การปรับปรุงกระบวนการถอนขนในการแปรรูปการผลิต
ให้เพิ่มความเอาใจใส่ในขั้นตอนผลิตบางอย่างสามารถช่วยให้การถอนขนได้ดีขึ้น ส่วนหนึ่งของกระบวนการแปรรูปการผลิต
ไก่ต้องถูกถอนขนอย่างทั่วถึง โดยขนทั้งหมดต้องถูกกำจัดออกทั้งหมด โดยเฉพาะ
ตำแหน่งที่เกาะยึดกับร่างกายของไก่อย่างแน่นหนา
วิธีการปฏิบัติที่นิยมกันมากที่สุดคือ การลวกน้ำร้อนเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติการ
เพื่อให้ขนบริเวณหัว และปีกคลายตัว
การลวกด้วยน้ำร้อนยังทำให้องค์ประกอบของคิวติเคิล (Cuticle) (ส่วนที่เคลือบผิวนอกของชั้นหนังกำพร้า)
บริเวณขาหลวมขึ้นอีกด้วย กระบวนการนี้มีการดำเนินการตามราวแขวนไก่ (Overhead
conveyor) พึงระลึกไว้ว่า การถอนขนที่ดีมีข้อพิจารณาหลายประการ
ได้แก่
๑. ระยะเวลารอการเข้าเชือดที่โรงงานแปรรูปการผลิต พื้นที่จอดรถขนส่งไก่เป็น (Reception area) ควรรออยู่บริเวณที่อากาศเย็นสบาย
ในสภาวะอากาศร้อน ความเครียดจากอากาศร้อนจำเป็นต้องแก้ไขทันที เมื่อไก่รู้สึกร้อน (Overheat)
ก็จะแสดงอาการหอบจนมีการสะสมของเลือดตามขา และปีก
๒. การแขวนไก่บนราวแขวนไก่ ต้องจับไก่อย่างเหมาะสม โดยใช้เพียง ๓ นิ้วเท่านั้น ได้แก่ นิ้วโป้ง
นิ้วชี้ และนิ้วนาง เมื่อจับไก่แขวนขึ้นแชคเกิล ให้จับที่ขา ไม่ใช่น่อง
เพื่อป้องกันมิให้เกิดรอยชร้ำ และการสะสมของเลือด ขณะนำไก่ออกจากกรงขึ้นแชคเกิล
ระมัดระวังไม่ให้เกิดการกระพือปีก แนะนำให้ติดตั้งเบาะรองอก (Breast comforter) การกระพรือปีกอย่างรุนแรงที่ขั้นตอนนี้ของกระบวนการแปรรูปการผลิตสามารถส่งผลให้เกิดการสะสมเลือดในปีกที่ไม่สามารถระบายออกได้ระหว่างการนำเลือดออก
ส่งผลทำลายทั้งภายใน และภายนอกตัวไก่
๓. การทำให้ไก่สลบ เพื่อช่วยให้ไก่สงบมากที่สุดขณะเคลื่อนที่จากพื้นที่แขวนไก่ไปยังทางเข้าสตันเนอร์
อุโมงค์ที่เตรียมไว้ต้องคลุมด้วยแผ่นพลาสติก ตลอดทางลอดอุโมงค์จะช่วยให้ไก่สงบ
อย่างไรก็ตาม ข้อพึงระวังหลายประการที่จำเป็นต้องป้องกันปัญหาระหว่างขั้นตอนก่อนการสตันเนอร์ (Pre-stun) ยกตัวอย่างเช่น
การกระพือปีกจนไปตีกับวัสดุโครงสร้างที่แข็ง หรือตีกับไก่ตัวข้างๆ จนทำให้เกิดรอยช้ำที่อาจลุกลามไปทั่วทั้งปีก
เมื่อไก่กระพือปีกอย่างรุนแรง มักจะพยายามยืดคอขึ้น หมายความว่า หัวจะไม่จุ่มลงในอ่างสตันเนอร์
และยังคงมีรู้สึกตัว
๔. การฆ่า และการนำเลือดออก ขั้นตอนการสตันเหนี่ยวนำให้ไก่สูญเสียความรู้สึก
และมีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำลงเป็น ๓๕๐ ครั้งต่อนาที
การเต้นของหัวใจที่ต่ำลงเหลือเพียง ๑๐ ถึง ๑๒ วินาที สิ่งสำคัญที่ต้องจดจำคือ
พารามิเตอร์หลายอย่างในอ่างสตันเนอร์ที่ต้องมีการปรับให้เหมาะกับน้ำหนักไก่ เช่น
ความถี่ ความต่างศักย์ และความสูงของอ่างสตันเนอร์ ไก่บางตัว
อาจได้รับกระแสไฟฟ้ามากเกินไป และบางตัว ปีกหลุดออกจากข้อได้
๕.
