วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พบเชื้อ MRSA ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก UK



ตรวจพบเชื้อ LA-MRSA (Livestock-Meticillin Resistant Staphylococcus aureus) จากฟาร์มปศุสัตว์ในสัตว์ปีกที่ East Anglia สหราชอาณจักร ตามรายงานของ Animal Health and Veterinary Laboratories Agency (AHVLA)
     การตรวจพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เป็นการตรวจเฝ้าระวังฟาร์มโดย AHVLA แม้ว่า การติดเชื้อจะไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพสัตว์ปีก และสวัสดิภาพสัตว์ เมื่อสัตว์ปีกถูกเชือด และจำหน่าย เจ้าของฟาร์มจะต้องทำความสะอาด และฆ่าเชื้อจนกว่าจะมั่นใจว่า สัตว์ปีกรุ่นถัดไปจะไม่ติดเชื้อต่อไปเมื่อมาถึงฟาร์ม AHVLA จึงจะตรวจเยี่ยมฟาร์มอีกครั้งหลังจากการปลดสัตว์ปีก และทำความสะอาดฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว เพื่อยืนยันว่า จะไม่พบเชื้อ LA-MRSA อีก   
                ความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อ MRSA จากเนื้อสัตว์ถือว่าต่ำมาก หากมีขั้นตอนด้านสุขอนามัยเป็นอย่างดีระหว่างการประกอบอาหาร เนื้อสัตว์ปีกจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างถูกสุขอนามัย และการประกอบอาหารโดยการให้ความร้อนอย่างทั่วถึง เพื่อทำลายเชื้อแบคทีเรียที่อาจปนเปื้อน ปัจจุบัน เชื้อแบคทีเรีย MRSA มีการแพร่กระจายทั่วไปในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของยุโรป รวมถึง ประเทศที่รับเนื้อสัคว์มาจากสหราชอาณาจักร แต่ยังไม่มีการยืนยันการได้รับเชื้อของมนุษย์จากการบริโภคเนื้อสัตว์แต่อย่างใด
แหล่งที่มา             World Poultry (28/11/13)

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ยูเครนเริ่มส่งออกสัตว์ปีกไปยังสหภาพยุโรป

                MHP ผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศได้เริ่มส่งเนื้อสัตว์ปีกไปยังฝรั่งเศสรวม ๖๐ ตัน และเนเธอร์แลนด์อีก ๒๐ ตัน ขณะที่ผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีกอันดับสองกำลังเตรียมตัวสำหรับการเริ่มส่งออกไปยังยุโรปในเร็วๆนี้ ต้นทุนอาหารสัตว์ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักสำหรับการผลิตเนื้อไก่ในยูเครนราคาถูกกว่าในยุโรปมาก ดังนั้น ผู้ผลิตภายในประเทศรายใหญ่ เช่น MHP และ Agromas ซึ่งสามารถผลิตอาหารสัตว์ใช้เอง ไม่จำเป็นต้องเผชิญกับการแข่งขันในตลาดยุโรป
                ในปี ค.ศ. ๒๐๑๓ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมพยากรณ์ว่า ปริมาณการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกของยูเครนจะถึง ๑๒๐,๐๐๐ ตัน แต่จะมีเพียง ๓,๐๐๐ ถึง ๔,๐๐๐ ตันเท่านั้นที่จะไปตลาดยุโรปได้ อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. ๒๐๑๔ กระทรวงประมง และอาหารวางแผนจะเพิ่มยอดการส่งออกให้ได้ถึง ๒๐,๐๐๐ ตันให้ได้
                เป็นที่น่าจับตามองว่า อนาคตกลุ่มยุโรปตะวันออกกำลังเป็นคู่แข่งสำคัญสำหรับตลาดเนื้อไก่
แหล่งที่มา             Vladislav Vorotnikov (4/11/13)

