วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

วิจัยเตือนภัย!!! เชื้อดื้อยาในปุ๋ยมูลสัตว์

คนรักสวน ปุ๋ยมูลสัตว์ เช่น ปุ๋ยมูลไก่ ปุ๋ยมูลโคกระบือ นิยมใช้บำรุงดินในช่วงหลายปีที่ผ่านมาตามกระแสความนิยมการเพาะปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ประหยัด และผูกพันกับธรรมชาติ แต่อีกด้านหนึ่ง การใช้ปุ๋ยมูลสัตว์มิได้สวยหรูอย่างที่เราคิด ดังผลการวิจัยตีพิมพ์ล่าสุดท่ามกลางกระแสความวิตกกังวลเรื่องเชื้อดื้อยา  โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ จากตัวอย่างดินที่เก็บตัวอย่างสม่ำเสมอมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๖ โดยนักวิจัยแสดงให้เห็นความพันธ์ระหว่างการใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยบำรุงดิน และการปรากฏยีนส์ดื้อยาปฏิชีวนะในดิน
บทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ Nature Scientific Reports ฉบับนี้เป็นผลการศึกษาที่ใช้เวลายาวนานมาก ที่สถานีวิจัย Askov ในเดนมาร์ก โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ จากตัวอย่างดินที่เก็บตัวอย่างสม่ำเสมอมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๖ โดยนักวิจัยแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยบำรุงดิน และการปรากฏยีนส์ดื้อยาปฏิชีวนะในดิน
ยีนส์ดื้อยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่า เมื่อใดที่การใช้ยาปฏิชีวนะใหม่เข้ามา ยีนส์ดื้อยาก็จะเพิ่มขึ้น เมื่อยาปฏิชีวนะชนิดนั้นถูกเลิกใช้ ยีนส์ดื้อยาก็จะลดลง ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์ ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาระหว่างการตรวจพบเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาล และการตรวจพบยีนส์ดื้อยาในดินภายหลังการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์บำรุงดิน ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษายีนส์ดื้อยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้าแลคแตม โดยเฉพาะ ยาที่นิยมใช้ในทางการแพทย์ และเป็นยีนส์ดื้อยาชนิดแรกๆที่มีรายงานในระบบสุขภาพ
ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ยีนส์ดื้อยาพบได้ในระดับต่ำๆทั้งดินที่ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ และดินที่ใช้ปุ๋ยอนินทรีย์ โดยผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการเพิ่มขึ้นของยีนส์ดื้อยาในดินที่ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ ในช่วงราวปี ๒๕๓๗ การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งเจริญเติบโตลดลง ในเวลาต่อมา จึงพบว่าดินมียีนส์ดื้อยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้า-แลคแตมลงอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ดินที่ใช้ปุ๋ยอนินทรีย์ก็มียีนส์ดื้อยาในระดับที่ต่ำมาก
               ความสัมพันธ์อีกประการหนึ่งคือ ยีนส์ดื้อยาเบต้า แลคแตม ในดินที่เพิ่มขึ้นก็มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการพบยีนส์ดื้อยาในโรงพยาบาล โดยช่วงเวลาที่เริ่มพบยีนส์ดื้อยาเป็นครั้งแรกสอดคล้องกับเวลาช่วงเวลาที่พบยีนส์ดื้อยาอย่างมากมายในดิน
               ระดับของอินทีกรอนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในดินที่ใช้ปุ๋ยมูลไก่ (Manured soil) ตัวอย่างจากในอดีต ยังแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่น่าวิตก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นต้นมา พบว่า ระดับของอินทีกรอนในดินที่ใช้ปุ๋ยมูลไก่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อินทีกรอน ช่วงเร่งให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้น จึงเร่งให้เชื้อเกิดภาวะดื้อยาอย่างรวดเร็ว ศ. เดวิด แกรมแฮม แห่งมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล อธิบายว่า ระดับของอินทีกรอนที่เพิ่มขึ้นหลังปี พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นต้นมา บ่งชี้ว่า แม้ว่าจะพยายามลดภาวะดื้อยาปฏิชีวนะ แต่ก็ยังคงมีการแลกเปลี่ยนยีนส์ดื้อยาได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ควรมีการศึกษาการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์อย่างใกล้ชิด

แหล่งข้อมูล เดวิด แกรมแฮม และเจน โดลฟิง (15/3/16)


