วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

รัสเซียขุดพบแบคทีเรียใต้ชั้นน้ำแข็งไซบีเรียใช้แทนยาปฏิชีวนะ

นักวิทยาศาสตร์รัสเซียเล็งเห็นโอกาสยิ่งใหญ่เพื่อหายาทดแทนยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ปีก โดยใช้แบคทีเรียโบราณอายุกว่า ๓.๕ ล้านปีจากใต้ชั้นหิมะในไซบีเรีย
               เชื้อบาซิลลัส เอฟ ซ่อนอยู่ใต้ชั้นหิมะในไซบีเรียมาเป็นเวลาหลายล้านปี จนกระทั่ง ขุดค้นพบในปี พ.ศ.๒๐๑๕ ที่ผ่านมานี้เองในไซบีเรียที่หนาวเย็นสุดขั้ว ช่วยให้สัตว์ปีกมีประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารที่ดีจากผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์รัสเซียที่สถาบัน State Instutute of Earth Cryosphere โดยเชื้อ บาซิลลัส เอฟ นี้ยังสามารถนำมาใช้สำหรับการผลิตยาเสริมภูมิคุ้มกันกันได้อีกด้วย จึงเป็นโอกาสดีที่จะลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก ผลการศึกษาเบื้องต้นโดยการใช้แบคทีเรียผสมในอาหารสัตว์ปีกที่ทำการวิจัยโดยสถาบันวิจัยชั้นนำหลายแห่งในรัสเซีย การทดสอบในห้องปฏิบัติการโดยใช้หนูทดลอง และการทดสอบนำร่องในไก่ พบว่า เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้เป็นความหวังใหม่ ดังนั้น นักวิจัยจึงเริ่มพัฒนาสูตรสำหรับยาที่ผสมแบคทีเรียชนิดใหม่นี้กับคอลอยด์ของเงิน ยาชนิดใหม่นี้จะทำการทดสอบในระดับฟาร์มสัตว์ปีกช่วงต้นปีนี้  หัวหน้าคณะผู้วิจัย Andrie Subbotin อ้างว่า แบคทีเรียที่ใช้ในการวิจัยค้นพบใต้น้ำแข็งลึกที่เทือกเขาแมมมอธในยูคาเทีย ก้อนหินบริเวณดังกล่าวสามารถสอบย้อนกลับไปได้ถึง ๓.๕ ล้านปีมาแล้ว เชื้อแบคทีเรียที่สามารถอยู่รอดใต้หิมะเย็นสุดขั้วเป็นเวลาหลายร้อยปี ถูกปลุกให้ฟื้นขึ้นใหม่ แล้วเจริญเติบโดตได้ที่อุณหภูมิสูงกว่า ๕ องศาเซลเซียส นักวิจัยยังไม่มั่นใจว่า เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้จะเป็นสิ่งมีชีวิตโบราณ เนื่องจาก พื้นใต้น้ำแข็งยังสามารถซึมผ่านลงไปได้ นักวิจัยเชื่อว่า เชื้อแบคทีเรียใต้ชั้นหิมะเยือกแข็งดำรงอยู่ในสถานะที่มีกระบวนการเมตาโบลิซึมต่ำ แต่ยังสามารถดำรงชีพอยู่ได้
               เชื้อบาซิลลัส เอฟ ช่วยเพิ่มอัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร และการเจริญเติบโต การให้เชื้อเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการเมตาโบลิซึม และภูมิคุ้มกันของสัตว์ทดลอง เป็นการส่งเสริมคุณภาพของชีวิต โดยเฉพาะ สัตว์ที่มีอายุมาก แสดงให้เห็นว่า ยาบาซิลลัส เอฟ น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับใช้ในการต่อสู้กับเชื้อโรค โดยเฉพาะ ซัลโมเนลลา หรือ MRSA นอกเหนือจากนั้น นักวิจัยรัสเซียยังทดลองในหนูที่ฉีดยาบาซิลลัส เอฟ แล้วประเมินผลโดยใช้ภาพ Resonance imagine พบว่า การฉีดสารสื่อกลางสองชนิด ได้แก่ กลูตาเมต และทอรีน ที่สามารถเพิ่มการทำงานของภูมิคุ้มกัน และยืดอายุของเซลล์ได้ พบว่า กลูตาเมตช่วยเสริมในการออกฤทธิ์กระตุ้นสภาวะทางจิตใจ ขณะที่ ทอรีน มีอิทธิพลเกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญพลังงานในสิ่งมีชีวิต โดยสัตว์กลุ่มทดลองที่ให้วัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม ๒๐ ถึง ๓๐ เปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบกับก่อนการให้วัคซีน นักวิจัยเชื่อว่า สัตว์ปีกในฟาร์มน่าจะเห็นผลบวกต่ออัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร และอัตราการเจริญเติบโตที่ชัดเจน
