การตั้งกล้องภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อจะช่วยแจ้งสถานะฝูงไก่ว่า
มีผลบวกต่อเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์หรือไม่ โดยให้ก่อนการจับไก่ได้ ๑๐ วัน งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ต
เผยความเชื่อมโรงระหว่างจำนวนครั้งของการเคลื่อนที่ไก่ในโรงเรือน
และโอกาสในการพบเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์
การวิเคราะห์ผลทางจุลชีววิทยาจากตัวอย่าสำลีป้ายเชื้อจากมูลสัตว์
จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เพิเศษ และผลต้องใช้เวลาราว ๓ วัน แต่วิธีการใหม่นี้
แสดงให้เห็นว่า สามารถตรวจสอบฝูงที่มีโอกาสมีผลเป็นบวกได้แบบ Real time โดยใช้ซอฟท์แวร์ตรวจติดตามพฤติกรรมของไก่ในฝูง
คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดตั้งกล้องไว้
๔ ตัวในโรงเรือน ๓ แห่งจากบริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีกในสหราชอาณาจักร พบว่า
ฝูงที่มีการเลี้ยงแบบรวมเพศไม่ว่าจะเป็น รอส ๓๐๘ หรือคอบ ๕๐๐
ทั้งสองสายพันธุ์สามารถเลี้ยงได้ตามเป้าหมายความหนาแน่นที่ ๓๘
กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยใช้ข้อมูลจากการตรวจจับภาพอย่างต่อเนื่อง (Optical flow data) จากกล้องบันทึกภาพทั้งสี่ตัวตั้งแต่วันที่
๒ ถึง ๓๐ ก่อนที่จะมีการจับไก่ระบาย
ผลการทดสอบเชื้อซัลโมเนลลาในวันที่
๒๑, ๒๘ และ ๓๕ เปรียบเทียบกับอัตราการเคลื่อนไหวของไก่
นักวิจัยสามารถแสดงให้เห็นว่า ฝูงที่มีการเคลื่อนที่สม่ำเสมอน้อยกว่า
และเคลื่อนที่โดยภาพรวมน้อยกว่าให้ผลเป็นบวกต่อแคมไพโลแบคเตอร์ที่สูงกว่า ผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์ในประมวลผลการวิจัย
Proceedings of the
Royal Society ให้คำอธิบายว่า ไก่ที่เคลื่อนที่น้อยก็มีแนวโน้มที่จะเก็บกักเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ไว้ในร่างกาย
แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า
ความจริงแล้วการเคลื่อนที่น้อยลงนั้นอาจเป็นสาเหตุให้สุขภาพไก่ในฝูงแย่ลงก็ได้
ซึ่งอาจเป็นปัจจัยโน้มนำให้ไก่มีโอกาสติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ง่ายขึ้น
หรือเชื้อแคมไพฯเองส่งผลต่อสุขภาพของไก่จนทำให้ไก่ไม่อยากจะลุกเดินไปไหนก็ได้
ศ. Marian Dawkins ผู้เขียนผลการวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า
ผลการศึกษาครั้งนี้มีหลักฐานทางสถิติที่ชัดเจนเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมไก่ในฝูง
และสถานะของแคมไพโลแบคเตอร์
โดยเชื้อแคมไพฯน่าจะส่งผลต่อสุขภาพของไก่มากกว่าที่นักวิชาการคาดไว้มาก่อน ดังนั้น
การใช้ข้อมูลจากการตรวจจับภาพต่อเนื่องจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อไปสำหรับการจัดการเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์
เพื่อประโยชน์ของผู้ผลิต ผู้บริโภค และตัวไก่ที่เลี้ยง
ผู้จัดการฟาร์มสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real time จึงช่วยเตือนให้ทราบว่า
ฝูงไก่ฝูงใดมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ และปัญหาสวัสดิภาพสัตว์
แล้วดำเนินการแก้ไขก่อนที่ปัญหาจะลุกลาม
แหล่งข้อมูล World Poultry (22/1/16)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น