วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

อีกสี่ปีนี้ ฝรั่งเศสห้ามขายไข่จากฟาร์มไก่ไข่เลี้ยงขังกรง

กระทรวงเกษตรฝรั่งเศส สเตเฟน ทราเวิร์ต ประกาศว่า รัฐบาลฝรั่งเศสได้สั่งห้ามขายไข่ (แบบมีเปลือก) ที่เลี้ยงแบบขังกรง ในซูเปอร์มาร์เก็ตตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๕ เป็นต้นไป 
               นายทราเวิร์ต แสดงความภาคภูมิใจต่อข้อตกลงตามที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอมมานูเอล มาครอง ตั้งแต่ปีที่แล้ว ให้คำมั่นสัญญาต่อองค์กรกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลว่า จะห้ามขายไข่ไก่จากฟาร์มที่ยังเลี้ยงขังกรง และให้สัมภาษณ์ในวิทยุฝรั่งเศสช่องยุโรป ๑ นายทราเวิร์ตยืนยันว่า ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๕ ไข่ไก่ (แบบมีเปลือก) ที่จำหน่ายเป็นกล่อง หรือเป็นฟองจะนำมาจากแม่ไก่เลี้ยงปล่อยอิสระ ไม่ใช่แม่ไก่เลี้ยงยืนกรงอีกต่อไป เป็นคำมั่นสัญญาที่รัฐบาลฝรั่งเศสจะยึดมั่นไว้ ขณะที่ ซูเปอร์มาร์เก็ตฝรั่งเศสบางแห่งได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว โดยห้ามไข่ไก่ (แบบมีฟอง) ที่เลี้ยงบนกรงตับจำหน่ายในร้าน ห้างโมโนพริกซ์ได้หยุดการจำหน่ายไข่จากแม่ไก่เลี้ยงยืนกรงแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๙ ขณะที่ ห้างคาร์ฟูลจะจำหน่ายเฉพาะไข่ไก่จากแม่ไก่เลี้ยงปล่อยอิสระเท่านั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ห้างโอชองวางเป้าหมายไว้ที่ปี พ.ศ. ๒๕๖๘ เป็นข้อมูลที่ออกมาก่อนที่รัฐบาลจะประกาศออกมา

ผู้ผลิตสัตว์ปีกฝรั่งเศสหัวเสีย
               คำประกาศของนายทราเวิร์ตสร้างความโกรธเกรี้ยวให้กับผู้ผลิตสัตว์ปีกฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ผลิตไข่ไก่รายใหญ่ที่สุดในอียู โดยผลิตไข่ไก่ได้ ๑๔.๓ พันล้านฟองในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ในปัจจุบัน สองในสามของไข่ไก่ที่วางขายในฝรั่งเศสมาจากฟาร์มไก่ไข่เลี้ยงยืนกรงจำนวน ๓๒ ล้านตัว ชาวฝรั่งเศสบริโภคไข่ไก่เฉลี่ย ๒๒๐ ฟองต่อปี เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกชาวฝรั่งเศสกังวลอย่างมากว่า คำสั่งห้ามดังกล่าวจะทำให้เกิดความเสียหายหลายล้านยูโรสำหรับดำเนินการ และละเมินกติกาตลาดเดียวของสหภาพยุโรป นิตยสารไทม์รายงานข่าวที่คณะกรรมการส่งเสริมการผลิตไข่ระดับชาติกล่าวถึง คำสั่งห้ามนี้จะยิ่งผลักดันให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่หลายร้อยรายจำเป็นต้องผันตัวออกจากธุรกิจ ฝรั่งเศสจำเป็นต้องนำเข้าไข่ไก่ และราคาที่อาจทะยานพุ่งสูงขึ้น เกษตรกรผู้ผลิตไก่กล่าวโทษรัฐบาลที่ผิดคำสัญญาเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐมนตรีเกษตรร้องขอให้เกษตรกรปฏิบัติตามแผนนโยบาย โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ยอมรับว่า สามารถเลิกเลี้ยงไก่ไข่ในกรงตับได้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ แต่จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นอีกเกือบสองหมื่นล้านบาท ถึงเวลานี้ ผู้ประกอบการยังไม่ทราบว่าจะนำงบลงทุนนี้จากที่ใด อย่างไรก็ตาม คำสั่งห้ามนี้จะไม่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ไข่แปรรูป    
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2018. France to ban sale of eggs from caged hens. [Internet]. [Cited 2018 Feb 21]. Available from: http://www.poultryworld.net/Eggs/Articles/2018/2/France-to-ban-sale-of-eggs-from-caged-hens-by-2022-251161E/   


