วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

บล๊อกเชนเทคโนโลยีสู่ระบบสุขอนามัยอัจฉริยะในการผลิตสัตว์ปีก

บริษัทผู้ผลิตพันธุ์ไก่รายใหญ่ของโลกร่วมกับไอบีเอ็ม นำเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยอิสระจากคนกลาง เพื่อนำไปสู่ความปลอดภัยของพนักงาน และสวัสดิภาพสัตว์ผ่านกระบวนการสุขอนามัยอัจฉริยะ
               คุณประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยอิสระจากคนกลาง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยผู้เล่นรายสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก กำลังลงมาสู่ภาคโรคฟักไข่ไก่แล้ว ขณะนี้ดูเหมือนว่าจะมีนวัตกรรมใหม่อย่างท่วมท้นมาแล้ว บริษัทด้านเทคโนโลยีบางแห่งได้ก้าวล้ำนำหน้าไปแล้ว มาร์ติน คิง กรรมการผู้จัดการบริษัท มีประสบการณ์ในธุรกิจสัตว์ปีกมานาน เล็งเห็นโอกาสในการสร้างความแตกต่างด้านความปลอดภัยของพนักงาน และสวัสดิภาพสัตว์ แนวความคิดนี้จุดประกายเมื่อ ๕ ปีที่แล้ว โจทย์ที่ตั้งไว้คือ เทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงฟักไข่ สวัสดิภาพของลูกไก่ และลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ได้อย่างไร ณ เวลานั้นเมื่อฟาร์มต้องการลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียก็จะคิดถึงยาปฏิชีวนะก่อนเป็นอันดับแรก จึงหันมาให้ความสำคัญกับวิธีการลดปริมาณเชื้อที่เวลาเมื่อลูกไก่จิกเปลือกครั้งแรกเพื่อพยายามออกจากไข่ ตามปรกติถูกควบคุมโดยวิธีทางสุขอนามัยคือ ฟอร์มาลิน บริษัทผู้ผลิตพันธุ์ไก่ตั้งโจทย์นี้ให้กับบริษัทด้านเทคโนโลยี เพื่อเล็งหาวิธีการจัดการวัตถุอันตรายนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อความปลอดภัยของพนักงาน และวิธีการควบคุมขนาดของสารเคมี และเพิ่มสวัสดิภาพของลูกไก่ให้ดีขึ้น กลายเป็นระบบไร้การสัมผัส เพื่อจัดการฟอร์มาลินได้อย่างเบ็ดเสร็จ ตัดโอกาสรับสารเคมีอันตรายโดยไม่ตั้งใจ และจัดการได้ง่าย ฟอร์มาลินถูกนำส่ง และเก็บไว้ภายนอกโรงฟักในห้องที่ออกแบบไว้เฉพาะ จากนั้นจึงส่งมาตามท่อที่หุ้มไว้อย่างแน่นหนาส่งไปยังตำแหน่งที่มีการใช้งาน ฝัก หรือพอดเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งด้วยเทคโนโลยีสูง ระบบนี้จะมีคามปลอดภัยมากขึ้นสำหรับพนักงาน โดยมนุษย์จะไม่มีการสัมผัสกับฟอร์มาลินที่นำส่งไปสู่โรงฟัก และยังมีกระบวนการระบายอากาศออกไปอีกด้วย
               ระบบนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อสวัสดิภาพของลูกไก่ เนื่องจาก จะเป็นระบบที่จ่ายฟอร์มาลินในขนาดที่ถูกต้องที่ตำแหน่งที่เหมาะสม และการใช้ขนาดที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้เราสามารถลดระดับของสารฟอร์มาลินลงได้ ผลการทำงานของระบบจะมีการประเมินซ้ำโดยการทดสอบทางจุลชีววิทยา ขนาดของแก๊สที่นำเข้าสู่ระบบจะถูกควบคุมอย่างละเอียด จัดการ และตรวจติดตามอย่างทันเหตุการณ์ โดยสามารถควบคุม และตรวจติดตามได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง และสามารถตรวจดูสิ่งแวดล้อมภายในโรงฟักได้ทุก ๖๐ วินาที เพื่อตรวจสอบระดับพีพีเอ็มของแก๊ส และสามารถดูย้อนหลังได้มากกว่า ๓ วัน ทั้งขนาด โดยสามารถทำเป็นกราฟ และตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมได้                     
               เอกลักษณ์ในการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมจุดที่สำคัญ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ความชื้น และความดันภายในห้อง ดังนั้น การตรวจติดตามระบบจึงสามารถมองเห็นปัญหาได้เร็วที่สุด และสามารถมั่นใจได้ว่า ระบบสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง โดยระบบที่ดีนี้จะช่วยลดขนาดฟอร์มาลินต่อลูกไก่ลงได้เป็นการเพิ่มสวัสดิภาพสัตว์ให้ดีขึ้นอีก รวมถึง คุณภาพลูกไก่ก็จะดีไปด้วย เนื่องจากความเครียดที่ลดลง และไม่ต้องเผชิญกับปัญหาการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย  
               กระบวนการ และระบบที่ออกแบบขึ้นมาใหม่นี้เริ่มต้นใช้ที่เวลาเมื่อลูกไก่จิกเปลือกครั้งแรก แต่ได้ถูกขยายต่อไปยังกระบวนการสุขอนามัยของตู้ฟักที่ว่างเปล่า เพื่อให้ปลอดภัย และสะอาด ระบบนี้สามารถใช้พ่นหมอกไข่ก่อนเริ่มการฟักไข่ เป็นการช่วยทั้งในกระบวนการ และเครื่องจักร

เทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยอิสระจากคนกลาง
               ระบบนี้เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยอิสระจากคนกลาง หรือบล็อกเชน เจ้าตลาดผู้ค้าปลีก และไอทีกำลังสนใจในการรวบรวมข้อมูลแหล่งผลิต หรือฟาร์มเลี้ยงไก่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค และห่วงโซ่การขายสินค้า ด้วยความร่วมมือกับเจ้าตลาดไอทีอย่างไอบีเอ็มจึงเป็นการเปลี่ยนข้อมูลดิบนำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ไอบีเอ็มมองข้อมูลจากลูกไก่ไม่ใช่เพียงแหล่งที่มา หรือฟาร์มเลี้ยงไก่ แต่ยังวิเคราะห์ผ่านซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า วัตสันเพื่อสร้างข้อมูลทางธุรกิจผ่านข้อมูลที่มีการเชื่อมโยงร่วมกับปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น พันธุกรรม การควบคุมโรค และภูมิอากาศ เป็นต้น    

อนาคตของข้อมูลสารสนเทศ
               อนาคตเป็นเรื่องของข้อมูลอาหาร การตรวจวัด และการสร้างความเชื่อมั่น รวมถึง ประสิทธิภาพการผลิต ดังนั้น โซนาส จึงหวังว่าจะเป็นผู้เล่นสำคัญในการจุดประกายตอบโจทย์ความต้องการของสินค้าอาหารประเภทเนื้อไก่ แหล่งโปรตีนชั้นนำของโลก และเชื่อว่า ระบบสุขอนามัยอัจฉริยะนี้จะช่วยทดแทนความปรารถนาต้องการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์ม ในเวลานี้เป็นจุดเริ่มต้นของระบบสุขอนามัยอัจฉริยะ และจะต่อยอดไปที่ฟาร์มในขั้นตอนถัดไป   

โรงฟักซทแรท-เฟิด ต้นแบบของอะเวียเจน
               ผู้ผลิตพันธุ์ไก่ยักษ์ใหญ่อย่างอะเวียเจนมีแหล่งผลิตสำคัญที่เมืองซแทรด-เฟิด ทั้งพ่อแม่พันธุ์ ปู่ย่าพันธุ์ และทวดพันธุ์ ในแต่ละวันมีการฟักไข่ทั้งเพื่อใช้ภายใน และส่งออก โดยมีสถานะคอมพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่ง หมายความว่า หากสหราชอาณาจักรทั้งประเทศ หรือบางบริเวณเป็นบวกต่อโรคไข้หวัดนก ลูกไก่ที่ผลิต และส่งออกของบริษัทจะยังคงสามารถส่งออกได้โดยไม่มีอุปสรรค

เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2018. Smart sanitiser cutting human contact with formalin. [Internet]. [Cited 2018 Mar 23]. Available from: http://www.poultryworld.net/Health/Articles/2018/3/Smart-sanitiser-cutting-human-contact-with-formalin-263754E/?cmpid=NLC|worldpoultry|2018-03-23|Smart_sanitiser_cutting_human_contact_with_formalin

ภาพที่ ๑ สิ่งท้าทายในการผลิตในโรงฟักคือ การสร้างความปลอดภัยต่อพนักงานระหว่างการผลิตจากสารที่เป็นพิษในระบบสุขอนามัย (แหล่งภาพ: Aviagen)

