วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

จับตาอีสเตอร์ปีนี้ ยอดกินไข่จริงเหนือไข่ช๊อกโกแล๊ต!!!



วันอีสเตอร์ปีนี้ตรงกับปีที่ ๒๕ นับตั้งแต่รัฐมนตรีกระทรวงสุขภาพ Edwina Currie ได้แสดงความเห็นเรื่องวิกฤติการณ์ซัลโมเนลลาในสหราชอาณาจักรปี ๑๙๘๘ วันนี้ผู้ผลิตไข่ในสหราชอาณาจักรกำลังจับตามองการจำหน่ายไข่อย่างล้นหลามตลอดสุดสัปดาห์นี้สำหรับเทศกาลวันอีสเตอร์ เป็นชัยชนะของตราสัญลักษณ์สิงโตบริเทนเหนือไข่ช๊อกโกแล็ต ชัยชนะเหนือซัลโมเนลลาสำหรับอุตสาหกรรมไข่ไก่
การจำหน่ายไข่จริงคาดว่าจะมากเป็นสองเท่าของไข่ช๊อกโกแล็ต ตอนนี้ อุตสาหกรรมไก่ได้หวนกลับคืนมาเหมือนเดิม เป็นความภาคภูมิใจเล็กๆ ที่ตอนนี้ คนอังกฤษสามารถซื้อไข่ต้มได้แล้ว เพียงแค่มีสัญลักษณ์สิงโตบนเปลือกไข่เท่านั้น ขณะนี้ สภาอุตสาหกรรมไข่ไก่แห่งสหราชอาณาจักรกำลังติดตามเทศกาลอีสเตอร์แรกที่การบริโภคไข่จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก หลังจากวิกฤติการณ์เชื้อซัลโมเนลลาย้อนหลังไป ๒๕ ปีผ่านมาแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๘๘ ก้าวต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของความสำเร็จ ตราสัญลักษณ์สิงโตบริเทนบนเปลือกไข่ได้ปฏิวัติตลาดไข่กลับคืนมาอีกครั้ง เรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับคืนมา และตอนนี้กำลังสร้างสถิติใหม่สำหรับยอดจำหน่ายไข่ไก่อย่างต่อเนื่อง เชื่อว่า การบริโภคไข่ในช่วงเทศกาลอีสเตอร์นี้จะสามารถทวงคืนยอดการจำหน่ายไข่ไก่ให้กลับคืนมาเหมือนเดิมนับตั้งแต่วิกฤติการณ์ซัลโมเนลลา คาดว่า ในสหราชอาณาจักรจะมีการบริโภคไข่ไก่ถึง ๔๕ ล้านฟองในวันเดียวในช่วงเทศกาลอีสเตอร์ โดยมียอดรวม ๑๘๐ ล้านฟองมากกว่าไข่ช๊อกโกแล็ตที่มีการจำหน่ายเพียง ๘๐ ล้านฟอง    
แหล่งที่มา:            World Poultry (22/4/14)    


วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557

Merck AH เปิดตัววัคซีนป้องกันโรค IB



บริษัท Merck Animal Health เปิดตัววัคซีน MILDVAC-Ma5 สำหรับป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อสายพันธุ์ แมสซาชูเสต (Massachusetts) เป็นซีโรไทป์ที่มีความชุกมากที่สุดทั่วโลก และสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมสัตว์ปีกสหรัฐฯมากที่สุดในแต่ละปี
                เชื้อไวรัส IBV มีเป้าหมายมิใช้เพียงระบบทางเดินหายใจ แต่ยังมีท่อทางเดินอวัยวะสืบพันธุ์ และปัสสาวะ และยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะเป้าหมายหลายแห่งทั่วร่างกายสัตว์ การติดเชื้อเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ และยังส่งผลกระทบต่อผลผลิตไข่ในไก่ไข่ และไก่พันธุ์ การควบคุมโรคได้ดีที่สุดโดยการเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ และการให้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ
                ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า วัคซีน MILDVAC-Ma5 แตกต่างจากวัคซีนอื่นๆ คือสามารถให้ภูมิคุ้มกันที่กว้างขวางครอบคลุมเชื้อไวรัส IBV หลากหลายสายพันธุ์ และยังคุ้มครองการทำงานของซีเลียที่หลอดคอ (Ciliostasis) ได้อีกด้วย โดยเฉพาะ MILDVAC-Ma5 ยังสามารถป้องกันโรคจาก Mass41 เมื่อประเมินประสิทธิภาพโดยการทดสอบ Ciliostasis test และเมื่อใช้วัคซีนร่วมกับ Delaware-type 072 ที่พบใน Shor-Bron-D พบว่า การป้องกันโรคยังครอบคลุมคุ้มครองการทำงานของซีเลียที่หลอดคอในไก่เนื้อที่ป้อนเชื้อพิษด้วย Ark/ArkDPI/81, GA11 หรือ GA98 จากผลการวิจัยของ Mark Jackwood ศูนย์วิจัย และวินิจฉัยโรคสัตว์ปีก (PDRC) มหาวิทยาลัยจอร์เจีย
                นอกเหนือจากนั้น วัคซีน MILDVAC-Ma5 มีผลข้างเคียงต่อไก่น้อย เนื่องจาก ความสม่ำของเชื้อไวรัสที่เตรียมเป็นวัคซีน เป็นการลดความแปรปรวนทางชีวภาพ และช่วยให้เกิดความมั่นใจว่า วัคซีนจะมีประสิทธิภาพได้จริงในการใช้งานในพื้นที่จริง วัคซีน MILDVAC-Ma5 สามารถให้ได้ทั้งสเปรย์หยาบที่อายุ ๑ วัน หรือละลายน้ำที่อายุ ๒ สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น นอกจากนั้น ยังสามารถให้ในลูกไก่อายุ ๑ วันร่วมกับสายพันธุ์ Delaware-type 072 เช่น สายพันธุ์ที่พบใน Shor-Bron-D หากต้องใช้กับไก่อายุมาก อาจต้องให้วัคซีนซ้ำอีก ๒ สัปดาห์ วัคซีน MILDVAC-Ma5 สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรมวัคซีนสัตว์ปีกโดยอาศัยหลักการ Protectotype เพื่อให้สามารถจัดการป้องกันโรค IB ที่มีหลากหลายสายพันธุ์ในไก่เนื้อ และไก่ไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบ Protectotype มุ่งเน้นการป้องกันโรค IB สูงที่สุดผ่านการใช้วัคซีนหลากหลายสายพันธุ์ร่วมกัน เมื่อไก่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค IB สองสายพันธุ์ร่วมกัน จะสามารถป้องกันโรค IB ได้อีกหลากหลายสายพันธุ์ อย่างน้อย ๒ สายพันธุ์ที่ใช้เตรียมวัคซีน และสายพันธุ์อื่นๆที่ไม่มีในวัคซีน แต่ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนร่วมกันสามารถให้การป้องกันโรคข้ามไปได้ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับฟาร์มในการรักษาประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มความสม่ำเสมอ และเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร   
แหล่งที่มา:            World Poultry (15/4/14) 
   

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผลปรับปรุงพันธุ์สัตว์



Wageningen UR จากเนเธอร์แลนด์ พัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (HPC, High Performance Computer) สำหรับการวิจัยพัฒนาพันธุกรรมสัตว์ในโครงการ Breed4Food consortium  
                คอมพิวเตอร์จะช่วยให้สามารถประมวลข้อมูลจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการลงทุนเริ่มต้นมากกว่า 700,000 ปอนด์ ขณะนี้ สามารถจัดหาได้ทั่วไปแล้วสำหรับนักวิจัย และบริษัท โดยเป็นการร่วมทุนกับคู่ค้าบริษัท Breed4Food ที่เป็นศูนย์วิจัยเทคโนโลยี ภาคส่วนอาหาร และการเกษตร (CAT-AgroFood) และบริษัทคอมพิวเตอร์จากเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ Wageningen UR นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ มีความจำเป็นต้องประมวลข้อมูลปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีพัฒนาการเทคโนโลยีการตรวจลำดับสารพันธุกรรม ปริมาณข้อมูลก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคำนวณข้อมูลที่สลับซับซ้อนได้เป็นอย่างดี ช่วยให้นักวิจัยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกได้ดีขึ้น เช่น ข้อมูลด้านพันธุกรรมเพื่อคัดเลือกพันธุ์สัตว์ที่ดีที่สุดสำหรับการผสมข้ามกัน
                การซื้อเครื่อง HPC เป็นการเริ่มต้นของบริษัทปรับปรุงพันธุกรรม และกลุ่มวิจัยที่ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาพันธุกรรมสัตว์ภายใน Wagenigen UR (ศูนย์วิจัย และมหาวิทยาลัย) ร่วมกันในโครงการ Breed4Food consortium บริษัทผู้ร่วมโครงการนี้ได้แก่ Hendrix Genetics, COBB Europe, CRV และ TOPIGS ผู้ร่วมโครงการหวังว่าจะใช้เครื่อง HPC สำหรับเป็นแกนการทำงานร่วมกัน และการวิจัยในระยะยาว เครื่อง HPC ไม่ใช่เหมาะสำหรับการปรับปรุงพันธุกรรมสัตว์เท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ในงานการพัฒนาพันธุกรรมพืช และงานวิจัยอีกหลากหลายได้อีกด้วย นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญในการวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุกรรมสัตว์ และเป็นตัวอย่างที่ดีเลิศสำหรับความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน และสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สิ่งสำคัญคือ การทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างทุกภาคส่วน เพื่อให้มีโอกาสได้พูดคุยกัน และได้รับข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ สามารถเปลี่ยนเป็นนวัตกรรมใช้ในบริษัทเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว   
แหล่งที่มา:            World Poultry (18/4/14) 
   