ฟาสต์ฟู้ดแบนด์ดัง ชิโปเล่ ปิดเหตุโนโรไวรัส

ชิโปเล่เป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ดังในเมือง Billerica รัฐแมสซาชูเซต ปิดชั่วคราวภายหลังตรวจพบคนงานติดเชื้อโนโรไวรัส โดยคนงานอย่างน้อย ๓ รายมีรายงานป่วยจากการติดเชื้อ
               ร้านชิโปเล่ ในเมือง Billerica ตัดสินใจปิดบริการ เพื่อทำความสะอาดครั้งใหญ่ แม้ว่าจะยังไม่มีรางานลูกค้าป่วยจากการกินอาหารที่ร้านแต่อย่างใด
               ร้านชิโปเล่พึ่งฟื้นจากกระแสระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในหลายร้าน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ พบโนโรไวรัสที่ร้านชิโปเล่ใน Simi Valley รัฐแคลิฟอร์เนีย ตอนนั้น ลูกค้าป่วยไป ๒๔๓ ราย ต่อมาเดือนธันวาคม ก็พบซ้ำอีกในเมืองบอสตัน มีผู้ป่วย ๑๔๓ ราย รวมถึง การระบาดของซัลโมเนลลาใน ๒๒ ร้านที่รัฐมิเนโซตา และวิสคอนซิน มีผู้ป่วย ๖๔ ราย และการระบาดของ อี. โคลัย อีก ๑๑ รัฐ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงพฤศจิกายน มีผู้ป่วยรวม ๖๐ ราย ขณะนี้ ร้านชิโปเล่ ได้ออกมาตรการควมปลอดภัยอาหาร และบังคับใช้อย่างเข้มงวด

แหล่งข้อมูล        Meat &Poultry (3/9/16)

