วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

รอยช้ำเลือดที่เกิดขึ้นในโรงงานฯ

ปัจจัยหลายประการที่สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพ และผลผลิตของไก่เนื้อที่โรงงานแปรรูปการผลิต บางสิ่งสามารถจัดการได้ทันทีโดยผู้จัดการโรงงาน แต่ไม่ได้หมายถึงการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องทั้งหมด
               ข้อคำนึงด้านภูมิประเทศ ตัวอย่างเช่น ความดันบรรยากาศจะลดลงหากพื้นที่ตั้งฟาร์มอยู่ห่างจากระดับน้ำทะเล ยิ่งพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลเท่าใด จำนวนของเม็ดเลือดแดงที่จำเป็นต้องนำส่งออกซิเจนให้กับเนื้อเยื่อก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จำนวนของเม็ดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความหนืดของเลือด อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงอื่นๆก็สามารถเกิดขึ้นไปพร้อมกัน เมื่อเลือดถูกสูบฉีดเข้าสู่เส้นเลือดแดง เส้นผ่านศูนย์กลางก็จะยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก ผนังสี่ชั้นยังคงแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรองรับปริมาณเม็ดเลือดแดงที่เพิ่มเติมเข้ามาได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นกับเส้นเลือดดำ แม้ว่า จะมีจำนวนชั้นของผนังหลอดเลือดเท่ากัน แต่ผนังสองชั้นมีความบางกว่าอย่างมาก ผลลัพธ์ก็คือ ปริมาตรของเลือดที่ผ่านเส้นเลือดดำเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดการขยายขนาดของหลอดเลือด พึงระลึกไว้ในใจเสมอว่า เมื่อพยายามแก้ไขปัญหาที่ยากเย็นบางประการที่มักเกิดขึ้นที่โรงงานแปรรูปการผลิต โดยเฉพาะ กล้ามเนื้อบริเวณปีก และอก เมื่อไก่เลี้ยง และผลิตในภูมิอากาศหนาวเย็น ฤดูหนาว หรือที่ภูมิประเทศสูง หลอดเลือดแบกภาระเก็บกักเลือดไว้ถึง ๘๔ เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ อวัยวะรับเลือดไว้เพียง ๑๖ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น การกระจายของเลือดภายในหลอดเลือด แบ่งเป็น เส้นเลือดดำ ๖๔ เปอร์เซ็นต์ เส้นเลือดแดง ๑๕ เปอร์เซ็นต์ และหลอดเลือดฝอย ๕ เปอร์เซ็นต์ สรุปได้ว่า เลือดส่วนใหญ่อยู่ในเส้นเลือดดำ และพึงระลึกไว้เสมอว่า เส้นเลือดที่ปีกมีมวลกล้ามเนื้อน้อย เพราะเหตุว่า มีการสะสมของเลือดจากเส้นเลือดดำไว้มาก จึงสังเกตเห็นได้ง่ายส่งผลให้ไก่ถูกปลดทิ้งในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพสินค้าได้บ่อยที่สุด อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงไก่ในสภาวะอากาศเย็น เส้นเลือดก็จะพยายามหดตัว เพื่อรักษาความร้อนไว้ภายในร่างกายของไก่ และเป็นสาเหตุให้ระยะเวลาการไหลของเลือดเพิ่มขึ้น (Bleeding time) ตามปรกตินานออกไปมากกว่า ๓ นาที ๓๐ วินาที ในบางสภาวะอาจนานกว่า ๔ นาทีเลยทีเดียว สำหรับการปล่อยให้เลือดออก สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการตอบสนองต่อภาวะการหดตัวของหลอดเลือด  
               ยังคงมีกระบวนการอื่นๆที่สามารถส่งผลกระทบต่อการปลดซากทิ้ง รวมถึง ระยะเวลาระหว่างการแขวนไก่บนแชคเกิล (Shackles) และเข้าสู่เครื่องสตันเนอร์ ระดับของไก่ที่กระพือปีก (Wing flapping) เมื่อแขวนบนแชคเกิล และปัจจัยที่มีผลต่อการหุบปีก ยกตัวอย่างเช่น หากไก่แขวนด้วยขา ไก่ก็จะพยายามกระพือปีกลงเพื่อให้ตัวเองเป็นอิสระ เช่นเดียวกับ การแขวนโดยคอ การสะสมของเลือดในปีก และอกที่ปรากฏในระยะนี้ของการแปรรูปการผลิต และเข้าถึงระดับวิกฤติ เป็นช่วงเวลาที่จำเป็นต้องมีการทบทวน  


