วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2564

“Better life” สำหรับซูปเปอร์มาร์เก็ตดัทช์

 ภายในปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๖ นี้ เนื้อไก่สดที่จำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต ของประเทศเนเธอร์แลนด์ จะต้องมีเครื่องหมายเป็นจำนวนดาวสำหรับเบทเทอร์ เลเวน หรือเบทเทอร์ ไลฟ์ อย่างน้อย ๑ ดวง

รายชื่อซูเปอร์มาร์เก็ตครบถ้วนแล้วในปัจจุบันเป็นหลักไมล์ที่ยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกในโลก องค์กรด้านสวัสดิภาพสัตว์ในเนเธอร์แลนด์ แวคเกอร์ ไดเออร์ (Wakker Dier) แสดงความภาคภูมิใจต่อซูเปอร์มาร์เก็ต และภาคการผลิตไก่ในเนเธอร์แลนด์ และคาดหวังจะได้เห็นฟาร์มที่เป็นมิตรต่อสัตว์มากขึ้น

              เชนซูเปอร์มาร์เก็ตในเนเธอร์แลนด์ บอนี่ เป็นร้านสุดท้ายที่ตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้เนื้อไก่เบทเทอร์ไลฟ์ ๑ ดาวเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่สุดสำหรับสินค้าไก่สด ก่อนหน้านี้ ร้านเชนซูเปอร์มาร์เก็ตในดัทช์รายอื่นๆได้ประกาศว่า ลูกค้าจะซื้อเนื้อไก่สดที่มีเครื่องหมายคุณภาพเบทเทอร์ไลฟ์อย่างน้อย ๑ ดาวไปเรียบร้อยแล้ว โดยห้างอัลเบิร์ต เฮนจ์ ได้ประกาศเป็นรายแรกตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม

 ดาวเบทเทอร์ไลฟ์

              เนื้อไก่ภายใต้เครื่องหมายดาวเบทเทอร์ไลฟ์เป็นไปตามที่กำหนดไว้โดยแวคเกอร์ ไดเออร์ เริ่มตั้งแต่พันธุ์ไก่ที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดี เป็นสายพันธุ์ไก่โตช้า เลี้ยงภายใต้สภาวะที่ดี สัตว์มีโอกาสได้มีความสุขกับแสงแดด มีพื้นที่การเลี้ยงเพิ่มขึ้น และสามารถเดินออกไปภายนอกโรงเรือนได้ เครื่องหมายคุณภาพเบทเทอร์ไลฟ์เป็นเครื่องหมายคุณภาพที่บ่งชี้ถึงการปกป้องสัตว์

ผลกระทบต่อภูมิอากาศโลก

              สำหรับห้างบอนี่ เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตรายสุดท้ายที่เปลี่ยนมาใช้เนื้อไก่ภายใต้เครื่องหมายคุณภาพเบทเทอร์ไลฟ์ ๑ ดาว แม้ว่า เครื่องหมายคุณภาพนี้จะบ่งชี้ถึงสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีขึ้น แต่ยังหมายถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย หากไก่ต้องเลี้ยงต่อไปอีก ๒ สัปดาห์ ก็จะกิน ดื่มน้ำ และขับถ่ายเพิ่มขึ้นอีก ๒ สัปดาห์ และส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศโลกได้เช่นกัน

การลงทุนเลี้ยงไก่เบทเทอร์ไลฟ์

              เพื่อผลิตเนื้อไก่ภายใต้เครื่องหมายคุณภาพเบเทอร์ไลฟ์ ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อต้องมีพื้นที่ภายนอกโรงเรือนให้ไก่ออกไปภายนอกได้ จึงจำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม องค์การเกษตรกรเชื่อว่า ผู้เลี้ยงจะสามารถคืนทุนได้ในอนาคตอันใกล้จากราคาจำหน่ายสินค้าพิเศษนี้

เอกสารอ้างอิง

Berkhout N. 2021. A ‘better life’ for all Dutch supermarket chickens. [Internet]. [Cited 2021 Aug 26]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2021/8/A-better-life-for-all-Dutch-supermarket-chickens-784610E/  

