วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จับตามองตลาดโลกในยามที่ผู้ผลิตเพิกเฉยต่อข้าวโพดแพง



ราคาอาหารสูง และอ่อนไหว แต่ไก่สหรัฐฯยังพุ่งสูงทะยานตามความต้องการตลาดโลกสำหรับโปรตีนจากเนื้อสัตว์
                เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายนนี้ สามบริษัทผู้ผลิตไก่รายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯได้แก่ Pilgrim’s Inc., Sanderson Farms และ Perdue Farms แสดงความเห็นถึงสถานการณ์การผลิตสัตว์ปีกโลก ราคาอาหารสัตว์เป็นสิ่งท้าทายสำคัญต่อผลประกอบการมาก เนื่องจาก ราคาข้าวโพดสูง และอ่อนไหว แต่ไก่สหรัฐฯยังพุ่งสูงทะยานตามคาดการณ์ความต้องการตลาดโลกสำหรับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ภาพรวมของอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่สหรัฐฯยังสดใส แม้ว่า จะยังมีความวิตกกังวลกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ และความต้องการผู้บริโภค จนกระทั่ง ต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ แต่เมื่อคำนวณแล้วยังได้กำไร คาดการณ์ว่า สหรัฐฯจะผลิตไข่ฟักประมาณ ๒๐๐ ล้านฟองต่อสัปดาห์ แม้ว่า ราคาข้าวโพดเฉลี่ยจะสูงถึง ๘ เหรียญฯต่อบุชเชลมากกว่าอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะเมื่อสองสถานการณ์ประกอบกันในปีเดียว ได้แก่ ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ระดับกลางๆ และภาวะจ้างงานดีขึ้นจะยิ่งกระตุ้นความต้องการไก่ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไก่ให้สดใสในปีนี้ มาตรฐานเชื้อเพลิงใหม่ก็จะยิ่งทำให้เกิดความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรม
หลังจากที่อุตสาหกรรมสัตว์ปีกได้รับความเจ็บปวดเป็นอย่างยิ่ง มีการล้มละลาย หรือปิดกิจการของบริษัท ๑๒ แห่งภายใน ๗ ปี ตั้งแต่มีการบังคับใช้มาตรฐานเชื้อเพลิงใหม่ของสหรัฐฯ เนื่องจาก ราคาข้าวโพดที่สูง และอ่อนไหว ข้าวโพดสัดส่วน ๔๐ เปอร์เซ็นต์ถูกนำไปใช้ในการผลิตเอธานอลสำหรับการผลิตพลังงานเชื้อเพลิง อุตสาหกรรมไก่ลดกำลังผลิตลง ๑๐ เปอร์เซ็นต์จากปี ค.ศ. ๒๐๐๗ แต่ก็ยังมีผลกำไรที่ดี เนื่องจาก ผู้ผลิตไก่อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดของโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในสภาวะราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์แพง เนื่องจาก ไก่มีประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารได้ดีที่สุดเทียบกับเนื้อแดง
                ความสามารถในการแลกเปลี่ยนอาหารของไก่เป็นจุดแข็งสำหรับการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น          ๑. การผลิตเนื้อโคไม่รวมกระดูก ๑ ปอนด์ต้องใช้อาหารสัตว์ ๑๘ ปอนด์
                ๒. การผลิตเนื้อสุกรไม่รวมกระดูก ๑ ปอนด์  ต้องใช้อาหารสัตว์ ๑๑ ปอนด์
                ๓. การผลิตเนื้อไก่ไม่รวมกระดูก ๑ ปอนด์ ใช้อาหารสัตว์เพียง ๓ ปอนด์เท่านั้น
