วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

สารเร่งการเจริญเติบโตที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ



การวิจัยล่าสุดด้านอาหารเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสารเร่งการเจริญเติบโตที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ (Non-antibiotic growth promoter) ที่ผสมอาหารต่อประสิทธิภาพการเลี้ยง ภุมิคุ้มกัน และความแข็งแรงของไก่
                การทดลองใช้ไก่เนื้อพันธุ์ COBB อายุ ๑ วัน จำนวน ๑๘๐ ตัว แบ่งการทดลองเป็น ๓ กลุ่ม (๓ ซ้ำๆละ ๒๐ ตัว) ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ให้ Essential oil (EO ที่ประกอบด้วย Carvacrol, Cinnamaldehyde และ Capsicum) ขนาด ๑๐๐ กรัมต่อตัน และ Gustor BP70 ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตอาหารสัตว์จากสเปน ขนาด ๗๕๐ กรัมต่อตัน  
                ผลของการเสริมอาหารด้วย EO และ Guster BP70 ส่งผลต่อการเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ (p<๐.๐๕) ของน้ำหนักตัว (เพิ่มขึ้น ๖.๔ เปอร์เซนต์ และเพิ่มขึ้น ๑๑.๔ เปอร์เซ็นต์เทียบกับกลุ่มควบคุม ตามลำดับ) และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร (ลดลง ๑๓.๖ เปอร์เซ็นต์ และ๑๒.๒ เปอร์เซ็นต์เทียบกับกลุ่มควบคุม ตามลำดับ) การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อโรคนิวคาสเซิล พบว่า ไตเตอร์ในลูกไก่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม (p<๐.๐๕) ที่อายุ ๓๕ วัน (๗.๔๖, ๖.๒ และ ๕.๗๓) เช่นเดียวกับที่อายุ ๔๒ วัน (๗.๕๓, ๗.๘๐ และ ๕.๙๓) สำหรับไก่กลุ่มทดลองที่ให้ BP70, EO และกลุ่มควบคุมตามลำดับ ผลการตรวจทางจุลพยาธิวิทยาที่ลำไส้เล็กส่วนกลางเมื่อสิ้นสุดการทดลอง บ่งชี้ว่า ไก่จากกลุ่มควบคุมมีอาการลำไส้อักเสบ อย่างไรก็ตาม รอยโรคทางจุลภาคของลำไส้เล็กในไก่ทดลองกลุ่มที่ให้ EO หรือ Gustor BP70 เผยให้เห็นถึงการพเพิ่มพื้นที่ผิวของวิลัส และจำนวน Goblet cell ในกลุ่มทดลอง BP70 เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมสรุปว่า การเสริมอาหารด้วย EO หรือ Gustor BP70 ส่งผลทางบวกต่อผลการเลี้ยงไก่เนื้อ ภูมิคุ้มกัน และความแข็งแรงของลำไส้
แหล่งที่มา:            All About Feed (29/1/14)  

เทคนิคการให้วัคซีนใหม่สำหรับลูกไก่



ระบบนำส่งวัคซีนทางเลือกสำหรับลูกไก่แรกเกิด พัฒนาโดยนักวิจัยจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐฯ (USDA) เป็นการพัฒนาวิธีการให้วัคซีนต่อโรคตามระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคบิด
ห้องปฏิบัติการโรคปรสิตสำหรับสัตว์ใน Beltsville รัฐแมรีแลนด์ ลูกไก่แรกเกิดกินเม็ดเจลาติน ระบบการนำส่งวัคซีนทางเลือกใหม่ เพื่อป้องกันโรคบิด เนื่องจากภายในเม็ดเจลาตินนี้คือ ไข่ของเชื้อบิด
                โรคบิดเป็นโรคที่พบได้บ่อย และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจสำหรับการผลิตสัตว์ปีกเกิดจากเชื้อปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่ในจีนัสไอเมอเรีย ไก่ที่ติดเชื้อจะแพร่กระจายโรคโดยการขับไข่ที่เรียกว่า โอโอซิสต์ไก่ที่ติดเชื้อจะโตช้า และบางส่วนตาย การให้วัคซีนโดทยทั่ไปนิยมใช้การสเปรย์บนสายพาน อย่างไรก็ตาม ลูกไก่บางตัวก็อาจไม่ได้รับวัคซีนด้วยวิธีดังกล่าวนี้ ดังนั้น จึงมีผลในการป้องกันโรคได้น้อย ผู้วิจัยจากหน่วยบริการวิจัยด้านเกษตรกรรม (Agricultural Research Service, ARS) ร่วมกับสถาบันวิจัยภาคตะวันตกเฉียงใต้ในซานเตอริโอ รัฐเท็กซัสจึงพัฒนาวิธีการใส่ไข่บิดที่มีชีวิตภายในเม็ดเจลาตินเพื่อให้ลูกไก่กิน ลูกไก่แรกเกิดที่ได้รับเม็ดเจลาตินเปรียบเทียบกับการสเปรย์ด้วยมือ พบว่า ลูกไก่ที่กินเม็ดเจลาตินได้รับวัคซีนมากกว่าลูกไก่ที่ให้วัคซีนด้วยการสเปรย์ด้วยมือ และยังสามารถป้องกันโรคได้ดีกว่าด้วย อีกการทดลองหนึ่ง ลูกไก่ได้รับวัคซีนเช่นเดียวกับการทดลองแรก แต่เลี้ยงในโรงเรือนเลี้ยงไก่ พบว่า ลูกไก่ที่ได้รับวัคซีนผ่านเม็ดเจลาติน มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าลูกไก่ที่ไม่ได้รับวัคซีน และประสิทธิภาพการแลกเนื้อดีกว่าอีกด้วย  
 แหล่งที่มา:          World Poultry (29/1/14)  

