วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

ไอบี สายพันธุ์ ๗๙๓ บี ยังโดดเด่นในยุโรป

การตรวจสอบจีโนไทป์ของเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อ และกัมโบโรในไก่เนื้อยุโรปในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ และเทคนิคการวินิจฉัยโรค พบเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อ ๑๐ จีโนไทป์ โดยจีโนไทป์ ๗๙๓ บี พบได้บ่อยที่สุด ติดตามด้วยคิวเอ็กซ์ แมส และสายพันธุ์ที่คล้ายกับ Xindadi
               ผลการรวบรวมข้อมูลของเชื้อหลอดลมอักเสบติดต่อ และกัมโบโรในยุโรปจากการศึกษาทางระบาดวิทยาวงกว้างโดยใช้ตัวอย่างที่ส่งเพื่อการวินิจฉัยโรคตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๖ เป็นเวลา ๖ เดือนครอบคลุมหลายประเทศในยุโรป ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน กรีซ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกศ ไอร์แลนด์ สเปน และอังกฤษ ในจำนวน ๒๓๔ ฟาร์ม พบเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อ ๑๐ จีโนไทป์ โดยจีโนไทป์ ๗๙๓ บี พบได้บ่อยที่สุด ติดตามด้วยคิวเอ็กซ์ แมสซาชูเซตต์ (แมส) และสายพันธุ์ที่คล้ายกับ Xindadi และสายพันธุ์ที่อยู่ในกลุ่มของ คิว ๑ ได้แก่ จีโนไทป์ อาร์คันซอ ดี๒๗๔ ดี๑๔๖๖ อิตาลี๐๒ และบี๑๖๔๘ ก็ตรวจพบได้ แต่พบได้น้อยกว่า การแยกตัวอย่างท่อลม และไต สำหรับการตรวจสอบเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบโดยใช้เทคนิคอาร์ทีพีซีอาร์เป็นประโยชน์ เนื่องกจาก เชื้อไวรัสต่างจีโนไทป์ หรือมีลำดับสารพันธุกรรมที่แตกต่างกันมากจะถูกตรวจพบได้ระหว่างอวัยวะทั้งสอง   
               ผลการสำรวจครั้งนี้ยังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในวัคซีน และการตอบสนองของแอนติบอดีต่อกัมโบโรในพื้นที่ การตรวจพบเชื้อไวรัสท้องถิ่นที่ไม่ใช่เชื้อไวรัสชนิดรุนแรงมาก บ่งชี้ถึง การปรากฏของเชื้อไวรัสชนิดที่ไม่รุนแรงมาก และไม่ใช่เชื้อจากวัคซีน พบได้ไม่บ่อยในยุโรป เนื่องจาก มุ่งเก็บตัวอย่างเฉพาะไก่ที่แสดงอาการทางคลินิก การตรวจพบเชื้อไวรัสที่มาจากวัคซีนในต่อมเบอร์ซา และการตอบสนองของแอนติบอดีต่อการให้วัคซีนกัมโบโรในฟาร์มที่ให้วัคซีนเชื้อเป็นชนิดอ่อนแรงละลายน้ำเปรียบเทียบกับการให้วัคซีนในโรงฟักโดยใช้วัคซีนอิมมูนคอมเพล็กซ์ แสดงให้เห็นถึง การเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสจากวัคซีนที่ค่อนข้างช้าจากการให้วัคซีนละลายน้ำ บ่งชี้ถึง ความผิดพลาดของเวลาให้วัคซีน และ/หรือวิธีการให้วัคซีน

เอกสารอ้างอิง

De Wit et al. 2018. Detection of different genotypes of infectious bronchitis virus and of infectious bursal disease virus in European broilers during an epidemiological study in 2013 and the consequences for the diagnostic approach. Avian Pathol. 47(2): 197-205.  


วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561

อากาศร้อน ๓๙ เซลเซียสไม่มีผลต่อผลการเลี้ยงไก่เนื้อ

อากาศเริ่มร้อนแล้ว นักวิจัยอิหร่านเผยแพร่ผลการวิจัยล่าสุด ความเครียดจากความร้อนถึง ๓๙ องศาเซลเซียส ๘ ชั่วโมงต่อวันไม่มีผลต่อผลการเลี้ยงไก่เนื้อ คุณลักษณะของกระดูก หรือค่าซีรัม และการให้วิตามินซีก็ไม่ได้มีผลประโยชน์แต่อย่างใด นอกจาก การลดภาวะถูกออกซิไดซ์เกินสมดุล โดยเฉพาะในไก่ที่ให้ความเครียดจากความร้อนเป็นเวลาสั้น
ผลของความเครียดจากความร้อนอย่างเรื้อรัง โดยมีการเสริม หรือไม่เสริมวิตามินซีต่อกระดูก และค่าซีรัมของไก่เนื้อ การประเมินผลของความเครียดจากความร้อนอย่างเรื้อรังต่อกระดูก และค่าซีรัมของไก่เนื้อ ที่มีการเสริม หรือไม่เสริมวิตามินซี ผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มแบบสุ่มไก่เนื้ออายุ ๒๓ วันจำนวน ๙๐ ตัวเป็น ๗ กลุ่ม ได้แก่
(๑) กลุ่มควบคุม
(๒) ให้ความเครียดจากความร้อนเป็นเวลาสั้น ๕ วัน
(๓) ให้ความเครียดจากความร้อนเป็นเวลาสั้น ๕ วัน และเสริมวิตามินซี (๕๐ เปอร์เซ็นต์) ๑๒ กรัมต่อน้ำ ๑๐๐ ลิตร 
(๔) ให้ความเครียดจากความร้อนเป็นเวลาปานกลาง ๑๐ วัน
(๕) ให้ความเครียดจากความร้อนเป็นเวลาปานกลาง ๑๐ วัน และเสริมวิตามินซี
(๖) ให้ความเครียดจากความร้อนเป็นเวลานาน ๒๐ วัน
(๗) ให้ความเครียดจากความร้อนเป็นเวลานาน ๒๐ วัน และเสริมวิตามินซี
               ในกลุ่มที่ให้ความเครียดจากความร้อน อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเป็น ๓๙ ± ๑ องศาเซลเซียสเป็นเวลา ๘ ชั่วโมงต่อวัน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง เก็บตัวอย่างเลือด กระดูกเท้า กระดูกอก และกระดูกแข้ง ผลการทดลองพบว่า  ความเครียดจากความร้อนไม่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของแคลเซียมในซีรัม และคอร์ติโคสเตอโรน หรือการเปลี่ยนแปลงของกระดูกทั้งส่วนคอร์ติคอล และทราบิคูลาร์จากภาพถ่ายรังสี และจุลพยาธิวิทยา หรือผลการเลี้ยงไก่เนื้อ ภาวะถูกออกซิไดซ์เกินสมดุล (Oxidative stress) พบได้มากในกรณีความเครียดจากความร้อนเป็นเวลาสั้น สำหรับความเครียดจากความร้อนอย่างเรื้อรัง โดยเฉพาะเป็นเวลาสั้น หรือปานกลาง มีแนวโน้มที่จะพบการเพิ่มขึ้นของวิตามินซีในซีรัม และการให้วิตามินชนิดนี้ไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับวิตามินซีในซีรัม แม้ว่าจะช่วยลดภาวะถูกออกซิไดซ์เกินสมดุลได้ โดยสรุปความเครียดจากความร้อนมิได้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลการเลี้ยงในไก่เนื้อ คุณลักษณะของกระดูก หรือค่าซีรัม และการให้วิตามินซีที่ขนาด ๑๒ กรัมต่อน้ำ ๑๐๐ ลิตรละลายในน้ำให้ไก่กินไม่ได้มีผลประโยชน์แต่อย่างใด นอกจาก การลดภาวะถูกออกซิไดซ์เกินสมดุล โดยเฉพาะในไก่ที่ให้ความเครียดจากความร้อนเป็นเวลาสั้น
เอกสารอ้างอิง

Mosleh et al. 2018. Effect of different periods of chronic heat stress with or without vitamin C supplementation on bone and selected serum parameters of broiler chickens. Avian Pathol. 47(2): 197-205.  

ภาพที่ ๑ อิหร่าน ภูมิภาคที่เป็นทะเลทรายอากาศร้อนแรง นักวิจัยเปิดเผยผลการวิจัยล่าสุด ความเครียดจากความร้อนถึง ๓๙ องศาเซลเซียส ๘ ชั่วโมงต่อวันไม่มีผลต่อผลการเลี้ยงไก่เนื้อ คุณลักษณะของกระดูก หรือค่าซีรัม (แหล่งภาพ: https://pixabay.com/en/dry-arid-yellow-nature-landscape-856544/