                นอกเหนือจากนั้น การเลี้ยงไก่เวลาน้อยลงในการเลี้ยงไก่ให้ถึง ๔ ปอนด์ หรือ ๘ ปอนด์ การใช้วิทยาศาสตร์ด้านพันธุกรรม และโภชนาการ สามารถเลี้ยงไก่ให้ได้ ๔ ปอนด์ภายใน ๓๔ ถึง ๓๕ วันเท่านั้น จากอดีตที่ต้องใช้เวลาถึง ๖ สัปดาห์ให้ได้ไก่ขนาดเดียวกัน และไม่ต้องใช้พื้นที่สำหรับการเลี้ยงมาก สามารถเลี้ยงไก่ได้น้ำหนักเป็นปอนด์ต่อเอเคอร์เพิ่มขึ้นจากอดีต การผลิตไก่ยังเพิ่มขึ้นในบราซิล และจีน เนื่องจากประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นโปรตีน ผู้ผลิต ๓ รายใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ สหรัฐฯ จีน และบราซิล ไก่เป็นเสมือนเครื่องจักรที่ดีที่สุดสำหรับการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ให้กลายเป็นโปรตีน ดังนั้น มหาอำนาจอย่างจีนจึงได้ให้ความสำคัญกับไก่เป็นอย่างมาก พวกเขาได้ตระหนักแล้วว่า โปรตีนจากเนื้อสัตว์จะผลิตได้จากไก่มากกว่าสุกรโดยใช้ข้าวโพดภายในประเทศ เราจึงเห็นว่า ประเทศจีนกำลังเปลี่ยนทิศทางเป็นการผลิตไก่อย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ การแข่งขันในตลาดโลก อุตสาหกรรมไก่มุ่งเน้นการส่งออก โดยเฉพาะ สหรัฐฯ และบราซิล เนื่องจากทั้งสองประเทศสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ภายในประเทศได้ ทั้งสองประเทศมองเห็นโอกาสที่ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น ๗.๕ พันล้านคนในปี ค.ศ. ๒๐๒๐ และ ๙ พันล้านคนในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ อันจะส่งผลให้มีความต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ความต้องการโปรตีนคาดว่าจะเติบโตขึ้น ๗๐.๒ เปอร์เซ็นต์ในแอฟริกา ๔๘.๗ เปอร์เซ็นต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๔๗.๗ เปอร์เซ็นต์ในเอเชียเหนือ และ ๔๑.๔ เปอร์เซ็นต์ในตะวันออกกลางเปรียบเทียบกับ ๗.๕ เปอร์เซ็นต์ที่พยากรณ์ไว้สำหรับอเมริกาเหนือ     
              สหรัฐฯเจริญเติบโต และผลิตไก่เป็นไปตามความต้องการของตลาดโลก โดยมีความได้เปรียบหลายๆประการเหนือกว่าคู่แข่งอย่างบราซิล เช่น ระบบการกระจายสินค้า และการขนส่ง การใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านเพื่อจัดหาข้าวโพด และกากถั่วเหลืองจากบราซิล และอาร์เจนตินา ตอนนี้ ผู้ผลิตเนื้อสัตว์ และเนื้อสัตว์ปีกของสหรัฐฯ นำเข้าเมล็ดพันธุ์จากอเมริกาใต้เพื่อต่อสู้กับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์แพง และอ่อนไหว หลังจากปีที่แล้ว เกิดภาวะแห้งแล้ง และส่งผลให้ความต้องการข้าวโพดของสหรัฐฯ และมีสินค้าน้อย บริษัทต่างๆจึงเริ่มนำเข้าข้าวโพดจากอเมริกาใต้เป็นครั้งแรก        
แหล่งข้อมูล          Gray Thornton, Watt Poultry USA (June 13) 


ราคาข้าวโพดเข้าสู่ช่วงตลาดหมี



ราคาข้าวโพดถึงจุดสูงสุด ๘.๔๔ เหรียญฯต่อบุชเชลในเดือนสิงหาคม ค.ศ.๒๐๑๒  เมื่อย้อนกลับไปมองจะพบว่า ตลาดหมีเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เวลานั้นแล้ว  นับตั้งแต่นั้น ตลาดหมีก็ถูกกระหน่ำซ้ำเติมด้วยตลาดกระทิง อุตสาหกรรมสัตว์ปีกได้แต่หวัง หรืออย่างน้อยก็ฝันว่า ข้าวโพดจะตกลงไปต่ำกว่า ๕ เหรียญ แต่ฝันนั้นก็ยากที่จะเป็นจริง และไม่สามารถเข้าใกล้กับ ๕ เหรียญฯต่อบุชเชลได้เลย 
