วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ฝรั่งเศสพิจารณาใช้วัคซีนคุมหวัดนก

 กระทรวงเกษตรฯฝรั่งเศสกำลังพิจารณาการใช้วัคซีนป้องกันสัตว์ปีกสำหรับโรคไข้หวัดนก เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้กับการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงที่แวะเวียนมาเป็นประจำทุกปี

ฤดูหนาว และฤดูใบไม้ผลินี้ ฝรั่งเศสมีสถิติการระบาดของโรคไข้หวัดนกรวมแล้ว ๔๗๕ ครั้ง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในฟาร์มห่าน หรือเป็ดในตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ การระบาดคล้ายคลึงกับที่เคยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ถึง ๒๕๖๐ สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกหลายพันล้านบาทต่อปี เป็นความสูญเสียรายได้อย่างมหาศาล

ฟัวกราส์กระทบหนักที่สุด

              ผลกระทบที่หนักที่สุดเป็นอุตสาหกรรมการผลิตฟัวกราส์ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณ Landes และ Gers และพื้นที่ใกล้เคียงกับพรมแดนสเปน ในช่วงแรกของการระบาด ผู้นำเข้าฟัวกราส์รายสำคัญของฝรั่งเศส อย่างจีน และญี่ปุ่นได้สั่งห้ามนำเข้าสินค้าเมนูอาหารหรูชนิดนี้ทันทีเป็นเวลาหลายเดือน ผู้ผลิตสัตว์ปีกต้องประสบปัญหาต้นทุนเพิ่มเป็นพิเศษเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่สำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อจากนกป่า แม้ว่า ต้นทุนการผลิตเหล่านี้จะได้รับการอุดหนุนโดยภาครัฐ  

มาตรการที่รุนแรง

              รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร และอาหาร ตัดสินใจใช้มาตรการที่รุนแรงตั้งแต่การระบาดครั้งแรกในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประกาศโซนฉุกเฉิน เพื่อให้เป็นมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสูงที่สุด และจำกัดการขนส่ง และเคลื่อนย้ายสัตว์ ในช่วงแรก ไม่เพียงสัตว์ในฟาร์มที่ติดเชื้อจะถูกทำลาย แต่ยังรวมถึงฟาร์มใกล้เคียง รวมแล้วมีเป็ด และสัตว์ปีกชนิดอื่นๆไม่ต่ำกว่า ๑.๓ ล้านตัวที่ถูกทำลาย

              รัฐมนตรีฯเข้าตรวจเยี่ยมพื้นที่ระบาดหลายครั้ง และให้คำสัญญาเช่นเดียวกับที่ทำกันเป็นปรกติในฝรั่งเศสว่าจะจ่ายเงินชดเชยเพิ่มเติมจากที่ท้องถิ่นให้ ยอดชดเชย ๓.๔ พันล้านบาทได้จ่ายไปแล้วล่วงหน้า

การป้องกันโรค

              แต่รัฐมนตรีก็ยังไม่มีแสดงท่าทีพยายามป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดนกต่อไปในอนาคต ดังนั้น ดังนั้น จึงเชิญตัวแทนจากภาคการผลิตสัตว์ปีกุกส่วนเพื่อร่วมประชุมออนไลน์ปรึกษาหารือในการกำหนดแนวทางจัดการอย่างเป็นระบบ

              กาประชุมครั้งนี้เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้งระดับชาติ และภูมิภาคร่วมมือกันจัดการกับวิกฤติ และปรึกษากันอย่างใกล้ชิด เพื่อหาวิธีใหม่ต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก

การป้องกัน และการปรับตัว

              แนวทางการจัดการที่มีการนำเสนอ เริ่มตั้งแต่การทราบถึงจำนวนสัตว์ในฟาร์มตามเวลาจริงๆ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความอ่อนไหวต่อการติดเชื้อมากที่สุด ถัดมาเป็นระบบที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโรคไข้หวัดนก และการพยากรณ์ และจำลองมาตรการที่จำเป็น เช่น การลดจำนวนประชากรในฟาร์มบางแห่ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรค

              ฟาร์ม และบริษัทผู้เลี้ยงสัตว์ปีก เรียกร้องให้มีการเพิ่มระบบการจัดการให้ดีขึ้น ขณะที่ มาตรการระบบความปลอดภัยชทางชีวภาพได้ยกระดับดีขึ้นแล้วทุกระดับตลอดห่วงโซ่การผลิต สุดท้ายเป็นแผนที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลกระทบ และโอกาสในการใช้วัคซีนป้องกันโรคนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามแนวความคิด การคาดการณ์ล่วงหน้า การปอ้งกัน และการปรับตัวเพื่อให้เป็นวิธีทางบวกสำหรับสร้างระบบการป้องกันอุตสาหกรรมการผลิตให้ดีขึ้นกว่านี้ โดยอาศัยการวิเคราะห์ความเสี่ยงภายใต้ความหลากหลายของระบบการผลิตในประเทศ  

เอกสารอ้างอิง

Peijs R. 2021. France considers vaccination against bird flu. [Internet]. [Cited 2021 Aug 16]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2021/8/France-considering-vaccination-against-bird-flu-781667E/

ภาพที่ ๑ ฟาร์มห่าน และเป็ดทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศสได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ สร้างความเสียหายต่อธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (แหล่งภาพ ANP)



วิกฤติแรงงานขาดแคลนในการผลิตสัตว์ปีกอังกฤษ

 มาตรการเร่งด่วนของภาครัฐมีความจำเป็นเพื่อบรรเทาวิกฤติการผลิตเนื้อสัตว์ปีกในสหราชอาณาจักร เนื่องจาก การขาดแคลนแรงงาน

ริชาร์ด กริฟฟิธ สภาสัตว์ปีกสหราชอาณาจักรลดกำลังการผลิตลงแล้ว เนื่องจาก ขาดแคลนแรงงาน สมาชิกสภาฯ ได้ร้องเรียนถึงความจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตเนื้อไก่สัปดาห์ละร้อยละ ๕ ถึง ๑๐ แล้ว เนื้อไก่งวง ลดลงร้อยละ ๑๐ และไก่งวงคริสต์มาสร้อยละ ๒๐ โดยพยายามลดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าในสหราชอาณาจักร และกำลังวิตกว่า สินค้าจากเนื้อไก่จะได้รับผลกระทบทั้งหมด เนื่องจาก การขาดแคลนแรงงาน ความมั่นคงทางอาหารของสหราชอาณาจักรจะถูกทำลายลง เนื่องจาก เคราะห์ร้ายซ้ำเติมจากการลอยตัวของราคาอาหาร และจำเป็นต้องอาศัยอาหารนำเข้าเพิ่มมากขึ้น