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2561

อินเดียยังขายโคลิสตินให้ฟาร์มเลี้ยงไก่ได้

ผลการสำรวจอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในประเทศอินเดียว ยังพบว่า ยาปฏิชีวนะโคลิสติน ที่มีความสำคัญต่อผู้ป่วยระยะวิกฤติยังขายกันได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
               นักข่าวจากองค์กรนักข่าวไม่แสวงหารายได้ ล่อซื้อยา ๒๐๐ กรัมจากร้านค้า โดยข้างซองจำหน่ายยามีการโฆษณาประสิทธิภาพการเร่งการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์ โดยข้อบ่งชี้การใช้ยาระบุถึงสรรพคุณของยาช่วยเพิ่มน้ำหนัก เติมยา ๕๐ กรัมต่ออาหารไก่ ๑ ตัน สินค้าจัดจำหน่ายโดยกลุ่มบริษัทเวนกี้
               ยาปฏิชีวนะที่พึ่งพาสุดท้ายทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยระยะวิกฤติที่ทราบกันทั่วไปในเวลานี้คือ ยาโคลิสติน ถูกใช้ต่อเมื่อทางเลือกในการรักษาสุดท้ายทั้งหมดถูกใช้ไปหมดแล้ว สมาชิกของสภาสัตว์ปีกอังกฤษ ได้สั่งห้ามใช้ยานี้ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นมา แต่ยังพบว่า ยานี้ถูกส่งไปยังหลายประเทศทั้งเวียดนาม อินเดียว เกาหลีใต้ และรัสเซีย ในเวลานี้บริษัทยาสัตว์อย่างน้อย ๕ แห่งในอินเดีย มีการเปิดจำหน่ายยาโคลิสตินเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตผสมในอาหาร 
               สภาสัตว์ปีกระหว่างชาติได้เปิดเผยข้อมูลไว้เมื่อปลายปีที่แล้ว โดยแสดงความห่วงใยถึงสถานการณ์เชื้อดื้อยาทั่วโลก แต่ยังไม่มีมาตรการควบคุมด้วยการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับเร่งการเจริญเติบโตกันอย่างทั่วถึงเพียงพอ นักวิชาการด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์ ทิโมธี วอล์ช ยิ่งแสดงความวิตกกังวงอย่างมาก และเป็นความบ้าคลั่งอย่างที่สุด และสมบูรณ์แบบในการใช้ยานี้ในการเลี้ยงสัตว์ปีก โคลิสตินเป็นด่านสุดท้ายสำหรับการรักษาชีวิตมนุษย์แล้ว เป็นยาชนิดเดียวที่หลงเหลืออยู่สำหรับรักษาผู้ป่วยระยะวิกฤติที่ติดเชื้อดื้อยาคาร์บาพีเนม การนำยานี้ไปผสมอาหารสัตว์ให้ไก่กินจึงเป็นเรื่องที่เหลวไหลมาก เชื้อแบคทีเรียจะแพร่กระจายไปทั่วฟาร์มเลี้ยงไก่ ฟุ้งไปในอากาศรอบตัว ปนเปื้อนตามเนื้อ แล้วแพร่ไปยังผู้เลี้ยงไก่ในฟาร์ม และแมลงวันจะเป็นพาหะนำเชื้อให้ไกลออกไป
               อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทเวนกี้ ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่า มิได้กระทำผิดกฏหมายของอินเดียในการจำหน่ายยาโคลิสติน เนื่องจาก สินค้ายาปฏิชีวนะของบริษัทใช้สำหรับการรักษาเท่านั้น แม้ว่า บางกรณีขนาดยาต่ำอยู่ที่ระดับสำหรับการป้องกัน และอาจออกฤทธิ์คล้ายกับสารส่งเสริมการเจริญเติบโต บริษัทเวนกี้มิได้สนับสนุนให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะตามอำเภอใจ การใช้ยาปฏิชีวนะของฟาร์มใช้สำหรับการรักษาเท่านั้น
เอกสารอ้างอิง
Davies J. 2018. Colistin sold to poultry farms without prescription. [Internet]. [Cited 2018 Feb 26]. Available from: http://www.poultryworld.net/Health/Articles/2018/2/India-Colistin-sold-to-poultry-farms-without-prescription-253152E/

ภาพที่ ๑ นักวิชาการด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์ ทิโมธี วอล์ช แสดงความวิตกกังวลอย่างมาก แสดงความเห็นว่าเป็นความบ้าคลั่งอย่างที่สุด และสมบูรณ์แบบในการใช้ยาโคลิสตินในการเลี้ยงสัตว์ปีก (แหล่งภาพ Pixabay)