               ไม่มีใครมั่นใจได้เลยว่า ปีนี้จะเกิดความแห้งแล้งหรือไม่ แต่มีสิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ว่า มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งตามแนวเข็มขัดพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดได้ราว ๑๗ เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น โอกาสที่สภาวะอากาศจะเป็นปรกติมีสูงถึง ๘๓ เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม หากอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ได้ประโยชน์ สิ่งตรงกันข้ามก็จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ในระยะสามปีที่ผ่านมา ราคาข้าวโพดพุ่งสูงขึ้นทำลายสถิติราคาเฉลี่ยทุกปี ราคาไม่ได้สูงเฉพาะเมล็ดพันธุ์ แต่ยังรวมถึงสินค้าทุกชนิด รวมถึง น้ำมัน โดยสังเกตได้จากความเคลื่อนไหวของดัชนีราคาสินค้าที่ประมวลผลทั้งพลังงาน และเมล็ดพันธุ์ ในระหว่าง ค.ศ.๒๐๐๒ ถึง ๒๐๑๒ ได้เพิ่มสูงถึง ๔๐๐ เปอร์เซ็นต์    
                ตามธรรมชาติของกลไกการตลาด เมื่อราคาสูงขึ้นก็จะตกลง ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ๔๐๐ เปอร์เซ็นต์ในระยะสิบปีที่ผ่านมา แต่สิ่งที่จะไม่เกิดขึ้นอีกในอีกสิบปีถัดมาคือราคาจะไม่สูงขึ้นไปอีก ๔๐๐ เปอร์เซ็นต์ การเพิ่มขึ้นของดัชนีเมื่อเร็วๆนี้ ได้มีผลกระทบ ๒ ประการ ได้แก่ การตอบสนองของสินค้าที่มีจำหน่าย และการทำลายความต้องการ
                การสำรวจน้ำมัน และการปลูกพืชเพิ่มขึ้น การตอบสนองของสินค้าน้ำมันที่มีจำหน่าย ในระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๙๘ ถึง ๒๐๑๒ ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นเป็น ๑,๐๐๐ เปอร์เซ็นต์ มีมูลค่ากว่า ๕๐๐ พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปีทั่วโลก แลมีการระดมสำรวจหาแหล่งพลังงาน การผลิตน้ำมัน และแก๊สจากทะเลลึก หินเชล ขั้วโลก ได้สร้างกำไรอย่างมหาศาล ที่ราคา ๑๐๐ เหรียญฯต่อบาเรล แม้ว่า ความเป็นจริงที่ต้องยอมรับคือ วันหนึ่งแหล่งน้ำมันโลกก็จะหมดไป เนื่องจาก เชื้อเพลิงฟอสซิลไม่มีการสร้างใหม่ได้อีก ในทางเดียวกัน การผลิตเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลกตามกลไกราคาที่เพิ่มสูงขึ้น การผลิตข้าวโพดทั่วโลกได้สูงเป็นสองเท่าในสิบปีที่ผ่านมา และผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหม่ เช่น บราซิล และยูเครน ได้เกิดขึ้นใหม่ ประเด็นสำคัญที่ต้องถกเถียงกันต่อไปคือ โลกจะไม่มีแผ่นพื้นดินเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก รวมถึง น้ำ ปุ๋ยไนโตรเจน และแอมโมเนีย (ที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล) ที่ช่วยให้การผลิตข้าวโพดได้ถึง ๒๐๐ บุชเชลต่อเอเคอร์จาก ๕๐  บุชเชลต่อเอเคอร์ อย่างไรก็ตาม จะยังไม่เกิดขึ้นในระยะสั้นนี้
            ขณะเดียวกันในฝั่งอของการทำลายความต้องการสินค้า ราคาสินค้าที่สูงถึง ๔๐๐ เปอร์เซ็นต์ ก็จะทำให้มีการอนุรักษ์มากขึ้น การใช้เชื้อเพลง และเมล็ดพันธุ์ก็จะใช้กันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้สามารถขับไปได้ไกลขึ้นโดยใช้เชื้อเพลิงเท่ากัน โดยพัฒนารถยนต์ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น เนื่องจาก ประสิทธิภาพการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์เป็นเนื้อลดลง การบริโภคเนื้อโคต่อคนทั่วโลก ลดลงเป็น ๑ กิโลกรัมต่อคนทั่วโลก ในช่วงที่ราคาเมล็ดพันธุ์สูงขึ้น ผู้ผลิตให้ความสนใจกับการประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารในไก่เพิ่มขึ้น โดยสรุป การเพิ่มสูงขึ้นของราคาสินค้า ๔๐๐ เปอร์เซ็นต์ส่งผลกระตุ้นสินค้าที่มีจำหน่าย และทำลายความต้องการลง การเพิ่มสินค้า และการลดความต้องการจะนำไปสู่ราคาที่ถูกลง แต่จะลดลง ยาวนานเพียงใดยากที่จะทำนาย แต่ค่าเฉลี่ยจากการวิเคราะห์แผนภาพทางเทคนิคน่าจะเป็น ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น จะทำให้ดัชนีราคากลับคืนมาที่ระดับลดลง ๑๒๕ จากเกือบ ๒๐๐ เมื่อเร็วๆนี้ สำหรับราคาข้าวโพด ครึ่งทางน่าจะอยู่ระหว่าง ๒.