วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

WHO เตือนจีนตายหวัดนก H7N9 ๓ ราย

WHO รายงานว่า จีนได้ยืนยันมีผู้ป่วยติดเชื้อโรคไข้หวัดนก H7N9 โดยสามรายใน ๑๕ รายเสียชีวิตแล้ว โดยผู้ป่วยบางรายมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีก

               WHO เผยว่า ห้องปฏิบัติการในจีนได้ยืนยันผู้ป่วยติดเชื้อโรคไข้หวัดนก H7N9 โดยพบผู้ป่วยใน ๗ จังหวัด ได้แก่ Anhui, Zhejiang มีผู้ติดเชื้อ ๔ ราย Jiangsu มีผู้ป่วย ๓ ราย และปักกิ่ง ฟูเจียน และเจียงซีมีอย่างละ ๑ ราย ตอนนี้ รัฐบาลจียได้เพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าระวังโรคเพิ่มขึ้น WHO อ้างว่า ยังมีผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อ H7N9 อีกหลายรายในพื้นที่โรคระบาด และบริเวณใกล้เคียง หากผู้ป่วยเหล่านี้เดินทางไปต่างประเทศ การติดเชื้อก็อาจถูกตรวจพบในประเทศอื่นๆได้ หากเกิดขึ้นแล้ว จำเป็นต้องพิจารณาทบทวนการควบคุมโรคระหว่างประเทศ แม้ว่า เชื้อไวรัสนี้จะดูเหมือนว่า ไม่สามารถถ่ายทอดจากคนสู่คนได้ก็ตาม  
แหล่งที่มา:        WHO (19/6/15)

จีน และอิสราเอลเผชิญหวัดนก H5N1

รายงานโรคระบาดโรคไข้หวัดนกสับไทป์ H5N1 ในประเทศจีน และอิสราเอล ส่งผลให้มีสัตว์ปีกติดเชื้อไปแล้ว 15,000 และ 17,000 ตัว ตามลำดับ อ้างอิงตามรายงานโรคของ OIE
ในประเทศจีน เชื้อไวรัสได้โจมตีนกสวยงามในจังหวัดเจียงสูทางตะวันออกของประเทศ และฟาร์มเลี้ยงไก่ จำนวน 12,554 ตัวในจังหวัดกุ้ยโจวทางตอนใต้ของประเทศ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้รายงานโรคไปยัง OIE เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา ประกอบด้วย ฟาร์มขนาดเล็ก 2,149 ตัวตายไป 1,858 ตัวขณะที่ฟาร์มขนาดใหญ่มีไก่จำนวน 4,615 ตัว และตายไป 3,800 ตัว โดยสัตว์ที่เหลืออยู่ได้ถูกทำลายลงแล้ว เพื่อป้องกันการแพร่กระจายขอโรค การระบาดเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 7 และ 9 มิถุนายน ตามลำดับ มาตรการควบคุมโรคได้แก่ การควบคุมสัตว์พาหะตามธรรมชาติ และการฆ่าเชื้อพื้นที่ติดเชื้อ ปัจจุบัน ประเทศจีนรายงานโรค H5N1 ตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ผ่านมา

แหล่งที่มา:          World Poultry (26/6/15)

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

POOR BIOSECURITY! เหตุหวัดนกระบาดใน US

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพที่แย่ และการติดเชื้อทางอากาศมีบทบาทสำคัญต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกความรุนแรงสูงในสหรัฐฯ
หน่วยตรวจสอบสุขภาพสัตว์ และพืช (Animal and Plant Health Inspection Service, APHIS) รายงานโรคไข้หวัดนกที่ส่งผลกระทบต่อไก่ในสหรัฐฯมากกว่า ๔๗ ล้านตัว ส่วนใหญ่เป็นฟาร์มไก่ไข่ และไก่งวง นับตั้งแต่วิกฤติการณ์เริ่มขึ้นในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หลังจากการสอบสวนโรคมากกว่า ๘๐ ฟาร์ม APHIS วิเคราะห์ปัญหาการแพร่กระจายของโรคจากเชื้อไวรัสได้หลายวิธี โดยเฉพาะ ข้อบกพร่องของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม นกป่าเป็นพาหะสำคัญในการนำโรค HPAI หลังจากนั้น โรคก็แพร่กระจายต่อไป เช่น การใช้อุปกรณ์การเลี้ยงร่วมกันระหว่างฟาร์มที่ติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อ การเคลื่อนที่ของพนักงานระหว่างฟาร์ม ไม่ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อยานพาหนะที่ปฏิบัติงานระหว่างฟาร์ม มีรายงานหนู หรือนกป่าขนาดเล็กภายในโรงเรือน
               การวิเคราะห์ตัวอย่างอากาศที่เก็บภายนอกโรงเรือนที่ติดเชื้อยังสามารถพบเชื้อไวรัสได้ บ่งชี้ว่า ไวรัสมีการแพร่กระจายผ่านอากาศ มีความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วลมสูง และการเพิ่มขึ้นของฟาร์มที่ติดเชื้อหลังจากนั้นราว ๕ วัน ดังนั้น USDA จึงร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ และฟาร์มเลี้ยงไก่ในการกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพให้เข้มงวดขึ้น

แหล่งที่มา:          Philip Clarke (17/6/15)

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กรดใน GI ทำให้เกิด Metabolic acidosis