ภาพที่ ๑ การผลิตไก่ภายใต้เครื่องหมายคุณภาพเบทเทอร์ไลฟ์ ผู้เลี้ยงไก่เนื้อต้องจัดให้มีพื้นที่ภายนอกโรงเรือนเพิ่มขึ้น (แหล่งภาพ fotobility)




อียูอนุญาตใช้โปรตีนที่ผลิตจากสัตว์ในอาหารสัตว์

 ร่างกฎระเบียบที่จะพลิกกลับการห้ามใช้โปรตีนจากสัตว์กับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในยุโรปกำลังผ่านการรับรอง

ร่างกฎระเบียบของคณะกรรมาธิการยุโรปว่าด้วย การให้อาหารสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง ครอบคลุมทั้งสุกร และสัตว์ปีก โดยใช้โปรตีนจากสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป กำลังได้ไฟเขียวภายหลังการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วเป็นระยะเวลา ๔ เดือน การใช้โปรตีนจากสัตว์ในการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้องถูกห้ามตั้งแต่การระบาดของโรควัวบ้า ที่เริ่มต้นขึ้นในสหราชอาณาจักรช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๓ และเชื่อว่ามีสาเหตุโดยการให้อาหารสัตว์ที่ผลิตจากเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และกระดูกป่น โรควัวบ้าได้รับการยืนยันในผู้ป่วยสหราชอาณาจักรระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๙ จนถึง พ.ศ. ๒๕๕๘ โคจำนวนมากกว่า ๔ ล้านตัวถูกทำลาย และไม่มีรายงานมานานกว่า ๔ ปีแล้ว เชื่อว่า โรคนี้ได้ถูกกำจัดไปเรียบร้อยแล้ว

การส่งเสริมอาหารสัตว์ท้องถิ่น

              นับตั้งแต่การสั่งห้ามใช้โปรตีนจากสัตว์ การนำเข้าถั่วเหลืองจากทวีปอเมริกาเหนือ และใต้กลายเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญในอาหารสัตว์ ซึ่งอียูมองว่าไม่มีความยั่งยืน ดังนั้น คณะกรรมาธิการยุโรปจึงเห็นว่าควรส่งเสริมการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์จากท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจภายในภูมิภาค  ตามกฎระเบียบใหม่นี้จะอนุญาตให้ใช้โปรตีนจากสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป (processed animal protein, PAP) ที่ผลิตจากสุกร สามารถผสมในอาหารสัตว์ปีก และที่ผลิตจากสัตว์ปีก สามารถผสมในอาหารสุกรได้ ภายใต้ข้อกำหนดที่เข้มงวด โดยต้องมีการแสดงผลการตรวจสอบด้านดีเอ็นเอในเชิงคุณภาพ เป็นข้อกำหนดที่เข้มงวดสำหรับโรงฆ่าสัตว์ และโรงงานผลิตอาหารสัตว์ และยังต้องมีข้อกำหนดเพิ่มเติมด้านระบบ HACCP การติดฉลากระบุโปรตีนจากสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป การใช้โปรตีนจากสัตว์ที่ผลิตจากโคยังไม่ได้รับอนุญาต  

โปรตีนจากสัตว์ที่ผ่านการแปรรูปที่เตรียมจากแมลง

              คณะกรรมาธิการยุโรปยังทบทวนการอนุญาตให้มีการใช้ PAPs ที่เตรียมจากแมลง สำหรับอาหารสุกร และสัตว์ปีก จนถึงปัจจุบัน น้ำมันจากแมลงเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหารสัตว์ และการใช้โปรตีนจากแมลงในปลาป่น การเคลื่อนไหวนี้ได้รับการต้อนรับโดย Copa-Cogeca สหภาพเกษตรกรชั้นนำในอียู โดยอ้างว่าการใช้ PAPs เป็นแหล่งสำคัญของสารอาหารที่อุดมไปด้วยฟอสฟอรัส และเป็นโปรตีนที่ย่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมาก ผู้เลี้ยงสุกร และสัตว์ปีกในอียูกำลังคอยการกลับมาของโปรตีนจากสัตว์อีกครั้ง  