เกาหลีเหนือรายงานหวัดนก H5N1



โรคไข้หวัดนกสับไทป์ H5N1 ระบาดในฟาร์มสัตว์ปีกสองแห่งทางตอนเหนือของกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ มีไก่เสียชีวิตมากกว่า ๔๖,๐๐๐ ตัว ตามรายงานโดยสำนักงานโรคระบาดสัตว์นานาชาติ (OIE)
                การระบาดครั้งแรก แม่ไก่ไข่ทั้งหมด ๔๖,๒๑๗ ตัวตายจากโรคในโรงเรือนสามหลังที่โรงงาน Hadang การระบาดเริ่มต้นขึ้นในวันที่ ๒๑ มีนาคม และตัวอย่างให้ผลบวกในวันที่ ๒๖ มีนาคม การระบาดครั้งที่สอง จำนวนไก่ตายไม่มีรายงานในไก่กรงหนึ่งที่โรงงานไก่ Sopo ในพื้นที่เดียวกันเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดนกสับไทป์ H5N1 แต่ยังไม่ทราบต้นตอของแหล่งระบาด ขณะนี้ ได้มีมาตรการควบคุมโรคเพื่อจำกัดการแพร่กระจาของโรค การกักกันโรค การควบคุมการเคลื่อนย้ายภายในประเทศ การคัดกรอง และการฆ่าเชื้อ การระบาดครั้งล่าสุดของ HPAI ในประเทศเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖  
แหล่งที่มา:            World Poultry (18/4/14)    

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

ญี่ปุ่นทำลายไก่หยุดหวัดนกระบาด



ประเทศญี่ปุ่นทำลายไก่ ๑๑๒,๐๐๐ ตัว ภายหลังยืนยันโรคไข้หวัดนกในฟาร์มทางตอนใต้ของประเทศ การระบาดครั้งนี้เป็นครั้งแรกของประเทศในรอบสามปี
                การตรวจสอบด้วยเทคนิคดีเอ็นเอยืนยันโรคไข้หวัดนกสับไทป์ H5 ในจังหวัด Kumamoto ที่เลี้ยงไก่จำนวน ๕๖,๐๐๐ ตัว ภายหลังเจ้าของฟาร์มได้แจ้งการตายอย่างกระทันหันในฟาร์ม เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ได้สั่งทำลายไก่อีก ๕๖,๐๐๐ ตัวในฟาร์มที่เลี้ยงไว้แยกจากกันที่เลี้ยงโดยเจ้าของรายได้เดียวกัน เนื่องจาก ที่ตั้งฟาร์มมีความเสี่ยงสูง ขณะนี้ รัฐบาลพยายามควบคุมการระบาดของโรค อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีได้พยายามเตือนผู้เลี้ยงไก่ให้เฝ้าระวังการระบาด โดยเฉพาะ ยังมีการระบาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเกาหลีใต้อีกด้วย เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ท้องที่ได้สั่งห้ามการเคลื่อนย้ายไก่จากฟาร์มที่เกิดการระบาดแล้ว และมีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อรอบฟาร์มทั้งสองแห่ง รวมถึง ฟาร์มไก่อื่นๆที่อยู่ใกล้เคียง
                รัฐบาลจะจัดทีมพนักงานปศุสัตว์ และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสอบสวนหาสาเหตุของการระบาด รวมถึง การวางมาตรการควบคุมโรค  
แหล่งที่มา:            World Poultry (21/4/14)    

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...