USSA ประกาศเมื่อวันที่
๓ มิถุนายนที่ผ่านมาว่า
ยังไม่อนุญาตให้ใช้วัคซีนไข้หวัดนกในการระบาดของโรคไข้หวัดนก สับไทป์ H5N2 โดยยังคงเน้นการใช้มาตรการกำจัดโรคเป็นหลัก
เมื่อประเมินประสิทธิภาพของการเลือกใช้มาตรการควบคุมโรคด้วยวัคซีนสำหรับ
HPAI โดยคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจของการใช้วัคซีน
โดยต้องให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานก่อนการรับรองให้ใช้วัคซีนรองรับมาตรการฉุกเฉินนี้
วัคซีนที่มีในปัจจุบันยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
และยังไม่มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสมสำหรับควบคุมโรค HPAI ทั้งในภาครัฐ
และเอกชน ปัจจุบัน วัคซีนที่มีอยู่มีประสิทธิภาพเพียง ๖๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ขณะที่ ไก่อีก ๔ ใน ๑๐ ตัว ไม่สามารถป้องกันโรคได้เลย USDA ต้องการให้มั่นใจว่า
อุตสาหกรรมวัคซีนอยู่ในตำแหน่งที่สามารถผลิตวัคซีนในจำนวนที่มากเพียงพอ
เพื่อการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะนี้ USDA กำลังร่วมงานกับนักวิจัย
และบริษัทผู้ผลิตวัคซีนอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้มีการพัฒนาวัคซีนที่มีความเหมือนกับเชื้อที่ระบาดให้มากี่สุด
ขณะเดียวกัน
APHIS ก็กำลังประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
โดยคำนึงถึงทั้งประสิทธิภาพ และผลกระทบทางการค้า หากมีการใช้วัคซีนจติง
วัคซีนจะมุ่งใช้ในรัฐ และภาคการผลิตสัตว์ปีกที่จะให้ประสิทธิภาพสูงที่สุด พื้นที่ที่การกักกันโรค
การกำจัดสัตว์ป่วย และใช้มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ แต่ไม่สามารถหยุดการแพร่กระจายของโรคจะถูกจัดอันดับให้ใช้วัคซีนก่อน
USDA คาดว่า มูลค่าการตลาด ๘๔ เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกยังคงเปิดกว้าง
แต่คู่ค้าบางรายตั้งข้อกีดกันการใช้วัคซีนไข้หวัดนกไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของสหรัฐฯก็ตาม
หากมีการใช้ก็จะตัดสินใจระงับการนำเข้าทั้งประเทศจนกว่า
การประเมินความเสี่ยงจะสมบูรณ์ ความเสียหายของตลาดส่งออกสัตว์ปีกเชื่อว่ามีมูลค่าราวสามหมื่นล้านบาท
แหล่งที่มา: WATTAgNet.com (8/6/15)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น