            อย่างไรก็ตาม อิตาลีที่เป็นประเทศสมาชิกสภายุโรป พยายามล็อบบี้อย่างหนักในช่วงต้นปีไม่ให้คณะกรรมาธิการยุโรปยกเลิกการสั่งห้ามใช้โปรตีนจากสัตว์ เนื่องจาก เห็นว่าไม่มีเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพมนุษย์ หรือสัตว์ที่ดีสำหรับการยกเลิกคำสั่งห้ามใช้โปรตีนจากสัตว์ ยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่า เจ้าพนักงานรัฐ และผู้ผลิตจะสามารถรับประกันได้ว่าสามารถแยกไลน์การผลิต และสร้างความเชื่อมั่นต่อการควบคุมได้อย่างแม่นยำ

มาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์ และระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ  

              สหราชอาณาจักรให้คำมั่นสัญญาว่าจะรักษามาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ และความปลอดภัยทางชีวภาพให้อยู่ในระดับสูงที่สุด ภายหลังออกจากสหภาพยุโรปแล้ว และไม่มีข้อผูกมัดทางกฏหมายให้ต้องปฏิบัติ และเปลี่ยนแปลง ดีฟรา (DEFRA, Department of Environment, Food and Rural Affairs กล่าวถึงทางเลือกสำหรับการทบทวนกฏระเบียบว่าด้วยโรค TSE (Transmissible Spongiform Encephalopahy) ในอนาคตจะยังคงรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร และสุขภาพของมนุษย์ และสัตว์ไว้ในระดับสูง โดยพื้นฐานของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

เอกสารอ้างอิง

McDougal T. 2021. EU set to allow feeding of animal protein to non-ruminants. [Internet]. [Cited 2021 Aug 27]. Available from: https://www.poultryworld.net/Nutrition/Articles/2021/8/EU-set-to-allow-feeding-of-animal-protein-to-non-ruminants-784605E/

ภาพที่ ๑ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป จะกลับมาอนุญาตให้ใช้โปรตีนจากสัตว์ที่แปรรูปจากแมลงสำหรับอาหารสุกร และสัตว์ปีก จนถึงปัจจุบันมีเพียงน้ำมันจากแมลงเท่านั้นที่อนุญาตให้ผสมในอาหารสัตว์ และโปรตีนจากแมลงในปลาป่น (แหล่งภาพ Bert Janse)



วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564

การผลิต และส่งออกเนื้อสัตว์ปีกรัสเซียลดลงในปีนี้

 ครึ่งแรกของปี พ.ศ. ๒๕๖๔ นี้ การผลิตสัตว์ปีกในรัสเซียลดลงร้อยละ ๒.๔๔ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศ ตั้งแต่ต้นปี

ช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๖๔ การผลิตสัตว์ปีกรัสเซียลดลงร้อยละ ๖.๒ ถือว่าเป็นการลดลงมากที่สุดตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมา การผลิตที่ลดลงมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย รวมถึง การระบาดของโรคไข้หวัดนก และต้นทุนการผลิตที่พุ่งทะยานสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม กำลังติดตามสัญญาณบวกที่เห็นได้ถึงการฟื้นตัวในช่วงปลายปี และการผลิตภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น

การส่งออกที่ลดลง

              ครึ่งแรกของปีนี้ การส่งออกรัสเซียรวมแล้ว ๑๓๒,๐๐๐ ตัน ลดลงร้อยละ ๖.๖ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว คิดเป็นตัวเงินแล้ว รายได้จากการส่งออกลงลงร้อยละ ๗.๒ เป็น ๖.๖ พันล้านบาท ปัจจัยหลักที่กดดันให้การส่งออกลดลงเป็นผลมาจากการส่งออกไปยังจีนที่ลดลงร้อยละ ๒๒ เป็น ๓.๓ พันล้านบาทในครึ่งแรกของปี พ.ศ. ๒๕๖๔    

              หกเดือนแรกของปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ราคาเนื้อสุกรในจีนลดลงมาก ส่งผลต่อราคาเนื้อสัตว์ปีกตกต่ำลงไปด้วย ปัจจัยนี้ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกจากรัสเซียให้จีนด้วย การส่งออกจึงลดลงไปด้วย ในบราซิลที่เป็นคู่แข่งสำคัญของรัสเซียในภูมิภาคตะวันออกไกลราคาก็ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๐ ทำให้สินค้าจากรัสเซียแข่งขันได้เพิ่มขึ้น และกลายเป็นเป้าหมายที่สร้างความหวังสำหรับบริษัทผู้ผลิตต่างๆในรัสเซีย   