ภาพที่ ๑ ฝรั่งเศสห้ามขายไข่จากฟาร์มไก่ไข่เลี้ยงขังกรงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ (แหล่งภาพ: Treena Hein)

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วิจัยลิเธียมคลอไรด์ยับยั้งไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาวไก่

ผลการวิจัยประสิทธิภาพของลิเธียมคลอไรด์ต่อการหยุดยั้งเชื้อไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาวสัตว์ปีกมิให้เพิ่มจำนวนในเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดซีอีเอฟ บ่งชี้ว่า ลิเธียมคลอไรด์สามารถใช้เป็นสารต้านไวรัสเอแอลวีชนิดเจได้
               การทดลองที่สถาบันเพอร์ไบร์ตเพื่อศึกษาฤทธิ์ของลิเธียมคลอไรด์ต่อการยับยั้งเชื้อไวรัส โดยนักวิจัยประเมินประสิทธิภาพของลิเธียมคลอไรด์ต่อการติดเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดซีอีเอฟ โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยเรียลไทม์พีซีอาร์ การวิเคราะห์เวสเทิร์นบลอต ไอเอฟเอ และการทดสอบอีไลซาต่อโปรตีนพี ๒๗ แสดงให้เห็นว่า จำนวนสำเนาอาร์เอ็นเอ และระดับโปรตีนของเชื้อไวรัสลดลงอย่างมีนัยสำคัญแปรผันตามขนาดของสารเคมี และเวลา  
               ผลการวิเคราะห์ยังพบว่า ผลการต่อต้านเชื้อไวรัสยังเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดซีอีเอฟถูกบำบัดที่ระยะภายหลังการติดเชื้อเหนือกว่าที่ระยะการดูดซึมระยะแรก หรือระยะก่อนการดูดซึม การทดลองต่อไป ยังแสดงให้เห็นว่า ลิเธียมคลอไรด์ ไม่มีผลต่อกระบวนการสัมผัส หรือการเข้าสู่เซลล์ แต่จะมีผลต่อการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสระยะแรกมากกว่า นักวิจัยยังพบว่า การยับยั้งการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสด้วยลิเธียมคลอไรด์เกิดจากการลดระดับของเอ็มอาร์เอ็นเอของไซโตไคน์ชนิด Proinflammatory cytokines

สารลิเธียมคลอไรด์
               สารลิเธียมคลอไรด์เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคไบโพลาร์ในมนุษย์ โดยมีฤทธิ์ทางชีวภาพหลายประการ ได้แก่ การเหนี่ยวนำกระบวนการอะพอพโทซิส การสังเคราะห์ไกลโคเจน และการอักเสบ ในหลายปีที่ผ่านมา มีงานวิจัยตีพิมพ์ศึกษาการใช้ลิเธียมคลอไรด์ต่อการทำลายเชื้อก่อโรคหลายชนิดทั้งไวรัส และแบคทีเรีย การออกฤทธิ์ของลิเธียมคลอไรด์ (LiCl) มีผลต่อการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสทั้งชนิดดีเอ็นเอ และอาร์เอ็นเอมีการวิจัยก่อนหน้านี้แล้วทั้งต่อเชื้อไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอ ได้แก่ เชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อในสัตว์ปีก โรคติดเชื้อไวรัสทีจีอีในสุกร และเชื้อไวรัสชนิดดีเอ็นเอ ได้แก่ เฮอร์ปีสซิมเพล็กไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย เช่น ซูโดโมแนส แอโรจิโนซา และไมโคพลาสมา ไฮโอนิวโมนิอี   
                
