วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

USDA ตั้งเป้าลดผู้ป่วยซัลโมฯจากสัตว์ปีก

 หน่วยบริการด้านการตรวจสอบความปลอดภัยอาหาร กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ตั้งเป้าเพิ่มความเข้มงวด และความเข้มข้นในการควบคุมการป่วยจากเชื้อ ซัลโมเนลลา ที่มาเกิดจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก

              กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ กำหนดแผนในการลดการปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลา ตลอดห่วงโซ่การลิตสัตว์ปีก และระบบการผลิตทั้งหมด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงด้านสาธารณสุข โดยกำหนดลดการป่วยจากเชื้อ ซัลโมเนลลา ลงให้ได้ร้อยละ ๒๕

              แม้ว่าจะปรากฏเชื้อ ซัลโมเนลลา ในผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกลดลงอย่างต่อเนื่องหลายปี สัตว์ปีกก็ยังมีความเชื่อมโยงกับการติดเชื้อ ซัลโมเนลลา ร้อยละ ๒๓ ของการติดเชื้อทั้งหมด ๑.๓๕ ล้านรายต่อปีในสหรัฐฯ ทำให้มีผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล ๒๖,๕๐๐ ราย และเสียชีวิต ๔๒๐ ราย

              กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ กำลังมองหาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่จะแนะนำกลยุทธ์สำหรับการควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา และการประเมินผล รวมถึง โครงการนำร่อง ในโรงเชือดสัตว์ปีก และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก

การลดเชื้อ ซัลโมเนลลา ไม่ให้เข้าสู่โรงฆ่า

              กุญแจสำคัญของเป็นการลดการปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลา ไม่ให้เข้าสู่ฟาร์ม โครงการนำร่องหนึ่งจะเป็นการเพิ่มการทดสอบเชื้อแบคทีเรียเชิงปริมาณ และทดสอบเชื้อ ซัลโมเนลลา บางสายพันธุ์ ที่ทำให้คนป่วยได้ นอกจากนั้น กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรใช้วัคซีนเพิ่มขึ้น รวมถึง การใช้โปรไบโอติกในอาหารสัตว์ เพื่อให้มั่นใจว่า วัสดุรองพื้น อาหาร และน้ำ ยังคงสะอาด เพื่อลดเชื้อแบคทีเรียในตัวไก่ลงให้ได้

การปฏิรูปความปลอดภัยสำหรับการผลิตสัตว์ปีก

              ระบบการผลิตในปัจจุบัน ยังมีรอยรั่วให้เชื้อ ซัลโมเนลลา เข้าสู่ระบบการผลิตได้ อัตราการป่วยจากการติดเชื้อ ซัลโมเนลลา และ แคมไพโลแบคเตอร์ ในสหรัฐฯ ยังคงสูงตลอดเวลา ๒๐ ปีที่ผ่านมา แม้จะมีความพยายามบังคับกฏระเบียบของภาครัฐ เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกแล้วก็ตาม จึงเห็นว่า ควรยกระดับกฎระเบียบที่ใช้ในปัจจุบันขึ้นมาอีก  

              กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ต้องค้นหานวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ความปลอดภัยอาหารต้องขยายพื้นที่ต่อไปจากวัตถุดิบไปจนถึงบรรจุภัณฑ์สุดท้าย โดยเฉพาะ แคมไพโลแบคเตอร์ จำเป็นต้องรวมไว้ด้วย และจำเป็นต้องมีการลงทุนในด้านการวิจัยเพิ่มขึ้น

