วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การพัฒนา และประยุกต์การตรวจวิเคราะห์ In vitro apoptin kinase assay



อะพอพทิน (Apoptin) เป็นโปรตีนจากเชื้อไวรัสก่อโรคเลือดจางในไก่ (CIAV) เหนี่ยวนำให้เกิดกระบวนการอะพอพโทซิสในเซลล์เนื้องอกของมนุษย์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ปรกติ โดยกระบวนการนี้ขึ้นกับ Phosphorylation และ relocation ของอะพอพทินเข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์มะเร็ง   
                เอนไซม์ Kinase มีฤทธิ์ในการ phosphorylate โปรตีน apoptin โดยอาศัย ATP-dependent fashion อย่างเข้มงวด ภายใต้เกลือที่ระดับต่างๆ การออกฤทธิ์ของเอนไซม์ Kinase พบได้ทั้งในไซโตพลาสซึม และนิวเคลียสของเซลล์เนื้องอกมนุษย์ชนิดต่างๆ
                เทคนิค Q-column chromatography พบว่า ทั้งในไซโตพลาสซึม และนิวเคลียสมีคุณสมบัติ Fractionation characteristics เหมือนกัน บ่งชี้ว่า เอนไซม์ Kinase ทั้งในไซโตพลาสซึม และนิวเคลียสมีคุณสมบัติเหมือนกัน เอนไซม์ Kinase ที่ได้มาจาก Q-column fractions จับกับ Amylose-maltose-binding protein (MBP)-apoptin และสามารถล้างออกด้วย ATP ร่วมกับ cofactor Mg2+ แสดงว่า Unphosphorylated apoptin ทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ Kinase แล้วถูกปลดปล่อยมาภายหลังผ่านกระบวนการ Phosphorylation แล้วเท่านั้น แสดงว่า การตรวจวิเคราะห์ของผู้วิจัย สามารถตรวจสอบ Apoptin kinase ได้จริง และยืนยันได้จากการค้นพบว่า อะพอพทินถูก Phosphorylate ได้ที่ตำแหน่ง Thr108 และ Thr107 ทั้งใน in vitro และ in vivo
Lanz, H.L., Florea, B.I., Noteborn, M.H.M. and Backendorf, C. 2012. Development and application of an in vitro apoptin kinase assay. Analytical Biochemisry. 421: 68-74. 

เบลเยียมคุมหวัดนกเข้ม



เบลเยียมยืดเวลาการกักกันสัตว์ปีกทั้งหมดไปอีก ๓๐ วันจนถึงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๘ รวมถึงมาตรการการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด
                สำนักงานความปลอดภัยอาหาร FAVV ได้ออกมาตรการสำคัญสำหรับควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนก สับไทป์ H5N8 ในเยอรมัน และอิตาลี การระบาดใหม่ครั้งนี้เชื่อว่ามีสาเหตุจากนกอพยม โดยเฉพาะ นกน้ำ เป็นพาหะสำคัญของเชื้อไวรัส ดังนั้น สัตว์ปีกทั้งหมดในฟาร์มภายในประเทศเบลเยียมต้องเลี้ยงภายในโรงเรือน หรือใช้ตาข่ายป้องกันไม่ให้มีการสัมผัสกับนกป่า การให้อาหารต้องทำเฉพาะภายในโรงเรือนเท่านั้น แม้ว่าจนถึงตอนนี้จะไม่มีรายงานสัตว์ป่วยในเบลเยียมเองก็ตาม และเนื้อไก่ ไก่งวง และสัตว์ปีกอื่นๆ รวมถึง ไข่ในเบลเยียมยังปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
แหล่งที่มา:            Rudd Peys (18/12/14) 

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อาหารสุขภาพใหม่: เนื้อไก่อุดมซีลีเนียม



อุตสาหกรรม Functional food กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การใช้ซีลีเนียมในอาหารสัตว์เพื่อผลิตเนื้อไก่เกรดพรีเมียมที่ส่งเสริมสุขภาพมนุษย์กำลังเป็นแนวโน้มใหม่ในตลาดเอเชีย
                ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เพื่อสุขภาพ และรักษาสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นที่ต้องการมาก เนื่องจากกระแสความต้องการ Functional food สำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพกำลังเป็นที่นิยมมาก ผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ที่อุดมไปด้วยคุณค่า ยกตัวอย่างเช่น ซีลีเนียม ตอบโจทย์เทรนด์คนยุคสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก ซีลีเนียมเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพมาก จึงเป็นประโยชน์สำหรับสัตว์อีกด้วยเมื่อซีลีเนียมไปอยู่ในเนื้อสัตว์ และไข่     
                บริษัท ABCA ได้ทำการวิจัยเพื่อผลิตเนื้อไก่อุดมไปด้วยซีลีเนียมในหลายมหาวิทยาลัยของประเทศออสเตรเลีย แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นแหล่งของซีลีเนียมอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าซีลีเนียมอินทรีย์ของบริษัทอื่นๆที่ผลิตจากยีสต์โดยผลผลิตของการเลี้ยงไก่ที่ดีกว่า และมีซีลีเนียมในไข่ (สูงกว่าปรกติ ๒๒ เปอร์เซ็นต์) และเนื้อไก่ (สูงกว่าปรกติ ๑๐ เปอร์เซ็นต์) รวมถึงผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าอีกด้วย ขณะนี้ บริษัทผู้ผลิตไข่หลายแห่งในมาเลเซียได้เริ่มผลิตสินค้าเนื้อไก่อุดมซีลีเนียมวางจำหน่ายในตลาดแล้ว  
แหล่งที่มา:            Emmy Koeleman (28/11/14) 


