วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ชุดทดสอบเชื้อ เอนเทอโรคอคคัส ซีโครัม ในเป็ดปักกิ่ง

รายงานวิจัยล่าสุดตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Avian Pathology ว่าด้วยการพัฒนาชุดตรวจสอบ in-house ELISA สำหรับตรวจสอบแอนติบอดีต่อเชื้อแบคทีเรีย เอนเทอโรคอคคัส ซีโครัม ในเป็ดปักกิ่ง โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสัตวแพทย์ฮานโนเวอร์ เยอรมัน ถึงเวลานี้เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้กลายเป็นเชื้ออุบัติใหม่ที่ได้รับความสนใจในแวดวงสัตว์ปีกเป็นอย่างมาก ทั้งในฐานะที่เป็นสาเหตุของขาพิการ ปัญหาคุณภาพซาก และการถ่ายทอดเชื้อทั้งในแนวดิ่งจากแม่สู่ลูก และแนวระนาบทางการกิน และหายใจได้อย่างรวดเร็ว 

เชื้อ เอนเทอโรคอคคัส ซีโครัม หรืออีซี เป็นที่กล่าวกันกันมากในช่วงไม่กี่ปีที่่ผ่านมา มีบทความวิชาการจำนวนมากทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการอ้างว่าเชื้อชนิดนี้เป็นสาเหตุสำคัญของรอยโรคที่กระดูกในไก่เนื้อ และการติดเชื้อตามระบบในเป็ดปักกิ่ง แม้ว่านักวิชาการจะเห็นความสำคัญของเชื้อก่อโรคชนิดนี้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังไม่มีเครื่องมือการวินิจฉัยทางซีโรโลยีสำหรับการตรวจสอบการติดเชื้ออีซีได้ ล่าสุด คณะผู้วิจัยจึงพยายามพัฒนาชุดตรวจสอบอีไลซาขึ้นใช้เองในห้องปฏิบัติการด้วยเทคนิค Indirect ELISA สำหรับตรวจสอบแอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้ออีซี แล้วลองประเมินชุดทดสอบโดยการตรวจซีรัมจำนวน ๖๗ ตัวอย่างจากเป็ดปักกิ่งที่ทดลองให้ติดเชื้อ และอีก ๗๑๐ ตัวอย่างจากฟาร์มเป็ดปักกิ่งพันธุ์ที่มีการให้วัคซีนเชื้อตาย ย้ำวัคซีนเชื้อตายป้องกันเชื้ออีซี และอีก ๘๐ ตัวอย่างจากเป็ดปักกิ่งเนื้อที่ได้จากฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ที่ให้วัคซีน

สัตว์ทดลองทุกกลุ่มที่ทดลองฉีดเชื้อเข้าทางถุงลมให้ผลบวกต่อชุดทดสอบอีไลซาที่พัฒนาขึ้นใหม่ โดยมีค่า S/P ratios หรือค่าเฉลี่ยตัวอย่างทดสอบต่อตัวอย่างบวกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เป็น ๐.๗๑ ถึง ๒.๗๐ ที่อายุ ๗ ๑๔ และ ๒๑ วันหลังการฉีดเชื้อ ขณะที่ เป็ดที่ให้เชื้อป้อนปาก และกลุ่มควบคุมลบ ยังคงมีผลเลือดเป็นลบ โดยมีค่า S/P ratios เฉลี่ยเป็น ๐.๐ ถึง ๐.๑๕ 

ฟาร์มเป็ดปักกิ่งพันธุ์ที่ให้วัคซีน ๔ ฝูง ก็สามารถตรวจพบแอนติบอดีได้ โดยตัวอย่างร้อยละ ๖๘ ให้ผลเลือดเป็นบวก มีอัตราส่วน S/P ratio สูงที่สุดอายุระหว่าง ๑๖ ถึง ๒๖ สัปดาห์ มีค่ามัธยฐานของ S/P ratios เป็น ๐.๑๕ ถึง ๑.๐๓ แอนติบอดียังคงตรวจพบได้จากบางตัวอย่างในช่วงสัปดาห์ที่ ๖๑ ถึง ๖๗