เพิ่มคำอธิบายภาพ

กระแสฟังชันนัลฟู้ด ไฟเบอร์ในอาหารสุนัข



ไฟเบอร์ หรือเยื่อใยอาหารจากมันฝรั่ง (Potato fiber, PF) ง กำลังถูกพิจารณานำมาใช้เป็นแหล่งไฟเบอร์ชนิดใหม่ในอาหารสุนัข ไฟเบอร์จากมันฝรั่ง ประกอบด้วย ไฟเบอร์ทั้งหมด ๕๕ เปอร์เซ็นต์ แห้ง ๒๙ เปอร์เซ็นต์ โปรตีน ๔ เปอร์เซ็นต์ และไขมันในรูป Acid-hydrolysed fat อีก ๒ เปอร์เซ็นต์
                 สับสเตรตจาก PF ถูกนำมาวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมี เพื่อศึกษาความสามารถในการย่อยได้ และการหมักในห้องทดลอง และสัตว์ทดลอง พบว่าสับสเตรตาก PF ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธี Hydrolytic-enzymatic digestion เพื่อหา OM disappearance และการหมักโดยใช้อุจจาระสุนัข แล้วตรวจวัดคุณสมบัติการหมักที่ ๐, ๓, ๖, ๙ และ ๑๒ ชั่วโมง ขณะที่การทดลองในสัตว์ทดลองใช้สุนัขพันธุ์ผสมเพศเมียจำนวน ๑๐ ตัว อายุระหว่าง ๖.๑๓ ถึง ๐.๑๗ ปี น้ำหนัก ๒๒ ± ๒.๑ กิโลกรัม ใช้สูตรอาหารสัตว์ ๕ สูตรที่มีความเข้มข้นของไฟเบอร์เป็น ๐, ๑.๕, ๓, ๔.๕ หรือ ๖ เปอร์เซ็นต์ในแผนการทดลองแบบ Replicated 5X5 Latin square design สุนัขจะเริ่มปรับให้เข้ากับอาหารเป็นเวลา ๑๐ วัน หลังจากนั้นเก็บอุจจาระในอีก ๔ วันถัดมา ตัวอย่างอุจจาระสดนำมาตรวจวัดค่า pH และการหมักจนได้ผลิตภัณฑ์สุดท้าย การทดลองในห้องทดลอง พบว่า ไฟเบอร์ดิบ และสุก สามารถย่อยได้ด้วยเอนไซม์ ๓๒.๓ และ ๒๗.๙ เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ การทดลองการหมัก พบว่า PF สามารถหมักได้เมื่อใช้เวลาผ่านไป ๙ ชั่วโมง PF ดิบมีสัดส่วนของ อะซีเตต โพรพิโอเนต และกรดไขมันสายสั้นรวม (SCFA) มากกว่า PF สุกเมื่อเวลาผ่านไป ๑๒ ชั่วโมง ผลการทดลองแสดงให้เห็นวา ไม่มีความแตกต่างของทั้ง DM, OM, CP, acid-hydrolyzed fat หรือความสามารถในการย่อยได้ของพลังงานจากอาหารที่มีการผสม PF ในสัดส่วนต่างๆข้างต้น อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการย่อยไฟเบอร์ทั้งหมดมีการเพิ่มขึ้นแบบเส้นตรง (p<0.01) ตามการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้น PF ในอาหาร โดยภาพรวม มีการเพิ่มขึ้นแบบเส้นตรง (p<0.01) ทั้งจากผลการทดลองรายตัว และทั้งหมดตามการลดลง (p<0.01) ของ pH ของอุจจาระ และการเพิ่มขึ้นของ PF ในอาหาร ส่วน Fecal protein catabolite มีระดับต่ำ หรือไม่สามารถตรวจได้ ยกเว้น Spermidine ที่มีการเพิ่มขึ้นแบบเส้นตรงตามความเข้มข้นของ PF   
                ผลการทดลองนี้ บ่งชี้ว่า การผสมมันสำปะหลังในอาหารสุนัขช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหมักได้ดีขึ้น โดยไม่ส่งผลลบต่อความสามารถในการย่อยอาหาร หรือลักษณะของอุจจาระ ดังนี้ มันสำปะหลังสามารถใช้เป็นแหล่งอาหารไฟเบอร์สำหรับอาหารสุนัขได้เป็นอย่างดี
แหล่งที่มา            
Journal of Animal Science 2013, 91 (11): Potato fiber as a dietary fiber source in dog foods
 

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วิจัยใช้มันสำปะหลังเลี้ยงสัตว์



มันสำปะหลังเป็นหนึ่งในวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เจริญได้ดีในฟาร์มประเทศกานา เป็นแหล่งพลังงานแหล่งสำคัญของพลเมือง การใช้มันสำปะหลังเป็นแหล่งอาหารสัตว์สำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง สัตว์ปีก และสุกร ช่วยลดภาระต้นทุนอาหารสัตว์ และเพิ่มการผลิตปศุสัตว์ได้มาก
                รายงานการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ในประเทศกานา เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอาหารโลก พบว่า รายงานการวิจัยจากแอฟริกาตะวันตก แสดงให้เห็นว่า มันสำปะหลังมีศักยภาพใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ หลายประเทศแถบแอฟริกามีข้อจำกัดสำคัญคือ การขาดแคลนอาหารสัตว์ที่ดี อาหารสัตว์ถูกผลิตด้วยต้นทุนที่สูง เนื่องจาก ราคาข้าวโพดที่ส่งผลให้การผลิตสัตว์ปีก และสุกรสูงมากเป็นสัดส่วนประมาณ ๖๐ ถึง ๗๕ เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการผลิตทั้งหมด
                เนื่องจากราคาต้นทุนที่สูง เจ้าของฟาร์มหลายแห่ง โดยเฉพาะผู้ผลิตสุกร กำลังหันมาแสวงหาวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมการเกษตร แม้ว่า มันสำปะหลังจะเป็นวัตถุดิบทดแทนข้าวโพด หรือแหล่งพลังงานในอุดมคติที่น่าสนใจ ผู้ผลิตปศุสัตว์ก็ได้ใช้มันสำปะหลังได้ไม่เต็มที่
                 โจทย์สำคัญสำหรับการขยายกำลังการผลิตปศุสัตว์อย่างยั่งยืนทั่วโลกคือ การแสวงหาวัตถุดิบอาหารสัตว์สำหรับกาผลิตปศุสัตว์ วันนี้เราได้เริ่มแล้วหรือยัง???
แหล่งที่มา             AllAboutFeed (1/11/13)

