วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รายการสารคดีดังยกให้ไก่เป็นเนื้อสัตว์ที่ผลิตโดยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด



รายการสารคดี BBC ได้สำรวจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของฟาร์มปศุสัตว์ พบว่า การผลิตสัตว์ปีกเป็นเนื้อสัตว์ที่สีเขียว หรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แต่ก็แนะนำให้ผู้บริโภคลดการบริโภคเนื้อสัตว์ทั้งหมดลง
                รายการ “Horizon” ที่ดำเนินรายการโดย ดร. ไมเคิล มอสลีย์ เริ่มต้นจากการประเมินผลกระทบของการบริโภคเนื้อต่อสุขภาพมนุษย์ ก่อนจะหันมาสนใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตปศุสัตว์ ดร.มอสลีย์ อุตสาหะเดินทางไปยังอเมริกาที่มีการเลี้ยงโคเนื้อในทุ่งหญ้าเปรียบเทียบกับการเลี้ยงในคอกสัตว์ หลังจากนั้น ก็แวะเยี่ยมชมฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อนอร์ฟอล์กของ ไนเจน จอยซ์ที่เลี้ยงไก่ ๕๘,๐๐๐ ตัว ดร.มอสลีย์ ประหลาดใจมากที่ไม่มีกลิ่น และสะดวกสบายสำหรับไก่ ผู้เลี้ยงไก่ก็มีความตระหนักถึงการเลี้ยงสัตว์ให้อยู่ในสภาวะที่สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน เพื่อให้สัตว์รู้สึกสบาย สำหรับมุมมองด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื้อสัตว์ปีกเป็นโปรตีนที่ดีที่สุด นอกจากนั้น รายการยังได้เชิญ ดร. ทารา การ์เน็ต จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารวงจรการผลิตเกี่ยวกับต้นทุนสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมของปศุสัตว์แต่ละชนิด โดยประเมินจากพลังงานทั้งหมดที่ใส่ลงไป ดร.การ์เน็ต มีความเห็นว่า สัตว์ปีกเป็นเนื้อสัตว์ที่มีความเขียวที่สุดที่ผู้บริโภคสามารถซื้อหาได้ โดยการเลี้ยงสัตว์ปีกภายในโรงเรือนจะมี Footprint ต่ำกว่าการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ อย่างไรก็ตาม เนื้อสัตว์ปีกก็ยังพ่ายแพ้หอย ในด้านการผลิตโปรตีนที่มีประสิทธิมากที่สุด มนุษย์เพียงแขวนเชือกไว้กลางท้องทะเลเป็นเวลา ๓ ปี เพื่อให้หอยมากเกาะและเจริญเติบโต แล้วใส่ปัจจัยเข้าไปเพิ่มเข้าไปคือ น้ำมันให้เรือสำหรับการเก็บเกี่ยวหอยขึ้นมาบริโภค
 แหล่งที่มา:          Poultry World (26/8/14)

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อินโดนีเซียเจรจาส่งออกไก่ให้ญี่ปุ่น



รัฐบาลอินโดนีเซีย รายงานการเจรจาอย่างเป็นทางการกับญี่ปุ่นเพื่อให้ส่งออกเนื้อไก่ที่ถูกแบนมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ภายหลังการระบาดไข้หวัดนกในฟาร์มไก่พันธุ์หลายแห่ง
