การวิเคราะห์เสียงขันของพ่อไก่ดังมากกว่า ๑๐๐
เดซิเบลเท่ากับเสียงเลื่อยไฟฟ้า ผู้ที่ปฏิบัติงานกับเลื่อยไฟฟ้าโดยไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง
อาจมีอาการหูตึง หูหนวกได้ เนื่องจาก การทำลายเซลล์ขนขนาดเล็กในหูชั้นใน
แต่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอนท์เวิร์พ และมหาวิทยาลัยเกนท์ เบลเบี่ยม
ค้นพบสาเหตุที่พ่อไก่จะไม่ได้รับความเจ็บปวดจากเสียงขันของตัวเองจากคุณลักษณะพิเศษของเซลล์ขนภายในหูตัวเอง
รายงานการวิจัยตีพิมพ์ในวารสารด้านสัตววิทยากล่าวถึงวิธีการติดตั้งไมโครโฟนขนาดเล็กไว้ใกล้หูของพ่อไก่ทดลอง
เพื่อตรวจวัดความดังของเสียงขันว่าดังระดับเท่าไร
และเครื่องสแกนโทโมกราฟฟีโดยใช้ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลภายในกระโหลกของสัตว์
นักวิจัยพบว่า ครึ่งหนึ่งของเยื่อแก้วหูถูกปกคลุมโดยเนื้อเยื่ออ่อน ที่ช่วยลดระดับเสียงที่เข้ามา
และยังพบว่า เมื่อพ่อไก่เตรียมโก่งคอขัน วัสดุที่ปกคลุมรูหูจะปกคลุมช่องรูหูได้อย่างสมบูรณ์
เปรียบเสมือนเอียร์พลัก (Ear plug) ที่นิยมใช้ลดระดับเสียงระหว่างการปฏิบัติงานในพื้นที่เสียงดัง
นักวิจัยยังพบอีกว่า ไก่ยังมีสิ่งที่เหนือกว่ามนุษย์อีกอย่างคือ เซลล์ขนในช่องหูสามารถเจริญเติบโตใหม่ได้
โดยเฉพาะ จะเป็นประโยชน์มากเมื่อระดับความดันเสียงจากการขันดังไปถึง ๑๔๒.๓ เดซิเบล
พ่อไก่มีพฤติกรรมแข่งกันขันให้เสียงดังสูงที่สุด เพื่อประกาศให้ทุกตัวที่ได้ยินเสียงของมันรู้ว่า
แม่ไก่ที่แวดล้อมพ่อไก่อยู่เป็นของมันนะ ห้ามใครมาข้องแวะนะจ๊ะ
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2018. Research: Why roosters don’t go deaf. [Internet]. [Cited 2018 Jan 31]. Available from: http://www.poultryworld.net/Home/General/2018/1/Research-Why-roosters-dont-go-deaf-242580E/
ภาพที่ ๑ นักวิจัยพบว่า
เมื่อพ่อไก่โก่งคอขัน เนื้อเยื่อชนิดหนึ่งที่ปกคลุมช่องหูอย่างสมบูรณ์จะทำหน้าที่ปิดช่องหูได้อย่างสมบูรณ์คล้ายกับเอียร์พลัก
(แหล่งภาพ Wikimedia/Haeferl)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น