๕ เหรียญฯต่อบุชเชลจากอดีต และ ๗.๕ เหรียญฯต่อบุชเชลเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๑๒ ก็ควรจะเป็นที่ราคา ๕ เหรียญฯต่อบุชเชลใกล้เคียงกับนโยบายเอธานอลที่กำหนดไว้ หากเกิดภาวะแห้งแล้งในสหรัฐฯปีนี้ ก็อาจจะหน่วงปรากฏการณ์นี้ให้ช้าลงชั่วขณะเท่านั้น ราคาของสินค้าทุกชนิดก็จะตกลงในที่สุด รวมถึง เมล็ดพันธุ์  ตามแผนภาพดัชนีราคาสินค้าระหว่างปี ค.ศ.๑๙๒๒ ถึง ๒๐๒๒ พยากรณ์ไว้ว่า ราคาสินค้าที่ตกลงจะเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในปีนี้ แต่สิ่งนี้อาจไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับผู้ที่กำลังคาดหวังประโยชน์จากราคาเมล็ดพันธุ์สูง เนื่องจาก พวกเขาคาดหวัง และฝันว่า ราคาสินค้จะเพิ่มอีกเป็น ๔๐๐ เปอร์เซ็นต์ในอนาคต เช่นเดียวกับที่เคยหวังไว้ไม่กี่ปีที่ผ่านมา  
หมายเหตุ
ตลาดหมี หรือตลาดซึม หมายถึง     ภาวะที่ราคาซื้อขายอยู่ในช่วงแคบๆ เรียกว่า ตลาดไม่ไปไหน
ตลาดกระทิง         หมายถึง                                ภาวะที่การซื้อขายในตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ 


แหล่งข้อมูล          Paul Aho, Watt Poultry USA (June 13) 

 



วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การควบคุมกระบวนการแปรรูปการผลิตให้ปลอดเชื้อซัลโมเนลลา



สถานที่สำคัญที่มีโอกาสเกิดการปนเปื้อนข้ามของผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกคือ โรงงานแปรรูปการผลิต ดังนั้น จึงมีความสำคัญมากในการลดการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคก่ออาหารเป็นพิษ เช่น ซัลโมเนลลา
การจัดการฟาร์มไก่ที่มีผลซัลโมเนลลาเป็นบวก
                สถานะของเชื้อซัลโมเนลลาในฟาร์มไก่เนื้อควรมีการตรวจติดตามตั้งแต่ระยะต้น หากตรวจพบเชื้อซัลโมเนลลา ฟาร์มที่มีผลเป็นบวกควรมีการจัดการแยกจากฟาร์มปรกติเป็นคิวสุดท้าย อุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อมต้องสะอาด และมีสุขอนามัยที่เหมาะสมก่อนการจัดการคิวต่อไป
การควบคุมการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา
                เนื่องจากธรรมชาติของกระบวนการผลิต และความเร็วการผลิตที่สูง จึงเป็นไปได้ยากที่จะป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อซัลโมเนลลาเข้าสู่ไก่ที่นำเข้ามาสู่ภายในโรงงาน การปนเปื้อนข้ามระหว่างซากเกิดขึ้นได้ผ่านอุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อน อุปกรณ์บางชนิดมีแนวโน้มที่จะปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาปริมาณมาก เช่น เครื่องถอนขน จึงจำเป็นต้องให้ความใส่ในในการทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ รวมถึง น้ำใช้ อากาศภายในโรงงาน และมือของพนักงาน เป็นแหล่งที่มีความสำคัญมาก
                การปนเปื้อนผลิตภัณฑ์สามารถลดลงได้โดยอาศัยหลักการของ HACCP ร่วมกับ GMP และการใช้ SOP สำหรับการทำความสะอาด และฆ่าเชื้อภายในโรงงานเอง ระบบดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม และการดูแลพนักงานอย่างเหมาะสม