                ผู้ผลิตไก่ในอินโดนีเซียมีความพร้อมสำหรับการส่งออกเนื้อไก่ไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อเพิ่มรายได้ในการส่งออกอย่างน้อย ๖.๒ พันล้านบาทต่อปี เมื่อเร็วๆนี้ แมคโดนัลด์ในญี่ปุ่นก็พึ่งหยุดการซื้อไก่จากบริษัท Shanghai Husi Food Co. Ltd. ที่เป็นบริษัทลูกของกลุ่มทุน OSI Group จากสหรัฐฯ หลังจากการกระทำความผิดพลาดด้านความปลอดภัยอาหารด้วยการจำหน่ายเนื้อที่หมดอายุตั้งแต่ปลายเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา ญี่ปุ่นอาจจำเป็นต้องแสวงหาแหล่งการนำเข้าทดแทน ประเทศอินโดนีเซียเป็นทางเลือกที่ดีนอกเหนือจากประเทศไทยผู้ส่งออกหลักในตลาดญี่ปุ่น ผู้ผลิตไก่ในอินโดนีเซียสามารถผลิตตามมาตรฐานการส่งออกของญี่ปุ่นได้ และมีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นมาแทนจีน หรือไทย ซึ่งต้องขอบคุณการพัฒนากระบวนการผลิตของสมาคมผู้ผลิตสัตว์ปีกในอินโดนีเซีย (GAPPI) ที่มีนายกสมาคมคือ คุณ Anton J. Supit ขณะนี้ อินโดนีเซียมีความพร้อมสำหรับการส่งออกสู่ญี่ปุ่นแล้ว เหลือเพียงข้อพิจารณาด้านราคาสินค้าเหมาะสมหรือไม่ และการประเมินมาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตเป็นไปตามมาตรฐานด้านสุขศาสตร์ และกระบวนการผลิตมีการดำเนินไปอย่างเหมาะสม
                ประเทศอินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตไก่เนื้อรายใหญ่แห่งหนึ่งในย่านอาเซียน โดยมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้คาดว่า อินโดนีเซียจะมีอัตราการเติบโตเป็น ๐.๙๗ เปอร์เซ็นต์ และกำลังการผลิตเนื้อไก่สูงถึง ๑.๕๖ ล้านตันใกล้เคียงกับประเทศไทย ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความมั่นคงภายหลังการเลือกตั้งใหญ่ครั้งสำคัญของประเทศ  
แหล่งที่มา:            WATTAgNET.com (25/8/14) 

นวัตกรรมด้านอาหารสัตว์สามารถป้องกันโรคผิวหนังอักเสบที่อุ้งเท้าได้


ปัญหาผิวหนังอักเสบที่อุ้งเท้า (Food pad dermatitis, FPD; Pododermatitis) เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของสวัสดิภาพสัตว์ในไก่เนื้อที่สหภาพยุโรปกำลังพิจารณาในการกำหนดมาตรฐานไว้ในบทบัญญัติสหภาพยุโรปสำหรับไก่เนื้อ (EU Broiler directive) วัสดุรองพื้นที่เปียกเป็นผลมาจากระบบย่อยอาหารที่ไม่มีประสิทธิภาพเป็นสาเหตุเริ่มต้นของการพัฒนารอยโรค เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับผิวหนังบริเวณอุ้งเท้า โภชนาการที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญในการป้องกันการก่อรอยโรค การใช้แร่ธาตุธรรมชาติร่วมกับผลิตภัณฑ์ส่งเสริมภูมิคุ้มกันช่วยลดปัญหา และป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนของรอยโรคได้
                ปัญหาผิวหนังอักเสบที่อุ้งเท้า (FPD) เป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับสวัสดิภาพสัตว์ โดยเฉพาะในไก่เนื้อ และไก่งวง ที่เลี้ยงบนวัสดุรองพื้นโรงเรือน ไก่จึงมีโอกาสพัฒนารอยโรคที่เท้าในระดับต่างๆตามคุณภาพของวัสดุรองพื้น อ้างถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์แล้ว การเกิดรอยโรคดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสองในห้าของหลักการความเป็นอิสระทั้งห้า (Five freedoms) ได้แก่ อิสระจากความไม่สบายกาย (Discomfort) และอิสระจากความเจ็บปวด การบาดเจ็บ และโรค ความจริงแล้ว ยังส่งผลกระทบอีกข้อหนึ่งเพิ่มเติมคือ อิสระที่จะแสดงพฤติกรรมปรกติที่ทำให้ไก่ไม่สามารถเดินไปไหนมาไหนได้ตามปรกติ อ้างอิงตามหลักการของสภาที่ปรึกษาด้านสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มว่า ด้วยหลักสวัสดิภาพไก่เนื้อ (Farm Animal Welfare Advisory Council Code of Practice for the Welfare of Broiler Chickens) แล้ว ผู้เลี้ยงสัตว์ต้องตรวจสอบปัญหาเป็นประจำทุกวัน และปรึกษานักโภชนาการ และสัตวแพทย์ในการควบคุมโรคเหล่านี้ และจำเป็นต้องตระหนักถึงการสะท้อนปัญหาจากโรงงานแปรรูปที่โรงฆ่าว่า คุณภาพของเท้าไก่ในฟาร์มเป็นอย่างไร
                รอยโรคผิวหนังอักเสบที่อุ้งเท้า (FPD) มีสาเหตุมาจากวัสดุรองพื้นที่เปียก และเหนียวติดตามนิ้ว และอุ้งเท้าไก่ ส่งผลให้เกิดความเสียหาย และเกิดเป็นแผลพุพองขึ้นที่เท้า แอมโมเนียเกิดจากมูลไก่ในวัสดุรองพื้น และมีความเชื่อมโยงกับแผลพุพอง (Extra burn effect) ที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า รอยโรคเริ่มต้นมาจากแผลถลอก (Erosion) ที่พื้นผิวของฝ่าเท้า เมื่อรอยโรคเริ่มปรากฏแล้ว รอยโรคจะลุกลามต่อไปจนเกิดเป็นแผลพุพองสีดำ (Black blister-like formation) ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจเหนี่ยวนำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง ไก่ไม่อยากจะลุกเดิน ดังนั้น จึงลดการกินอาหาร และน้ำลงได้
                อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมแล้ว ผลกระทบของ FPD ยังมีความสำคัญมากทางด้านสวัสดิภาพสัตว์ ในปี ค.ศ. ๒๐๐๕ สหภาพยุโรป ได้เสนอให้มีการใช้อุบัติการณ์ของ FPD ในไก่เนื้อเป็นตัวบ่งชี้สถานภาพสวัสดิภาพสัตว์ของไก่ในฟาร์ม และจะนำมาใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการกำหนดความหนาแน่นของการเลี้ยงไก่เนื้อในฟาร์มต่อไป ระบบการให้คะแนนได้มีการเผยแพร่แล้วทั้งในไก่เนื้อ และไก่งวงโดยคำนึงถึงความรุนแรงของรอยโรคในฟาร์ม ในบางประเทศแถบสแกนดิเนเวีย สวัสดิภาพสัตว์มีการตรวจติดตามโดยอาศัยคะแนนของ FPD และฟาร์มที่เกิดปัญหารุนแรงอาจต้องตัดสินใจทำลายสัตว์ทิ้ง โดยไม่ส่งเข้าโรงงาน แม้ว่าจะสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับเจ้าของฟาร์มก็ตาม           
                ทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ผลกระทบของ FPD ก็มีความสำคัญมาก เนื่องจาก ไก่ไม่พยายามเดินไปกินอาหาร และน้ำ ดังนั้น หากเปรียบเทียบกับฟาร์มที่ไม่เกิดปัญหาแล้วจะต่ำกว่ากันมาก ในประเทศแถบเอเชีย มีการจำหน่ายเท้าไก่ถือเป็นอาหารที่มีรสชาดอันโอชะก็จะยิ่งเกิดความเสียหายเนื่องจากคุณภาพสินค้า
                รายงานผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่ออุบัติการณ์ และความรุนแรงของ FPD ได้แก่ ฤดูกาล โดยพบว่า FPD มีความชุก และความรุนแรงในฤดูหนาวมากกว่าฤดูร้อน (De Jong, 2011) เป็นผลมาจากข้อมูลที่รวบรวมจากประเทศเดนมาร์ก และสวีเดน ระหว่างปี ค.ศ. ๒๐๐๒ ถึง ๒๐๑๐ อาจเป็นผลมาจากการระบายอากาศที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดรอยโรค เนื่องจาก การปลดปล่อยแอมโมเนียจากวัสดุรองพื้น การปรากฏของแบคทีเรียบางชนิดในโรงเรือน โดยเฉพาะ สแตไฟโลคอคคัส และ อี. โคลัย สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนของรอยโรค ความรุนแรงของปัญหาเพิ่มขึ้น และยังทำให้เกิดข้อต่ออักเสบได้อีกด้วย ระบบการให้น้ำ ระบบการกกลูกไก่ การระบายอากาศ การให้แสง และความหนาแน่นในการเลี้ยง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุบัติการณ์โรค FPD  