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

สี่วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโรงงานแปรรูปการผลิตไก่

การจัดการก่อนเข้าโรงงานแปรรูปการผลิตอาจสร้างความเสียหายอย่างมาก ทั้งที่มีวิธีการธรรมดาเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้นที่สามารถช่วยให้ผู้ผลิตสามารถนำไก่เดินทางมาถึงโรงงานแปรรูปการผลิตได้อย่างรวดเร็ว
หากขั้นตอนก่อนการฆ่าไก่เนื้อไม่สามารถจัดการให้อยู่ในระดับเดียวกันได้ เนื่องจาก กระบวนการที่หลากหลายของการผลิตไก่เนื้อ ผู้ผลิตก็ไม่สามารถได้รับไก่เนื้อที่มีสภาพดีที่สุดได้ และกระทบต่อผลผลิตของธุรกิจบริษัทได้ในที่สุด การทบทวนขั้นตอนการจับ และการขนขึ้นรถบรรทุก ช่วยให้ลดจำนวนไก่ตาย (DOA) และการคัดซากไก่ทิ้งที่โรงงานแปรรูปการผลิต และสามารถลดความเครียดของพนักงาน ตลอดจนช่วยให้ลดจำนวนแรงงานสำหรับการจับไก่ เพื่อส่งไก่เนื้อเข้าสู่โรงงานแปรรูปการผลิตได้ในที่สุด ๔ วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโรงงานแปรรูปการผลิตไก่เนื้อ
๑. เพิ่มประสิทธิภาพการกระจายกล่องไก่ โดยใช้กว้านผ่อนแรงสำหรับการกระจายกล่องไก่ภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่ ช่วยให้จับไก่ได้รวดเร็ว และผ่อนภาระให้กับทีมจับไก่
               เมื่อกล่องไก่เปล่านำลงจากรถจับไก่แล้ว นำเข้าสู่ภายในโรงเรือน แบ่งเป็นกลุ่มๆละ ๔ ถึง ๘ กล่อง อาจผูกรวมเข้าด้วยกัน แล้วใช้กว้านผ่อนแรงช่วยส่งกระจายไปรอบโรงเรือน โดยการต่อกันไปคล้ายกับรถไฟ การใช้กว้านผ่อนแรงผ่อนแรงเข้ามาช่วยในขั้นตอนการจับไก่ ไม่เพียงเอื้ออำนวยให้การกระจายกล่องไก่ได้อย่างรวดเร็ว ผ่อนภาระให้ทีมจับไก่ ทีมจับไก่จึงมีภาะงานเพียงการดันกล่องไก่ไปตามโครงข่ายของรางพลาสติก เพื่อให้กล่องไก่เคลื่อนที่ได้สะดวกรวดเร็ว
๒. การจับไก่อย่างถูกต้อง หากมีการจับไก่ระหว่างวัน ควรต้อนไก่ให้รวมกันในที่แสงส่วงน้อยโดยใช้ตาข่ายลวดพิเศษ จะช่วยลดความเครียด และจับไก่ได้ง่ายขึ้น เป็นการลดอันตรายต่อไก่ได้เป็นอย่างดี กล่องจับไก่ต้องอยู่ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ดี มิให้เป็นอันตรายต่อไก่ สำหรับความเร็วในการจับไก่ ควรถูกจับ และใส่ลงในกล่องครั้งละ ๒ ตัว การจับไก่ต้องจับทั้งตัว ไม่จับขา โดยรวบปีกไม่ให้ไก่กระพือปีก เนื่องจาก อาจทำให้ปีกหักได้  
               เมื่อบรรจุไก่ใส่กล่องเรียบร้อยแล้ว และนำออกจากโรงเรือน พึงระมัดระวังไม่วางกล่องจับไก่ใกล้กันจนเกินไป เนื่องจาก เป็นการจำกัดการเคลื่อนที่ของอากาศระหว่างกล่อง และขัดขวางการไหลผ่านของพัดลม ส่งผลให้เกิดความร้อน และความเครียดต่อไก่เนื้อ เมื่อเตรียมกล่องไก่เรียบร้อยแล้ว ควรเคลื่อนย้ายในแนวระนาบ หรือใช้สายพานนำไปสู่กระบะรถบรรทุก แล้วใช้อุปกรณ์ช่วยยกขึ้นรถบรรทุก
๓. การใช้อุปกรณ์ช่วยยกขึ้นรถบรรทุก การยกกล่องไก่ขึ้นรถบรรทุก ตามปรกติก็จะใช้คนงาน ๑ หรือ ๒ คน นับเป็นกิจกรรมที่เหน็ดเหนื่อยอย่างมาก ภายในระยะทางประมาณ ๖ เมตร หากใช้เครื่อมือสำหรับผ่อนแรงก็จะลดแรงงานเหลือคนงานทำงานลำพังเพียงคนเดียว ส่วนอีกคนหนึ่งสามารถเปลี่ยนไปทำงานในกิจกรรมอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น การจัดกล่องจับไก่บนรถบรรทุกให้เป็นระเบียบเป็นต้น
๔.  การจัดเรียงกล่องไก่บนรถบรรทุก เมื่อกล่องไก่ถูกยกขึ้นสู่กระบะรถบรรทุกเรียบร้อยแล้ว โดยทั่วไปก็จะใช้คนงาน ๓ ถึง ๔ คน เพื่อจัดเรียงกล่องจับไก่ ขณะที่ กล่องจับไก่ที่บรรจุไก่อยู่เต็มกล่องเคลื่อนที่ไปโดยกำลังของคนงาน ที่นิยมใช้ตะขอเกี่ยวเพื่อให้จัดการได้ง่ายขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียมากกว่า เนื่องจาก วิธีการดังกล่าวทำให้คนงานเหน็ดเหนื่อยมาก กล่องไก่ชำรุดได้ง่าย เนื่องจาก หากใช้ตะขอไม่ระมัดระวังก็อาจทำลายโครงสร้างของกล่องไก่ได้ นั่นก็คือ ต้องเสียเงินสำหรับซ่อมแซม และพื้นกระบะรถบรรทุกที่ชำรุดก็ยังอาจเป็นอันตรายต่อทั้งคนงาน และไก่ได้อีกด้วย  
               การแก้ไขปัญหาเหล่านี้แทนที่จะใช้ตะขอสำหรับการจัดกล่องไก่ ควรใช้รถเข็นที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสามารถรับน้ำหนักกล่องไก่ที่มีไก่บรรจุเต็มจำนวน ๘ ถึง ๑๐ กล่อง คนงานสามารถเข็นลากได้ง่าย นอกจากช่วยป้องกันพื้นกระบะรถบรรทุก และกล่องไก่ แต่ยังช่วยให้กล่องไก่สามารถจัดเป็นระเบียบได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย นอกจากนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานควรติดตั้งพัดลมด้านข้างรถบรรทุก เพื่อระบายอากาศทั้งสำหรับไก่ และคนงาน
               การเพิ่มกว้านผ่อนแรง และรถเข็นที่ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับช่วยจับไก่ และกระบวนการยกกล่องไก่ขึ้นบรรทุกจะช่วยให้รถบรรทุกสามารถขนส่งไก่จับได้ ๒,๕๐๐ ตับ และพร้อมสำหรับนำส่งสู่โรงงานแปรรูปการผลิตได้ภายใน ๕๐ นาที

  แหล่งข้อมูล      Eduardo Cervantes Lopes (22/2/16) 























ภาพที่ ๑ การลดระดับความเข้มแสงระหว่างการจับไก่ ช่วยลดความเครียดให้ไก่ และช่วยให้จับไก่ได้ง่ายขึ้น ลดการบาดเจ็บต่อไก่


















ภาพที่ ๒ การจับไก่ ควรจับไก่ครั้งละ ๒ ตัว โดยประคองไก่อย่างนิ่มนวลทั้งตัว ไม่ใช่จับขา 

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...