                เมื่อควบคุมการกระบวนการผลิตได้อย่างเหมาะสมแล้ว การปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์สุดท้ายด้วยเชื้อซัลโมเนลลาจะลดลงมากเป็นไปตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์เนื้อดิบที่ปลอดภัย
แหล่งข้อมูล          World Poultry (11/6/13)


ประวัติศาสตร์ ๖ ก้าวของวัคซีนนิวคาสเซิล

ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า โรคนิวคาสเซิลเป็นโรคที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมสัตว์ปีกอย่างมากมาย แม้ว่า เราจะรู้จักโรคนี้มาเป็นเวลานานมาแล้วกว่า ๘๕ ปี โรคนี้มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Avian Paramxyxovirus (APMV-1) มีเพียงซีโรไทป์เดี่ยว แถมยังมีวัคซีนจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดหลากหลายยี่ห้อ แต่โรคนิวคาสเซิลก็ยังคงท้าทายสัตวแพทย์ และเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
                ในระยะแรกของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีก ผู้เลี้ยงไก่ก็มีเป้าหมายในการป้องกันความสูญเสียจากอัตราการตายสูงด้วยโรคนี้ แต่เมื่อมีความก้าวหน้าในความรู้ความเข้าใจของการดำเนินโรค อุตสาหกรรมสัตว์ปีกก็มิได้คำนึงถึงประสิทธิภาพของวัคซีนเพียงอย่างเดียว แต่ยังพยายามหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากการให้วัคซีน ได้แก่ การแพ้วัคซีน ภายหลังการใช้วัคซีนเชื้อเป็นให้น้อยลงอีกด้วย
๑. ก้าวแรกของวัคซีนนิวคาสเซิล
                นับตั้งแต่การระบาดครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๒๖ ของโรคนิวคาสเซิลที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย และเมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นก็มีการวิจัยมากมายสำหรับการป้องกัน และควบคุมโรคโดยการให้วัคซีน การศึกษาระยะแรกเป็นการใช้ไวรัสที่ถูกทำให้หมดฤทธิ์ลง แต่ประสบปัญหาด้านการผลิต และควบคุมคุณภาพ หากจำเป็นต้องใช้ปริมาณมาก จึงมีการพัฒนาเชื้อให้อ่อนแรงลงในห้องปฏิบัติการหลายแห่งทั่วโลก ในทศวรรษที่ ๑๙๓๐ นักวิจัยชาวอังกฤษไอเยอร์ และดอบสันได้ผ่านเชื้อไวรัสสายพันธุ์เฮิร์ตส ๓๓ (Herts’ 33) ลงในตัวอ่อนลูกไก่ และผลิตเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงต่ำลงชื่อว่า สายพันธุ์เฮิร์ตฟอร์ดไชร์ (Hertfordshire (H) strain)” ที่สามารถนำมาใช้เป็นแอนติเจนที่มีความปลอดภัยสำหรับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันไก่จำนวนมากได้ ในเวลาต่อมาไอเยอร์ยังได้นำเชื้อไวรัสสายพันธุ์ รานิเกต (Ranikhet) ที่แยกได้จากประเทศอินเดียนำมาผ่านเชื้อลงในตัวอ่อนลูกไก่ แล้วพัฒนาเป็นเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงปานกลางชื่อว่า สายพันธุ์มุคเทสวอร์ (Mukteswar strain)” ในปาเลสไตน์ โคมารอฟ (Komarov) ก็ได้มีการพัฒนาเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงปานกลางขึ้นมาในเวลาใกล้เคียงกัน โดยนำเชื้อไวรัสท้องถิ่นผ่านลงในลูกเป็ดโดยการฉีดเข้าสมอง ขณะเดียวกันในฟากฝั่งสหรัฐอเมริกาก็มีการคัดกรองเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล ๑๐๕ ตัวอย่างได้สายพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักกันดีชื่อว่า สายพันธุ์โรคิน (Roakin strain)” ที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมเป็นแอนติเจนในการผลิตวัคซีน ในปี ค.