               การทดสอบเบื้องต้น แสดงให้เห็นถึง การเพิ่มการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันเป็นการลดโอกาสการปนเปื้อนเชื้อโรค อย่างไรก็ตาม ยังเร็วไปที่จะบอกว่า สามารถทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหาร แต่นักวิจัยเชื่อมั่นว่า การผสมแบคทีเรียเหล่านี้ ร่วมกับสารต้านจุลชีพ โดยเฉพาะ คอลลอยด์ของเงิน จะส่งเสริมฤทธิ์กัน และลดการใช้ยาปฏิชีวนะลงได้โดยคาดหวังว่าจะลดการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ปีกลงได้ราว ๓๐ ถึง ๔๐ เปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบกับปัจจุบัน ซึ่งจะเกิดผลดีต่อการแพทย์สมัยใหม่ที่มีการพัฒนาเชื้อดื้อยาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน การทดลองเบื้องต้นในหนูทดลองก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า การฉีดเชื้อแบคทีเรียเข้ากล้ามเนื้อเป็นผลดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะ ช่วยยืดชีวิตสัตว์จากที่มีอายุเฉลี่ย ๕๘๙ วัน สามารถเพิ่มอายุขัยขึ้นได้อีก ๓๐๘ วัน ดังนั้น อายุเฉลี่ยของหนูทดลองที่ให้ยา บาซิลลัส เอฟ จึงเพิ่มขึ้นเป็น ๙๐๖ วัน และยังป้องกันปัญหาตาบอด เนื่องจาก สัตว์อายุมาก
               นักวิจัยกำลังพยายามประเมินประสิทธิภาพจากการผสมในอาหารสัตว์ โดยเฉพาะ ผลต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั้งสัตว์ และพืช โดยยาบาซิลลัส เอฟ ช่วยลดความเครียดในพืชช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และนิเวศวิทยา เพื่อให้มีผลผลิตที่ดีขึ้นได้จากผลการวิจัยในพืชที่ชอบอากาศร้อนอย่างข้าวโพด ปัจจุบัน ศูนย์วิจัย และสถาบันวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพกำลังเริ่มพัฒนายาเสริมภูมิคุ้มกันที่อาจช่วยให้บริษัทเกษตรกรรมในรัสเซียสามารถผลิตข้าวโพดในพื้นที่ภาคกลางของประเทศ และไซบีเรียที่ก่อนน้านี้มีอุปสรรคด้านภูมิอากาศสำหรับการเพาะปลูกข้าวโพดแทบจะเป็นไปไม่ได้มาก่อน นักวิจัยเชื่อว่า ผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของรัสเซีย การค้นพบครั้งนี้มีความสำคัญอย่างมากต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์รัสเซียในอนาคตที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ และการปรากฏเชื้อโรคร้ายจากการผลิตโดยใช้ยาปฏิชีวนะมหาศาล รายงานวิจัยหลายฉบับ แสดงให้เห็นว่า การใช้ยาโดยปราศจากการควบคุมในรัสเซีย อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์สูงกว่ายุโรปประมาณ ๑๕ ถึง ๔๐ เปอร์เซ็นต์ จนกรมปศุสัตว์รัสเซียจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทต่อการควบคุมปัญหานี้ สภาดูมากำลังพิจารณากฏหมายที่ยกเลิกยาปกิชีวนะจากรายการยา OTC รวมถึง รัฐบาลรัสเซียกำลังปรับปรุงระบบการควบคุมด้านสัตวแพทย์ต่อการตลาดภายในประเทศ เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์