ราคากำลังเพิ่มขึ้นต่อไป

              ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นกดดันให้ราคาเนื้อสัตว์ปีกในรัสเซียสูงขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ราคาพุ่งทะยานขึ้นร้อยละ ๒๐ ถึง ๒๒ จากเมื่อปีที่แล้ว แม้ว่า ราคาที่สูงขึ้นจะไม่เหมือนกันในภูมิภาคต่างๆของรัสเซีย ราคาเนื้อสัตว์ปีกโลกที่เพิ่มขึ้นมีความเชื่อมโยงกับความต้องการที่กำลังเติบโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกรัสเซียต้องปรับราคาป้ายสินค้า เนื่องจาก การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต นอกเหนือจากต้นทุนอาหารสัตว์ ค่าไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง และค่าขนส่งก็กำลังเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน 

เอกสารอ้างอิง

Vorotnikov V. 2021. Russian poultry production and exports are down in 2021. [Internet]. [Cited 2021 Aug 4]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2021/8/Russian-poultry-production-and-exports-are-down-in-2021-784604E/

ภาพที่ ๑ ราคาต้นทุนอาหารสัตว์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสัตว์ปีกในรัสเซีย (แหล่งภาพ Hans Banus) 



วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2564

ไก่พันธุ์ (เนื้อ) ชอบรังวางไข่ไม้

 จำนวนไข่ฟัก การผสมติด และอัตราการฟักเป็นตัว ในไก่พันธุ์ (เนื้อ) เป็นตัววัดประสิทธิภาพการเลี้ยง แต่สิ่งที่น่าปวดหัวมากเป็นพิเศษคือ จำนวนไข่พื้น เนื่องจาก ต้องใช้แรงงานเก็บเป็นพิเศษ  

การเลี้ยงสัตว์อย่างเหมาะสม ให้สัตว์ปีกตื่นตัว และจัดพื้นที่สแลตช่วยป้องกันไข่พื้นได้ แต่งานวิจัยล่าสุด แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการวางไข่ในรังชนิดต่างๆที่ให้ผลแตกต่างกัน

โรงเรือนเลี้ยงไก่พันธุ์ (เนื้อ) ประกอบด้วยอุปกรณ์ และรังสำหรับวางไข่ฟัก การตัดสินใจเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชำรุด แล้วควักเงินซื้อใหม่เป็นต้นทุนการผลิตไม่น้อย อย่างไรก็ตาม การสร้างฟาร์มใหม่ หรือเพิ่มจำนวนโรงเรือน ผู้ผลิตก็สามารถทบทวนพื้นฐานการเลี้ยงสัตว์ ใช้บทเรียน และประสบการณ์ความบกพร่องในอดีต แล้วคิดหาโอกาสที่จะลงทุนด้วยเทคโนโลยีล่าสุดด้วยการมองการณ์ไกลในอนาคต

พฤติกรรมไก่พันธุ์ (เนื้อ)

                 แนวคิดอันบรรเจิดใหม่มาจากนักวิจัย Anne van den Oever นักศึกษาปริญญาเอกชาวดัทช์ที่มหาวิทยาลัยวาเคอนิงเงิน และคณะนักวิจัยกลุ่มเวนโคมาติก ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเบิร์น สวิสเซอร์แลนด์ โดยมองเข้าไปในรายละเอียดของพฤติกรรมไก่พันธุ์ (เนื้อ) ก่อนหน้านี้ได้ลงมือวิจัยด้านพฤติกรรมของไก่ไข่ แต่ยังคงเกิดคำถามถึงความสัมพันธ์ระหว่างไก่พันธุ์ และการออกแบบโรงเรือน โดยเฉพาะ ความชื่นชอบรังสำหรับวางไข่แบบต่างๆ ในบางโรงเรือนมักพบปัญหารังไข่ที่แม่ไก่ชอบสุมรวมกัน ทำให้ประสบปัญหาไข่พื้น สายพานส่งไข่ฟักเต็ม และการบาดเจ็บของสัตว์ แม้ว่า รังไข่แบบต่างๆก็เหมือนกัน ไก่ก็มักปีนป่ายกันเนื่องจากปัจจัยด้านพันธุกรรม จากประเด็นหนึ่งก็แตกไปสู่อีกประเด็นหนึ่ง นักวิจัยจึงพยายามออกแบบการทดลองใหม่ที่มุ่งเน้นไปที่ความชื่นชอบรังวางไข่ชนิดต่างๆ