อาหารตะวันตกมีผลไม้ และผักน้อย แต่อุดมไปด้วยผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ จึงเกิดการสะสมของสารประจุบวกที่ไม่สามารถเมตาโบไลซ์ได้ (Non-metabolizable anions) และเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้เกิดความเป็นกรดภายในร่างกาย (Metabolic acidosis) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามวัย เนื่องจาก การทำงานของไตที่มีประสิทธิภาพลดลง เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสภาวะความเป็นกรดในร่างกาย ไตจึงพยายามใช้กลไกชดเชยเพื่อรักษาความสมดุลของกรด และเบส เช่น การขับสารประจุบวกที่ไม่สามารถเมตาโบไลซ์ได้ การอนุรักษ์ซิเตรต และการส่งเสริมให้สร้างแอมโมเนียจากไต รวมถึง การขับไอออนของแอมโมเนียมออกทางปัสสาวะ กระบวนการปรับตัวเหล่านี้ส่งผลให้ pH ลดลงอีก และเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบปัสสาวะ รวมถึง ภาวะซิเตรตในปัสสาวะต่ำ (Hypocitraturia) แคลเซียมในปัสสาวะสูง (Hypercalciuria) และมีการสูญเสียไนโตรเตน และฟอสเฟตออกมากขึ้น ระดับ pH ในปัสสาวะที่ต่ำลงยังเป็นสาเหตุโน้มนำให้เกิดการสร้างก้อนนิ่วของกรดยูริกเพิ่มขึ้นอีกด้วย  
ภาวะซิเตรตในปัสสาวะต่ำ และภาวะแคลเซียมในปัสสาวะสูง เป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงสำหรับการโรคนิ่วจากแคลเซียม แม้ว่าจะมีระดับความเป็นกรดในเลือดเล็กน้อยก็ยังสามารถเหนี่ยวนำให้กล้ามเนื้อลายดื้อต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลิน และปริมาณกรดในอาหารยังมีความสำคัญต่อการทำนายความผิดปรกติของระบบเมตาโบลิซึม และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดในประชากร ผู้ที่น้ำหนักเกิน และอ้วน เบาหวาน และไตล้มเหลวเรื้อรัง
ปริมาณอาหารที่มีความเป็นกรดสูงยังส่งผลให้เกิดโรคเบาหวาน และความดันสูง และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดอื่นๆอีกด้วย

ผลการศึกษาเร็วๆนี้ ยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างภาวะดื้ออินซูลิน และเครื่องหมายบ่งชี้ความเป็นกรดในร่างกาย รวมถึง ไบคาร์โบเนตในซีรัมต่ำ ภาวะซิเตรตในปัสสาวะต่ำ และ pH ในปัสสาวะต่ำ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

H5N1 ระบาดในไก่บ้านอิหร่าน

อิหร่านรายงานการระบาดโรคไข้หวัดนก H5N1 ในไก่บ้านทางตอนเหนือของประเทศ
               การระบาดเริ่มต้นขึ้นในเมือง Nogardan ในจังหวัด Mazandaran ตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เชื้อไวรัสได้สังหารไก่ที่มีความไวรับต่อโรคไปทั้งหมด 25 ตัว ที่เหลืออีก 8 ตัว ถูกทำลายเรียบร้อยแล้ว OIE อ้างถึงรายงานจากกระทรวงเกษตรแห่งอิหร่านว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังค้นหาแหล่งต้นตอของการระบาด

แหล่งที่มา:          World Poultry (17/6/15)

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การใช้กรดซิตริกในอาหารไก่เนื้อ

กรดอินทรีย์ และเกลือของกรดอินทรีย์ ได้รับรองจากกฏหมายยุโรปให้เป็นทางเลือกทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะเร่งการเจริญเติบโตในอาหาร เนื่องจาก ยาปฏิชีวนะส่งผลต่อปัญหาสารตกค้าง และยังมีโอกาสพัฒนาเป็นเชื้อโรคดื้อยาได้อีกด้วย
กรดซิตริก (Citric acid) เป็นกรดอินทรีย์ที่มีความเป็นกรดเล็กน้อย นิยมใช้ในการถนอมอาหารจากธรรมชาติ และสามารถนำมาเติมในอาหาร เพื่อเพิ่มความเป็นกรด หรือรสชาติเปรี้ยวของอาหาร และเครื่องดื่ม นอกจากนั้น ยังพบได้ปริมาณเล็กน้อยในอาหาร และผัก กลุ่มซิตรัส เชื้อรากลุ่มเพนิซิลเลียม และแอสเปอร์จิลลัส ไนเกอร์ เป็นผู้ผลิตกรดซิตริกที่มีคุณภาพ และนิยมใช้ในการผลิตกรดซิตริกในเชิงอุตสาหกรรม การเติมเชื้อเหล่านี้ในอาหารสัตว์ สามารถลดการเชื้อโรค และการสร้างสารพิษ เพิ่มการใช้ได้ของโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และสังกะสี และยังเป็นสับสเตรตสำหรับกระบวนการเมตาโบลิซึมของร่างกายอีกด้วย การเติมกรดซิตริกลงในน้ำดื่มไม่ได้ทำให้ผลการเลี้ยงดีขึ้น แต่การใช้ระดับต่ำๆจะช่วยในด้านสุขอนามัย และสุขภาพของลำไส้
การเติมกรดซิตริกในอาหารระดับ ๐.๕ เปอร์เซ็นต์ ช่วยให้การเจริญเติบโตดีขึ้น และส่งเสริมภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ รวมถึง ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะต่อโรคนิวคาสเซิลในไก่ที่ให้วัคซีน ข้อมูลในปัจจุบัน แนะนำให้ผสมในอาหารเม็ดของไก่เนื้อ ไม่เกิน ๐.๗๕ เปอร์เซ็นต์ และอาหารผง ๐.๕ เปอร์เซ็นต์ โดยมีระดับความปลอดภัยที่ ๖ เปอร์เซ็นต์ ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมก่อนที่จะกำหนดให้กรดซิตริกเป็นสารโภชนะที่เติมในอาหารไก่เนื้อ