เอกสารอ้างอิง

McDougal T. 2018. Antiviral effect of lithium chloride on avian leukosis virus. [Internet]. [Cited 2018 Feb 19]. Available from: http://www.poultryworld.net/Health/Articles/2018/2/Antiviral-effect-of-lithium-chloride-on-avian-leukosis-virus-249872E/

ภาพที่ ๑ ผลการวิจัย พบว่า ลิเธียมคลอไรด์สามารถใช้เป็นสารต้านไวรัสเอแอลวีชนิดเจได้ (แหล่งภาพ Ronald Hissink)

วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ไข้นกแก้วระบาดในอาร์เจนตินา

กรมควบคุมโรคระบาด กระทรวงสาธารณสุขอาร์เจนตินา กำหนดมาตรการป้องกันโรค เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคไข้นกแก้วรายใหม่ ภายหลังสองครอบครัวติดเชื้อในพื้นที่สองแห่งของรัฐเอนเตรรีโอส
               โรคไข้นกแก้วเป็นโรคติดเชื้อแบบเฉียบพลันมีสาเหตุจากเชื้อ คลามัยโดฟิลลา ซิสตาซี พบได้ในสิ่งคัดหลั่งจากสัตว์ปีกหลายชนิด สามารถแพร่เชื้อสู่มนุษย์ได้ผ่านการหายใจสูดเข้าสู่ทางเดินหายใจ แล้วหลบอยู่ภายในปอด ในบางครั้ง การติดเชื้ออาจเกิดการแทรกซ้อน และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รักษาอย่างทันท่วงที โรคนี้มีบังคับให้ต้องรายงานตามกฏหมาย การรายงานโรคต่อเมื่อแพทย์ให้คำวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นพาหะ สัตวแพทย์สงสัยโรคในสัตว์ หรือเมื่อห้องปฏิบัติการทดสอบแล้วว่า พิสูจน์ หรือเห็นควรสงสัยว่าเป็นโรค สำหรับการระบาดในเมืองปารานา พบในครอบครัวที่ติดเชื้อภายหลังซื้อนกพิราบจากร้านค้าข้างถนนในถนนรามิเรซ และถนนลอเรนเซนา ติดกับโรงเรียนแอสทราดา ขณะที่ในเมือง Gualeguaychú อีกครอบครัวหนึ่งป่วยจากโรคไข้นกแก้วภายหลังเก็บนกแก้วที่ติดเชื้อจากถนนสาธารณะ ทั้งสองราย ผู้ป่วยพบแพทย์ด้วยอาการทางระบบหายใจ แพทย์ผู้ให้การรักษาได้ส่งตัวอย่างทดสอบทางห้องปฏิบัติการ (เลือด และสำลีป้ายเชื้อจากทางเดินหายใจ) เพื่อยืนยันโรค