ลดกำลังการผลิต และปิดการฝึกอบรม

              โรงงานผลิตอาหารกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน และจำเป็นต้องลดกำลังการผลิต ปลายเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา บางบริษัทมีแรงงานหายไปแล้วร้อยละ ๒๐ ขณะนี้ ผู้ผลิตพยายามลดกำลังการผลิต และจำเป็นต้องปิดชั่วคราวศูนย์ฝึกอบรมพนักงาน แม้ว่าบางรายจะพยายามลงทุนไปแล้วกว่า ๖๖ ล้านบาท เพื่อเพิ่มความประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการลูกค้า ถึงตอนนี้ก็ต้องลดจำนวนลูกไก่ลง เนื่องจากไม่มีแรงงานที่จะแปรรูปเนื้อไก่ ทั้งนี้เป็นผลลัพธ์จากเบร็กซิต และโควิด ๑๙ เป็นพายุที่สมบูรณ์แบบที่ส่งผลให้มีแรงงานจากสหภาพยุโรปกว่า ๑.๓ ล้านคนเดินทางกลับประเทศตนเอง

ผู้ผลิตอีกราย ๒ ซิสเตอร์

              กลุ่มบริษัท ๒ ซิสเตอร์ สนับสนุนข้อร้องเรียนข้างต้น โดยอ้างถึงผลกระทบจากโรคโควิด ๑๙ และการขาดแคลนแรงงาน ผู้ประกอบการต้องทำงานภายใต้กรอบที่ถือได้ว่าแย่มาก และภาครัฐจำเป็นต้องถามว่า ทำไมจึงจุ่มหัวลงในทราย ทำไมรัฐบาลยังคงต้องจ่ายเงินให้กับประชาชนเกือบสองล้านคน ขณะที่ เศรษฐกิจจำเป็นต้องเปิด และยังคงเกิดวิกฤติแรงงาน ทำไมจึงไม่จัดจำแนกคนงานให้ถูกต้องกับสถานะ ดังนั้น จึงควรพิจารณาเปิดรับคนงานจากอียูเข้ามาในยูเคเพิ่มมากขึ้น

ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล

              สภาสัตว์ปีกแห่งสหราชอาณาจักรเรียกร้องให้รัฐบาล รวมพนักงานในโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ปีกไว้ในรายชื่อคนงานที่มีทักษะในงาน และรายชื่ออาชีพที่ขาดแคลน และลดข้อจำกัดด้านเงินเดือน และทักษะที่ไม่มีความจำเป็น ขยายข้อกำหนดด้านคนงานด้านการเกษตรตามฤดูกาลให้ครอบคลุมภาคการผลิตเนื้อสัตว์ปีก เพื่อป้องกันปัญหาความต้องการเนื้อสัตว์ปีกในช่วงการเปิดตลาดซื้อขายในเทศกาลคริสต์มาส สร้างความเชื่อมั่นในการผลิตอาหารให้เป็นแกนของโปรแกรมการอบรมทักษะ เช่น การรับประกันทักษะการทำงานไปตลอดชีวิต และการฝึกหัด เร่งรัดการสำรวจความมั่นคงด้านอาหารตามที่กำหนดไว้ในกฏหมายด้านการเกษตรฉบับใหม่

เอกสารอ้างอิง

McDougal T. 2021. Labour shortage causing crisis in UK poultry supply. [Internet]. [Cited 2021 Aug 19]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2021/8/Labour-shortage-causing-crisis-in-UK-poultry-supply-782238E/

ภาพที่ ๑ สภาสัตว์ปีกแห่งสหราชอาณาจักร อ้างว่า สมาชิกฯได้ลดการผลิตลงแล้ว เนื่องจาก ขาดแคลนแรงงาน (แหล่งภาพ Henk Riswick)




วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564

น้ำท่วมใหญ่ในจีนส่งผลต่อการผลิตสัตว์ปีก

 น้ำท่วมในจีนสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีก และปศุสัตว์จีนอย่างรุนแรง

ความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยตรงคาดว่ามีมูลค่าสูงถึง ๑.๑ หมื่นล้านบาทสำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีก และปศุสัตว์ ภายหลังน้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดทางตอนกลางของมณฑลเหอหนาน นับว่าเลวร้ายที่สุดในรอบสิบปี

พื้นที่ปลูกพืชไร่มากกว่า ๖.๒ ล้านไร่ และฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ๑๕,๐๐๐ แห่ง ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้ไก่ตายไปกว่า ๖.๔ ล้านตัว และสุกรตายไปกว่า ๒๔๘,๐๐๐ ตัว

ราคาสัตว์ปีก และไข่แพง

              อุทกภัยใหญ่ครั้งนี้ส่งผลต่อราคาเนื้อสัตว์ปีก ไข่ เนื้อโค เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ ราคาเนื้อสุกร ซึ่งเป็นเนื้อสัตว์ที่ชาวจีนโปรดปรานมากที่สุด ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

              รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรจีน วิตกว่า น้ำท่วมใหญ่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคระบาด โดยเฉพาะ การทิ้งซากสัตว์ตาย ทั้งสัตว์ปีก สุกร และปศุสัตว์อื่นๆ ลอยอยู่ตามสายน้ำ และลำคลอง อาจส่งผลต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่อไปได้

เอกสารอ้างอิง

Berkhout N. 2021. Floods in China harm poultry and livestock industries. [Internet]. [Cited 2021 Aug 10]. Available from: https://www.poultryworld.net/Home/General/2021/8/China-floods-harm-poultry-and-livestock-industries-779881E/

ภาพที่ ๑ ความเสียหายจากอุทกภัยในมณฑลเหอหนานมีมูลค่าสูงถึง ๑.๑ หมื่นล้านบาทสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก และปศุสัตว์ (แหล่งภาพ Jéan Béller) 



เม็กซิโกขาดแคลนปีกไก่

 สหภาพฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกแห่งชาติเม็กซิโก รายงานการขาดแคลนปีกไก่ในตลาดภายในประเทศ ส่งผลให้ราคาชิ้นส่วนพุ่งสูงขึ้นร้อยละ ๒๕ เปรียบเทียบปี พ.ศ. ๒๕๖๓

สาเหตุเบื้องต้นสำหรับราคาที่พุ่งสูงขึ้นมาจากการเพิ่มความต้องการปีกไก่ของผู้บริโภค ในช่วงโรคระบาด และสาเหตุรองลงมาคือ การเพิ่มขึ้นของราคาต้นทุนอาหารสัตว์ทั้งข้าวโพด และถั่วเหลือง ในตลาดโลก ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อทุกบริษัทในห่วงโซ่การผลิตทั้ง Buffalo Wild Wings, Santas Alitas, WingStop, Wings Army และ Wings Factory รวมถึง ผู้ผลิตสินค้าส่งให้ผู้ค้าปลีกทั่วประเทศ

ไม่ง่ายที่จะผลิตปีกไก่ให้ได้ตามความต้องการ

              ประธานสหภาพผู้ผลิตสัตว์ปีกแห่งชาติ อธิบายถึงความต้องการปีกไก่ที่ยากจะผลิตได้ตามความต้องการของตลาดในเวลานี้ เนื่องจาก การขับเคลื่อนทางการตลาดสินค้าเกษตรทุกอย่างถูกทำลายโดยการระบาดของโรคโควิด ๑๙ ไก่มีปีกเพียง ๒ ข้างต่อตัว และไม่สามารถผลิตไปได้มากกว่านั้น เนื่องจาก ความต้องการชิ้นส่วนอื่นๆไม่ได้เติบโตไปในระดับเดียวกันด้วย  