แหล่งข้อมูล        World Poultry (25/1/16) 









เชื้อ บาซิลลัส เอฟ ซ่อนอยู่ในแผ่นน้ำแข็งแถบไซบีเรียเป็นเวลาหลายล้านปีมาแล้ว










การค้นพบครั้งนี้อาจพลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในรัสเซีย



วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

กล้องตรวจจับแคมไพฯในโรงเรือนเลี้ยงไก่

การตั้งกล้องภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อจะช่วยแจ้งสถานะฝูงไก่ว่า มีผลบวกต่อเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์หรือไม่ โดยให้ก่อนการจับไก่ได้ ๑๐ วัน งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ต เผยความเชื่อมโรงระหว่างจำนวนครั้งของการเคลื่อนที่ไก่ในโรงเรือน และโอกาสในการพบเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์
           การวิเคราะห์ผลทางจุลชีววิทยาจากตัวอย่าสำลีป้ายเชื้อจากมูลสัตว์ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เพิเศษ และผลต้องใช้เวลาราว ๓ วัน แต่วิธีการใหม่นี้ แสดงให้เห็นว่า สามารถตรวจสอบฝูงที่มีโอกาสมีผลเป็นบวกได้แบบ Real time โดยใช้ซอฟท์แวร์ตรวจติดตามพฤติกรรมของไก่ในฝูง
               คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดตั้งกล้องไว้ ๔ ตัวในโรงเรือน ๓ แห่งจากบริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีกในสหราชอาณาจักร พบว่า ฝูงที่มีการเลี้ยงแบบรวมเพศไม่ว่าจะเป็น รอส ๓๐๘ หรือคอบ ๕๐๐ ทั้งสองสายพันธุ์สามารถเลี้ยงได้ตามเป้าหมายความหนาแน่นที่ ๓๘ กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยใช้ข้อมูลจากการตรวจจับภาพอย่างต่อเนื่อง (Optical flow data) จากกล้องบันทึกภาพทั้งสี่ตัวตั้งแต่วันที่ ๒ ถึง ๓๐ ก่อนที่จะมีการจับไก่ระบาย
               ผลการทดสอบเชื้อซัลโมเนลลาในวันที่ ๒๑, ๒๘ และ ๓๕ เปรียบเทียบกับอัตราการเคลื่อนไหวของไก่ นักวิจัยสามารถแสดงให้เห็นว่า ฝูงที่มีการเคลื่อนที่สม่ำเสมอน้อยกว่า และเคลื่อนที่โดยภาพรวมน้อยกว่าให้ผลเป็นบวกต่อแคมไพโลแบคเตอร์ที่สูงกว่า ผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์ในประมวลผลการวิจัย Proceedings of the Royal Society ให้คำอธิบายว่า ไก่ที่เคลื่อนที่น้อยก็มีแนวโน้มที่จะเก็บกักเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ไว้ในร่างกาย แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ความจริงแล้วการเคลื่อนที่น้อยลงนั้นอาจเป็นสาเหตุให้สุขภาพไก่ในฝูงแย่ลงก็ได้ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยโน้มนำให้ไก่มีโอกาสติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ง่ายขึ้น หรือเชื้อแคมไพฯเองส่งผลต่อสุขภาพของไก่จนทำให้ไก่ไม่อยากจะลุกเดินไปไหนก็ได้   
ศ. Marian Dawkins ผู้เขียนผลการวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า ผลการศึกษาครั้งนี้มีหลักฐานทางสถิติที่ชัดเจนเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมไก่ในฝูง และสถานะของแคมไพโลแบคเตอร์ โดยเชื้อแคมไพฯน่าจะส่งผลต่อสุขภาพของไก่มากกว่าที่นักวิชาการคาดไว้มาก่อน ดังนั้น การใช้ข้อมูลจากการตรวจจับภาพต่อเนื่องจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อไปสำหรับการจัดการเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ของผู้ผลิต ผู้บริโภค และตัวไก่ที่เลี้ยง ผู้จัดการฟาร์มสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real time จึงช่วยเตือนให้ทราบว่า ฝูงไก่ฝูงใดมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ และปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ แล้วดำเนินการแก้ไขก่อนที่ปัญหาจะลุกลาม

แหล่งข้อมูล        World Poultry (22/1/16) 