โรคไข้นกแก้วคืออะไร?
               เชื้อ คลามัยโดฟิลลา ซิสตาซี สามารถแยกพบได้จากสัตว์ปีกมากกว่า ๑๐๐ ชนิด การติดเชื้อ คลามัยโดฟิลลา ซิสตาซี ส่วนใหญ่ในมนุษย์ได้รับมาจากนกแก้ว แต่ก็มีรายงานติดเชื้อจากสัตว์ปีกชนิดอื่นๆทั้ง นกเขา นกพิราบ ไก่งวง นกล่าเหยื่อ และนกชายทะเล โรคไข้นกแก้วรู้จักกันดีในชื่อเรียกว่า ซิสต์ตาโคซิสบ้าง ออร์นิโธซิสบ้าง แต่การเกิดโรคในมนุษย์มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย คลามัยโดฟิลลา ซิสตาซี โดยมีสัตว์พาหะสำคัญทั้งนกหงส์หยก นกแก้ว และนกคอคคาเทล แต่ก็ยังติดเชื้อได้ในสัตว์ปีกอีกหลายชนิดทั้งไก่งวง นกพิราบ และนกยูง การติดเชื้อในมนุษย์มักมาจากการสูดหายใจเอาฝุ่นที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนถูกขับมาจากมูลสัตว์ปีก และสิ่งคัดหลั่งจากสัตว์ที่ติดเชื้อ นกสวยงามที่นำเข้ามาอย่างผิดกฏหมายจะไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง หรือรักษาจะเป็นพาหะของโรค
               การติดเชื้อทางระบบหายใจ สามารถวินิจฉัยได้ทางซีโรโลยี ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง แม้ว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีประวัติการสัมผัสกับสัตว์ปีกโดยตรง แต่ก็มีรายงานว่า ละอองของวัตถุติดเชื้อที่ปนเปื้อนตามใบหญ้า หรือดิน เช่น การตัดหญ้า เมื่อเกิดการระบาดโรคแล้ว แนะนำให้สวมอุปกรณ์ป้องกันที่มักมีนกธรรมชาติ กิจกรรมที่มีโอกาสสัมผัสกับมูลสัตว์ปีกโดยตรง เช่น การตัดหญ้า บุคลากรที่มีโอกาสสัมผัสโรคไข้นกแก้วจากการทำงาน ได้แก่ คนงานในร้านขายสัตว์เลี้ยง เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก พนักงานในโรงงานแปรรูปการผลิตสัตว์ปีก และสัตวแพทย์     

เอกสารอ้างอิง

ProMED. 2018. PSITTACOSIS - ARGENTINA: (ENTRE RIOS). [Internet]. [Cited 2018 Feb 8]. Available from: http://www.promedmail.org/
ภาพที่ ๑ โรคไข้นกแก้ว เป็นโรคติดต่อสู่มนุษย์ (แหล่งภาพ: https://pixabay.com/en/parrot-amazon-animals-bird-green-2756488/) 

วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กลุ่มสวัสดิภาพสัตว์ประกาศชัยเหนือไก่สหรัฐฯ

