Brazil Foods สามารถทำตลาดในประเทศรัสเซีย
 แหล่งข้อมูล         Vladislav Vorotnikov (2/4/13)

แต่งเปลือกจุลินทรีย์ในโปรไบโอติกเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค

โปรไบโอติก แบคทีเรีย สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรียอันตรายในสัตว์ปีก โดยการเปลี่ยนแปลงเปลือกหุ้มตัวเองจากผลการวิจัยของสถาบันวิจัยอาหาร
                ขณะนี้ โปรไบโอติกกำลังมีความก้าวหน้าต่อไปในการวิจัยระดับฟาร์ม เพื่อประเมินผลการใช้งานในการต่อสู้กับเชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตายในสัตว์ปีก และเป็นโรคอาหารเป็นพิษที่สำคัญลำดับที่ ๒ ในสหราชอาณาจักร
                นักวิจัยที่ IFR ได้รับทุนวิจัยจากสภาวิจัยด้านชีววิทยา และเทคโนโลยีชีวภาพ พบว่า โปรไบโอติกชนิด แลคโตบาซิลลัส จอนสันสีอี (Lactobacillus johnsonsii) ที่ให้กับไก่อายุน้อย สามารถป้องกันการเกาะยึดของเชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟรินเจนส์ได้ ปัจจุบัน ผลการวิจัยที่มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ยังพบอีกว่า เชื้อแบคทีเรียในโปรไบโอติกชนิดนี้ สามารถเปลี่ยนแปลงเปลือกหุ้มของเซลล์ เพื่อแข่งขันกับเชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟรินเจนส์ต่อไปได้ นักวิจัยสังเกตว่า เชื้อแบคทีเรียกลุ่มหนึ่งมีรูปร่างเรียบ จึงศึกษายีนส์ที่มีความสำคัญต่อการสร้างเปลือกชนิดพิเศษ หรือแคปซูลที่มีลักษณะเป็นเมือก ซึ่งสามารถปกป้องเชื้อแบคทีเรียจากกรดในกระเพาะอาหาร และเกลือน้ำดี และยังช่วยให้เกิดการสร้างไบโอฟิลม์ขึ้นมาได้ นอกเหนือจากนั้ย ยังสามารถป้องกันสภาวะความแห้งภายนอกร่างกายของโฮสต์ได้อีกด้วย ธรรมชาติของเชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์ที่มีลักษณะผิวเรียบยังเป็นวิธีการที่เชื้อแบคทีเรียใช้สำหรับสร้างความหลากหลายในประชากร และช่วยให้สามารถทนทานต่อสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันได้
                การทดลองปิดยีนส์มากกว่า 1 ชนิดที่เกี่ยวข้องกับเปลือกหุ้ม ช่วยให้นักวิจัยสามารถทราบถึงผลของยีนชนิดต่างๆต่อความสามารถในการยึดเกาะเนื้อเยื่อทางเดินอาหาร ขั้นตอนถัดมาคือ การทำความเข้าใจถึงการควบคุมของยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเปลือก และการเปลี่ยนแปลงยีนส์เหล่านี้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเชื้อจุลินทรีย์ในโปรไบโอติกในการโคโลไนซ์ และอาศัยอยู่ตามทางเดินอาหาร การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะสามารถป้องกันเชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟรินเจนส์มิให้โคโลไนซ์บนทางเดินอาหารได้ กลยุทธ์การแข่งขัน และกำจัดออกเป็นเหตุผลที่เชื้อจุลินทรีย์จากโปรไบโอติกสามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้   
                การทำความเข้าใจบทบาทของเปลือกที่เป็นแคปซูลแบบเมือกจะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถนำเชื้อจุลชีพดังกล่าวป้องกันการติดเชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ในสัตว์ปีก การถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้สู่บริษัท Plant Bioscience Ltd. โดยมีการจดสิทธิบัตรเชื้อจุลินทรีย์ และกำลังประเมินประสิทธิภาพในฟาร์ม ก่อนหน้านี้ จุลินทรีย์เหล่านี้เคยนำมาใช้ในอาหารมนุษย์ ตอนนี้ กำลังกลายเป็นทางเลือกใหม่ในการควบคุมเชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ต่อไป
แหล่งข้อมูล          World Poultry (28/3/13)   

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...