มุมมองด้านอาหารสัตว์
                วัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิดเป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาโรค FPD เนื่องจาก เป็นสาเหตุทำให้วัสดุรองพื้นเปียก และเป็นปัจจัยโน้มนำให้เกิดการพัฒนารอยโรค วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีโปแตสเซียมสูง เช่น ถั่วเหลือง และมันสำปะหลัง สามารถเป็นสาเหตุทำให้ถ่ายเป็นน้ำเหนี่ยวนำให้คุณภาพวัสดุรองพื้นแย่ลง เนื่องจาก ผลกระทบทางลบของการดึงโปแทสเซียม และน้ำกลับสู่ทางเดินอาหาร การกินโพลีแซคคาไรด์กลุ่มที่ไม่ใช้แป้ง (Non-starch polysaccharide, NSP) จากธัญพืช เช่น ข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทราบกันดีว่าทำให้เกิดวัสดุรองพื้น เนื่องจาก ภาวะเสียสมดุลของแบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Dysbacteriosis) เหนี่ยวนำให้ถ่ายเป็นน้ำ และอาจเกิดการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค โปรตีนที่ย่อยได้ไม่ดียังเป็นการเพิ่มระดับของไนโตรเจน และเกิดแอมโมเนียเพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุของแผลพุพองที่เท้า รายงานผลการวิจัย แสดงให้เห็นถึง การประยุกต์ใช้สารเสริมในอาหารสัตว์ เช่น แร่ธาตุอินทรีย์ (Organic minerals) เพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของผิวหนัง และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน  
การป้องกันรอยโรค และการติดเชื้อ
                การป้องกันเป็นวิธีที่ต้องการมากที่สุด นอกเหนือจาก การลดความจำเป็นสำหรับการบำบัดรักษาทางสัตวแพทย์แล้ว แต่ยังเป็นการรักษาอุ้งเท้าของไก่ให้สวยงาม ปราศจากแผลเป็น ป้องกันการปลดซากที่โรงฆ่า และความเสียหายทางเศรษฐกิจอื่นๆ รวมถึง การปฏิบัติงานที่สอดคล้องตามมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ ในการรักษาความแข็งแรงของอุ้งเท้า โภชนะที่เหมาะสมจึงมีความจำเป็นในการเสริมสร้างความแข็งแรงของผิวหนังอันเป็นการป้องกันการพัฒนารอยโรค 
                ผลการทดลองในอาหารไก่งวงที่มีการเสริมแร่ธาตุอินทรีย์ หรืออนินทรีย์ อุบัติการณ์ของโรค FPD มีการตรวจติดตาม และรายงาน ไก่ที่ได้รับอาหารสัตว์สูตรควบคุม และเสริมแร่ธาตุอนินทรีย์ที่ประกอบด้วย Cu plus ที่ระดับ 15 ppm ผสมกับธาตุสังกะสี 60 ppm และธาตุเหล็ก แมงกานีส และเหล็ก หรือแร่ธาตุอินทรีย์ที่มีการผสม Bioplex Cuplus ที่ระดับ 10 ppm และ Bioplex Zn, Fe และ Mn ในแต่ละกลุ่มการทดลองใช้ไก่จำนวน ๙๖ ตัวต่อกลุ่ม ผลการทดลอง พบว่า ที่อายุ ๑๒ สัปดาห์ ไก่งวงที่ได้รับสูตรอาหารสัตว์ที่ผสมแร่ธาตุอินทรีย์ ไม่มี FPD ที่เท้า ขณะที่กลุ่มควบคุมมีคะแนนอย่างน้อย ๑ (แผลพุพองแบบอ่อนที่ขาข้างหนึ่ง) โดยมีสัตว์ตัวหนึ่งที่มีแผลพุพองทั้งสองเท้า (คะแนน ๒) ผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงความแข็งแรงของผิวหนังที่ดีกว่าในไก่งวงที่ให้สูตรอาหารสัตว์ที่ผสมแร่ธาตุอินทรีย์ แม้ว่าจะมีการเติมในอัตราส่วนที่น้อยก็ตามที นอกเหนือจากนั้น ยังมีรายงานการวิจัยอื่นๆที่สนับสนุนบทบาทของแร่ธาตุอินทรีย์ต่อพัฒนาการของผิวหนังในไก่เนื้อ
                บทบาทของไบโอทิน สังกะสี และแมนแนนโอลิโกแซคคาไรด์ (Mannan-oligosaccharides) เป็นสารเสริมภูมิคุ้มกันต่ออุบัติการณ์ของโรค FPD ในไก่งวง ไม่พบว่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของคะแนน FPD บนวัสดุรองพื้นที่แห้ง ไม่ว่าจะมีการใช้สูตรอาหารสัตว์ใดก็ตามเปรียบเทียบกับไก่เนื้อที่เลี้ยงบนวัสดุรองพื้นที่เปียก สามารถเสริมประสิทธิภาพได้โดยการเสริมเอนไซม์ช่วยให้สามารถย่อยโปรตีนได้ดีขึ้น หรือใช้แหล่งโปรตีนที่สามารถย่อยได้ขึ้น การใช้เอนไซม์บางชนิดช่วยลดความหนืดของอาหารในลำไส้ และลดความหนืดของอาหารลงก็สามารถลดอุบัติการณ์ของแผลที่อุ้งเท้าได้ โดยเฉพาะ ไก่ที่อายุมาก 
                นอกจากนั้น บทบาทของระดับโปรตีน และการเติมเอนไซม์ต่อโรค FPD ในไก่เนื้อ ก็แสดงให้เห็นว่า ไก่เนื้อที่ใช้สูตรอาหารสัตว์ที่มีโปรตีนสูงจะเพิ่มอุบัติการณ์ และความรุนแรงของโรค FPD โดยการใช้เอนไซม์ในอาหารสัตว์สามารถช่วยลดปัญหาลงได้จากการเพิ่มความสามารถในการย่อยได้ของโปรตีน และลดการปลดปล่อยแอมโมเนียจากวัสดุรองพื้น (Nagaraj, 2006)
นวัตกรรมด้านอาหารสัตว์   
                การใช้นวัตกรรมด้านอาหารสัตว์ สามารถป้องกัน หรือบรรเทาโรค FPD ได้ โดยการใช้แร่ธาตุตามธรรมชาติที่ส่งเสริมให้เกิดความแข็งแรงของผิวหนังช่วยลดความรุนแรงของรอยโรค นอกเหนือจากนั้น การใช้ผลิตภัณฑ์ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน เช่น แมนแนนโอลิโกแซคคาไรด์ ช่วยป้องกันการติดเชื้แทรกซ้อที่รอยโรค การใช้โปรตีนคุณภาพดีที่สามารถย่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพมีผลต่อการสร้างแอมโมเนียจากวัสดุรองพื้น ลดแผลพุพองที่ฝ่าเท้า และการใช้โปรตีนในรูปแบบที่ย่อยได้ดีขึ้น หรือการเติมเอนไซม์ช่วยย่อยโปรตีนยังช่วยลดอุบัติการณ์ของรอยโรคลงได้ การป้องกันวัสดุรองพื้นไม่ให้เปียกโดยการใช้โพลีแซคคาไรด์กลุ่มที่ไม่ใช้แป้ง (NSP) ในอาหารสัตว์จากกลุ่มธัญพืชโดยการเติมเอนไซม์กลูคาแนส และหรือไซลาเนส (Glucanase and/or xylanase) ช่วยป้องกันการพัฒนารอยโรคตั้งแต่เริ่มต้น การใช้ยุทธศาสตร์ด้านอาหารสัตว์หลายๆวิธีร่วมกันช่วยป้องกันโรค FPD ลงได้ เป็นการลดการปลดซากที่โรงฆ่าได้ และส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ที่เลี้ยงบนวัสดุรองพื้น
แหล่งที่มา:            Jules Taylor Pickard and Peter Spring 

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ยุโรปฉาวอีก! พบฟูราโซลิโดนทำลายสัตว์จำนวนมาก