ศ. ๑๙๔๘ สายพันธุ์โรคินได้ออกวางจำหน่ายเชิงพาณิชย์สำหรับใช้ป้องกันโรคในสัตว์ปีกอายุมากกว่า ๔ สัปดาห์โดยการแทงปีก แม้ว่า วัคซีนเหล่านี้ จะสามารถเหนี่ยวนำการป้องกันโรคได้ดีมาก แต่ก็ยังสามารถก่อโรค และส่งผลให้สัตว์ปีกเสียชีวิตได้ในอัตราสูง โดยเฉพาะ สัตว์ปีกที่มีความไวรับต่อโรค นอกเหนือจากนั้น วัคซีนเหล่านี้ จำเป็นต้องให้กับสัตว์ปีกที่มีอายุมากกว่า ๔ สัปดาห์ เพราะว่า ลูกไก่วันแรกยังมีระดับภูมิคุ้มกันจากแม่ค่อนข้างแปรปรวนมาก บางส่วนของฝูงจำเป็นต้องให้วัคซีนก่อนหน้านั้น จึงเป็นที่มาให้วัคซีนรุ่นถัดมาพัฒนาขึ้นมา  
๒. ยุคของวัคซีนเชื้อเป็น
                ในสหรัฐอเมริกา ระหว่างทศวรรษที่ ๑๙๔๐ สถาบันวิจัยหลายแห่งกำลังค้นคว้าวิจัยวัคซีนเชื้อเป็นสำหรับป้องกันโรคนิวคาสเซิล ในปี ค.ศ. ๑๙๔๗ นักวิจัยแห่งสถาบันโพลีเทคนิคเวอร์จิเนียนามว่า ฮิตช์เนอร์ (Hitchner) ทำงานวิจัยกับเชื้อไวรัสที่ได้รับมาจากบัวเด็ตต์ (Beaudette) นักพยาธิวิทยาจากสถานีวิจัยด้านเกษตรกรรมแห่งนิวเจอร์ซี พัฒนาเชื้อไวรัสสายพันธุ์บี ๑ (B1) และได้จดทะเบียนสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์ในปี ค.ศ. ๑๙๕๐ และเนื่องจากความต้องการวัคซีนที่มีความอ่อนแรงในท้องตลาดมาก บัวเด็ตต์จึงได้ทบทวนเชื้อไวรัสทั้ง ๑๐๕ สายพันธุ์อีกครั้ง เพื่อลองคัดหาเชื้อไวรัสบางตัวอย่างอาจมีความรุนแรงที่ต่ำ สุดท้าย เขาสามารถคัดได้เชื้อไวรัส ๓ ตัวอย่าง ภายหลังจากนั้นอีกไม่กี่เดือนจากการวิจัยเพิ่มเติมที่ห้องปฏิบัติการสัตว์ปีกของไวน์แลนด์จึงได้เชื้อไวรัสตัวที่ดีที่สุด ๑ สายพันธุ์ ซึ่งแยกได้มาจากฟาร์มของอะดัม ลาโซต้า ดังนั้น ชื่อของสายพันธุ์วัคซีนจึงได้ใช้ชื่อของฟาร์มที่พบเชื้อไวรัสเป็นครั้งแรก อีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ในปี ค.ศ. ๑๙๕๒ แอสพลิน (Asplin) รายงานผลการศึกษาสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสที่แยกได้หลายปีก่อนหน้านั้น ภายหลังการระบาดของโรคทางระบบหายใจแบบอ่อนในลูกไก่ที่อังกฤษ ไวรัสชนิดนี้มีความรุนแรง และความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันคล้ายคลึงกับสายพันธุ์ B1 จึงตั้งชื่อว่า สายพันธุ์ เอฟ (F strain)”
               อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสัตว์ปีกก็ได้มีวิวัฒนาการต่อไปทั่วโลก ระดับของปฏิกิริยาข้างเคียงภายหลังการให้วัคซีน (Post-vaccination reaction, PVR) กลายเป็นประเด็นสำคัญสำหรับผู้ผลิตสัตว์ปีก หนึ่งในความพยายามในการผลิตวัคซีนที่มี PVR ลดลงคือ การคัดเลือกกลุ่มประชากรของเชื้อไวรัสที่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอกัน แต่ยังคงสามารถเหนี่ยวนำภูมิคุ้มกันที่ดีได้ ตัวอย่างเช่น การคัดเลือก โคลน ๓๐ (Clone 30)” จากสายพันธุ์ลาโซต้านั่นเอง โดยเริ่มนำออกสู่ตลาดในทศวรรษที่ ๑๙๘๐ และมีการตอบรับที่ดีจากตลาดวัคซีน
๓. ยุคของวัคซีนชนิดเอ็นเทอริค