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ซัลโมเนลลาในสหรัฐฯลดลง ๔๒ เปอร์เซ็นต์



รายงานความชุกของเชื้อซัลโมเนลลาในซากไก่ดิบในสหรัฐฯลดลงประมาณ ๓๔ เปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี ค.ศ. ๒๐๑๓ และลดลง ๑๒๐ เปอร์เซนต์ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
รายงานจาก USDA-FSIS รายงานผลการทดสอบเชื้อซัลโมเนลลา และแคมไพโลแบคเตอร์จากเนื้อดิบ และสัตว์ปีก จากผลการทดสอบตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๐ มิถุนายน ๒๐๑๓ โดยเก็บเฉพาะซากไก่อายุน้อย จำนวนตัวอย่าง ๒,๙๕๕ ตัวอย่าง พบว่า อัตรส่วนตัวอย่างที่มีผลบวกมีเพียง ๒.๖ เปอร์เซนต์เท่านั้น ขณะที่ USDA-FSIS กำหนดมาตรฐานไว้ ๗.๕ เปอร์เซ็นต์สำหรับซากไก่อายุน้อย ขณะเดียวกันก็ทดสอบเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ไปด้วย แม้ว่า เปอร์เซ็นต์การตรวจพบจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากไตรมาสแรกของปี ค.ศ. ๒๐๑๓ แต่ก็ถือได้ว่า ลดลงเกือบ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ นับตั้งแต่ FSIS เริ่มโครงการทดสอบเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์จากซากไก่อายุน้อยหลังการแช่แย็นในปี ค.ศ. ๒๐๑๑
                 จำนวนของผู้ประกอบการที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ ๑ ที่มีผลการดำเนินการที่ดีกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้เมื่อไตรมาสที่แล้ว ในไตรมาที่สองของปี ค.ศ. ๒๐๑๓ พบว่า ๗๐.๑ เปอร์เซ็นต์ของผู้ประกอบการอยู่ในกลุ่มที่ ๑ เปรียบเทียบกับไตรมาสที่แรกที่มีเพียง ๖๗.๖ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นอกเหนือจากนั้น จำนวนของผู้ประกอบการที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ ๓ ลดลงเกือบ ๓๕ เปอร์เซ็นต์ บ่งชี้ว่า มีการพัฒนา และปรับปรุงมาตรการด้านสุขศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
                โดยภาพรวม ผลการดำเนินงานในไตรมาสนี้ รายงานบ่งชี้ว่า ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการควบคุมอุบัติการณ์เชื้อซัลโมเนลลา และแคมไพโลแบคเตอร์ในซากไก่อายุน้อย ผู้ประกอบการได้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการอย่างต่อเนื่องดังหลักฐานจากการเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการในกลุ่มที่ ๑ และการลดลงของผู้ประกอบการในกลุ่มที่ ๓ ดังนั้น ถือว่ามาตรฐานของ FSIS ได้บรรลุวัตถุประสงค์ สำหรับซากไก่อายุน้อย หลังจากที่เก็บมาจากชิลเลอร์แล้ว ตามมาตรฐานสำหรับเชื้อซัลโมเนลลาเป็น ๗.๕ เปอร์เซ็นต์ และแคมไพโลแบคเตอร์เป็น ๑๐.๔ เปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเหล่านี้เก็บโดย FSIS เพื่อการทวนสอบ และโรงงานเองก่อนที่ซากจะถูกตัดแต่ง ถอดกระดูก หรือบรรจุทั้งตัว แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานสำหรับชิ้นส่วนไก่ FSIS ได้จัดทำ Baseline เสร็จเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิตปี ค.ศ. ๒๐๑๓ และเตรียมจัดทำเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับชิ้นส่วนไก่ในปี ค.ศ. ๒๐๑๔
                ข่าวนี้เป็นความพยายามกลบข่าวเรื่องอื้อฉาวที่ฟาร์มฟอสเตอร์มีผู้ป่วยทั่วสหรัฐฯกว่าสามร้อยราย และถูกสั่งห้ามนำเข้าอีกหลายประเทศ เพราะก่อนหน้านี้ FSIS ก็พยายามให้ข่าวว่า มาตรการควบคุมเชื้อซัลโมเนลลาในฟาร์มฟอสเตอร์ประสบความสำเร็จ และได้ความร่วมมือจากผู้ประกอบการมากจนออกตัวรับประกันความปลอดภัยเนื้อไก่จากฟาร์มฟอสเตอร์มาแล้ว    
แหล่งที่มา             National Chicken Council (30/10/13)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...