ไฟเบอร์ หรือเยื่อใยอาหารจากมันฝรั่ง (Potato fiber, PF) ง
กำลังถูกพิจารณานำมาใช้เป็นแหล่งไฟเบอร์ชนิดใหม่ในอาหารสุนัข ไฟเบอร์จากมันฝรั่ง
ประกอบด้วย ไฟเบอร์ทั้งหมด ๕๕ เปอร์เซ็นต์ แห้ง ๒๙ เปอร์เซ็นต์ โปรตีน ๔
เปอร์เซ็นต์ และไขมันในรูป Acid-hydrolysed fat อีก ๒
เปอร์เซ็นต์
สับสเตรตจาก PF ถูกนำมาวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมี
เพื่อศึกษาความสามารถในการย่อยได้ และการหมักในห้องทดลอง และสัตว์ทดลอง พบว่าสับสเตรตาก
PF ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธี Hydrolytic-enzymatic
digestion เพื่อหา OM disappearance และการหมักโดยใช้อุจจาระสุนัข
แล้วตรวจวัดคุณสมบัติการหมักที่ ๐, ๓, ๖, ๙ และ ๑๒ ชั่วโมง ขณะที่การทดลองในสัตว์ทดลองใช้สุนัขพันธุ์ผสมเพศเมียจำนวน
๑๐ ตัว อายุระหว่าง ๖.๑๓ ถึง ๐.๑๗ ปี น้ำหนัก ๒๒ ± ๒.๑ กิโลกรัม ใช้สูตรอาหารสัตว์
๕ สูตรที่มีความเข้มข้นของไฟเบอร์เป็น ๐, ๑.๕, ๓, ๔.๕ หรือ ๖
เปอร์เซ็นต์ในแผนการทดลองแบบ Replicated 5X5 Latin square design สุนัขจะเริ่มปรับให้เข้ากับอาหารเป็นเวลา ๑๐ วัน
หลังจากนั้นเก็บอุจจาระในอีก ๔ วันถัดมา ตัวอย่างอุจจาระสดนำมาตรวจวัดค่า pH
และการหมักจนได้ผลิตภัณฑ์สุดท้าย การทดลองในห้องทดลอง พบว่า
ไฟเบอร์ดิบ และสุก สามารถย่อยได้ด้วยเอนไซม์ ๓๒.๓ และ ๒๗.๙ เปอร์เซ็นต์ ขณะที่
การทดลองการหมัก พบว่า PF สามารถหมักได้เมื่อใช้เวลาผ่านไป ๙
ชั่วโมง PF ดิบมีสัดส่วนของ อะซีเตต โพรพิโอเนต
และกรดไขมันสายสั้นรวม (SCFA) มากกว่า PF สุกเมื่อเวลาผ่านไป ๑๒ ชั่วโมง ผลการทดลองแสดงให้เห็นวา
ไม่มีความแตกต่างของทั้ง DM, OM, CP, acid-hydrolyzed fat หรือความสามารถในการย่อยได้ของพลังงานจากอาหารที่มีการผสม
PF ในสัดส่วนต่างๆข้างต้น อย่างไรก็ตาม
ความสามารถในการย่อยไฟเบอร์ทั้งหมดมีการเพิ่มขึ้นแบบเส้นตรง (p<0.01) ตามการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้น PF ในอาหาร โดยภาพรวม
มีการเพิ่มขึ้นแบบเส้นตรง (p<0.01) ทั้งจากผลการทดลองรายตัว
และทั้งหมดตามการลดลง (p<0.01) ของ pH ของอุจจาระ และการเพิ่มขึ้นของ PF ในอาหาร ส่วน Fecal
protein catabolite มีระดับต่ำ หรือไม่สามารถตรวจได้ ยกเว้น Spermidine
ที่มีการเพิ่มขึ้นแบบเส้นตรงตามความเข้มข้นของ PF
ผลการทดลองนี้ บ่งชี้ว่า การผสมมันสำปะหลังในอาหารสุนัขช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหมักได้ดีขึ้น
โดยไม่ส่งผลลบต่อความสามารถในการย่อยอาหาร หรือลักษณะของอุจจาระ ดังนี้
มันสำปะหลังสามารถใช้เป็นแหล่งอาหารไฟเบอร์สำหรับอาหารสุนัขได้เป็นอย่างดี
แหล่งที่มา
Journal of Animal Science 2013, 91 (11): Potato
fiber as a dietary fiber source in dog foods
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น