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561

ผลวิจัยล่าสุด กรดอินทรีย์ลดไบโอฟิลม์ของซัลโมเนลลา

การใช้ผลิตภัณฑ์กรดอินทรีย์ กับการออกฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรีย และไบโอฟิลม์ต่อเชื้อ ซัลโมเนลลลา เอนเทอริคา จากสิ่งแวดล้อมในฟาร์มไก่ไข่
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียของกรดอินทรีย์ที่ผสมน้ำเพื่อต่อต้านเชื้อ ซัลโมเนลลลา เอนเทอริคา และตรวจสอบความไวรับของไบโอฟิลม์ต่อเชื้อ ซ. ไทฟิมูเรียม ต่อผลิตภัณฑ์กรดอินทรีย์ ๓ ชนิด ได้แก่ เอ บี และซี แล้วประเมินความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถหยุดยั้ง และฆ่าเชื้อแบคทีเรียเชื้อ ซัลโมเนลลลา เอนเทอริคา ได้ ไบโอฟิลม์จากเชื้อ ซ. ไทฟิมูเรียม ที่เพาะเลี้ยงมาเป็นเวลา ๓ ถึง ๕ วันที่อุณหภูมิ ๒๒ ± ๒ องศาเซลเซียสโดยใช้ระบบ MBEC assay system โดยใช้เวลา ๓๐ ถึง ๙๐ องศาเซลเซียสที่ความเข้มข้น ๐.๒ และ ๐.๔ เปอร์เซ็นต์ ไม่พบความแตกต่างระหว่างซีโรวาร์สำหรับความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถหยุดยั้ง และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ผลิตภัณฑ์ ๒ ชนิด (เอ และซี) สามารถลดเซลล์ของเชื้อที่มีชีวิตจากไบโอฟิลม์ โดยมีความแปรผันตามตามขนาดยา และระยะเวลา อายุของไบโอฟิลม์ที่เพิ่มขึ้นมิได้ส่งผลให้ความต้านทานต่อกรดอินทรีย์เพิ่มขึ้น ไม่มีผลิตภัณฑ์ชนิดใดสามารถกำจัดเซลลืไบโอฟิลม์ได้ไม่ว่าจะเป็นความเข้มข้น หรือระยะเวลาเท่าใดก็ตาม องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาการสัมผัส และความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์กรดอินทรีย์เป็นปัจจัยสำคัญในการลดเซลล์ไบโอฟิลม์ที่มีชีวิต การศึกษาครั้งนี้นับเป็นการขยายความเข้าใจเกี่ยวกับความไวของไบโอฟิลม์ของเชื้อซัลโมเนลลาต่อผลิตภัณฑ์กรดอินทรีย์ที่มีการจำหน่ายเชิงพาณิชย์ การค้นพบครั้งนี้ส่งผลต่อการใช้ การพัฒนา และการปรับขนาดที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์กรดอินทรีย์      

เอกสารอ้างอิง

Pande et al. 2018. Anti-bacterial and anti-biofilm activity of commercial organic acid products against Salmonella enterica isolates recovered from an egg farm environment. Avian Pathol. 47(2): 189-196.  


วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561

ไรไก่...ปัญหาสำคัญกวนใจแม่ไก่ในอิยิปต์

ความชุกของไร และผลกระทบต่อฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ (กัลลัส กัลลัส โดเมสติคัส) ในอิยิปต์ โดยการวิเคราะห์สารตกค้างเดลตาเมธรินในไข่ และเนื้อเยื่อ
               การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการในฟาร์มไก่ไข่ ๖ แห่ง โดยสามแห่งมีปัญหาไร และอีกสามแห่งไม่มีไรในสองจังหวัดของประเทศอิยิปต์เพื่อแสดงให้เห็นถึง (๑) ความชุกของไรแต่ละชนิดในฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ (๒) ผลของปัญหาไรต่อสุขภาพ และผลการเลี้ยงไก่ (๓) ประสิทธิภาพของเดลตาเมธริน (ดีเอ็มที) ต่อการควบคุมไร (๔) การตกค้างของดีเอ็มทีในไข่ และเนื้อ ผลการศึกษาไร ๑๒ ชนิดในฟาร์มไก่ไข่ที่เกิดปัญหา นับเป็นรายงานที่มีการบันทึกไว้เป็นครั้งแรกในประเทศอิยิปต์ โดยพบว่า เดอร์มานิสซุส กัลลิเน เป็นไรที่มีโอกาสพบได้บ่อยที่สุด ๒๙๕ จาก ๗๒๐ ตัวอย่างคิดเป็น ๔๐.๙ เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว การพบปัญหาไรมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญที่ความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ ต่ออัตราการตาย การกินอาหาร อัตราการไข่ และค่าโลหิตวิทยา การใช้ยาฆ่าแมลงดีเอ็มทีไม่มีผลต่อผลการเลี้ยง แต่ภายหลังการพ่นยาฆ่าแมลง อาจสังเกตเห็นอาการทางระบบหายใจเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง ไรเหนี่ยวนำให้เกิดรอยโรคที่ผิวหนัง ตัวอย่างไข่ไก่พบระดับของสารตกค้างดีเอ็มทีสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ กล้ามเนื้อ และผิวหนัง ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ สรุปการทดลองได้ว่า รายงานวิจัยครั้งนี้เป็นบันทึกฉบับแรกที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศอิยิปต์ นอกจากนั้น ยาฆ่าแมลงดีเอ็มที (บูท๊อกซ์ ๕๐ อีซี, อินเตอร์เวต, ฝรั่งเศส) ที่พ่นเพียงครั้งเดียวไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ หรือการใช้ทุก ๑ หรือ ๒ เดือน โดยเฉพาะในฟาร์มที่มีปัญหาไรรุนแรงมาก นอกจากนั้น สารตกค้างดีเอ็มทีในไข่ไก่ และเนื้อเยื่อ ควรมีการทบทวนเป็นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อผู้บริโภค               
เอกสารอ้างอิง

Abdelfattah et al. 2018. Prevalence of mites and their impact on laying hen (Gallus gallus domesticus) farm facilities in Egypt, with an analysis of deltamethrin residues in eggs and tissue. Avian Pathol. 47(2): 161-171.  


ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...