แบนนำเข้าไก่สหรัฐฯแล้ว เหตุหวัดนก H5N8



รัฐออริกอนเตรียมแผนควบคุมโรคระบาด หลังการระบาดโรคไข้หวัดนก สับไทป์ H5N8 ในฟาร์มเลี้ยงนกในเมืองวินสตัน เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๐ ธันวาคมที่ผ่านมานี้เอง เกาหลีใต้ก็ได้สั่งห้ามนำเข้าสัตว์ปีกจากสหรัฐฯหลังจากข่าวการระบาดนี้เผยแพร่ออกไป การสั่งห้ามนำเข้ารวมถึง สัตว์ปีกมีชีวิต ไข่ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีกทั้งหมดที่ไม่ผ่านการให้ความร้อน ๗๐ องศาเซลเซียสในช่วง ๒๑ วันที่ผ่านมา  
                USDA ยืนยันการตรวจพบเชื้อไวรัสจากฟาร์มสัตว์ปีกหลังบ้าน ได้แก่ นกกระทา และไก่ โดยมีการเลี้ยงไก่ประมาณ ๑๐๐ ตัวที่ปล่อยออกนอกโรงเรือน ภายนอกโรงเรือนมีนกอพยพวนเวียนแถวบ่อน้ำ และหนองน้ำใกล้เคียง ขั้นตอนต่อไปนี้คือ การควบคุมการแพร่กระจายของโรค แต่ก็ยังเป็นที่น่าวิตกกังวลว่า นกน้ำอพยพที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง อาจเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม เป็นการยากมากสำหรับการควบคุมโรคในสัตว์ปีกที่มีการเลี้ยงนอกโรงเรือน สิ่งที่เจ้าพนักงานรัฐสามารถจัดการได้เป็นการขอความร่วมมือเจ้าของสัตว์ให้ใส่ใจต่อระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อลดการแพร่กระจายโรคให้กว้างขวางออกไป รวมถึง การป้องกันการสัมผัสระหว่างสัตว์ปีกของตนกับนกป่า โดยการคอยตรวจติดตามสุขภาพอย่างใกล้ชิดด้วยตัวเอง และรายงานสัตว์ป่วยต่อเจ้าพนักงานรัฐ แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่พบโรคในสัตว์ปีกที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์ในฟาร์มใดในสหรัฐฯ  
แหล่งที่มา:            Meat Poultry.com  (22/12/14) 

ใช้แบคทีเรียขั้วโลกผสมอาหารแทนยาปฏิชีวนะ



นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Earth’s Cryophere ตั้งอยู่ในไซบีเรีย วิจัยพบว่า ผู้ผลิตอาหารสัตว์ในอนาคต อาจใช้แบคทีเรียชนิดใหม่แทนที่ยาปฏิชีวนะในอาหาร โดยแบคทีเรียดังกล่าวถูกค้นพบหลายปีที่ผ่านมาในชั้นดินเยือกแข็งคงตัว
                การวิจัยเบื้องต้นจากการใช้แบคทีเรียเหล่านี้ ร่วมกับคอลลอยด์ของเงินเป็นยาปรับสมดุลภูมิคุ้มกัน  สามารถนำมาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ปีกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื้อแบคทีเรียโบราณเหล่านี้หลบอยู่ในก้อนหินในเขตปกครองยาคูเทีย ประเทศรัสเซียเมื่อ ๓.๕ ล้านปีมาแล้ว ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้จักมาก่อน จึงยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ แต่ผลการวิจัยในหนูทดลอง พบว่า การใช้แบคทีเรียในอาหารสัตว์ช่วยเพิ่มอายุขัย และป้องกันไม่ให้ตาบอดในหนูชราได้
 แหล่งที่มา:          Vladislav Vorotnikov  (18/12/14)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...