วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

 แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว์ปีก อาหารที่มีระดับโปรตีนสูงยังทำให้สมดุลของกรดอะมิโนไม่เหมาะสมอีกด้วย แล้วทำไมต้องไปยึดติดกับโปรตีน ส่วนที่เกินไปจากสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรัรบอาหารสัตว์ปีกไป ไม่สามารถใช้สำหรับการสังเคราะห์โปรตีน กรดอะมิโนที่ไม่ได้ใช้เหล่านี้จำเป็นต้องผ่านกระบวนการดีแอมมิเนชันในตับ จึงทำให้ตับอวัยวะที่สำคัญของร่างกายต้องทำลายอย่างหนัก  

ยิ่งไปกว่านั้นกระบวนการดีเอมิเนชันต้องใช้พลังงาน เป็นสารอาหารที่ราคาแพงที่สุดในอาหารสัตว์ปีก ส่งผลลบต่อผลการเลี้ยงไก่ รวมถึง สุขภาพ และภูมิคุ้มกันสัตว์ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น กรดอะมิโนที่ไม่ถูกใช้จะเปลี่ยนเป็นไนโตรเจน แล้วขับออกจากร่างกาย ส่งผลให้ระดับแอมโมเนียในโรงเรือนสูงขึ้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพสัตว์ และคนงาน เนื่องจาก สร้างความระคายเคืองต่อระบบหายใจทำให้ไวต่อการเกิดโรค

 

การแก้ไขปัญหา

               การจัดการปัญหาแอมโมเนีย ต้องขนส่งออกจากโรงเรือนด้วยระบบการระบายอากาศที่ทรงพลัง แล้วปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น ต้นทุนด้านพลังงานสำหรับโรงเรือนเลี้ยงไก่ยังเพิ่มขึ้น เนื่องจาก อากาศใหม่ที่เติมเข้ามาก็ต้องถูกทำให้เย็นลง ดังนั้น การลดโปรตีนในอาหารสัตว์ จึงไม่ใช่เพียงผลดีด้านเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ยังทำให้สัตว์สุขภาพดี และภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นด้วย โดยภาพรวมก็ทำให้ผลการเลี้ยงสัตว์ดีขึ้น โดยเฉพาะ ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร อัตราการเจริญเติบโต มวลไข่ไก่ และอัตราการตายลดลง

สารเติมอาหารสัตว์จากธรรมชาติ

               บริษัทออสเตรเลีย หรือเอพีซี ได้พัฒนาสารเติมอาหารสัตว์จากธรรมชาติที่ช่วยให้แบคทีเรียที่มีชีวิตกลุ่มแลคโตในลำไส้เจริญเติบโตดีขึ้น เป็นกุญแจสำคัญเพื่อบำรุงชั้นเยื่อเมือกในลำไส้ ช่วยให้การดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น ทำความเข้าใจอย่างง่าย โปรตีนและสารอาหารอื่นๆก็จะถูกใช้ประโยชน์ได้ดีด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ผนังลำไส้ก็ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด

               ผลงานวิจัยจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่า การใช้เอพีซีขนาด ๒ กิโลกรัมต่อตันอาหารสัตว์ ช่วยให้แบคทีเรียกลุ่มแลคโตเพิ่มขึ้น ๑๓ เท่าในลำไส้เปรียบเทียบกับไม่ได้ใช้ และลดพีเอชลงจาก ๖.๗ เป็น ๖.๒ ใส่เครื่องหมายตกกระใจ ขณะที่ แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มลดลงร้อยละ ๑๐ ทุกคนในธุรกิจทราบดีว่า ลำไส้ที่สุขภาพดี ช่วยให้สัตว์สุขภาพดีไปด้วย และช่วยลดการตายลงได้

               ผลิตภัณฑ์เอพีซีจากธรรมชาติ คัดเลือกคุณสมบัติในการจับแอมโมเนียในลำไส้ และช่วยให้การถ่ายทอดประจุดีขึ้น ดังนั้น สารอาหารกลุ่มมาโครอิลิเมนต์จึงสามารถลดลงได้ในสูตร รวมถึงผลของการทำหน้าที่เอนไซม์ไฟเตสอีกด้วย ตกกระใจอีกครั้ง!

               ผลจากการลดโปรตีนช่วยให้ระดับแอมโมเนียที่วัดได้ลดลงร้อยละ ๕๐ การลดแมคโคร อีลีเมนต์  ช่วยลดต้นทุนสูตรอาหารสัตว์ ช่วยให้ระดับพีเอชในลำไส้ลดลง และลดการต่อต้านการทำหน้าที่ของเทรส อีลีเมนต์ได้อีกด้วย

งานวิจัย

               การทดลองในมหาวิทยาลัย แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การลดมาโคร อีลีเมนต์ลงแล้วใช้อีพีซีร้อยละ ๐.๒ ในอาหารไก่ไข่ หรือไก่พันธุ์ พบว่า เปลือกไข่แข็งแรงและน้ำหนักเพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการผลิตไข่ไก่ และไก่พันธุ์  

               นอกจากนั้น ความหนาแน่นที่สูงขึ้นของเปลือกไข่ไก่โดยการให้เอพีซี ช่วยลดการตายของลูกไก่แรกเกิดลงได้ อัตราการฟักสูงขึ้น และลูกไก่อายุวันแรกน้ำหนักเพิ่มขึ้น และสุขภาพดีขึ้น ทั้งนี้เป็นผลมาจากความหนาแน่นของเปลือกไข่ที่สูงขึ้น ช่วยยับยั้งการแทรกผ่านของแบคทีเรียก่อโรคระหว่างการฟัก

โปรตีนลดลงในอาหรสัตว์เป็นประโยชน์หลายอย่าง

               โดยสรุปแล้ว การลดโปรตีนมีประโยชน์อย่างมากสำหรับสิ่งแวดล้อม การใช้เอพีซี ช่วยให้ลดการใช้ถั่วเหลืองที่เป็นวัตถุดิบสำคัญที่ส่งผลอย่างมากต่อฟุ้ตพรินต์ด้านสิ่งแวดล้อม การลดถั่วเหลืองลงสามารถลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์โดยภาพรวมในการผลิตอาหารสัตว์อย่างยั่งยืน

               ยิ่งไปกว่านั้น เอพีซีช่วยลดการปลดปล่อยแอมโมเนียเข้าสู่สิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำคัญ การผลิตอาหารสัตว์ปีกโดยใช้สารเติมอาหารสัตว์จากธรรมชาติร้อยละ ๐.๒ จึงเป็นประโยชน์อย่างมาก ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้พัฒนามานานกว่า ๓๐ ปี

เอกสารอ้างอิง

APC. 2024. More performance with reduced protein!. [Internet]. [Cited 2024 Apr 19]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/nutrition/more-performance-with-reduced-protein/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...