สภาวะในอุดมคติสำหรับสัตว์      

              แนวความคิดการวิจัยของ Van den Oever เป็นการมองหาชนิดของรังสำหรับวางไข่ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดทุกประการ ยังไม่มีมาตรฐานเกี่ยวกับการออกแบบรังสำหรับวางไข่ แต่เกณฑ์ที่สำคัญของสัตว์ ผู้วิจัยเริ่มจากความเห็นของผู้ใช้งานของอุปกรณ์จากแวนโคมาติกมาอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี เมื่อพยายามปรับปรุงสภาพโรงเรือนที่เหมาะสมสำหรับไก่พันธุ์ (เนื้อ) ที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์ คำถามสำคัญคือ แม่ไก่ชอบแบบไหน การจัดรังสำหรับวางไข่ที่ได้รับการออกแบบอย่างดีจะเป็นประโยชน์สำหรับแม่ไก่ และผู้เลี้ยงสัตว์ รวมถึง สวัสดิภาพของสัตว์ก็จะดีขึ้นไปด้วย โดยสอดคล้องกับความต้องการพื้นฐาน และยังช่วยเพิ่มจำนวนไข่ฟักที่วางบนรังสำหรับวางไข่อย่างถูกต้อง   

              ความน่าดึงดูดสนใจของรังไข่สำหรับแม่ไก่มีหลายปัจจัย เช่น ความสงบ ชนิดวัสดุ และบรรยากาศภายในที่สบาย จากประสบการณ์แล้ว นักวิจัยเล็งเห็นว่า รังไข่ที่ไม่เหมาะสมนำไปสู่ปัญหาไข่พื้น ไม่ใช่เพียงจำนวนครั้งต่อรังไข่บ่อยครั้งขึ้น และระยะเวลานั่งวางไข่ก็สั้นลงอีกด้วย โดยสรุปอย่างง่ายก็คือ แม่ไก่ไม่รู้สึกว่าปลอดภัย และมีความสุขขณะวางไข่

การศึกษารังไข่ที่แม่ไก่ชอบเข้า

              นักวิจัยพยายามศึกษาลักษณะรังไข่ที่แม่ไก่ชอบใช้งาน โดยออกแบบลักษณะกล่องรังไข่ ๔ แบบ เพื่อทดสอบความชื่นชอบของแม่ไก่ โดยใช้รังวางไข่ควบคุมเป็นพลาสติก โดยกั้นแบ่งเป็น ๒ ห้อง กล่องพลาสติกที่ติดตั้งระบบระบายอากาศไว้ข้างล่างให้อากาศหมุนเวียนภายในรังไข่ให้รู้สึกเหมือนมีลมพัดสบายในรังไข่ และรังไข่ไม้ ที่มีพื้นที่สัมผัสให้แม่ไก่รู้สึกเหมือนอยู่ในธรรมชาติ

              จำนวนกลุ่มทั้งหมด ๖ กลุ่ม ประกอบด้วยแม่ไก่ ๑๐๐ ตัว และพ่อไก่ เข้าถึงรังไข่ทั้ง ๔ แบบได้แบบสุ่มที่อายุ ๒๐ ถึ ๓๔ สัปดาห์ โดยตรวจพฤติกรรมแม่ไก่ภายในโรงเรือนตลอดเวลาภายในรังไข่ ระหว่างอายุ ๒๔ ถึง ๒๕ สัปดาห์ และ ๒๖ ถึง ๒๗ สัปดาห์ วิเคราะห์พฤติกรรม รวมถึง กิจกรรมของแม่ไก่ ตรวจสอบสภาพรังวางไข่ การเข้ารังวางไข่ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