ปีกไก่เป็นผู้ชนะโดยปราศจากข้อโต้แย้ง

              การปิดผับ ร้านอาหาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ การจัดคอนเสิร์ต และการแข่งขันกีฬาชั่วคราว ได้กระตุ้นความต้องการผลิตภัณฑ์พร้อมรับประทาน และปัจจัยด้านวัฒนธรรมได้ทำให้ปีกไก่กลายเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงที่สุด เป็นผู้ชนะโดยปราศจากข้อโต้แย้ง หรือคู่แข่งขัน

              หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในเม็กซิโกอ้างบทสัมภาษณ์ผู้บริหารเชนร้านอาหาร Buffalo Wild Wings ในเม็กซิโก แสดงความเห็นไว้ถึงการขาดแคลนปีกไก่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ความต้องการสินค้าชนิดนี้พุ่งสูงขึ้นอย่างรุนแรง และคงไม่มีผู้ผลิตใดในโลกใบนี้ที่จะสามารถผลิตได้ตามความต้องการตลาดได้

              ความต้องการปีกไก่สูงอย่างมากในหลายภูมิภาคเป็นสิ่งที่น่าปวดหัวสำหรับผู้ผลิต เพื่อแก้ไขปัญหาความต้องการภายในสหรัฐฯเองก็ได้หยุดส่งออกสินค้าให้เม็กซิโกแล้ว ยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงอีก


เอกสารอ้างอิง

Azevedo D. 2021. Chicken wing shortage in Mexico. [Internet]. [Cited 2021 Aug 13]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2021/8/Chicken-wing-shortage-in-Mexico-781442E/

ภาพที่ ๑ ปีกไก่เป็นที่ต้องการสูงอย่างยิ่งยวด โรงงานแปรรูปการณ์ผลิตเนื้อสัตว์ปีกยังไม่สามารถผลิตให้เพียงพอได้ เนื่องจาก ชิ้นส่วนอื่นๆยังไม่สามารถสร้างผลตอบแทนให้คุ้มค่าต้นทุนการผลิตได้ (แหล่งภาพ Koos Groenewold)



การติดตามการเลี้ยงสัตว์ปีกแบบเรียลไทม์

 ผู้ผลิตสัตว์ปีกจะสามารถทำนายสุขภาพฝูงสัตว์ได้ ช่วยให้ผลผลิตดีขึ้น และสร้างความยั่งยืนในการผลิตสัตว์ โดยเทคโนโลยีการติดตามการเลี้ยงแบบเรียลไทม์ หรือตามเวลาเหตุการณ์ปัจจุบัน

นวัตกรรมโพลทรีย์เซนส์จะช่วยให้ผู้ผลิตสัตว์ปีกจัดการข้อมูลมหาศาลได้ ช่วยให้การตัดสินใจกระตุ้นสุขภาพ และสวัสดิภาพสัตว์ได้ ด้วยระบบเซนเซอร์ไร้สายที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี สำหรับการเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ทั้งค่าตัววัดทางสิ่งแวดล้อม และผลการเลี้ยงทั่วทั้งโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก เช่น น้ำหนักไก่ ความดันอากาศ ความชื้น อุณหภูมิ และคาร์บอนไดออกไซด์ จากนั้นข้อมูลก็จะป้อนโดยตรงเข้าสู่การวิเคราะห์ และประมวลผล ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ ทำให้การแปลผลข้อมูลเป็นไปอย่างง่ายดายมาก

การตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างทันเหตุการณ์

              การเข้าถึงข้อมูล และใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับการตัดสินใจในฟาร์มได้อย่างทันเหตุการณ์จะช่วยให้ผู้ผลิตสัตว์ปีกได้รับผลผลิตการเลี้ยงที่ดีขึ้น และช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างโปร่งใส โดยการเก็บข้อมูลตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมงต่อวัน

              การเปลี่ยนแปลงใดๆในด้านสิ่งแวดล้อม หรือการเจริญเติบโตของสัตว์ ที่บ่งชี้ถึงปัญหา จะตรวจพบได้อย่างรวดเร็ว ผู้ผลิตจึงสามารถตัดสินใจปรับเปลี่ยนได้อย่างทันเหตุการณ์ ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพ และโอกาสที่จะส่งผลเสียต่อผลการเลี้ยงต่ไปได้

แนวโน้ม และการจัดการเชิงป้องกัน

              ด้วยการใช้ข้อมูล และการวิเคราะห์ประมวลผลอย่างทันเหตุการณ์ ผู้ผลิตก็จะสามารถมองเห็นแนวโน้ม และรูปแบบของผลผลิตที่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ บริษัทโพลทรีย์เซนส์เป็นผู้ประกอบการสัญชาติอังกฤษได้ถูกซื้อกิจการโดยบริษัทเอ็มเอสดี แอนนิมัล เฮลท์ ถือว่าเป็นโอกาสที่บริษัทแม่จะสามารถยกระดับความเป็นมืออาชีพด้านเทคโนโลยีภายในธุรกิจการตรวจติดตามสัตว์ เป้าหมายต่อไปคือ การยกระดับการตรวจสอบสัตว์ป่วย เพื่อหาวิธีการป้องกันโรค รวมถึง การให้วัคซีน เพื่อรักษาสุขภาพที่ดีของสัตว์เลี้ยงต่อไป    

เอกสารอ้างอิง

McDougal T. 2021 Real-time monitoring tech set to transform poultry sector. [Internet]. [Cited 2021 Jul 30]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2021/7/Real-time-monitoring-tech-set-to-transform-poultry-sector-775130E/

ภาพที่ ๑ เซนเซอร์ไร้สายที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรีเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ทั้งตัววัดด้านสิ่งแวดล้อม และผลการเลี้ยงทั่วทั้งโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก (แหล่งภาพ Van Assendelft) 




วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ไข้หวัดนกระบาดในแอฟริกาใต้ และแอฟริกาตะวันตก

 แม้ว่า ประเทศแอฟริกาใต้ จะประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงในสัตว์ปีกจากสายพันธุ์หนึ่ง แต่ก็กลับประสบปัญหาโรคไข้หวัดนกอีกสายพันธุ์หนึ่ง ขณะที่ ภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกในไนจีเรีย และกานา มีรายงานพบโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์เดียวกันในภาคการผลิตสัตว์ปีก

นับตั้งแต่ต้นเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา มีการระบาดใหม่ของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงในฟาร์มสัตว์ปีก โดยเชื่อมโยงกับเชื้อไวรัสเอช ๕ เอ็น ๑ ในประเทศแอฟริกาใต้

อ้างอิงตามรายงานล่าสุดต่อองค์กรโรคระบาดสัตว์โลก ทำให้จำนวนครั้งของการระบาดในแอฟริกาใต้รวมแล้ว ๔๔ ครั้งตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลกระทบโดยตรงต่อฟาร์มสัตว์ปีกมากกว่า ๒.๗๖ ล้านตัว

ฟาร์มหลายแห่งเป็นฟาร์มนกกระจอกเทศที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์ รวมถึง สัตว์ปีกที่ไม่ระบุชนิด การระบาดล่าสุดส่วนใหญ่ได้รับการยืนยันแล้วเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฏาคมที่ผ่านมา