แหล่งที่มา:          K.M.S. Islam (27/2/12)

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

US เล็งนำเข้าไข่ยุโรป เหตุหวัดนกทำขาดแคลนขนมปัง

ตลาดไข่ไก่ในยุโรประส่ำ สหรัฐฯเล็งนำเข้าจากยุโรปจากผลของการระบาดโรคไข้หวัดนก
             ในสหรัฐฯมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกในฟาร์มไก่ไข่สร้างความเสียหายไปแล้วกว่า ๓๕ ล้านตัว คิดเป็น ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของประชากรไก่ไข่ทั้งประเทศ นับตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา จนส่งผลทำให้เกิดการขาดแคลนไข่ไก่ในตลาดระยะสั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นในเวลานี้ สหรัฐฯได้อนุญาตให้มีการนำเข้าไข่ไก่จากเนเธอร์แลนด์เร็วๆนี้ เช่นเดียวกับเยอรมัน โดยเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน USDA อนุญาตให้บริษัทจากเนเธอร์แลนด์ ๕ บริษัท ส่งออกไข่ไก่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๐
           ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะทำลายตลาดภายใน และระหว่างประเทศในยุโรป เนเธอร์แลนด์ พยายามขายไข่ให้กับสหรัฐฯอยู่แล้วในบางช่วงเวลา ราคาผงไข่ขาวในสหรัฐฯมีมูลค่าเป็นสองเท่าของยุโรปเป็นเวลามากกว่าสองปีแล้ว นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมยุโรปจึงพยายามเข้าไปยังตลาด เมื่อถึงจังหวะจึงได้รับการต้อนรับทันทีทันใด แต่จะเป็นการทำลายการค้าทั้งภายใน และระหว่างประเทศในสหภาพยุโรป ขณะที่เป็นการยากยิ่งที่จะทำนายว่า การผลิตในสหรัฐฯจะกลับคืนสู่ปรกติเมื่อใด รัฐบาลสหรัฐฯจะพยายามทุกวิถีทางในการแสวงหาตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ในช่วงเวลาวิกฤติการณ์อย่างแท้จริง หากไม่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้ ธุรกิจแรกๆที่อาจได้รับผลกระทบคือ ขนมปัง และอุตสาหกรรมอาหารอื่นๆในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้  ตามปรกติแล้ว ผู้ผลิตไข่ไก่ในเนเธอร์แลนด์ส่งออกผลิตภัณฑ์สองในสามของการผลิตไปยังตลาดหลัก ได้แก่ เยอรมัน คาดว่าสัดส่วน ๑ เปอร์เซ็นต์ของยอดการผลิตคิดเป็น ๑๐๐ ล้านฟองสามารถส่งไปยังสหรัฐฯ

แหล่งที่มา:          Farmers Weekly and Reuters (15/6/15)

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

USDA ยังไม่ตัดสินใจใช้วัคซีนหวัดนก

USSA ประกาศเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายนที่ผ่านมาว่า ยังไม่อนุญาตให้ใช้วัคซีนไข้หวัดนกในการระบาดของโรคไข้หวัดนก สับไทป์ H5N2 โดยยังคงเน้นการใช้มาตรการกำจัดโรคเป็นหลัก
               เมื่อประเมินประสิทธิภาพของการเลือกใช้มาตรการควบคุมโรคด้วยวัคซีนสำหรับ HPAI โดยคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจของการใช้วัคซีน โดยต้องให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานก่อนการรับรองให้ใช้วัคซีนรองรับมาตรการฉุกเฉินนี้ วัคซีนที่มีในปัจจุบันยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน และยังไม่มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสมสำหรับควบคุมโรค HPAI ทั้งในภาครัฐ และเอกชน ปัจจุบัน วัคซีนที่มีอยู่มีประสิทธิภาพเพียง ๖๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ขณะที่ ไก่อีก ๔ ใน ๑๐ ตัว ไม่สามารถป้องกันโรคได้เลย  USDA ต้องการให้มั่นใจว่า อุตสาหกรรมวัคซีนอยู่ในตำแหน่งที่สามารถผลิตวัคซีนในจำนวนที่มากเพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะนี้ USDA กำลังร่วมงานกับนักวิจัย และบริษัทผู้ผลิตวัคซีนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีการพัฒนาวัคซีนที่มีความเหมือนกับเชื้อที่ระบาดให้มากี่สุด
               ขณะเดียวกัน APHIS ก็กำลังประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม โดยคำนึงถึงทั้งประสิทธิภาพ และผลกระทบทางการค้า หากมีการใช้วัคซีนจติง วัคซีนจะมุ่งใช้ในรัฐ และภาคการผลิตสัตว์ปีกที่จะให้ประสิทธิภาพสูงที่สุด พื้นที่ที่การกักกันโรค การกำจัดสัตว์ป่วย และใช้มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ แต่ไม่สามารถหยุดการแพร่กระจายของโรคจะถูกจัดอันดับให้ใช้วัคซีนก่อน USDA คาดว่า มูลค่าการตลาด ๘๔ เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกยังคงเปิดกว้าง แต่คู่ค้าบางรายตั้งข้อกีดกันการใช้วัคซีนไข้หวัดนกไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของสหรัฐฯก็ตาม หากมีการใช้ก็จะตัดสินใจระงับการนำเข้าทั้งประเทศจนกว่า การประเมินความเสี่ยงจะสมบูรณ์ ความเสียหายของตลาดส่งออกสัตว์ปีกเชื่อว่ามีมูลค่าราวสามหมื่นล้านบาท    