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ปฏิเสธข้อเรียกร้องของอุตสาหกรรมสัตว์ปีกที่จะเพิ่มความเร็วไลน์ตรวจคุณภาพซาก
                สภาไก่แห่งชาติร้องเรียนจ่อหน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยอาหารสหรัฐฯ หรือเอฟซิส ตั้งแต่กันยายนที่ผ่านมา ร้องขอระบบการสละสิทธิ์เพื่อให้ยกเว้นโรงงานแปรรูปการผลิตจากกฏระเบียบว่าด้วย การกำหนดความเร็วไลน์การผลิต ๑๔๐ ตัวต่อนาทีให้เป็นระดับความเร็วไลน์สูงสุด คำร้องของสภาไก่แห่งชาติถูกโต้แย้งโดยองค์กรสวัสดิภาพสัตว์ ความเมตตาต่อสัตว์ที่เป็นสหภาพขององค์การคุ้มครองสัตว์ โดยรวมเอาสถาบันสวัสดิภาพสัตว์ และชมรมด้านมนุษยธรรมของสหรัฐอเมริการ่วมกันตำหนิคำร้องเรียนดังกล่าวอย่างแข็งขัน ยิ่งกว่านั้น ศูนย์กฏหมายสำหรับผู้มีฐานะยากจนทางตอนใต้ และกลุ่มคุ้มครองผู้ใช้แรงงานก็ยังร่วมต่อต้านคำร้องของสภาไก่แห่งชาติเช่นกัน โดยเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้แรงงานที่ทำงานภายใต้สภาวะที่เป็นอันตราย และยังเพิ่มโอกาสการปนเปื้อนอาหารมากขึ้น
               การตรวจซากไก่รายตัว ตามจดหมายถึงสภาไก่แห่งชาติ ประธานเอฟซิส ไมเคิล บราวน์ อ้างว่า อุตสาหกรรมสัตว์ปีกยังไม่มีข้อมูลที่จะแสดงว่า ผู้ตรวจสอบคุณภาพซากยังสามารถตรวจสอบซากไก่รายตัวที่ความเร็วไลน์การผลิตสูงกว่าที่อนุญาตได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ระบบการตรวจสอบคุณภาพซากใหม่ อย่างไรก็ตาม เอฟซิสจะยังคงอนุโลมโรงงานแปรรูปสัตว์ปีก ๒๐ แห่งที่ได้รับอนุญาตยกเว้น เพื่อให้แปรรูปการผลิตได้ที่ความเร็วไลน์การผลิต ๑๗๕ ตัวต่อนาทีได้ เอฟซิสได้รับข้อคิดเห็นผ่านทางช่องทางออนไลน์กว่า ๑๐๐,๐๐๐ ความเห็นเกี่ยวกับคำร้องของสภาไก่แห่งชาติ ส่วนใหญ่มาจากพนักงานภาคเอกชน ส่วนการผลิตอาหารที่มีข้อคิดเห็นตรงกันข้ามกับคำร้องของสภาไก่แห่งชาติ   
               สภาไก่แห่งชาติแสดงความผิดหวังมากที่ถูกปฏิเสธคำร้องดังกล่าว แต่ก็ยังมองอีกด้านหนึ่งว่าจะยังมีกำลังใจต่อการก้าวต่อไปในอนาคตอันใกล้สำหรับโรงงานสัตว์ปีกที่เรียกร้องให้เพิ่มความเร็วไลน์ผ่านระบบการสละสิทธิ์ ในทางตรวกันข้าม วันธณะ บาลา ตัวแทนองค์กรความเมตตาต่อสัตว์อ้างว่า การตัดสินใจของกระทรวงเกษตรครั้งนี้จะช่วยป้องกันการสร้างความทรมานให้กับไก่หลายพันล้านตัวในแต่ละปี
               ข้อเท็จจริงของโรงฆ่าไก่  การใช้ความเร็วไลน์สูงจนทำให้ขั้นตอนการฆ่าไก่ไม่ทันต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ไก่มีชีวิตหลุดรอดมาจนถึงขั้นตอนการลวกน้ำร้อน และถูกตัดแยกหัว และขาออกจากกันโดยไม่ผ่านการทำให้สลบอย่างเหมาะสม ไก่ยังมีสติสัมปัญชญะ และรับรู้ถึงความเจ็บปวด องค์กรด้านสวัสดิภาพสัตว์ต่างโห่ร้องปรบมือแสดงความชื่นชมต่อการตัดสินใจของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ที่อดทนต่อข้อเรียกร้องของผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีกที่ไม่มีความใส่ใจ ปล่อยปละให้มีการฆ่าที่ผิดพลาด จนทำให้สถานภาพของผู้บริโภค พนักงาน และสัตว์ปีกเดินทางไปในวิถีทางที่เป็นอันตราย ศูนย์กฏหมายสำหรับผู้มีฐานะยากจนทางตอนใต้ แสดงความพอใจต่อคำตัดสิน แต่ยังเห็นว่า ปัญหาด้านความปลอดภัย และสุขภาพในโรงงานแปรรูปสัตว์ปีกยังนิยมใช้ความเร็วไลน์ที่เร็วมาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพ และความปลอดภัยของพนักงาน
เอกสารอ้างอิง


ภาพที่ ๑ เอฟซิสอ้างว่าได้รับความคิดเห็นทางสื่อออนไลน์มากกว่าแสนความเห็นต่อข้อเสนอของสภาไก่แห่งชาติ (แหล่งภาพ: EPA/Narong Sangnak)

วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วิจัยพบแล้ว!!! ทำไมพ่อไก่ไม่หูดับก็ขันเสียงดังขนาดนั้น?