การลวกน้ำด้วยน้ำร้อน ก็เช่นเดียวกับขั้นตอนการสตัน โดยการลวกน้ำร้อนมีปัจจัยหลายประการที่จำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
เช่น เวลา อุณหภูมิ การเปียกน้ำร้อนทั่วทั้งตัว และการกระจายตัวของน้ำร้อน
หากซากไก่ไม่จุ่มลงในน้ำทั้งตัว ระหว่างการเคลื่อนที่ผ่านเครื่องลวกน้ำร้อน
ขนที่มีการเกาะยึดกันแน่นมากที่สุด เช่น หาง และคอ จะไม่โดนน้ำร้อน ผลก็คือ
รูขุมขนจะไม่ขยายตัวเพียงพอ และขนจะไม่คลายตัวออก นอกเหนือจากนั้น
หากระดับน้ำในอ่างไม่สามารถทำให้แชคเกิลจุ่มลงไปถึงระดับความลึกอย่างน้อย ๓ นิ้ว
จะทำให้ขนบริเวณข้อต่อขา และคิวติเคิลไม่หลุดออกมา
และเป็นการดีที่จะระลึกไว้ในใจว่า ความสำเร็จเหล่านี้
น้ำจำเป็นต้องมีความร้อนอย่างเพียงพอ น้ำร้อนจะทำให้อุณหภูมิซากสูงขึ้น
และจะเป็นการดีหากสามารถรักษาอุณหภูมินี้ไว้ระหว่างผ่านจากเครื่องลวกน้ำร้อน (Scalder) ไปถึงเครื่องถอนขน (Plucker)
กระบวนการที่กล่าวมาข้างต้นนี้
ควรมีการทบทวนรายละเอียด เนื่องจาก มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของขั้นตอนการถอนขน การถอนขนจะต้องกำจัดขนออก
โดยไม่ไปฉีกผิวหนัง หรือทำให้มีการสะสมของเลือดปริมาณมาก เนื่องจาก
การใช้แรงตีมากจนเกินไป
ความท้าทายของขั้นตอนการถอนขน
ตามที่บรรยายมาข้างต้นจะเป็นการดีมากหากผู้ผลิตทบทวนกระบวนการถอนขนเป็นประจำทุกวัน
รวมถึง การถอนขนจากชั้นหนังกำพร้า หรือผิวหนัง ขึ้นกับว่า ไก่มีขนสีเหลือง
หรือสีขาว ตามลำดับ นอกเหนือจากนั้น ควรระลึกไว้ว่า การถอนขนขึ้นกับน้ำหนักซากไก่เฉลี่ย
ดังนั้น
การกำจัดขนแต่ละเส้นทุกๆเส้นจากไก่ทุกตัวโดยใช้เครื่องถอนขนอัตโนมัติจึงเป็นไปไม่ได้
ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีพนักงานอย่างน้อย ๑ คน ช่วยเก็บขนที่ยังถอนไม่หมด
ยกตัวอย่างเช่น ที่หัว และที่หาง
อุณหภูมิสำหรับการลวกน้ำร้อนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นในบางบริเวณ เช่น
ขนบริเวณหัว
ทั้งนี้เพื่อเลี่ยงปัญหาน้ำร้อนเกินไปลวกกล้ามเนื้ออกที่ส่งผลต่อคุณภาพ
และปริมาณของไก่ที่ผ่านการแปรรูปการผลิต และกลายเป็นประเด็นปัญหว่า
เป็นไปได้ไหมที่จะถอนขนไก่ โดยต้นทุนต่ำ และได้ทั้งคุณภาพ
และปริมาณของสินค้าที่สูง ขณะที่ ไก่ยังอยู่บนราวแขวนไก่
(Overhead conveyer)