แหล่งที่มา:          WATTAgNet.com (8/6/15)

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หลอด LED ช่วยไก่ผ่อนคลาย ลดปัญหาเท้าอักเสบ

ผลการศึกษาโดยวิทยาลัยแห่งสก๊อตแลนด์เรื่อง การใช้หลอดไฟแอลอีดีในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ พบว่า ไม่มีผลต่อการเลี้ยงไก่เนื้อเปรียบเทียบกับการใช้หลอดทังสเตนแบบเดิม
               หลอดทังสเตน และหลอดฟลูออเรสเซนส์เป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยแล้วในปัจจุบัน เนื่องจาก เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การใช้หลอด Low-emitting diodes (LEDs) อย่างไรก็ตาม ผลกระบทต่อปศุสัตว์ยังไม่ทราบแน่ชัด นักวิจัยได้ศึกษาความแตกต่างของผลการเลี้ยงไก่เนื้อ และสวัสดิภาพสัตว์ภายใต้หลอดไฟ LEDs ชนิด 400K cool, 3000K warm และ 3500K plain เรียกว่า LC, LW และ LN ตามลำดับเปรียบเทียบกับแสงจากหลอดไฟทังสเตน
               ผลการวิจัย พบว่า หลอดไฟ LED ช่วยให้ไก่มีพฤติกรรมที่ผ่อนคลายเพิ่มขึ้น ประมาณ ๔.๔ เปอร์เซ็นต์ เช่น มีการไซร้ขน และคลุกฝุ่นมากกว่าหลอดไฟทังสเตน ขณะที่ หลอดไฟชนิดทังสเตนจะมีไก่นั่งลงมากกว่าหลอด LED เล็กน้อย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงข้อดีของหลอด LED ที่ช่วยส่งเสริมการแสดงออกพฤติกรรมทางบวก และไก่มีกิจกรรมที่น้อยลง
               นอกเหนือจากนั้น รอยโรคที่ข้อขา และฝ่าเท้าก็น้อยลง โดยคะแนนท่าเดิน น้ำหนักตัว และประสิทธิภาพการแลกเนื้อไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ   

แหล่งที่มา:          World Poultry (8/6/15)

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิจัยไข่ไร้สารก่อภูมิแพ้ (HYPOALLERGIC EGGS)

นักวิจัยในออสเตรเลียเปิดเผยโครงการผลิตไก่ที่สามารถวางไข่ปราศจากโปรตีนที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ในมนุษย์ (Hypoallergic eggs) เพื่อช่วยเด็กป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ไข่ขาว และผลิตวัคซีนชนิดก่อภูมิแพ้ต่ำ (Hypoallergic vaccines)
               หากประสบความสำเร็จแล้ว ไข่ไก่ที่วิจัยขึ้นมาจะช่วยพ่อแม่ของเด็กที่ป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ และยังสามารถนำมาใช้ผลิตวัคซีนที่มีความปลอดภัยได้อีกด้วย แม้เพียงไข่ขาวเล็กน้อยในอาหารก็สามารถกระตุ้นให้เด็กที่ป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ไข่ขาวเกิดอาการแพ้อย่ารุนแรงถึงชีวิตได้ และส่วนใหญ่เด็กเหล่านี้ก็จะไม่สามารถได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้
               สภาอุตสาหกรรมไข่แห่งสหราชอาณาจักร แนะนำให้สุภาพสตรีรับประทานไข่ระหว่างการตั้งครรภ์เนื่องจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า สามารถช่วยให้ทารกในครรภ์มีความทนทานต่อโรคภูมิแพ้ได้ดีขึ้น รวมถึง การให้ทารกได้รับไข่ปริมาณเล็กน้อยเมื่อเริ่มให้หัดรับประทานอาหารแข็ง
               โครงการวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย Deakin ประเทศออสเตรเลีย และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติออสเตรเลีย CSIRO นักศึกษาระดับปริญญาเอกเริ่มต้นโครงการวิจัยเป็นเวลา ๓ ปี เพื่อปิดการสังเคราะห์โปรตีนสี่ชนิดในไข่ที่มีบทบาทสำคัญต่อการก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ นับเป็นความหวังสำหรับการผลิตไข่ฟักใหม่ที่เป็น Hypoallergic eggs นอกจากนั้น ไข่ฟักดังกล่าวยังสามารถนำมาผลิตวัคซีนที่มีสารก่อภูมิแพ้ต่ำ โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RNAi อันเป็นเทคนิคที่เคยใช้ประสบความสำเร็จมาแล้ว นักวิจัยมิได้ผลิตไก่ตัดแต่งพันธุกรรม เพียงแต่ปรับโปรตีนภายในไข่ขาวเพื่อผลิตไก่ที่สามารถวางไข่ปราศจากสารก่อภูมิแพ้ เชื่อว่า วัคซีนชนิด Hypoallergic vaccines จะมีการใช้งานได้จริงภายใน ๕ ปีต่อจากนั้น