                   แม้ว่า วัคซีนชนิดอ่อนแรง และโคลน สามารถลด PVR ลงได้ดีกว่าวัคซีนรุ่นก่อนหน้านี้ แต่ก็ยังส่งผลต่อระบบหายใจของสัตว์ปีก โดยเฉพาะระบบการผลิตสัตว์ปีกที่เข้มข้นยิ่งกว่าในอดีต เร็วๆนี้ วัคซีนสายพันธุ์ที่สามารถเพิ่มจำนวนได้ทั้งในทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร จึงช่วยลดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินหายใจลงได้นำออกสู่ตลาด และได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง โดยจัดกลุ่มเป็นเชื้อไวรัสที่ไม่มีความรุนแรงจากทางเดินอาหาร สายพันธุ์ที่นิยมใช้ในเชิงพาณิชย์มากที่สุด ได้แก่ อัลสเตอร์ ๒ ซี (Ulster 2C) PHY.LMV.42 และ วี ๔ (V4) โดยเชื้อไวรัสเหล่านี้มีความรุนแรง หรือค่า ICPI ต่ำมาก จึงไม่เหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์ภายหลังการให้วัคซีนเลย วัคซีนมีความปลอดภัยจึงสามารถนำมาใช้กับลูกไก่วันแรกที่โรงฟักได้ อย่างไรก็ตาม ภูมิคุ้มกันจากแม่ยังสามารถรบกวนการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของวัคซีนได้ จึงจำเป็นต้องให้วัคซีนซ้ำในพื้นที่โรคระบาด นอกเหนือจากนั้น ยังสังเกตพบว่า เชื้อไวรัสชนิดแอนเทอริคยังทนทานความร้อนมากกว่าเชื้อไวรัสชนิดอ่อนแรงอื่นๆ อันเป็นผลมาจากการคัดเลือก และการโคลนเชื้อไวรัสในห้องปฏิบัติการ เพื่อผลิตวัคซีนที่มีความทนทานความร้อน สายพันธุ์นี้มีประโยชน์ต่อการเลี้ยงไก่หลังบ้าน เนื่องจาก สามารถขนส่งวัคซีนได้สะดวก โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการรักษาความเย็น และสามารถผสมอาหารได้ด้วย วัคซีนสายพันธุ์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ วี ๔ เอชอาร์ (V4-HR) ที่ริเริ่มขึ้นในประเทศมาเลเซีย และทดลองใช้ในหลายประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกา แต่ได้ผลแตกต่างกันไป
๔. การใช้วัคซีนเชื้อเป็น ร่วมกับวัคซีนเชื้อตาย
                ในช่วงทศวรรษ 1970 การใช้วัคซีนร่วมกับวัคซีนเชื้อตายเพื่อป้องกันโรคนิวคาสเซิลให้กับลูกไก่อายุวันแรกมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ระดับ HI จะสูงกว่า ป้องกันโรคได้ดีกว่า ภายหลังการป้อนเชื้อพิษทับ และภูมิคุ้มกันก็ยังคงยาวนานกว่าเปรียบเทียบกับการใช้วัคซีนเชื้อเป็น หรือเชื้อตายลำพัง
                ประโยชน์ของการใช้วัคซีนร่วมกันระหว่างเชื้อเป็น และเชื้อตายที่โรงฟักเป็นที่ยอมรับกันว่า มีประสิทธิภาพสูงในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส โดยอาศัยคุณสมบัติร่วมกันระหว่างวัคซีนเชื้อเป็นที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และวัคซีนเชื้อตายที่ให้ภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด แม้ว่า อาจถูกรบกวนได้จากแอนติบอดีที่มาจากแม่ทำให้ประสิทิภาพลดลงไปบ้าง ดังนั้น จึงมีคำแนะนำให้กระตุ้นซ้ำในฟาร์มในพื้นที่ที่การระบาดของโรคค่อนข้างชุก
๕. เลือกวัคซีนให้จีโนไทป์ตรงกัน
                แม้ว่า เชื้อไวรัสนิวคาสเซิลจะมีคุณสมบัติของแอนติเจนที่เป็นแบบซีโรไทป์เดี่ยว (Single serotype) แต่ด้วยเทคนิคทางด้านอณูชีววิทยาเชิงลึกทำให้สามารถจำแนกย่อยไปได้อีกเป็นจีโนไทป์ตามความแตกต่างของจีโนม ดังนั้น นักวิจัยจึงพยายามคัดเลือกสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสให้มีพันธุกรรมใกล้ชิดกับเชื้อท้องถิ่นมากที่สุด ความจริงแล้ว ในบางประเทศย่านเอเชียที่โรคนิวคาสเซิลมีความชุกสูง จึงมีการพัฒนาวัคซีนจีโนไทป์ VII โดยใช้เทคโนโลยีรีเวอร์จีเนติก ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีรายงานว่า การรีคอมบิเนชันระหว่างเชื้อไวรัสสายพันธุ์ ลาโซต้า กับยีนส์ส่วนฟิวชัน (Fusion, F) และฮีแมกกลูตินิน-นิวรามินิเดส (Haemagglutinin-Neuraminidase, HN) จากเชื้อไวรัสจีโนไทป์ VIId วัคซีนเชื้อเป็นชนิดรีคอมบิเนชันนี้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเกี่ยวกับความเป็นแอนติเจนที่ดี ประสิทธิภาพการผลิต ความปลอดภัย ความเสถียร อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