ปฏิบัติการอย่างนุ่มนวล และรวดเร็ว
               การแขวนไก่บนแชคเกิลเป็นเวลานานกว่า ๓๐ วินาทีจะส่งผลให้มีการสะสมของเลือดในปีก เนื่องจาก แรงโน้มถ่วงของโลก ดังนั้น แนะนำให้ระยะเวลาจนถึงเข้าสู่เครื่องสตันเนอร์ไม่ควรเกินกว่า ๒๐ ถึง ๓๐ วินาที
               พื้นที่การแขวนไก่ที่ยังไม่มืดเพียงพอ อุปกรณ์นวดอกไก่ (Breast massager) ไม่ได้ปรับตั้งอย่างเหมาะสม และวิธีการแขวนไก่ยังไม่ระมัดระวังอย่างเพียงพอ การกระพือปีกก็จะเพิ่มขึ้น ความเข้มข้นของการเคลื่อนที่ส่งผลให้การปั๊มเลือดจากหัวใจมีปริมาตรของเลือดสู่อก และปีกมากขึ้น เพื่อนำส่งออกซิเจนสู่กล้ามเนื้อ หมายความว่า ปริมาตรของเลือดที่เพิ่มขึ้นก็จะปรากฏตามบริเวณเหล่านี้ และเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อระยะเวลาการเลือดออก (Bleed time) พึงระลึกไว้เสมอว่า ไก่จะกระพือปีกอย่างมากระหว่างการจับส่งผลให้มีเลือดสูบฉีดเติมเข้าไปสู่ปีกเพิ่มขึ้น หากระยะเวลาการเลือดออกอยู่ระหว่าง ๓ นาที ๓๐ วินาที ไปจนถึง ๔ นาทีก็จะส่งผลให้มีเลือดถูกระบายจากอก และปีกได้มากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับอุณหภูมิ สภาวะอากาศ ความสูง ระดับของการกระพือปีก หากการเลี้ยงไก่ และแปรรูปการผลิตในสภาวะอากาศอบอุ่น เลือดจะมีความหนืดต่ำ และหลอดเลือดไม่หดตัว ช่วยให้ลักษณะปรากฏของซากไก่ดีขึ้น พึงระลึกไว้เสมอว่า เลือดมีปริมาณ ๓ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักไก่มีชีวิต 