ข่าวใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหารในยุโรปล่าสุด คือประเทศเนเธอร์แลนด์ตรวจพบยาฟูราโซลิโดนที่ถูกห้ามใช้มาเป็นเวลานานในอาหารสัตว์ ขณะนี้ ฟาร์มเลี้ยงลูกโคเนื้อ และฟาร์มสุกรหลายแห่งเริ่มมีการทำลายสัตว์ทั้งในเนเธอร์แลนด์ และเยอรมัน นับเป็นข่าวอื้อฉาวที่เกี่ยวความปลอดภัยอาหารครั้งใหญ่อีกครั้งในยุโรป
                ยาปฏิชีวนะชนิดนี้ถูกห้ามใช้ในยุโรปมานาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๙๕ แต่กลับถูกตรวจพบในลูกโคเนื้อในเดือนเมษายนที่ผ่านมา หน่วยงานด้านความปลอดภัยอาหารแห่งดัทช์ (Dutch Food Safety Authority, NVWA) ทวนสอบหาแหล่งต้นตอของการปนเปื้อนอาหารสัตว์ไปจนพบการปนเปื้อนวัตถุดิบอาหารสัตว์ในบริษัทผลิตอาหารสัตว์ในดัทช์ชื่อ วาน แคทซ์ อาหาร และอาหารสัตว์ โดยบริษัทดังกล่าวส่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนที่มีการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะที่ถูกห้ามใช้ส่งไปยังโรงงานอาหารสัตว์หลายแห่ง ก่อนส่งไปยังฟาร์มโคนม และลูกโคเนื้อในเนเธอร์แลนด์ ส่วนหนึ่งของเนื้อลูกโคยังถูกส่งออกไปยังเยอรมัน เบลเยียม ฝรั่งเศส และอิตาลี เนื้อบางส่วนถูกบริโภคไปเรียบร้อยแล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญอ้างว่า ปริมาณยาในเนื้อไม่ส่งผลต่อสุขภาพผู้บริโภค เร็วๆนี้ องค์กรควบคุมความปลอดภัยวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ส่งให้กับบริษัทผลิตอาหารสัตว์ในดัทช์ชื่อว่า ทรัสต์ฟีด (Trustfeed) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ฟาร์มสุกรบางแห่ง และเจ้าของม้า รวมถึง ฟาร์มสัตว์ปีกบางแห่ง กำลังถูกสงสัยว่าจะมีการใช้อาหารสัตว์ที่มีการปนเปื้อนยาด้วยเช่นเดียวกัน จากข้อมูลของ NVWA พบว่า ฟาร์มสุกรอย่างน้อน ๙๗ แห่ง และฟาร์มเลี้ยงลูกโคเนื้อ ๕ แห่งใช้อาหารสัตว์ที่มีการปนเปื้อนยา รวมถึง บริษัทในเยอรมันอีก ๑๑ แห่งอีกด้วย ทรัสต์ฟีดเชื่อว่า การปนเปื้อนยาเกิดขึ้นในถั่วเหลือง แต่ยังสงสัยว่าทำไมจึงมีการเติมยาฟูราโซลิโดนลงไป ทั้งที่ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ และไม่ใช้ยาที่สามารถออกฤทธิ์เร่งการเจริญเติบโตสำหรับสัตว์ได้ อย่างไรก็ตาม อาหารสัตว์ทั้งหมดที่มีการปนเปื้อนฟูราโซลิโดนทั้งหมดน่าจะถูกกินโดยสัตว์หมดแล้ว เนื่องจาก วัตถุดิบเหล่านี้ถูกจำหน่ายให้กับบริษัทผลิตอาหารสัตว์ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเมษายนที่ผ่านมา
                    ล่าสุดต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา NVWA ได้ทำลายฟาร์มลูกโคแล้วสองแห่ง นั่นหมายความว่า ฟาร์มสุกรในเนเธอร์แลนด์ ๙๗ แห่ง และฟาร์มลูกโคเนื้อ ๔ แห่งที่มีการใช้อาหารสัตว์ที่มีการปนเปื้อนยาถูกทำลายทั้งหมด รวมแล้วมีลูกโคที่ถูกทำลายในเนเธอร์แลนด์ไปแล้ว ๒,๔๕๐ ตัว นอกเหนือจาก ฟาร์มอีกแห่งหนึ่งที่มีลูกโคเนื้ออีก ๓,๕๐๐ ตัว ถูกปิด และอาจถูกสั่งทำลายในไม่ช้า แต่เจ้าของฟาร์มยังพยายามต่อสู้โดยการฟ้องศาล
แหล่งที่มา:            AllAboutFeed (Timeline since 23/7/14-8/8/14)


ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...