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561

อียูเตรียมรับมือขาดแคลนวัตถุดิบโปรตีน

แผนนโยบายด้านโปรตีนของสหภาพยุโรป มีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มปริมาณ คุณภาพ และความสามารถในการแข่งขันของแหล่งโปรตีนในยุโรป กำลังก้าวไปข้างหน้า
               คณะกรรมาธิการยุโรปสำหรับภาคเกษตรกรรม และการพัฒนาชนบท กำลังสอบถามผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับมุมมองด้านบทบาทของสหภาพยุโรปในการผลิตโปรตีนจากพืช ระยะแรกอาจเป็นการพัฒนาแผนการผลิตโปรตีนภายในสหภาพยุโรปทั้งหมด ในอนาคต ยุโรปมีความกังวลต่อการขาดแคลนโปรตีน พื้นที่สำหรับการผลิตโปรตีนดูเหมือนว่าจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจาก เกษตรกรรม และสภาวะอากาศในยุโรปจะไม่เหมาะกับการเพาะปลูกพืชที่เป็นแหล่งโปรตีนสำคัญ เช่น ถั่วเหลือง ขณะเดียวกัน ราคาถั่วเหลืองกำลังเพิ่มขึ้น และมีความเสี่ยงต่อการตัดไม้ทำลายป่า เมื่อมองหาแหล่งโปรตีนประเภทอื่นๆ ก็จะเป็นต้องพิจารณาถึงความจำเป็นสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต

ความสามารถในการแข่งขัน
                 อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในยุโรปเป็นผู้ใช้โปรตีนจากพืชรายใหญ่ที่สุดในยุโรป แถมยังต้องนำเข้าจาประเทศที่สาม สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ของยุโรป (ฟีแฟค) เน้นให้ความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของแหล่งโปรตีนจากพืชท้องถิ่น โดยเฉพาะ การผลิตเมล็ดพันธุ์ และเมล็ดน้ำมัน ภายในสหภาพยุโรปควรเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชชนิดหลักที่นำมาใช้สำหรับการผลิตอาหารสัตว์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการสนับสนุนให้ผลิตแหล่งอาหารโปรตีนที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดกับประชากรสัตว์ในอียู เพื่อลดการสูญเสียโภชนะ โดยลดระดับครูดโปรตีนในอาหารสัตว์กระเพาะเดี่ยวลง ๓ เปอร์เซ็นต์จากระดับที่ใช้กันมาเป็นเวลายี่สิบปี โดยเพิ่มความสามารถในการย่อยได้ และคุณภาพของโปรตีนจากพืช

เพิ่มทั้งปริมาณ และคุณภาพ
               สมาคมฟีแฟค ยังพิจารณาให้มีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อพยายามเพิ่มทั้งปริมาณ และคุณภาพของโปรตีนจากโปรไฟล์ของกรดอะมิโน และองค์ประกอบที่ขัดขวางการใช้โภชนะ รวมถึง พืชน้ำมัน แผนการวิจัยของยุโรปจะมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโปรตีน และการนำไปใช้โดยสัตว์ หรือความสามารถในการย่อยอาหารได้ ในเวลาเดียวกัน สมาคมฟีแฟคยังตักเตือนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้ทราบถึงความจำเป็นในการตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้สำหรับการผลิตโปรตีนจากพื้นในสหภาพยุโรป ขณะที่ สหภาพยุโรปจะไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้สำหรับวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนในระยะสั้น หรือระยะกลาง ความสนใจต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของการปศุสัตว์ในยุโรปต้องพึ่งพาแผนโครงการพัฒนาที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้ได้ว่า วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภคโปรตีน โดยเฉพาะ กากถั่วเหลือง จากการนำเข้า และการเพาะปลูกภายในยุโรปจะต้องมีการผลิตด้วยความรับผิดชอบเป็นไปตามหลักมาตรฐานการเกษตรที่ดี มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม สมาคมฟีแฟคได้ออกคำแนะนำสำหรับแหล่งถั่วเหลืองตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ร่วมกับไอทีซี กำหนดระบบสำหรับเจ้าของฟาร์ม และคู่ค้าผู้รับวัตถุดิบอาหารสัตว์สำหรับการผลิต และแบ่งปันความรับผิดชอบสำหรับผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง  
เอกสารอ้างอิง


ภาพที่ ๑ ฟิล โฮแกน คณะกรรมาธิการยุโรปสำหรับภาคเกษตรกรรม และการพัฒนาชนบท กำลังเตรียมเปิดเผยรายงานทางการตลาด และการสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโปรตีนในยุโรป  (แหล่งภาพ: Saul Loeb/ANP

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...