เหตุการณ์ความไม่สงบในแอฟริกาใต้ยังส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตสัตว์ปีกภายในประเทศแอฟริกาใต้เพิ่มมากขึ้น บริษัทชั้นนำแห่งหนึ่งของประเทศ ขาดทุนมากกว่า ๓๓ ล้านบาท  

โรคไข้หวัดนกเอช ๕ เอ็น ๘ คลี่คลาย

              เมื่อปลายเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา หน่วยงานด้านสุขภาพสัตว์แห่งชาติรายงานต่อองค์การโรคระบาดโลกถึงสถานการณ์ของเชื้อไวรัสในสัตว์ปีกได้คลี่คลายลงแล้ว 

              อ้างอิงตามรายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์โลก ตรวจพบเชื้อไวรัสครั้งแรกในแอฟริกาใต้เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ฟาร์มไก่พันธุ์ (เนื้อ) เชิงพาณิชย์ในเมือง Mpumalanga พบผลเป็นบวกครั้งแรก นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็เกิดการระบาดต่อไปอีก ๑๑๔ ครั้ง ส่งผลต่อสัตว์ปีกมากกว่า ๕.๙ ล้านตัว

              รายล่าสุดเป็นฟาร์มนกกระจอกเทศเชิงพาณิชย์ใน Western Cape เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ และเชื่อว่า เอช ๕ เอ็น ๘ ถูกกำจัดโรคออกจากแอฟริกาใต้เรียบร้อยแล้ว

การระบาดใหม่ของโรคไข้หวัดนกในนกป่าแอฟริกาใต้

               ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา หน่วยงานสัตวแพทย์ยืนยัน นกป่าใน ๙ แห่งมีผลบวกต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สับไทป์ เอช ๕ เอ็น ๘ ในนกป่าหลายสายพันธุ์ และนกเลี้ยงใน Cape Town และพื้นที่อื่นๆของ Western Cape ในเมือง Gauteng และ Eastern Cape นับตั้งแต่เริ่มต้นการระบาดของโรคในปัจจุบันเชื่อมโยงกับเชื้อไวรัสในเดือนมีนาคม โดยมีผลบวก ๑๕๔ ราย

ไข้หวัดนกระบาดในกานา

              ในภูมิภาคแอฟริกาใต้ สัตว์ปีกมากกว่า ๑๐,๐๐๐ ตัว ตายจากโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง รายงานตามสำนักข่าวซินหัวในกลางเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา

              ฟาร์มเจ็ดแห่งที่เกิดโรคอยู่ชายฝั่งทางตอนใต้ของ Greater Accra ตอนกลาง และ Volta สัตว์ปีกมากกว่า ๕,๘๐๐ ตัวตาย และราว ๔,๕๐๐ ตัวถูกทำลาย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค

              ไม่มีการยืนยันชนิดของเชื้อไวรัส องค์การอาหาร และเกษตรโลก บ่งชี้ว่า เชื้อไวรัสแวเรียนต์ของเอช ๕ เอ็น ๑ พบตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามรายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์โลก หน่วยงานสัตวแพทย์กานา ได้รายงานการระบาดไปแล้ว ๗ ครั้งในฟาร์มสัตว์ปีกที่เลี้ยงตามหมู่บ้าน มีสัตว์ปีกราว ๕๗ ถึง ๖,๖๐๐ ตัวเมื่อสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา การปรากฏของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สับไทป์ เอช๕ ได้รับการยืนยัน  

เอกสารอ้างอิง

Linden J. 2021. Poultry flocks in South Africa, West Africa hit by avian flu. [Internet]. [Cited Aug Jul 2]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/43306-poultry-flocks-in-south-africa-west-africa-hit-by-avian-flu

ภาพที่ ๑ ไข้หวัดนกระบาดในแอฟริกาใต้ และแอฟริกาตะวันตก (แหล่งภาพ wael_alreweie | Bigstock.com) 


 


วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เด็กชายชาวอินเดียเสียชีวิตจากไข้หวัดนก

 เด็กอินเดียวัยสิบเอ็ดปีจากรัฐที่ยังไม่เคยมีรายงานโรคระบาดเลย เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนก ชนิดความรุนแรงสูง สับไทป์ เอช ๕ เอ็น ๑

เป็นข่าวเล็กๆในอินเดีย เด็กวัย ๑๑ ปีติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสับไทป์ เอช ๕ เอ็น ๑ เข้าโรงพยาบาลต้นเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา และเสียชีวิตจากอวัยวะหลายชนิดล้มเหลว ขณะนี้ ได้แยกกักกันสมาชิกในครอบครัว และสอบย้อนกลับผู้สัมผัสโรคแล้ว ทั้งที่ไม่มีวี่แววการระบาดของโรคไข้หวัดนกในรัฐหรยาณา (Haryana)

ก่อนรายงานการเสียชีวิตรายล่าสุดในอินเดีย ๑๗ ประเทศมีรายงานการติดเชื้อไข้หวัดนกในมนุษย์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึงกรกฏาคมปีนี้ โดยมีผู้ติดเชื้อทั้งหมด ๘๖๒ ราย เสียชีวิต ๔๕๕ ราย รายล่าสุดเกิดขึ้นในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเมื่อตุลาคมปีที่แล้ว

ปีนี้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น

              อัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกยังน้อยมาก แต่ไม่ได้หมายความว่า เชื้อไวรัสจะไม่ติดต่อสู่มนุษย์ รายงานล่าสุดเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก องค์การอนามัยโลกอ้างถึงการติดเชื้อในชาวจีน ๓ รายระหว่าง๑๖ ถึง ๒๒ เดือนกรกฏาคม  สิ่งที่แตกต่างจากกรณีของเด็กอินเดีย ประชาชนจีนทั้งสามคนเป็นเกษตรกรที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อจากสัตว์ปีกที่เลี้ยงหลังบ้าน สองคนเสียชีวิต และหนึ่งคนอยู่ในขั้นวิกฤติ

              อย่างน้อยก็มีข่าวดีอยู่บ้าง องค์การอนามัยโลกเปิดเผยรายงานโรคไข้หวัดนกในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และ ๒๕๕๒ พบผู้เสียชีวิต ๒๘๒ รายจาก ๑๗ ประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึง ๒๕๕๗ จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงเหลือ ๑๒๗ รายใน ๗ ประเทศ สังเกตว่าจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในจำนวนนี้ ๕ ประเทศมีรายงานผู้เสียชีวิต ๔๘ ราย ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต แต่มีผู้ติดเชื้อ ๑ ราย  แสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมา นับว่าเป็นข่าวที่ดี แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นข่าวที่ดีทั้งหมด จำนวนผู้ประเทศที่มีรางานผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น ๑๘ ประเทศ และปีนี้เริ่มมีผู้เสียชีวิตแล้ว ขณะที่ปีที่แล้วไม่มีผู้เสียชีวิตเลย

              แนวทางการปฏิบัติจำนวนมากพยายามป้องกันพนักงานเลี้ยงสัตว์ปีกจากการติดเชื้อไวรัสในอุตสาหกรรม เป็นสิ่งที่ยากลำบาก แต่ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ที่จะประยุกต์ใช้สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์ปีกหลังบ้านด้วย หรือสถานที่มีผู้สัมผัสสัตว์ปีกป่าในพื้นที่ห่างไกล ตลาดจำหน่ายสัตว์ปีกมีชีวิต เรามีความคุ้นเคยกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และสัตว์ และทราบดีแล้วว่า เชื้อไวรัสจากสัตว์สามารถกระโดดข้ามไปติดเชื้อสู่มนุษย์ได้