ความร้อน และน้ำ
ซากต้องอุ่นตลอดเวลา
น้ำอุ่นมีอุณหภูมิระหว่าง ๓๔ ถึง ๓๖ องศาเซลเซียส ระหว่างการถอนขน
และความร้อนที่ดูดซับจากเครื่องลวกน้ำร้อนต้องคงไว้ตลอดกระบวนการถอนขน
เพื่อให้ประสบความสำเร็จได้ต้องมีโครงสร้างที่ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนระหว่างการผ่านเครื่องลวกน้ำร้อนไปยังเครื่องถอนขน
กลยุทธ์หนึ่งคือ การติดตั้งสเปรย์น้ำร้อน (Hot water sprayers) ที่อุณหภูมิ ๗๐ ถึง ๗๕
องศาเซลเซียสตลอดเวลาที่ผ่านกระบวนการถอนขน โดยเฉพาะ
สปรย์ควรฉีดเข้าโดยตรงที่หัว และต้นขา และสเปรย์น้ำร้อนเป็นเวลาประมาณ
๖ วินาที
ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการถอนขน (Plucking
technology)
ความก้าวหน้าเทคโนโลยีเครื่องจักรสำหรับขั้นตอนการถอนขน
ใช้เครื่องจักรหลายชนิดที่สามารถใช้ร่วมกัน เช่น
อุปกรณ์ที่สามารถปรับได้อัตโนมัติตามกายวิภาคของสัตว์ปีก อุปกรณ์ที่สามารถหมุนทวนเข็มนาฬิกา
อุปกรณ์ที่สามารถวางไว้ภายในตู้ที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น หากตู้
หรือโครงสร้างเคลื่อนที่แล้ว ชุดอุปกรณ์สำหรับการถอนขนก็จะเคลื่อนที่ไปด้วย
จดจำไว้ว่า การเลือกนิ้วยางสำหรับการถอนขน (Plucking fingers) มี ๓ ชนิดที่ควรใช้ ได้แก่ ชนิดนิ่ม (Soft) ชนิดกึ่งแข็ง
(Semi-hard) และชนิดแข็ง (Hard) ต้องติดตั้งนิ้วยางสำหรับการถอนขนเหล่านี้อย่างระมัดระวัง
เพื่อให้มั่นใจว่า สามารถถอนขนทั้งหมดได้โดยไม่ทำลายผิวหนัง
ประสิทธิภาพของการถอนขนต้องไม่ทำให้ปีกหัก หรือเคลื่อน
ไม่ทำให้เกิดรอยข่วนตามผิวหนัง และกล้ามเนื้ออก การสะสมของเลือดที่ปลายปีก
และบริเวณอื่นๆของปีก
หากสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ก็จะช่วยลดการทำลายซากไก่ระหว่างการถอนขน
และลดต้นทุนการผลิตได้
เอกสารอ้างอิง
López EC. 2014. Improving plucking during poultry
processing. WATTAgNet.com. [Internet]. [Cited 2016 Oct 2]. Available from: http://www.wattagnet.com/articles/19463-improving-appearance-minimizing-bruising-at-poultry-processing.
ภาพที่ ๑ การเลือกใช้นิ้วยาง (Rubber
fingers) อย่างเหมาะสมมีความสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพซาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น