สำหรับเป็ดปักกิ่งเนื้อไม่สามารถตรวจสอบแอนติบอดีได้เลย การตอบสนองของแอนติบอดีในเป็ดอาจได้รับอิทธิพลมาจากองค์ประกอบของวัคซีนเชื้อตาย

ชุดตรวจสอบอีไลซาที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับตรวจสอบการติดเชื้อ และการให้วัคซีนอีซีที่น่าจะมีโอกาสวางตลาดในธุรกิจสัตว์ปีกเร็วๆนี้ 

เอกสารอ้างอิง

Arne Jung & Silke Rautenschlein (2020) Development of an in-house ELISA for detection of antibodies against Enterococcus cecorum in Pekin ducks, Avian Pathology, 49:4, 355-360, DOI: 10.1080/03079457.2020.1753653


วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ลำแสงอินฟาเรดเพื่อชีวิตที่ีดีของสัตว์ปีก


การวิจัยด้านการผลิตปศุสัตว์ได้เดินทางถึงระดับที่มีความซับซ้อนลึกซึ้งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา เพื่อแสวงหาหนทางรอดจากปัญหาด้านการผลิต
งานวิจัยตีพิมพ์เกี่ยวกับผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ชาวคานาดาในการใช้ลำแสง Mid Infrared Spectromicroscopy จาก infrared synchroton light ที่มีความสว่างสูง ลำแสงนี้เป็นประโยชน์ในการให้ความสว่างสูงนับเป็นหลายล้านเท่าของความสว่างจากดวงอาทิตย์ ถือเเป็นสุดยอดนวัตกรรมด้าน Spectrophotometer และ Microscopy ที่ช่วยให้ diffraction-limited spactial resolution ที่กล่าวมาข้างต้นฟังแล้วเสมือนเทคโนโลยีจากอวกาศ แต่ไม่ใช่เลยตอนนี้ได้อยู่ในมือของนักวิจัย Andrew Olkowski และคณะนักวิจัย พยายามทำความเข้าใจปัญหาไก่เนื้อโตเร็วจากโรคหัวใจ ด้วยความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีนี้จากมหาวิทยาลัย Saskatschewan เป็นไปได้ที่จะค้นพบโปรตีนที่ถูกทำลาย และผิดรูปที่สะสมอยู่ในหัวใจ ปัญหาเล็กๆที่ซุกซ่อนอยู่ในโปรตีนภายในกล้ามเนื้อหัวใจ นักวิจัยต่อยอดการศึกษาไปยังสุขภาพสัตว์ปีก และสาเหตุสำคัญของโรค เพื่อให้สุขภาพของไก่นับล้านตัวมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี ก้าวเข้าสู่บริบทของสวัสดิภาพสัตว์ ภาคการผลิตเชิงอุตสาหกรรมก็จะได้ประโยชน์จากผลผลิตที่ดีขึ้น และสร้างความมั่นคงทางอาหาร
โครงการวิจัยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแวดวงสุขภาพสัตว์ปีก แต่ยังขยายขอบเขตไปยังพันธุกรรม อุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ โภชนาการ การใช้สารเติมอาหารทางเลือกใหม่ การผลิตสัตว์ปีกอย่างแม่นยำ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การใช้ และการผลิตพลังงานทางเลือกใหม่ และอื่นๆ

เอกสารอ้างอิง
Ruiz B. 2020. A beam of infrared light for the well-being of poultry. [Internet]. [Cited 2020 Jun 28]. Available from: https://www.wattagnet.com/blogs/25-latin-america-poultry-at-a-glance/post/40812-a-beam-of-infrared-light-for-the-well-being-of-poultry
ภาพที่ ๑  การวิจัยด้านปศุสัตว์เดินทางมาถึงเวลาที่ใช้เทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้อุตสาหกรรมก้าวผ่านปัญหาที่เคยประสบมาก่อน (แหล่งภาพ KANIN.studio | AdobeStock.com)



ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...