              โรคไข้หวัดนกส่งผลต่อทั้งชีวิต และการค้าขายระหว่างประเทศ ดังนั้น รายงานส่วนใหญ่จึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับโรคนี้ ขณะที่ โรคนี้ไม่ได้เป็นที่สนใจในมนุษย์เช่นเดียวกับที่ครั้งหนึ่งเคยกลัวกันก็จะทำให้เราอาจจะมองข้ามอันตรายของโรคที่สามารถกระโดดข้ามจากสัตว์สู่มนุษย์ได้ ดังนั้น เราควรตระหนักถึงอันตรายของเชื้อไวรัสเหล่านี้ และเพิ่มความพยายามให้มากที่สุดเพื่อป้องกัน

เอกสารอ้างอิง

Clements M. 2021. Boy in India dies from avian influenza. [Internet]. [Cited 2021 Aug 9]. Available from: https://www.wattagnet.com/blogs/23-poultry-around-the-world/post/43360-indian-boy-dies-from-avian-influenza?utm_source=Omeda&utm_medium=Email&utm_content=NL-Poultry+Update&utm_campaign=NL-Poultry+Update_20210810_1900&oly_enc_id=2248A6821912I1W

ภาพที่ ๑ เด็กชายชาวอินเดียเสียชีวิตจากไข้หวัดนก (แหล่งภาพ SNEHITPHOTO | Bigstock)



วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564

สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในยุโรป

 นับตั้งแต่ยุโรปเข้าสู่ฤดูร้อน จำนวนครั้งของการระบาดโรคไข้หวัดนกใหม่ทั้งในฟาร์มสัตว์ปีก และนกป่า ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การระบาดรวมทั้งหมดจากทั้งสองรายการก็คิดเป็นสองเท่าของจำนวนครั้งรวมท้งหมดระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๒ และ ๒๕๖๓  

ข้อมูลล่าสุดจากระบบสารสนเทศโรคสัตว์โดยคณะกรรมาธิการยุโรป รวมจำนวนครั้งของการระบาดโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงในปีนี้เป็น ๑,๑๗๔ ครั้ง ตามรายงานล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฏาคมที่ผ่านมา

              สำหรับปีนี้แล้ว ๑๙ ประเทศที่มีรายงานการระบาดมากกว่า ๑ ครั้ง มีเพียง ๓ ประเทศ ได้แก่ เดนมาร์ก ฝรั่งเศส และโคโซโว ที่มีรายงานการระบาดใหม่เข้ามาในเดือนกรกฏาคมนี้

              ตลอดปี พ.ศ. ๒๕๖๓ คณะกรรมาธิการยุโรปรายงานการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงไว้ทั้งหมด ๔๔๒ ครั้งในฟาร์มสัตว์ปีก ๑๖ ประเทศ

              สัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ในสาธารณรัฐเชก ทบทวนรายงานอย่างเป็นทางการก่อนหน้านี้ต่อองค์กรโรคระบาดสัตว์โลก หรือโอไออี นับตั้งแต่การรายงานครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคมที่ผ่านมามีจำนวนครั้งการระบาดรวม ๓๓ ครั้งจากเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสับไทป์ เอช ๕ เอ็น ๘ ที่ยืนยันแล้ว โดยมีจำนวนสัตว์ปีก ๒๖๐,๘๐๐ ตัวที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการระบาด ในจำนวนนี้ตาย ๒,๒๓๐ ตัว และที่เหลือถูกทำลาย การรายงานครั้งสุดท้ายเป็นวันที่ ๑๘ พฤษภาคมที่ผ่านมา

สถานการณ์ทั่วไปของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงในนกป่ายุโรป

              ประชากรนกป่ายุโรปที่พบว่าเกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง รวมทั้งหมด ๑,๖๕๗ ครั้งในปีนี้ นับจนถึงวันที่ ๒๔ กรกฏาคม ตามระบบของคณะกรรมาธิการยุโรป ครอบคลุม ๒๘ ประเทศ  

              เมื่อเปรียบเทียบแล้วเกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง ๗๕๖ ครั้งในประชากรนกป่ายุโรปเมื่อปีที่แล้วใน ๑๓ ประเทศ นอกเหนือจากนั้น ยังพบในนกเลี้ยงขังกรงจาก ๘ ประเทศที่มีการรายงานทั้งหมด ๑๘ ครั้งจากหน่วยงานรัฐ  

              รายงานสัตว์ป่วยใหม่จากนกป่าต่อคณะกรรมาธิการยุโรปสำหรับเดือนนี้ ได้แก่ ฟินแลนด์ เยอรมัน นอร์เวย์ และสวีเดน โดยรายล่าสุดพบในเดือนเมษายน และสถานการณ์กลับเป็นปรกติแล้วตามรายงานของเจ้าพนักงานสัตวแพทย์จากเชกต่อองค์กรโรคระบาดสัตว์โลก ก่อนหน้านี้มีการยืนยันการระบาดทั้งหมด ๒๗ ครั้ง โดยมีนกตาย ๕๘ ตัว และทำลาย ๓๓ ตัว

              ยุโรปรายงานการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงจากนกป่าต่อองค์กรโรคระบาดสัตว์โลกในสัปดาห์ที่ผ่านมาจากฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน โดยนกป่าในสวีเดนแสดงอาการป่วย ๒ ตัว ผลเป็นบวกต่อเอช ๕ เอ็น ๘ ในช่วงกลางเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา ส่วนนอร์เวย์ และสวีเดนพบในเป็ดป่าที่ตายจากเชื้อไวรัสสับไทป์เดียวกัน

              ในสวีเดนเป็นครั้งแรกที่พบประชากรนกป่ามีผลเป็นบวกต่อแวเรียนต์ เอช ๕ เอ็น ๑ จากนกอินทรีที่ตายเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา 

เอกสารอ้างอิง

Linden J. 2021. Avian flu situation stabilizes in Europe. [Internet]. [Cited 2021 Jul 30]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/43310-avian-flu-situation-stabilizes-in-europe?v=preview&oly_enc_id=2248A6821912I1W

ภาพที่ ๑ สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในยุโรป (แหล่งภาพ puripat | Bigstock.com)  



วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2564

หวัดนก และโควิด ๑๙ กดดันราคาเนื้อไก่โปแลนด์สูงเป็นประวัติศาสตร์

 ราคาไก่ตัวเฉลี่ยของเนื้อสัตว์ปีกในโปแลนด์กระโดดสูงขึ้นร้อยละ ๓๓ ระหว่างปีที่ผ่านมา จนสูงถึง ๓๓.๖๑ บาท

ราคาสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมา ตามการวิเคราะห์ของธนาคารพีเอคโอ บีพี ราคาเนื้อไก่งวงเฉลี่ยเพิ่มเป็นร้อยละ ๔๐ สูงที่สุดเป็น ๕๕.๐๓ บาท