แหล่งที่มา:          Farmers Weekly (26/5/15)

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทเรียนบราซิลไขปัญหาเนื้ออก

เคยเจอเนื้อแบบนี้มั้ย? ยุโรปเป็นตลาดหลักของการส่งออกกล้ามเนื้ออก การพัฒนาสายพันธุ์ไก่เนื้อให้โตเร็วขึ้นทุกปี กล้ามเนื้ออกใหญ่มาก แต่ก็มีปัญหาคุณภาพเนื้ออกเป็นสาเหตุให้ต้องคัดทิ้งปริมาณมากมายไปจนถึงการร้องเรียนของลูกค้า  กระแสกดดันนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตราบใดที่ ผู้ผลิตยังไม่สามารถวินิจฉัยปัญหา และสาเหตุของความผิดปรกติ โดยข้อเท็จจริงแล้ว ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการพัฒนากล้ามเนื้อในไก่เนื้อ เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่หลังความสำเร็จในการคัดเลือกพันธุกรรมไก่ โภชนาการ โรงเรือน และการป้องกันโรค อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ได้รับประโยชน์จากน้ำหนักไก่ที่เพิ่มขึ้น อายุการจับไก่ลดลง และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารที่ดีขึ้นกว่าเดิม ผลกำไรที่สูงขึ้น ในทางกลับกัน ความก้าวหน้าเหล่านี้ก็ได้ส่งผลกระทบต่อปัญหาคุณภาพเนื้อไก่ และการยอมรับของผู้บริโภค
               นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นต้นมา น้ำหนักไก่ที่อายุ 40 วันเพิ่มขึ้นเป็น ๔ เท่า และสัดส่วนของกล้ามเนื้ออกก็มากขึ้นเป็น ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อ ความผิดปรกติที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากเส้นเลือดที่เข้าไปเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และการทำหน้าที่ผิดปรกติของเส้นใยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลายประกอบด้วย เส้นใยกล้ามเนื้อเรียงตัวกันเป็นมัดคั่นด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหล่อเลี้ยงด้วยเส้นเลือดแดงตามเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ก่อนการฟักเป็นลูกไก่ เส้นใยกล้ามเนื้อมีการเพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้น แต่หลังจากฟักเป็นตัวแล้ว กล้ามเนื้อจะมีการเพิ่มเฉพาะขนาดของเส้นใยกล้ามเนื้อเท่านั้น
               การจำแนกชนิดของกล้ามเนื้อตามคุณสมบัติในการเมตาโบลิซึม สามารถแบ่งได้เป็น
๑.     Type I: Slow-oxidative fibers
๒.   Type IIA: Fast-oxidative fibers
๓.   Type IIB: Fast-glycolytic fibers
กล้าเมนื้อสองชนิดแรกมีเส้นเลือดฝอยจำนวนมากมาเลี้ยง ขณะที่ มีเส้นเลือดฝอยเพียงเล็กน้อยที่เข้าไปเลี้ยงกล้ามเนื้อชนิด Type IIB ขณะที่ Type I ประกอบด้วยไมโอกลอบินจำนวนมาก ดังนั้น จึงมีสีค่อนข้างแดงสอดคล้องกับปฏิกิริยาออกซิเดชันของ ATP สำหรับการปลดปล่อยพลังงาน อัตราการล้าของกล้ามเนื้อชนิดนี้จึงมีน้อย ในทางตรงกันข้าม Type IIB ประกอบด้วยกล้ามเนื้อขาว มีไมโอกลอบบินน้อย แต่ประกอบด้วย ไกลโคเจน ที่ถูกสลายโดยกระบวนการ Anaerobic process ให้มีการปลดปล่อยพลังงาน ดังนั้น กล้ามเนื้อชนิดนี้จะมีอัตราการล้าอย่างรวดเร็ว   
 ความผิดปรกติของกล้ามเนื้อที่พบได้บ่อยในไก่เนื้อที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้แก่
๑.     กล้ามเนื้อเป็นแถบลายสีขาว (White striping) ความผิดปรกติที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่ปรากฏเป็นลายที่มีขนาดน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร ไปจนถึง 2 มิลลิเมตร ความชุกของโรคอาจพบได้สูงกว่า ๑๒ เปอร์เซ็นต์ ความผิดปรกติที่เกิดขึ้นมักพบในกล้ามเนื้อหน้าอก ความชุกของโรคมีความสัมพันธ์โดยตรงกับน้ำหนักของไก่ และพบได้บ่อยในไก่เนื้อที่มีน้ำหนักมากกว่า ๓.๕ กิโลกรัม
ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ กล้ามเนื้อที่ผิดปรกติจะมีการสะสมของเนื้อเยื่อไขมันเข้าไปแทนที่เส้นใยกล้ามเนื้อ สิ่งที่ตรงข้ามกับเนื้อเยื่อปรกติความชื้นต่ำลงเล็กน้อย และโปรตีนต่ำมาก แต่กลับแทนที่ด้วยระดับไขมัน และคอลลาเจนที่สูงขึ้น องค์ประกอบของกรดไขมันในกล้ามเนื้อสันในที่เกิดความผิดปรกติของกล้ามเนื้อเป็นแถบลายเส้นจะมีกรดไขมันชนิด Monounsaturated fatty acids สูงขึ้น และ Polyunsaturated fatty acids ต่ำลง โดยเฉพาะ EPA และ DHA จะต่ำลงอย่างมากเปรียบเทียบกับกล้ามเนื้อปรกติ