การวิเคราะห์เสียงขันของพ่อไก่ดังมากกว่า ๑๐๐ เดซิเบลเท่ากับเสียงเลื่อยไฟฟ้า ผู้ที่ปฏิบัติงานกับเลื่อยไฟฟ้าโดยไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง อาจมีอาการหูตึง หูหนวกได้ เนื่องจาก การทำลายเซลล์ขนขนาดเล็กในหูชั้นใน แต่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอนท์เวิร์พ และมหาวิทยาลัยเกนท์ เบลเบี่ยม ค้นพบสาเหตุที่พ่อไก่จะไม่ได้รับความเจ็บปวดจากเสียงขันของตัวเองจากคุณลักษณะพิเศษของเซลล์ขนภายในหูตัวเอง
รายงานการวิจัยตีพิมพ์ในวารสารด้านสัตววิทยากล่าวถึงวิธีการติดตั้งไมโครโฟนขนาดเล็กไว้ใกล้หูของพ่อไก่ทดลอง เพื่อตรวจวัดความดังของเสียงขันว่าดังระดับเท่าไร และเครื่องสแกนโทโมกราฟฟีโดยใช้ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลภายในกระโหลกของสัตว์ นักวิจัยพบว่า ครึ่งหนึ่งของเยื่อแก้วหูถูกปกคลุมโดยเนื้อเยื่ออ่อน ที่ช่วยลดระดับเสียงที่เข้ามา และยังพบว่า เมื่อพ่อไก่เตรียมโก่งคอขัน วัสดุที่ปกคลุมรูหูจะปกคลุมช่องรูหูได้อย่างสมบูรณ์ เปรียบเสมือนเอียร์พลัก (Ear plug) ที่นิยมใช้ลดระดับเสียงระหว่างการปฏิบัติงานในพื้นที่เสียงดัง นักวิจัยยังพบอีกว่า ไก่ยังมีสิ่งที่เหนือกว่ามนุษย์อีกอย่างคือ เซลล์ขนในช่องหูสามารถเจริญเติบโตใหม่ได้ โดยเฉพาะ จะเป็นประโยชน์มากเมื่อระดับความดันเสียงจากการขันดังไปถึง ๑๔๒.๓ เดซิเบล พ่อไก่มีพฤติกรรมแข่งกันขันให้เสียงดังสูงที่สุด เพื่อประกาศให้ทุกตัวที่ได้ยินเสียงของมันรู้ว่า แม่ไก่ที่แวดล้อมพ่อไก่อยู่เป็นของมันนะ ห้ามใครมาข้องแวะนะจ๊ะ  
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2018. Research: Why roosters don’t go deaf. [Internet]. [Cited 2018 Jan 31]. Available from: http://www.poultryworld.net/Home/General/2018/1/Research-Why-roosters-dont-go-deaf-242580E/


ภาพที่ ๑ นักวิจัยพบว่า เมื่อพ่อไก่โก่งคอขัน เนื้อเยื่อชนิดหนึ่งที่ปกคลุมช่องหูอย่างสมบูรณ์จะทำหน้าที่ปิดช่องหูได้อย่างสมบูรณ์คล้ายกับเอียร์พลัก (แหล่งภาพ Wikimedia/Haeferl) 

วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

นักวิจัยอังกฤษจับตาหวัดนกกลายพันธุ์ติดมนุษย์

คณะนักวิจัยอังกฤษ ๒ แห่งได้รับรางวัลจากการศึกษาเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่กลายพันธุ์ติดต่อสู่มนุษย์ และเชื่อว่าจะเป็นเหตุสำคัญของการระบาดใหญ่
               สภาวิจัยวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และเทคโนโลยีชีวภาพให้ทุนกับสถาบันเพอร์ไบรต์ และวิทยาลัยอิมพีเรียล เพื่อศึกษาเชื้อไวรัสไข้หวัดนกกลายพันธุ์จนทำให้เชื้อไวรัสติดต่อเข้าสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้อย่างรวดเร็ว เริ่มจากคำถามว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดจะมีโอกาสเป็นภัยร้ายแรงต่อมนุษย์จากการระบาดใหญ่ไปทั่วโลก อัตราการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก โดยเฉพาะ ในเอเชีย ที่มีการหมุนเวียนของโรคไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ปีกอยู่ในระดับสูง มนุษย์มีโอกาสสัมผัสกับสัตว์ปีกเป็นประจำ และระบบความปลอดภัยทางชีวภาพต่ำ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่กระจายของโรคจากสัตว์ปีกสู่มนุษย์ได้ง่าย นักวิทยาศาสตร์จากเพอร์ไบรต์จับตามองยีนของเอช ๙ เอ็น ๒ เพื่อหาว่า ลักษณะทางพันธุกรรมใดที่จะทำให้เชื้อไวรัสมีโอกาสกลายพันธุ์ติดอต่อสู่โฮสต์ที่ไม่ใช่สัตว์ปีกได้อย่างรวดเร็ว ดร.ฮอลลี เชลตัน หัวหน้ากลุ่มวิจัยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่กล่าวว่า ความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มากขึ้นในสัตว์จะช่วยให้เราเข้าใจคุณลักษณะทางพันธุกรรม เพื่อทำนายว่า เชื้อไวรัสใดที่อาจเป็นสาเหตุของการระบาดใหญ่ในมนุษย์โดยการจับตามองการกลายพันธุ์อย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นจนทำให้เอช ๙ เอ็น ๒ ติดต่อสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีสายพันธุ์อื่นๆที่มีโอกาสกลายพันธุ์ด้วยอัตราเร็วเหมือนกันหรือไม่ และคุณลักษณะใดที่ช่วยให้เชื้อไวรัสมีโอกาสปรับตัวสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างรวดเร็ว
สถาบันเพอร์ไบรต์ ได้รับทุนวิจัยนิวตันจากบีบีเอสอาร์ซี เพื่อจับตาโรคสัตว์ปีกที่เป็นสาเหตุของโรคลิวโคซิส และไข้หวัดนก คณะนักวิจัยนำโดย ดร. ยองเสี่ยว เหยา และศาสตราจารย์มิวเนอร์ อิคบัล กำลังประสานงานกับสถาบันวิจัยจากจึนผ่านศูนย์ความเป็นเลิศอังกฤษ และจีนสำหรับวิจัยด้านโรคสัตว์ปีก โดยศาสตราจารย์มิวเนอร์ อิคบัล จะถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในภาคการเลี้ยงสัตว์ปีกจีนที่พยายามหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากการให้วัคซีนปัจจุบัน และกลายเป็นภัยอันตรายต่อมนุษย์
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2018. Scientists to look into how rapidly bird flu can adapt to infect humans. [Internet]. [Cited 2018 Feb 2]. Available from: http://www.poultryworld.net/Health/Articles/2018/2/Scientists-to-look-into-how-rapidly-bird-flu-can-adapt-to-infect-humans-243947E/?cmpid=NLC|worldpoultry|2018-02-02|Scientists_to_look_into_how_rapidly_bird_flu_can_adapt_to_infect_humans          
ภาพที่ ๑ แม้ว่า เอช ๗ เอ็น ๙ ยังไม่มีหลักฐานว่า สามารถถ่ายทอดจากมนุษย์สู่มนุษย์ ปัจจุบันก็ยังไม่มีวิธีการพิสูจน์ว่า เชื้อดังกล่าวจะสามารถติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์ได้ต่อไปในอนาคตหรือไม่ (แหล่งภาพ James Gathany/ Public Health Image Library, PHIL)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...