๖. วัคซีนเวกเตอร์
                   วัคซีนเวกเตอร์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากกระบวนการเติมยีนส์หนึ่งหรือมากกว่านั้นลงในดีเอ็นเอของเชื้อจุลชีพที่เรียกว่า เวกเตอร์ (Vector)” ด้วยวิธีการนี้ จึงมีแอนติเจนสองของจุลชีพสองชนิดปรากฏในระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์โดยการเพิ่มจำนวนของแอนติเจนจากเวกเตอร์ ดังนั้น จึงสามารถเหนี่ยวนำภูมิคุ้มกันต่อทั้งเวกเตอร์ และเชื้อก่อโรคได้ในเวลาเดียวกัน ปัจจุบัน ในตลาดมีวัคซีนเวกเตอร์ ๒ ชนิดในตลาด ได้แก่ การใช้ไวรัสฝีดาษไก่เป็นเวกเตอร์ และใส่ยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับโปรตีน HN ลงในดีเอ็นเอ นิยมใช้กันมากในไก่งวง อีกชนิดหนึ่งคือ ยีนส์ที่ใส่เข้าไปจะถูกแปลรหัสให้เป็นโปรตีนเอฟเติมลงในดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสกลุ่มเฮอร์ปีสของไก่งวง (HVT) นิยมใช้ในไก่
                วัคซีนเวกเตอร์ชนิด HVT-NDV เหนี่ยวนำให้มีการป้องกันโรคนิวคาสเซิลได้ดีกมาก และสามารถลดการขับเชื้อพิษได้อย่างมีนัยสำคัญ วัคซีนชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง ไม่มีอาการแพ้วัคซีนเช่นเดียวกับการใช้วัคซีนเชื้อเป็น เช่น โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ จากการเพิ่มจำนวนเชื้อซ้ำๆของเชื้อไวรัส HVT จึงช่วยให้ภูมิคุ้มกันต่อโรคนิวคาสเซิลได้รับการกระตุ้นซ้ำๆอยู่เรื่อยๆ จึงเป็นการป้องกันโรคแบบยาวนานไปตลอดชีวิต และสิ่งสำคัญคือ ไม่มีปัญหาการรบกวนจากภูมิคุ้มกันจากแม่อีกต่อไป
                นับตั้งแต่เริ่มต้นอุตสาหกรรมสัตว์ปีกเป็นต้นมา การป้องกันการตายของไก่เป็นกุญแจที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้บริโภค ในพื้นที่ที่โรคนิวคาสเซิลกลายเป็นโรคประจำถิ่น การป้องกันโรคจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ปัจจุบัน วัคซีนเชื้อเป็นหลากหลายมีให้เลือกใช้ตั้งแต่สายพันธุ์ที่มีความรุนแรงปานกลางไปจนถึงวัคซีนเวกเตอร์ที่มีความปลอดภัยสูง ทิศทางการพัฒนาวัคซีนแสดงให้เห็นว่า นักวิจัยได้ต่างเฝ้าติดตามความต้องการของตลาดตลอดเวลา แม้ว่าจะมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงในตลาด แต่กระนั้น การใช้วัคซีนเพียงอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอต่อการควบคุมโรคนิวคาสเซิล มาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพที่เข้มงวด และสุขศาสตร์ที่ดียังเป็นสิ่งสำคัญต่อการป้องกันโรคให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น สารพิษจากเชื้อรา สิ่งแวดล้อม และโรคติดเชื้อกดภูมิคุ้มกัน เช่น กัมโบโร มาเร็กซ์ และเลือดจางในไก่ ส่งผลกระทบต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโรคนิวคาสเซิลได้ทั้งสิ้น และเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเพื่อควบคุมโรคนิวคาสเซิล  
           
    

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...