สภาไก่แห่งชาติ ความจำเป็นต่อการให้ความรู้ผู้บริโภค

 สภาไก่แห่งชาติ (National Chicken Council, NCC) เน้นย้ำว่า แม้ว่าระดับเชื้อจะต่ำอย่างมาก แต่ก็ยังคงมีโอกาสที่ผลิตภัณฑ์ดิบจะถูกจัดการ หรือปรุงสุกอย่างไม่เหมาะสม การสร้างความรู้ให้กับผู้บริโภคในการจัดการ และปรุงสุกเนื้อดิบเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องขับเคลื่อนต่อไป เพิ่มเติมไปยังเชื้อแบคทีเรียทุกชนิดที่พบในไก่ดิบ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใด ก็สามารถทำลาย โดยการจัดการ และปรุงสุกอย่างเหมาะสม  

ขณะที่ บริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีก ปรับปรุงให้ทันสมัย ทำการวิจัย สร้างนวัตกรรม และเทคโนโลยี รวมแล้วนับพันล้านบาทต่อปี เพื่อยกระดับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ไก่ การตรวจสอบ และทดสอบอย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จระยะยาวของการจัดการเหล่านี้ในการช่วยสร้างความปลอดภัยเพื่อผลิตโปรตีนที่มีคุณค่าทางอาหาร และราคาย่อมเยาสำหรับผู้บริโภค

สหพันธ์ไก่งวงแห่งชาติ เห็นว่า ไม่มีหนทางที่ง่าย

              ไม่มีหนทางที่ง่ายสำหรับการเพิ่มความปลอดภัยอาหาร กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ต้องเป็นคนกลางสร้างความร่วมมือ ประเทศนิวซีแลนด์ ได้เพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา แล้ว โดยบังคับใช้กฏระเบียบในประเทศบังคับใช้สำหรับภาคการผลิตไก่ และเชื่อมโยงชนิดของเชื้อ ซัลโมเนลลา กับข้อมูลการป่วยของคน เพื่อวางแผนจัดการเชื้อ ซัลโมเนลลา ทั้งฟาร์มไก่พันธุ์ โรงฟัก ไก่เนื้อ และไก่ไข่    

เอกสารอ้างอิง

Berkhout N. 2021. USDA aims to reduce salmonella illnesses linked to poultry. [Internet]. [Cited 2021 Nov 11]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2021/11/USDA-aims-to-reduce-salmonella-illnesses-linked-to-poultry-815596E/

ภาพที่ ๑ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ใกล้เป้าหมายแล้วในการลดการป่วยจากเชื้อ ซัลโมเนลลา ลงร้อยละ ๒๕  (แหล่งภาพ Manfred Richter)



วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เกมมิฟิเคชัน ช่วยลดการเทิร์นโอเวอร์แรงงานในโรงเชือด

 ระบบการตรวจประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นมาตรวัดที่สามารถแสดงเป็นคะแนนของแรงงานภายในโรงงานแปรรูปการผลิตสัตว์ปีก สามารถแสดงผลงาน และเป้าหมายให้เห็นได้ง่าย

  การเก็บมาตรวัดผลงานผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์จะช่วยจูงใจพนักงานในโรงงานแปรรูปการผลิต จัดการประสิทธิภาพการทำงานได้แบบเรียลไทม์ ช่วยรักษาพนักงานไว้ให้ทำงานกับสถานประกอบการได้เป็นเวลานาน การเชื่อมกิจกรรมการทำงานให้เป็นคะแนน เพื่อใช้สำหรับการประเมินเพื่อให้รางวัล การปรับตำแหน่ง และสร้างบรรยากาศการแข่งขันในสถานประกอบการอิเทอเรต แลบส์ (Iterate labs) ได้ใส่กลศาสตร์สำหรับการเล่นเกมส์เข้าสู่สภาพแวดล้อมการทำงานภายในโรงงานแปรรูปการผลิต เพื่อช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการปฏิบัติงาน เป้าหมายของเกมมิฟิเคชันคือ การสร้างความผูกพันให้กับพนักงานให้มีแรงบันดาลใจในการทำงานอย่างสนุกสนาน และร่วมกันทำงานเป็นทีมนวัตกรรมใหม่นี้เป็นสิ่งที่นักวิจัย และผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีกจะช่วยกันเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก  

ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

               ผู้ประกอบการโรงเชือดสัตว์ปีกกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาก เนื่องจาก การระบาดของโรคโควิด ๑๙ ทั่วโลก ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยลดปัญหาแรงงาน และเพิ่มความปลอดภัยของแรงงานจึงได้รับความสนใจอย่างยิ่ง ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกประสบปัญหาวิกฤติการขาดแคลนแรงงาน สถานประกอบการแต่ละแห่งไม่สามารถจัดหาแรงงานได้อย่างเพียงพอต่อการรักษาผลผลิตของตนเองได้ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียด้านการผลิตอย่างมาก การเพิ่มค่าจ้าง และเพิ่มจำนวนวันหยุดก็ยังไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์ความต้องการของแรงงานได้ ผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีกจึงพยายามหาเทคโนโลยีใหม่ และใช้กลยุทธ์การจัดการให้เกิดความผูกพันต่อสถานประกอบการ    

กลยุทธ์การใช้มาตรวัดผลการปฏิบัติงาน แสดงเป็นคะแนนส่วนบุคคล

               เทคโนโลยีสมาร์ตวอทช์ และระบบการแสดงผลด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อแปลงเป็นข้อมูลดิจิตอล และประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานให้รู้สึกท้าทายเหมือนการเล่นเกมส์ มาตรวัดผลงานของพนักงานแต่ละคนจะถูกแปลงเป็นคะแนนเพื่อติดตามผลการปฏิบัติงาน และเป้าหมายได้แบบเรียลไทม์ เช่น การเคลื่อนไหวของพนักงานจะถูกแปลงให้เป็นค่าการเผาผลาญพลังงานเป็นแคลอรี และการได้รับอาหาร ให้พนักงานได้ติดตามผลกิจกรรมการปฏิบัติงานในโลกจริง วิธีการนี้เป็นวิธีอย่างง่ายที่จะแปลงเป้าหมายสำหรับการเติบโตในการทำงาน และการปรับตำแหน่งหน้าที่ ประเมินผู้ที่มีผลงานยอดเยี่ยมดีที่สุด และสนุกกับการทำงานเพื่อให้ได้รับรางวัล เช่น บัตรของขวัญ เงิน เวลาหยุดพักเพิ่ม การหยุดงาน เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

Doughman E. 2021. Gamification could reduce poultry processing labor turnover. [Internet]. [Cited 2021 Sep 10]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/43552-gamification-could-reduce-poultry-processing-labor-turnover  

ภาพที่ ๑ วีอาร์ กับปัญหาแรงงานในการผลิตสัตว์ปีก (แหล่งภาพ franz12 | BigStock.com)



วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

การจัดการปัญหาแรงงานในโรงเชือดด้วยสมาร์ตวอช

 การสร้างเป้าหมายการทำงานให้กับพนักงานให้เสมือนการเล่นเกมส์จะช่วยให้พนักงานเกิดความผูกพันต่อสถานที่ทำงาน และรักษาพนักงานไว้ช่วยทำงานได้นานขึ้น

การใช้สมาร์ตวอทช์ หรือนาฬิกาข้อมืออัจฉริยะ ช่วยลดปัญหาการลาออกของพนักงาน และพนักงานเกิดความผูกพันอยากทำงานในโรงงานแปรรูปสัตว์ปีกได้นานขึ้น

การระบาดของโรคโควิด ๑๙ ไปทั่วโลก ทำให้สถานที่ทำงานสำหรับแรงงานภาคการผลิตสัตว์ปีกเลวร้ายลงอย่างมาก ยิ่งมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมเป็นเวลาหลายปีต่อเนื่อง นับเป็นสิ่งท้าทายสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ ผู้บริหารสูงสุดของอิเทอเรต แลบส์ (Iterate labs) อธิบายที่ถึงที่มาของนวัตกรรมนี้เริ่มต้นจากการวิคราะห์ข้อมูล และการวิจัย จนสังเกตเห็นว่า การขาดความผูกผันต่อสถานที่ทำงาน เป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่ส่งผลต่อการลาออกของพนักงาน และปฏิบัติงานได้ไม่นานก็ลาออกไป   