แม่ไก่ชื่นชอบรังวางไข่แบบไม้อย่างชัดเจน       

              จากสมมติฐานที่ว่า หากแม่ไก่ไม่ชื่นชอบรังวางไข่ การออกแบบรังวางไข่ทุกแบบในการศึกษาครั้งนี้ควรมีสัดส่วนร้อยละ ๒๕ ของการวางไข่ พบว่า รังวางไข่ที่มีการระบายอากาศด้วยไม่เป็นที่ดึงดูดใจแล้ว คาดว่าจะมีสัดส่วนร้อยละ ๓๓ ต่อชนิดของรังวางไข่ แต่ค่าเฉลี่ยทางสถิติสามารถใช้วิเคราะห์ด็ต่อเมื่อมองว่าแม่ไก่เป็นเครื่องจักรที่ผลิตไข่เท่านั้น ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า แม่ไก่พันธุ์เนื้อมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความชื่นชอบเป็นพิเศษกับรังวางไข่ที่ทำด้วยไม้มากกว่ารังวางไข่พลาสติก

ทางเลือกรองลงมา

               แม่ไก่เพียงร้อยละ ๑๕ เท่านั้นที่ยังเลือกรังวางไข่ที่ทำด้วยพลาสติก โดยร้อยละ ๑๐ เลือกรังวางไข่ที่มีแผ่นกั้นห้อง และเพียงร้อยละ ๕ เท่านั้นที่เลือกรังวางไข่ที่ติดตั้งระบบระบายอากาศ เนื่องจาก มีรังวางไข่ที่ทำด้วยไม้เพียง ๑ ใน ๔ ของทั้งหมดเท่านั้น แม่ไก่แสดงพฤติกรรมออรวมกันใช้งาน ปีนป่าย และมีพฤติกรรมก้าวร้าวเพื่อแก่งแย่งกันใช้รังวางไข่ชนิดนี้ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นชัดเจนว่า แม่ไก่เลือกที่ใช้งานรังวางไข่ชนิดนี้ โดยสังเกตเห็นพฤติกรรมกลับมาใช้รังเดิมวันแล้ววันเล่า

              เพื่อทดลองหาทางเลือกรองลงมา นักวิจัยจึงปิดรังวางไข่ไม้ เพื่อดูว่าแบบของรังวางไข่ และตำแหน่งการวางใกล้กับรังไม้ พบว่า รังวางไข่ควบคุมยังเป็นที่ชื่นชอบมากกว่ารังพลาสติก โดยการจัดรังวางไข่ให้ใกล้กับรังไม้ แม่ไก่ก็จะเข้าไปใช้มากกว่า   

              ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า แม่ไก่มีพฤติกรรมชื่นชอบรังวางไข่ที่ทำด้วยไม้อย่างชัดเจน วัสดุสำหรับการทำรังวางไข่จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ ดังนั้น การออกแบบรังวางไข่ควรพิจารณาปัจจัยนี้ด้วย การวิจัยครั้งนี้ออกแบบรังวางไข่ตามมาตรฐานโรงเรือนของยุโรป แต่คณะผู้วิจัยก็คาดหวังว่าจะสามารถประยุกต์ใช้กับภูมิภาคอื่นๆด้วยเช่นกัน

เหมาะสมที่สุดสำหรับทุกฟาร์ม

              โดยสรุปแล้ว ผลการทดลอง แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แม่ไก่ชื่นชอบรังวางไข่ที่ทำด้วยไม้ ผู้สนับสนุนการวิจัยอย่างเวนโคแมนติก มีพลาสติกคุณภาพสูง และให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ในการผลิต จากผลการศึกษาครั้งนี้ บริษัทจึงได้ซื้อกิจการของ Van Gent ที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตรังไม้ในระดับโลก โดยหวังว่าจะสามารถผลิตอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับทุกฟาร์มได้ ร่วมกับการจัดการ และการเลี้ยงอย่างเหมาะสม รังไม้สามารถลดปัญหาไข่พื้นได้อย่างดีอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง

Brockotter F. 2021. Broiler breeders prefer wooden. [Internet]. [Cited 2021 Aug 4]. Available from: https://www.poultryworld.net/Eggs/Articles/2021/8/Broiler-breeders-prefer-wooden-nests-777162E/

ภาพที่ ๑ ไก่พันธุ์ (เนื้อ) ชอบรังวางไข่ไม้ (แหล่งภาพ Anne van den Oever)



 

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...