การเพิ่มปริมาณ EPA และ DHA ในอาหารช่วยให้ดีขึ้นได้ รวมถึงการเสริมด้วยวิตามินอี ซีลีเนียม และกรดอะมิโนชนิดที่ประกอบด้วยซัลเฟอร์  
๒.    กล้ามเนื้อแข็งเหมือนไม้ (Wooden meat) เป็นลักษณะของการอักเสบที่เกดขึ้นในกล้ามเนื้อหน้าอกจนมีสีค่อนข้างซีด และเนื้อแข็งมาก ความผิดปรกติที่เกิดขึ้นนี้ หลอดเลือดฝอยภายในพังผืดรอบเส้นใยกล้ามเนื้อถูกกดทับด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อที่มีการขยายขนาด ส่งผลให้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงน้อยลง และมีการขยายไปยังบริเวณข้างเคียง
ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เนื้อเยื่อจะมีการตอบสนองด้วยการติดสีม่วง บ่งชี้ถึง การเสื่อมของกล้ามเนื้อ กระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวข้องกับเชื้อแบคทีเรีย แต่เป็นผลมาจากภาวะพร่องออกซิเจน   
การทดลองในฟาร์ม พบว่า อัตราความชุกของโรคลดลงภายหลังการให้ EconomasE ที่ประกอบด้วย สารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอี และ Bioplexed selenium นอกจากนั้น ยังพบว่า การเพิ่มปริมาณอาร์จินีนในอาหารก็ช่วยให้ดีขึ้นเช่นกัน
๓.    โรคกล้ามเนื้อสีเขียว (Green muscle disease) เป็นความผิดปรกติที่พบได้ในกล้ามเนื้อสันใน บางครั้งจงเรียกโรคนี้ว่า พยาธิสภาพของกล้ามเนื้อหน้าอกชั้นใน การเสื่อมของกล้ามเนื้อเป็นผลมาจากการทำงานมากเกินไปของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะ ไก่เนื้อที่มีการตีปีกขึ้นลงมากเกินไป ความผิดปรกตินี้ยังขึ้นกับโครงสร้างของร่างกายที่เอื้อต่อการขยายขนาดของกล้ามเนื้อหน้าอก กล้ามเนื้อสีเขียวสามารถพบได้ที่อายุใดก็ได้ พบได้บ่อยในขณะถอดกระดูกออก  
การป้องกันโรคได้ด้วยการให้ความเข้มแสงที่เหมาะสม ควบคุมเสียงภายในโรงเรือนให้ต่ำ และป้องกันมิให้ไก่มีการเคลื่อนที่มากเกินไป หรือตื่นตกใจ การเสริมอาหารสัตว์ด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และซีลีเนียมอินทรีย์พบว่าสามารถช่วยให้ดีขึ้นได้เช่นกัน
๔.    พยาธิสภาพของกล้ามเนื้อส่วนบนตอนหน้า (Cranial dorsal myopathy) พึ่งมีรายงานเมื่อเร็วๆนี้ที่กล้ามเนื้อลาทิซซิมุส ดอร์ไซ ที่บริเวณแนวสันหลัง มีการรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๔๕ ในบราซิลส่ผลให้มีการคัดซากทิ้ง ๖ เปอร์เซ็นต์ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๐ ความชุกของโรคอยู่ที่ประมาณ ๐.๕ เปอร์เซ็นต์ กล้ามเนื้อลาทิซซิมุส ดอร์ไซ ประกอบด้วย กล้ามเนื้อชนิด TypeI ที่มีอัตราการล้าได้น้อย แต่ต้องอาศัยออกซิเจน โรคนี้มีความรุนแรงในไก่เพศผู้ โดยเฉพาะ น้ำหนักสูงกว่า ๒.๕ กิโลกรัม และมีความสัมพันธ์กับสายพันธุ์ไก่ด้วย ฟาร์มในประเทศบราซิล สามารถลดความชุกของโรคจาก ๒ เปอร์เซ็นต์เป็น ๐.๕ เปอร์เซ็นต์โดยการเสริมซีลีเนียมอินทรีย์ในรูปของ Sel-Plex ระดับ ๐.๓ เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อเลิกใช้ Bioplexed selenium การคัดซากทิ้งก็เพิ่มสูงขึ้นจาก ๐.๕ เปอร์เซ็นต์เป็น ๒.๐ เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นถึง ผลดีของการเสริมสารอาหารดังกล่าว
การเสื่อมของกล้ามเนื้อมิได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุเดียว แม้ว่า จะมีปัจจัยโน้มนำให้เกิดโรคที่สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว และสัดส่วนของกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการปรับปรุงพันธุกรรมสัตว์  กระบวนการวินิจฉัยโรคที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการค้นหาสาเหตุของโรค และการเลือกกลยุทธในการแก้ไขปัญหาทั้งโภชนาการ และการจัดการ เพื่อลดการปลดซากทิ้ง และความเสียหายทางเศรษฐกิจ