พนักงานไม่มีวัตถุประสงค์ และเป้าหมายสำหรับการทำงาน ไม่มีการตอบกลับถึงผลการปฏิบัติงานของตันเอง ไม่มีวัฒนธรรมการทำงาน หรือน่าเบื่อ ทรัพยาการการบริหารงานไม่เอื้ออำนวยให้มีการตอบกลับถึงผลการปฏิบัติงานของพนักงาน หรือไม่มีแนวทางให้พนักงานได้เจริญเติบโตในการทำงานในอาชีพ  

มาตรวัดผลการปฏิบัติงานให้คล้ายการเล่นเกมส์

              แพลตฟอร์มสมาตร์ตวอทช์ ที่ช่วยเก็บ และตรวจสอบย้อนกลับผลการทำงานของตัวเองด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมด้วยอุปกรณ์สวมใส่ขณะปฏิบัติงาน แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลจัดเก็บไว้ในคลาวด์ จึงสามารถเข้าถึงได้โดยผู้บริหาร โดยแสดงผลเป็นแดชบอร์ดคอยติดตามผลการปฏิบัติงานได้แบบเรียลไทม์ พนักงานจึงสามารถประเมินตัวเองได้ตลอดเวลา รู้สึกได้ถึงความท้าทาย และแข่งขันให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน

              การสร้างสถานการณ์จำลองการปฏิบัติงานให้เหมือนการเล่นเกมส์ ช่วยลดการบาดเจ็บ ความเหนื่อยล้า และการลาออกของพนักงาน รวมถึง ยังมีระบบการฝึกอบรม ข้อมูลภายในระบบยังสามารถแสดงให้ผู้บริหารที่โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ปีกแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดที่เป็นสาเหตุให้พนักงานลาออก และหาวิธีการสร้างความผูกพันต่อสถานที่ทำงาน และยืดอายุงานให้นานขึ้นได้

สู่โลกแห่งความเป็นจริง

              การทดสอบกับพนักงาน ๕๐ คนที่โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ปีก พบว่า อุปกรณ์ใหม่นี้ช่วยเพิ่มโอกาสการพบปะระหว่างพนักงาน และผู้บริหารทุกวันอย่างน้อย ๑๐ นาที และยังช่วยให้พนักงาน ๒ คน เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นจากผลการปฏิบัติงาน และคะแนนที่ปรากฏบนแดชบอร์ด เป็นการช่วยลดพนักงานลาออกจากงานลงได้ร้อยละ ๖๕ รวมถึง ยังเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ร้อยละ ๕ และความปลอดภัยในการทำงาน ลดการเข้าห้องพยาบาลลงได้ร้อยละ ๗๕ ยิ่งไปกว่านั้นคือ การตอบรับจากผู้บริหารเป็นอย่างดี เนื่องจาก ช่วยลดการลาออก และการลาหยุดของพนักงานลงได้อย่างมาก ลูกค้ารายหนึ่งอ้างว่า แทบไม่มีใครลาออกอีกเมื่อใช้แพลตฟอร์มนี้ที่ใช้สมาร์ตวอทช์ที่ประมวลผลด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์               

เอกสารอ้างอิง

Doughman E. 2021. Could smartwatches solve poultry processing’s labor problem?. [Internet]. [Cited 2021 Nov 4]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/43910-could-smartwatches-solve-poultry-processings-labor-problem

ภาพที่ ๑ วีอาร์ กับปัญหาแรงงานในการผลิตสัตว์ปีก (แหล่งภาพ franz12 | BigStock.com)



ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...