              การเคลื่อนไหวของราคาเนื้อไก่เข้มแข็งขึ้นในร้านค้าปลีก กระทรวงเกษตรโปแลนด์ คาดว่า ราคาเฉลี่ยของเนื้อไก่น่าจะสูงถึง ๕๖.๘๗ บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๖ เทียบกับปีที่แล้วในวันเดียวกัน โดยธนาคารพีเคโอ บีพียังคาดการณ์ต่อไปว่า ในครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. ๒๕๖๔ นี้ ราคาอาจสูงขึ้นอีกร้อยละ ๒๐ ถึง ๒๕ สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากต้นทุนอาหารสัตว์ การเชือดไก่ทั่วยุโรปน้อยลง และการระบาดของโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า ราคาจะทะยานสูงขึ้น ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกโปแลนด์มีผลกำไรลดลงในช่วงปีที่ผ่านมา  

              โรคไข้หวัดนกระบาดในฟาร์มไก่พันธุ์ ส่งผลต่อการลดลงของลูกไก่ในช่วงไตรมาสที่ ๒ ของปีนี้ อย่างไรก็ตาม การสิ้นสุดการระบาดของโรคโควิด ๑๙ จากการรณรงค์ให้วัคซีนป้องกันโรคที่ประสบความสำเร็จ จะพลิกฟื้นความต้องการตลาด และทำให้ราคาเพิ่มมากขึ้น

โรคไข้หวัดนกระบาด ๓๕๕ ครั้ง

              ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ถึงมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔ โปแลนด์ รายงานการระบาดทั้งหมด ๓๕๕ ครั้ง ในฟาร์มเลี้ยงไก่ จำนวน ๑๓.๙ ล้านตัว และไก่งวง ๑.๙ ล้านตัว การระบาดครั้งสุดท้ายเป็นปลายเดือนมิถุนายนในจังหวัดมาโซเวียนในฟาร์มสัตว์ปีกที่ไม่ได้เลี้ยงเชิงพาญิชย์ จำนวน ๑๐๖ ตัว  

โปแลนด์เป็นผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดในอียู

              การส่งออกเนื้อสัตว์ปีกของโปแลนด์ลดลงร้อยละ ๒.๓ มูลค่าลดลงร้อยละ ๑๑.๙ ในครึ่งแรกของปี พ.ศ. ๒๕๖๔ โปแลนด์เป็นผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป ความต้องการเนื้อไก่ที่ลดลงทำให้บริษัทลดราคาส่งออกลง   

              การเคลื่อนไหวของสินค้าส่งออกที่ลดลงในยุโรปเป็นผลมาจากเบร็กซิต โดยการจำหน่ายเนื้อไก่ไปยังสหราชอาณาจักรลดลงร้อยละ ๑๔ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังก็ได้ยอดซื้อลดลงด้วย เช่น การจำหน่ายไปยังเยอรมันลดลงร้อยละ ๑๓ และสาธารณรัฐเช็กลดลงร้อยละ ๑๗ เปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี พ.ศ.๒๕๖๓ ในเกือบทุกกรณี การลดลงน่าจะเชื่อมโยงกับความต้องการเนื้อสัตว์ปีกที่ลดลงในตลาดส่งออก ขณะที่ การจำหน่ายเนื้อสัตว์ปีกยังถูกผลกระทบจากความอ่อนแอของภาคโรงแรม เนื่องจาก วิกฤติการณ์โรคโควิด ๑๙

เอกสารอ้างอิง

Vorotnikov V. 2021. AI and Covid-19 drive Polish broiler prices to new heights. [Internet]. [Cited 2021 Jul 29]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2021/7/AI-and-Covid-19-drive-Polish-broiler-prices-to-new-heights-774772E/





ภาพที่ ๑ เนื้อสัตว์ปีกกำลังเป็นสินค้าที่ราคาแพงขึ้น แพงขึ้นในโปแลนด์ แต่ต้นทุนการผลิตยังสูงส่งผลให้ผลตอบแทนยังไม่เพิ่มขึ้นมากนัก (แหล่งภาพ Hans Prinsen)



วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เอ็มเอชพี ตั้งเป้าหมายการผลิตอย่างยั่งยืนสำหรับปี ๒๕๖๔

 บริษัทผู้ผลิตอาหาร และผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรกรรมในยูเครน ตั้งเป้าลดยาปฏิชีวนะในฟาร์ม และยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ตามรายงานการผลิตอย่างยั่งยืนประจำปีล่าสุด  

สวัสดิภาพสัตว์ และความปลอดภัยอาหารยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับบริษัท เอ็มเอชพี (Myronivsky Hlibroproduct, MHP) ตามที่ประธานคณะกรรมการบริษัทเอ็มเอชพี ดร.จอห์น ริช เผยแพร่ไว้ในรายงานการผลิตอย่างยั่งยืนประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ เอ็มเอชพีเป็นผู้นำด้านการผลิตสัตว์ปีกครบวงจรของยูเครน มีสำนักงานใหญ่ในไซปรัส สำหรับภาคการผลิตในยุโรปก็จะมีบริษัทลูกพีพี (Perutnina Ptuj, PP) ในสโลเวเนีย มีบริษัทในเครืออีก ๖ ประเทศในยุโรปกลาง และตะวันออก 

เอ็มเอชพี ลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มผลิตสัตว์ปีก

              เป้าหมายสำคัญของเอ็มเอชพีคือ การลดการใช้ยาปฏิชีวนะในระหว่างการเลี้ยงสัตว์ปีก โดยสัตว์ปีกสัดส่วนร้อยละ ๘๐ จะไม่ใช้ยาปฏิชีวนะภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๖ อีกสองปีข้างน้อย สำหรับในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา เอ็มเอชพีได้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะลงได้ร้อยละ ๒๐ ของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในบริษัททั้งหมด ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ รายงานว่า สัตว์ปีกร้อยละ ๕๐ เลี้ยงโดยไม่ได้มีการรักษาโรค

              การตรวจประเมินจากภายนอกในสถานที่การผลิตของบริษัทสองแห่งแสดงให้เห็นว่า การใช้ยาปฏิชีวนะถูกใช้ต่อเมื่อสัตวแพทย์จากภาครัฐบาลสั่งให้ใช้ตามหลักการปฏิบัติสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีที่สุด โดยไม่มีการใช้ฮอร์โมน และสารเร่งการเจริญเติบโต เพื่อยกระดับสุขภาพสัตว์ เอ็มเอชพียังจัดตั้งคลินิกสัตวแพทย์ในบอสเนีย และเฮอร์เซโกวินา อีกด้วย

ความก้าวหน้าด้านสวัสดิภาพสัตว์

              ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ นี้ เอ็มเอชพี วางแผนยกระดับการเลี้ยงสัตว์ปีกให้ดียิ่งขึ้นอีก เพื่อให้มั่นใจว่า สอดคล้องกับหลักการสวัสดิภาพสัตว์ “Five Freedoms” หลายปีที่ผ่านมา เอ็มเอชพีได้พยายามปรับปรุงนโยบายสวัสดิภาพสัตว์ให้ทันสมัยตลอดเวลา

              วิสัยทัศน์ข้างหน้า จะให้ความสำคัญกับมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพในยูเครน ในกรณี โรคไข้หวัดนกระบาดทั่วยุโรปดังที่เคยปรากฏในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ถึง ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา

              ระบบ สวนสัตว์เสมือนจริง (Virtual Zoo)” เป็นสิ่งที่เอ็มเอชพีตั้งใจใช้วิธีการตรวจติดตามสัตว์ปีกที่เลี้ยงในฟาร์มทุกแห่งในปีนี้ เพื่อยกระดับด้านสวัสดิภาพสัตว์ในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก และเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสวัสดิภาพสัตว์ ยังจะส่งเสริมให้ใช้กรดแล็กติก และโปรไบโอติกในสลาวาเนีย เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ

การเลี้ยงสัตว์ปีกที่เอ็มเอชพี

              ในยูเครน ไก่เนื้อของเอ็มเอชพี ร้อยละ ๗๔ เป็นไก่เนื้อพันธุ์คอบบ์ ที่เหลือเป็นพันธุ์รอสส์ และสัดส่วนจะเป็นร้อยละ ๘๔ และ ๑๖ ตามลำดับสำหรับการผลิตในภาคพื้นยุโรป สายพันธุ์ไก่ทั้งสองแหล่งได้รับการยอมรับว่ามีอัตราการเจริญเติบโตที่เป็นมิตรต่อหลักสวัสดิภาพสัตว์ และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารที่ดี

              ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ โรงงานในยูเครนที่มีกำลังการผลิตสัตว์ปีก ๔๒๗.๔ ล้านตัว และเชือดสัตว์ปีก ๔๑๒.๗ ล้านตัว มีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ ๙๖.๕ น้ำหนักสัตว์ปีกมีชีวิตในวันฆ่ายังน้อยกว่า ๑ ล้านเมตริกตัน

              สำหรับภาคการผลิตในยุโรป เชือดสัตว์ปีก ๕๓.๖ ล้านตัว ผลิตได้น้ำหนักมีชีวิต ๑๑๒,๐๐๐ เมตริกตันสำหรับสินค้าทั่วไป และ ๑,๙๐๐ เมตริกตันสำหรับสินค้าพรีเมียม อัตราการรอดชีวิตร้อยละ ๙๕.๖ และเลี้ยงสัตว์ปีก ๕๕.๔ ล้านตัว

เอ็มเอชพีได้รับการรับรองจากแมคโดนัลด์ (ยูเครน)

              ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ โรงงานแปรรูปเนื้อ Myronivsky ที่ Lehko ที่แยกมาจากโรงงาน PJSC Myronivsky สำหรับการผลิตอาหารสัตว์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ได้รับรองให้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกให้กับแมคโนนัลด์ ยูเครน ภายหลังการตรวจประเมินตามข้อกำหนดระบบการจัดการคุณภาพสำหรับผู้ผลิตเนื้อให้แมคโดนัลด์ (Supplier Quality Management System, SQMS) และหลักปฏิบัติการผลิตที่ดี (GMP)  

              ในเวลาต่อมา ฟาร์มผลิตสัตว์ปีก PJSC Myronivksa และเครือการผลิตสัตว์ปีก LLC Vinnytsia ที่เลี้ยงสัตว์ปีกครบวงจร ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการตรวจประเมินตามมาตรฐานของแมคโดนัลด์ เพื่อเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบส่งให้ โดยการตรวจประเมินครอบคลุมด้านหลักการปฏิบัติที่ดีของผลิต (GMP) และเอชเอซีซีพี (HACCP) รวมถึง สุขภาพสัตว์ และสวัสดิภาพสัตว์

              ดังนั้น ธุรกิจเหล่านี้ของเอ็มเอชพีได้อยู่ในรายชื่อของผู้ผลิตวัตถุดิบเนื้อสัตว์ที่ได้รับการรับรองจากแมคโดนัลด์  

ประเด็นสำคัญอื่นๆ

              เป้าหมายของเอ็มเอชพีที่สำคัญเป็นด้านการลดปัญหามลพิษที่อาจส่งผลต่อภูมิอากาศโลก โดยบริษัทประสบความสำเร็จในการลดการใช้พลังงานลงได้ร้อยละ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ เปรียบเทียบกับปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงการตระหนักถึงความสำคัญของบริษัท โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบในการรักษาการผลิตอย่างยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และความโปร่งใสองค์กร (Environmental, Social and Governance, ESG) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องส่งเสริมการผลิตอย่างยั่งยืน และบูรณาการโครงการอีเอสจีเข้าสู่ธุรกิจขององค์กรโดยภาพรวมให้ได้

              ในฐานการผลิตของเอ็มเอชพีพื้นที่ต่างๆ ได้พยายามประสานงานอย่างใกล้ชิดกับชุมชนท้องถิ่น สำหรับการปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าอาหาร ศูนย์วิจัย และพัฒนาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเริ่มต้นขึ้นในกลางปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา ใกล้กับเมืองหลวงเคียฟ มีเป้าหมายฝึกหัดพ่อครัวมืออาชีพให้ทำงานร่วมกับโรงงานฯในการพัฒนาผลิตภัณฑ์  สุดท้ายแล้ว เอ็มเอชพีวางเป้าหมายใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันออก โดยการเริ่มเปิดตัวโครงการ Digital transformation ในการผลิตภายในองค์กร

สิ่งท้าทายธุรกิจในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ของเอ็มเอชพี

              การควบคุมความเสี่ยง การปรับตัวอย่างรวดเร็ว และนวัตกรรมเป็นสิ่งท้าทายสำคัญของเอ็มเอชพีในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ เอ็มเอชพียังคงเดินหน้าต่อไปท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด ๑๙ ในพนักงานของบริษัท กระบวนการผลิต และเชื่อมโยงไปกับร้านค้า และชุมชน

              รายได้ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ของเอ็มเอชพีลดลงร้อยละ ๗ คิดเป็น ๖๒ ล้านบาทเทียบปีต่อปี รายได้จากการส่งออกลดลงร้อยละ ๑๔ เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว คิดเป็นราว ๓๓ หมื่นล้านบาท ค่า EBIDTA ลดลงร้อยละ ๑๐ ที่มูลค่า ๑.๑ หมื่นล้านบาทเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๖๒  

อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ในยูเครน

               นับตั้งแต่เริ่มต้นปี พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นมา อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในยูเครนได้หดตัวทั้งรายได้ และการส่งออกที่ถูกจำกัดลง อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตที่สามารถรอดตัวจากวิกฤติได้ มีโอกาสที่ดีขึ้นรออยู่ข้างหน้า เมื่อปีที่ผ่านมา ภาคการผลิตเนื้อสัตว์ต้องประสบกับปัญหาทั้งโรคโควิด ๑๙ และการระบาดของโรคไข้หวัดนก การขยายธุรกิจในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ช่วยให้ผู้ผลิตสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดของยูเครนพร้อมที่จะกลับมาผลิตเต็มประสิทธิภาพตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา

              ในช่วงต้นปี กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานว่า ผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดลำดับที่สองในยูเครน คอมเพล็ก อะโกรมา ได้หยุดการผลิต เนื่องจาก การจัดการที่ล้มเหลว และไม่มีการระมัดระวังความปลอดภัยทางการเงิน จนถึงปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๓ การผลิตก็ค่อนลดลงแล้ว เมื่อถึงสิ้นปี การผลิตเนื้อสัตว์ปีกทั้งหมดก็ยุติลง และโอกาสจะฟื้นฟูธุรกิจน้อยมาก  