แหล่งที่มา:          Simon M. Shane (4/6/15)

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เทคนิคใหม่แยกเพศตั้งแต่ในไข่ฟัก

ลูกไก่เพศผู้มักถูกคัดทิ้ง อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีใหม่สามารถแยกลูกไก่เพศผู้ตั้งแต่ในไข่ฟักโดยไม่ต้องผ่านเครื่องบดลูกไก่ภายหลังการฟักเป็นตัว นักประดิษฐ์ชาวเยอรมันจึงได้รางวัล ๑.๑ ล้านบาทสำหรับการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ได้ดีกว่าการคัดทิ้ง
               Maria-Elisabeth Krautwald-Junghanns สัตวแพทย์จาก Leipzig ค้นพบวิธีการใหม่ในการตรวจสอบเพศตัวอ่อนลูกไก่ตั้งแต่ยังอยู่ในไข่ฟัก เนื่องจาก ตามปรกติ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกจะฆ่าลูกไก่เพศผู้ เพราะไม่สามารถให้ไข่ได้ และรสชาติของเนื้อไก่เพศผู้มักไม่อร่อย ซึ่งเป็นการจัดการที่ค่อนข้างโหดร้ายโดยไม่จำเป็น
               ผู้วิจัยเชื่อว่า ตัวอ่อนลูกไก่ยังไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้น การคัดแยกตัวอ่อนของลูกไก่เพศผู้ตั้งแต่อยู่ในไข่ฟักจะเป็นการช่วยลดความเจ็บปวดของสัตว์ตามสวัสดิภาพสัตว์ ขณะที่ ตัวอ่อนยังไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด หัวข้อการวิจัยในเยอรมันนี้เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสสิทธิของสัตว์กำลังมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเผ็ดร้อน และการทำลายลูกไก่ภายหลังการฟักเป็นตัวก่อให้เกิดกระแสการโต้แย้งว่าเป็นการกระทำที่โหดเหี้ยม ดังนั้น Munich’s Ludwig Maximilian University จึงตัดสินใจให้รางวัล Felix Wankel animal protection prize กับนักวิจัยจาก Leipzig

แหล่งที่มา:          World Poultry (26/3/15)

เผยผลตรวจแคมไพโลแบคเตอร์ในอังกฤษ

หน่วยมาตรฐานอาหาร (Food Standards Agency, FSA) เตือนซูเปอร์มาร์เก็ตในสหราชอาณาจักรให้เผยแพร่ผลการทดสอบแคมไพโลแบคเตอร์จากกลยุทธการลดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ของตนเอง
               ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเผยให้เห็นว่า ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ FSA กำหนดไว้ให้เชื้อในไก่ตัวลดลงน้อยกว่า ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่ตรวจพบระดับการปนเปื้อนสูงที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการรายย่อยสามรายกล่าวในเวลาต่อมาว่า ตนเองประสบความสำเร็จตามเป้าหมายจากการทดสอบภายใน ในขณะที่ผลการทดสอบโดย FSA ที่ซื้อไก่กว่า 4 พันตัวจากซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้า เขียงจำหน่ายเนื้อสัตว์ พบว่า ๑๙ เปอร์เซ็นต์ยังให้ผลเป็นบวกโดยพบเชื้อในระดับสูงกว่ามาตรฐาน ขณะที่ ๗๙ เปอร์เซ็นต์มีการปนเปื้อนอยู่บ้าง
               โรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เชื่อว่า มีต้นเหตุสำคัญมาจากสัตว์ปีก ในสหราชอาณาจักรเป็นสาเหตุให้คนป่วยกว่า ๒๘๐,๐๐๐ รายต่อปี ดังนั้น รัฐบาลจึงตั้งเป้าเป็นลำดับต้นๆในการลดการปนเปื้อนเชื้อลง FSA รายงานว่า Tesco ตรวจพบต่ำที่สุด ขณะที่ Asda ตรวจพบสูงที่สุด
               ขณะเดียวกัน Morrison’s, Marks and Spencer และ Waitrose ก็เริ่มเปิดเผยผลการทดสอบล่าสุด แสดงให้เห็นการปรับตัวในทางที่ดีขึ้น โดย Marks and Spencer อ้างว่า ไก่ของตนเอง ๗ เปอร์เซ็นต์ในเวลานี้ที่มีระดับการปนเปื้อนสูงที่สุด ภายหลังการยกเลิกมาตรการ Thining การเพิ่มระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และการใช้ “Blast surface chilling” ซากไก่ในโรงฆ่า ขณะที่ Morrison’s อ้างว่า ไก่ของตนเองเพียง ๒.๓ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีการปนเปื้อนสูง นับได้ว่าต่ำกว่าที่ FSA กำหนดไว้ที่ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกัน Waitrose และ Moy Park ก็กล่าวในทิศทางเดียวกัน แม้ว่า ผลการตรวจจะมีทิศทางที่ดี แต่ก็ไม่ควรตีความในทางที่ดีเกินไป เนื่องจาก ผลการตรวจขึ้นต้นนั้นครอบคลุมในช่วงเดือนที่มีอากาศหนาวเย็นของปี ซึ่งก็ทราบกันดีว่า แคมไพโลแบคเตอร์จะมีแนวโน้มต่ำ
               FSA ต้องการให้ผู้ขายเนื้อสัตว์ที่ยังไม่เปิดเผยข้อมูลผลประกอบการด้านความปลอดภัยอาหารสำหรับเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ลงชื่อไว้ร่วมกัน การตรวจสอบจะยังคงดำเนินการต่อไป โดยรอบต่อไปจะเริ่มขึ้นในฤดูร้อน
แหล่งที่มา:          Jake Davis (1/6/15)