จับตามองการเปลี่ยนแปลง
               วิธีการง่ายๆสำหรับการตรวจติดตามระยะเวลาการเลือดออก (Bleeding time) ว่า เพียงพอในสภาวะอากาศเย็นหรือไม่ ให้ตรวจติดตามไก่ระหว่างที่ออกจากเครื่องถอนขน (Plucker) และเข้าสู่ขั้นตอนแรกของกระบวนการล้วงเครื่องใน (Evisceration process) หากพบว่ามีเลือดออกมาปริมาณมากตามเครื่องมือ รางระบายน้ำ หรือพื้น ให้พิจารณาเพิ่มระยะเวลาการเลือดออก
               เมื่อพิจารณาตัดสินลักษณะของปีก จุดเลือดออกสีแดงขนาดเล็กสามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ปัญหาของกระบวนการก่อนการทำให้ไก่สลบ (Pre-stunning)
               จุดแดง อาจเกิดขึ้นระหว่างการผ่านอ่างสตันเนอร์ มีการสัมผัสกับทางลาด แล้วตัวเริ่มเปียกจนกระทั่ง สามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ ไก่ก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยการยกคอ และกระพือปีกอย่างรุนแรงจนกระทั่งออกจากพื้นที่การสตันเนอร์ แล้วออกจากอ่างสตันเนอร์โดยที่ยังมีสติรู้ตัวอยู่ และเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญสำหรับขั้นตอนการฆ่าไก่ สิ่งที่ควรจำไว้เสมอคือ มีระยะห่างที่สั้นมากระหว่างแต่ละแชคเคิล ดังนั้น ปีกของไก่ตัวหนึ่งก็มักสัมผัสกับอีกตัวหนึ่ง บางครั้ง ยังสามารถเกยซ้อนกันได้อีกด้วย นอกเหนือจากนั้น ไก่อาจกระพือปีกภายในตู้สตันเนอร์ สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดเลือดออก (Hematomas) ตามปีกได้   
               เพื่อให้มั่นใจว่าได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ การกระพือปีกจะต้องเกิดขึ้นน้อยที่สุด หากไก่กระพือปีกไปข้างหน้า ปีกอาจตีกับตู้สตันเนอร์ หากกระพือปีกไปข้างหลังก็อาจตีกับตัวเอง ราวรองอกไก่ (Breast comforter) และแม้กระทั่งตู้สตันเนอร์ ตามธรรมชาติ ปีกมีมวลกล้ามเนื้อเพียงเล็กน้อย ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดนี้จึงสังเกตเห็นได้ชัด หากปัญหานี้ ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็อาจทำให้ต้องคัดทิ้งชิ้นส่วนปีกจำนวนมาก และมีผลกระทบต่อมูลค่าการตลาดอย่างมีนัยสำคัญ และการป้องกันคือ การทำทางลง (Slopes) เช่นเดียวกับในขั้นตอนการลวกน้ำร้อนทั้งก่อน และหลังเข้าสู่อ่างสตันเนอร์ (Stunning bath) แต่เพื่อความมั่นใจคุณภาพสินค้าก็จะเป็นการดีหากได้ทบทวนกระบวนการถอนขนไก่ ความแข็งของลูกยาง (Fingers) และมุมที่ซากเข้ามาสัมผัสกับลูกยาง รวมถึง ความดันที่กดลงบนตัวซาก ล้วนมีผลต่อการเกิดรอยช้ำเลือด ควรระลึกไว้เสมอว่า การใช้น้ำอุ่นที่ระยะนี้จะช่วยลดปัญหาลงได้ ขนบางส่วนยากต่อการดึงออก ดังนั้น ควรใช้ลูกยางที่มีความแข็งหลายๆระดับ ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ด้านบน อาจใช้ลูกยางที่แข็งกว่าบริเวณอื่นๆ บริเวณตอนกลางก็ให้ใช้ลูกยางนิ่มลง และสำหรับบริเวณปีกก็เลือกใช้ลูกยางที่แข็งปานกลาง เป็นต้น  
               เมื่อปรับแต่งเครื่องถอนขน ให้มอมงจากด้านบนควรจะดูคล้ายกับรูปทรงกรวย เริ่มจากกว้างตอนที่ไก่ยังมีขนปกคลุมเต็มตัว แล้วค่อยๆแคบลงตรงทางออกเมื่อขนส่วนใหญ่ถูกถอนออกไปหมดแล้ว

เอกสารอ้างอิง
López EC. 2016. Improving appearance, minimizing bruising at poultry processing. WATTAgNet.com. [Internet]. [Cited 2016 Oct 2]. Available from: http://www.wattagnet.com/articles/19463-improving-appearance-minimizing-bruising-at-poultry-processing


















ภาพที่ 1 การสะสมของเลือดเนื่องจากความหนืดเลือดเพิ่มขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...