เอกสารอ้างอิง

Linden J. 2021. MHP sets out sustainability goals for 2021. [Internet]. [Cited 2021 Jul 8]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/43184-mhp-sets-out-sustainability-goals-for-2021

ภาพที่ ๑ (แหล่งภาพ MHP Sustainability Report)




ญี่ปุ่นเปิดตลาดรับไก่อังกฤษ

 สหราชอาณาจักรเปิดตลาดเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นได้แล้ว สำหรับการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากสหราชอาณาจักร เป็นโอกาสใหม่สำหรับเกษตรกรในสหราชอาณาจักร ผู้ผลิต และส่งออกเนื้อไก่ลำดับที่สามของโลกในเวลานี้ ข้อตกลงนี้คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกได้ราว ๕๘๖ ล้านบาทต่อปี

              ขณะนี้ ญี่ปุ่นได้เปิดตลาดระหว่างประเทศมากขึ้น ด้วยมาตรการควบคุมความปลอดภัยอาหาร และการนำเข้าที่เข้มงวด และยังมีรสนิยมของผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าชิ้นส่วนที่หลากหลาย และคุณภาพสูง การเปิดตลาดนี้สำหรับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกสด และปรุงสุก แสดงให้เห็นถึง มาตรฐานการผลิตเนื้อสัตว์ปีกของสหราชอาณาจักรที่มีมาตรฐานคุณภาพสูง ด้วยการบริโภคเนื้อสัตว์ปีกที่กำลังเพิ่มขึ้นในญี่ปุ่น และเน้นให้ความสำคัญกับสินค้าใหม่ที่ดึงดูดใจผู้บริโภค และน่าเชื่อถือ ตลาดนี้จึงเป็นความหวัง และเป้าหมายใหม่สำหรับการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกจากสหราชอาณาจักร

เนื้อสัตว์ปีกมาตรฐานสหราชอาณาจักร

              รัฐมนตรีกระทรวงอาหาร แห่งสหราชอาณาจักร เชื่อว่า ข้อตกลงนี้จะเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภคญี่ปุ่นได้มีโอกาสลิ้มลองเนื้อสัตว์ปีกจากสหราชอาณาจักร รวมถึง เนื้อโค เนื้อแกะ และเนื้อสุกร ด้วยเนื้อสัตว์ปีกที่มีคุณภาพสูง รสชาติดี ของสหราชอาณาจักรเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก โดยเฉพาะ มาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร และสวัสดิภาพสัตว์ของเกษตรกร และผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกทั่วสหราชอาณาจักร ภาครัฐบาลต้องทำงานอย่างหนักเพื่อเปิดตลาดใหม่นี้ให้กับธุรกิจการเกษตรอาหาร และถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับภาคการผลิตสัตว์ปีกสหราชอาณาจักร

              การเปิดตลาดครั้งนี้ติดตามมาภายหลังการเจรจาต่อรองหลายรอบตลอด ๔ ปีที่ผ่านมา ระหว่างรัฐบาลสหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น เพื่อหาข้อตกลงด้านข้อกำหนดด้านสุขภาพสัตว์ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะครอบคลุมทั้งห่วงโซ่การผลิตทั้งสหราชอาณาจักร และเปิดโอกาสใหม่ให้กับเกษตรกรภายในประเทศอย่างมาก

              รัฐมนตรีกระทรวงการค้าระหว่างประเทศมองว่าเป็นข่าวดีมากสำหรับเกษตรกร และผู้ผลิตอาหารทั่วทั้งสหราชอาณาจักรที่จะสามารถหาโอกาสในตลาดใหม่นี้ และส่งออกเนื้อสัตว์ปีกเป็นครั้งแรกให้กับญี่ปุ่น ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจลำดับสามของโลก

การลดภาษีนำเข้า

              สมาคมการค้าเนื้อสัตว์ปีกระหว่างประเทศ เห็นว่า ผู้ส่งออกอังกฤษจะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีตามข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น การลดภาษีชิ้นส่วนเนื้อไก่แช่แข็งจากเฉลี่ยร้อยละ ๑๐ เป็น ๐  ความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลมาจาก ดีฟรา ที่พยายามเจรจาต่อรองช่วยเหลือผู้ประกอบการผลิตเนื้อไก่ นับเป็นการทำงานที่ทุ่มเทอย่างมากของภาครัฐบาล ร่วมกับภาคธุรกิจการผลิตสัตว์ปีกในสหราชอาณาจักร สมาคมการค้าเนื้อสัตว์ปีกระหว่างประเทศ แสดงความขอบคุณอย่างจริงใจต่อทุกภาคส่วนที่ช่วยเหลือกัน และคาดหวังต่อการเปิดตลาดใหม่ต่อไปอีกด้วย

              สภาสัตว์ปีกแห่งสหราชอาณาจักรก็เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานร่วมกับภาครัฐบาลอย่างใกล้ชิด ในการเปิดประตู และโอกาสใหม่สำหรับธุรกิจเนื้อสัตว์ปีกในสหราชอาณาจักร ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย และอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการตามมาตรฐานระดับโลก ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่นก็ได้ลงนามความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างสหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น (ซีพา) ข้อตกลงนี้กำลังบังคับใช้แล้ว 

              ตามข้อตกลงนี้เป็นการสร้างความมั่นใจว่า ธุรกิจในสหราชอาณาจักรจะได้ประโยชน์จากการค้าสินค้าโดยปราศจากภาษีร้อยละ ๙๙ ของสินค้าส่งออกไปยังญี่ปุ่นไปอีกหลายปี รัฐบาลสหราชอาณาจักร วิเคราะห์ว่า จะช่วยสร้างรายได้อีก ๖.๗ หมื่นล้านบาท เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร และเพิ่มการจ้างแรงงานอีกราว ๓.๖ หมื่นล้านบาทในระยะยาว เปรียบเทียบกับสถานการณ์ก่อนหน้าที่จะมีข้อตกลงนี้กับญี่ปุ่น ข้อกำหนดด้านสุขภาพสัตว์ (เอเอชอาร์) ระหว่างดีฟรา และกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ญี่ปุ่น (เจมาฟฟ) สำหรับการส่งออกทั้งเนื้อสัตว์ปีกสด และปรุงสุกได้ข้อสรุปในเดือนพฤษภาคม และนำไปสู่ข้อตกลงในการรรับรองสุขภาพสำหรับสินค้าส่งออก และบรรลุข้อตกลงในการเปิดตลากเมื่อเดือนที่ผ่านมา   

เอกสารอ้างอิง

McDougal T. 2021. Japan opens its market to UK poultry. [Internet]. [Cited 2021 Jul 8]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2021/7/Japan-opens-its-market-to-UK-poultry-768231E/

ภาพที่ ๑ ตลาดกำลังเปิดเจรจาที่ใช้เวลากว่า ๔ ปีระหว่างสหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น เพื่อบรรลุข้อตกลงข้กำหนดทางการค้าด้านสุขภาพสัตว์ (แหล่งภาพ Mark Pasveer)




ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...