ฮ่องกงทำลายไก่สองหมื่นจากหวัดนก H7N9



ฮ่องกงทำลายไก่ทั้งหมด ๒๐,๐๐๐ ตัวภายหลังตรวจพบหวัดนก H7N9 ในสัตว์ปีกที่นำเข้าจากจีนแผ่นดินใหญ่
เจ้าพนักงานจากกระทรวงสุขภาพฮ่องกง กำลังทำลายไก่ ๒๐,๐๐๐ ตัว ภายหลังตรวจพบเชื้อไวรัส H7N9 ในไก่มีชีวิตที่นำเข้าจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยไก่ทุกตัวที่มีการจำหน่ายในตลาดมีผลการทดสอบเป็นบวกจะถูกทำลาย ขณะนี้ ฮ่องกงได้สั่งห้ามนำเข้าไก่มีชีวิตจากจีนแผ่นดินใหญ่เป็นเวลาสามสัปดาห์
ตลาด Cheung Sha Wan ตลาดสำคัญที่มีการจำหน่ายสัตว์ปีกจะถูกปิดลงเป็นเวลา ๒๑ วันเพื่อทำการฆ่าเชื้อ ฟาร์มใกล้เคียงก็ถูกสั่งห้ามส่งไก่ไปจำหน่ายยังตลาด โดยเจ้าพนักงานรัฐจะตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงไก่ทุกฟาร์ม และเก็บตัวอย่างจนมั่นใจว่า ไก่ไม่ได้ติดเชื้อไข้หวัดนก H7 นับเป็นการทำลายไก่มีชีวิตครั้งใหญ่ และการสั่งห้ามนำเข้าในรอบสามปีสำหรับฮ่องกง ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.๒๐๑๑ จากการติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1
                ในประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนก H7N9 มากที่สุดนั้น ตลาดค้าขายสัตว์ปีกมีชีวิตได้หยุดทำการในสามเมืองใหญ่ของมณฑลเจ้อเจียง ในเดือนนี้มีผู้เสียชีวิตแล้วทั้งหมด ๑๒ รายจากเชื้อไวรัสในไก่ และเป็ดสู่คนในช่วงต้นปี ในเซี่ยงไฮ้ก็ได้หยุดการค้าขายสัตว์ปีกมีชีวิตตั้งแต่วันที่ ๓๑ มกราคมเป็นเวลาสามเดือน
แหล่งที่มา:            World Poultry (29/1/14)
  

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

บิดมูกเลือดในสุกรระบาดในอังกฤษ


บิดมูกเลือด (Swine dysentery) มีรายงานในยอร์กเชียร์ สหราชอาณาจักร ขณะนี้ กำลังดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรค และการสอบสวนหาสายพันธุ์ของเชื้อ เพื่อช่วยในการควบคุมโรค เนื่องจาก โรคมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาวะอากาศเย็น นอกจากนี้ บิดมูกเลือดยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพ และสร้างความเสียหายต่อการเลี้ยงสุกร อาการทางคลินิกที่สำคัญจะส่งผลต่อสุกรในระยะขุน และจับ โดยมีอาการท้องเสียเป็นเลือด    

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

CDC สอบสวนการระบาดเชื้อซัลโมเนลลา ไฮเดลเบิร์ก



ศูนย์โรคระบาดสหรัฐฯรายงาน ผู้ป่วย ๙ รายติดเชื้อซัลโมเนลลา ไฮเดลเบิร์กในรัฐเทนเนสซี
                CDC ยังรายงานเพิ่มเติมว่า ยังมีผู้ป่วย ๑๙ รายจาก ๑๒ รัฐอื่นๆที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดียวกัน ขณะนี้ ศูนย์โรคระบาดกำลังสอบสวนหาที่มาของเชื้ออย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม การระบาดในรัฐเทนเนสซี เชื่อมโยงกับเครื่องจักรที่ใช้แยกชิ้นส่วนไก่ที่ผลิตโดยบริษัท ไทสัน ฟู้ดส์ อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยเพียง ๒ รายเท่านั้นที่ต้องเข้าโรงพยาบาล การสอบสวนทางระบาดวิทยาโดย FSIS และกรมสุขภาพของรัฐเทนเนสซี (TDH) พบความเชื่อมโยงระหว่างการป่วยกับเครื่องจักรที่ใช้แยกชิ้นส่วนไก่ผลิตดโยบริษัท ไทสัน ฟู้ดส์ ดดย FSIS ได้บ่งชี้สาเหตุของการป่วยแล้วว่ามาจาก เชื้อซัลโมเนลลา ไฮเดลเบิร์กตั้งเต่เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคมที่ผ่านมา ขณะนี้ บริษัท ไทสัน ฟู้ดส์ได้เรียกคืนสินค้าชิ้นส่วนไก่แล้วกว่า ๓๓,๘๔๐ ปอนด์    
แหล่งที่มา             Meat &Poultry.com (15/1/14)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...