ซัลโมเนลลาระบาดจากโรงฟักแคนาดา

กระทรวงสาธารณสุข แคนาดา กำลังสอบสวนโรคติดเชื้อซัลโมเนลลา ๓๔ ราย ในจังหวัดอัลเบอร์ตา (๑๗ ราย) บริทิชโคลัมเบีย (๑๓ ราย) และแซสแกทสชวัน (๔ ราย) การสอบย้อนกลับที่มาของการติดเชื้อไปสู่โรงฟักในอัลเบอร์ตา แม้ว่า ยังไม่มีรายงานว่าเป็นซีโรไทป์ใดที่แน่นอน
               การระบาดครั้งนี้มาจากการสัมผัสลูกไก่ โรงฟักขนาดเล็กแห่งนี้จัดทั้งลูกไก่ ลูกเป็ด และลูกไก่งวงให้กับตลาดเลี้ยงสัตว์ปีกหลังบ้าน ซึ่งความจริงแล้วเป็นอันตรายด้านสาธารณสุข หากไม่มีการจัดการด้านสุขอนามัย และการตรวจติดตามสุขภาพพ่อแม่พันธุ์อย่างสม่ำเสมอ ผู้ซื้อลูกไก่ และสัตว์ปีกชนิดอื่นๆมาแล้วควรมีความระมัดระวังป้องกันมิให้เด็กๆที่มีความไวรับต่อเชื้อซัลโมเนลลา และแคมไพโลแบคเตอร์ที่มักปนเปื้อนในลูกไก่ และสัตว์ปีกอื่นๆ โดยทั่วไปแล้ว ต้องใช้เวลานับเดือนกว่าจุลินทรีย์ในลูกไก่จะพัฒนาขึ้นมาจนสามารถยับยั้งการขับเชื้อซัลโมเนลลาจากร่างกายได้

แหล่งที่มา:          Egg-Cite.com (2/6/15)

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ไต้หวันเผชิญหวัดนกสองซีโรไทป์

ไต้หวันยังคงเผชิญภัยคุกคามจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกสองซีโรไทป์ในเวลาเดียวกันทั้ง H5N2 และ H5N8
 โดยซีโรไทป์ H5N2 มีการยืนยันทั้งหมด ๔ ครั้งในประเทศ ซีโรไทป์นี้เป็นชนิดเดียวกับที่เกิดการระบาดในสหรัฐอเมริกา การระบาดครั้งดังกล่าว ประชากรสัตว์ปีกที่มีความไวรับต่อโรคทั้งหมด ๓๒,๖๓๙ ตัวจากทั้งหมด ๕๔,๘๔๕ ฟาร์ม โดยมีสัตว์ปีกเสียชีวิตไปแล้วกว่า ๒๘,๖๓๔ ตัว และทำลายทั้งหมด ๒๖,๒๑๑ ตัว
               นอกเหนือจากนั้นยังมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกซีโรไทป์ H5N8 ส่งผลต่อไก่จำนวน ๖,๕๗๐ ตัวจากประชากรสัตว์ปีกที่มีความไวรับต่อโรคทั้งหมด ๑๒,๐๐๐ ตัว โดยมีการเสียชีวิตไปแล้ว ๖.๕๗๐ ตัว และทำลาย ๕,๕๗๐ ตัว
               ปัจจุบันกำลังเพิ่มการตรวจติดตาม และเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด

 แหล่งที่มา:         ProMED (1/6/15)


วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความเสียหายจากหวัดนกในสหรัฐฯคาดเกือบหมื่นล้านบาท

ความเสียหายในการผลิตสัตว์ปีก และธุรกิจข้างเคียงจากโรคไข้หวัดนก คาดว่าสูงถึงเกือบหมื่นล้านบาทในรัฐมินิโซตาจากการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากมหาวิทยาลัยมินิโซตา
               การวิเคราะห์ความเสียหายทางเศรษฐกิจ พบว่า จนถึงวันที่ ๑๑ พฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งไก่งวง และไก่ไข่ เสียหายไปแล้วกว่าสามพันล้านบาท หากยังคงมีการระบาดต่อไป ระดับของความเสียหายจะยิ่งพุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะ โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ที่ยังคงว่างเปล่า ไม่สามารถใช้ผลิตสัตว์ปีกได้ มูลค่าความเสียหายก็จะยิ่งทวีคูณ ในรัฐมินิโซตาพึ่งพารายได้จากการผลิตสัตว์ปีก และโรงฆ่ารวมมูลค่าเก้าหมื่นกว่าล้านบาท โดยภาพรวม การผลิตสัตวปีกเป็นสัดส่วนราว ๗ เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมการเกษตร และป่าไม้ นอกเหนือจากนั้น โรงงานอาหารสัตว์จะยิ่งอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ทุกๆความเสียหายจากการผลิตสัตว์ปีก ๓๐ ล้านบาทก็จะส่งผลต่อการสูญเสียความต้องการใช้อาหารสัตว์เกือบ ๖ ล้านบาท

 แหล่งที่มา:         World Poultry (19/5/15)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...