บทบาทของ Feed Additives ต่อการควบคุมแคมไพโลแบคเตอร์

ผลการศึกษาใหม่แสดงให้เห็นโอกาสในการใช้สารเติมอาหารสัตว์เพื่อลดการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในฟาร์มไก่เนื้อ
               เนื้อสัตว์ปีกเป็นแหล่สำคัญของโรคติดเชื้อซัลโมเนลลาในมนุษย์ ที่เป็นโรคสัตว์สู่คนที่พบได้บ่อยที่สุดตามรายงานของสหภาพยุโรป ความชุกของเชื้อแคมไพโลแลคเตอร์ในฟาร์มไก่เนื้อสูงถึง ๗๑ เปอร์เซ็นต์ตามรายงานใน EFSA พบว่า ผู้ป่วยโรคติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ และลิสทีเรียเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งนับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ เป็นต้นมา ที่มีผู้ป่วยโรคติดเชื้อซัลโมเนลลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นครั้งแรก
               การคัดเลือกผลิตภัณฑ์สารเติมอาหารสัตว์ ๒๔ ชนิด ยังไม่มีชนิดใดที่สามารถป้องกัน หรือลดปริมาณเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในไก่เนื้อได้ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาหลายครั้ง ทดสองผลิตภัณฑ์โดยการเติมอาหารสัตว์ หรือน้ำเพื่อลดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในฟาร์ม โดยมีวิธีการออกแบบการทดลองแตกต่างกัน จึงไม่สามารถเปรียบเทียบผลกันได้ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการคัดเลือกผลิตภัณฑ์สารเติมอาหารสัตว์ ๒๔ ชนิดที่มีการจำหน่ายเชิงพาณิชย์ หรือกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อลดปริมาณเชื้อในไส้ตันระหว่างการเลี้ยงจนถึงจับไก่
                ผลิตภัณฑ์เติมอาหารสัตว์ ๒ ชนิดที่ประกอบด้วย กรดอินทรีย์ หรือกรดไขมัน โมโนไกลซีไรด์ สารสกัดจากพืช พรีไบโอติก หรือโปรไบโอติก สำหรับสารเติมอาหารสัตว์แต่ละชนิดนั้น ไก่เนื้อที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ป้อนอาหารที่ไม่มีการเติมสารใด (กลุ่มควบคุม) หรืออาหารที่เสริมด้วยผลิตภัณฑ์เติมอาหารสัตว์ (กลุ่มควบคุม) แล้วทดสอบปริมาณเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในแต่ละกลุ่มเปรียบเทียบสามครั้ง ไม่มีกลุ่มทดลองใดสามารถป้องกันการสร้างนิคมของแคมไพโลแบคเตอร์ และมีความแปรปรวนค่อนข้างสูง ที่อายุ ๑๔ วัน กลุ่มการทดลอง ๘ กลุ่ม สามารถลดการปนเปื้อนของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ลงได้ ๒ ล็อก ซีเอฟยูต่อกรัมเทียบกับกลุ่มควบคุม ที่อายุ ๓๕ วัน ๓ กลุ่มทดลองยังสามารถลดเชื้อได้อย่างมีนัยสำคัญโดยลดได้ดีที่สุด ๑.๘๘ ล๊อก ซีเอฟยูต่อกรัม ที่อายุ ๔๒ วัน มีเพียงกลุ่มเดียวที่ใช้กรดไขมันสายสั้นที่ยังมีประสิทธิภาพลดเชื้อลงได้มากกว่า ๒ ล็อก ซีเอฟยูต่อกรัม นอกจากนั้น โปรไบโอติก และพรีไบโอติก ยังสามารถลดการปนเปื้อนลงได้สูงที่สุด ๓ ล็อก เอฟยูต่อกรัมที่อายุ ๔๒ วัน
               ผลการวิจัยนี้สร้างความหวังให้กับนักวิจัยต่อการใช้สารเติมอาหารสัตว์เพื่อลดการติดเชื้อซัลโมเนลลาในฟาร์ม อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรการหลายวิธีร่วมกันที่ทุกระดับของการผลิตเนื้อไก่จึงจะให้ผลที่ดีที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค การวิจัยครั้งนี้เป็นโครงการใหญ่ชื่อว่า แคมไพโบร สนับสนุนโดยสหภาพยุโรปตามโครงการวิจัย และพัฒนา โดยดำเนินการวิจัยโดยหน่วยวิจัยที่ฝรั่งเศส สเปน และเนเธอร์แลนด์

แหล่งข้อมูล        World Poultry (26/1/16) 

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...