วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิจัยใช้แมลงสาบให้โปรตีนในอาหารสัตว์



โครงการนำร่องในประเทศเบลารุส มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้แมลงสาบเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ให้โปรตีน เพื่อเตรียมพร้อมรับสิ่งท้าทายในอุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์เมื่อแหล่งวัตถุดิบที่ให้โปรตีนไม่เพียงพอ วัตถุดิบอาหารสัตว์พื้นฐานในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์พืชเป็นหลัก แต่ยังจำเป็นต้องเสริมโปรตีนให้เพียงพอด้วย  
                เทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถมีทางออกสำหรับปัญหาการขาดแคลนโปรตีน โดยการใช้แมลงเป็นแหล่งโปรตีนชดเชย ยกตัวอย่าง แมลงสาบลายหินอ่อนชอบกินขยะอินทรีย์ ด้วยกระบวนการนี้ เราสามารถเก็บเกี่ยวปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงที่เรียกว่า ไบโอฮิวมัสแมลงสาบจึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยโปรตีน อย่างไรก็ตาม การใช้แมลงเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ยังต้องก้าวผ่านอุปสรรคปัญหาอีกมากมาย นักวิจัยแคเธอรีน เซตราโควา วางแผนจะตั้งศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อสร้างมาตรฐานการฆ่าเชื้อแมลงในห้องปฏิบัติการ
แหล่งที่มา:            Vladislav Vorotnikov (16/2/15)

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คาซักสถานเพิ่มนำเข้าเนื้อสัตว์ปีก



โควตาการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกแช่แข็งในประเทศคาซักสถานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก ๗๔,๒๐๐ ตันไปเป็น ๑๑๐,๐๐๐ ตันในปีนี้ การเพิ่มโควต้าการนำเข้าเป็นผลมาจากความต้องการของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และการบริโภคสินค้านำเข้าที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
                ขณะเดียวกัน ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกภายในประเทศก็ต่อต้านนโยบายนี้อย่างจริงจัง เนื่องจาก ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกภายในประเทศ
                ผู้บริหารบริษัทโรดินาการเกษตร อ้างว่า รัฐบาลไม่ควรเพิ่มโควตาการนำเข้า อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกกำลังเผชิญหน้ากับความยากลำบากอย่างแท้จริง ตอนนี้ภายในประเทศมีทั้งไข่ และเนื้อสัตว์ปีกมากเพียงพอต่อความต้องการของตลาดภายในประเทศ ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลเลยสำหรับนโยบายเพิ่มดควตาการนำเข้าสินค้า ทั้งที่สินค้าภายในประเทศมีคุณภาพที่เหนือกว่าสินค้านำเข้ามาก ในสถานการณ์ปัจจุบัน จึงไม่ควรนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกแช่แข็งเข้ามาในประเทศเลย
แหล่งที่มา:            Vladislav Vorotnikov (26/2/15)

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

นักวิจัยสหรัฐฯ และเยอรมันค้นพบยาปฏิชีวนะใหม่



นักวิจัยจากสหรัฐฯ และเยอรมัน ค้นพบยาปฏิชีวนะชนิดใหม่เป็นครั้งแรกในรอบ ๓๐ ปี ที่ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ถูกค้นพบเป็นครั้งสุดท้าย
             ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่นี้ถูกค้นพบจากเชื้อแบคทีเรียที่พบในดิน แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่สามารถผลิตนำมาใช้ประโยชน์ได้ แบคทีเรียชนิดนี้ เรียกว่า “Teixcobactin”  การทดลองในหนู พบว่า ยาปฏิชีวนะชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะ MRSA รวมถึง วัณโรค อีกด้วย นักจุลชีววิทยาชาวเนเธอร์แลนด์จากมหาวิทยาลัย Leiden คาดหวังว่า ยาปฏิชีวนะชนิดนี้จะสามารถเข้าสู่ตลาดได้ในอีกสิบปีข้างหน้า
                ยาปฏิชีวนะชนิดแรกค้นพบโดยอะเล็กซานเดอร์ เฟลมิงในปี ค.ศ. ๑๙๒๘ หลังจากนั้น จึงมีการค้นพบสารประกอบที่ใช้ผลิตยาปฏิชีวนะมากกว่า ๑๐๐ ชนิด แต่หลังจากนั้น ไม่มียาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่เกิดขึ้นเลยนับตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๘๗ การใช้ยาปฏิชีวนะยังนำไปสู่การดื้อยาทั้งในมนุษย์ และสัตว์ อย่างไรก้ตาม การต้นพบยาปฏิชีวนะชนิดใหม่นี้นำไปสู่ความหวังว่า ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่อีกหลายชนิดจะสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรียได้ สิ่งสำคัญคือ นักวิจัยเชื่อว่า เชื้อแบคทีเรียจะไม่ดื้อยา Teixobactin เป็นเวลาอย่างน้อยอีก ๓๐ ปี เนื่องจาก กลไกการฆ่าเชื้อแบคทีเรียมีหลายวิธีร่วมกัน
แหล่งที่มา:            Emmy Koeleman (12/1/15)


ฟิลลิปปินส์แบนสัตว์ปีกจากสหรัฐฯ และอิสราเอล



กระทรวงเกษตรฯ ในฟิลิปปินส์แบนการนำเข้าสัตว์ปีก และนกป่า รวมถึงผลิตภัณฑ์จากรัฐโอเรกอน สหรัฐฯ และอิสราเอล เนื่องจาก อุบัติการโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงในรัฐโอเรกอน สหรัฐฯ และอิสราเอล
                สินค้าสัตว์ปีกจากรัฐโอเรกอน รวมถึง เนื้อสัตว์ปีก ลูกไก่ ไข่ฟัก และน้ำเชื้อ ไม่อนุญาตให้นำเข้าประเทศ ยกเว้น สินค้าที่ผ่านความร้อน ภายหลังจากที่มีการระบาดของไข้หวัดนกสับไทป์ H5N8 ในสัตว์ปีกที่เลี้ยงหลัวบ้าน ที่เมืองดักกลาส เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ปีที่ผ่านมา รวมถึง การระบาดของไข้หวัดนกในอิสราเอล จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลฟิลลิปินส์จำเป็นต้องแบนการนำเข้าสัตว์ปีกเลี้ยง และป่า รวมถึง ผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมทั้งเนื้อสัตว์ปีก ลูกสัตว์ปีก ไข่ และน้ำเชื้อจากเมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชากรสัตว์ปีก และความปลอดภัยอาหารของชาวฟิลลิปปินส์จากเชื้อไวรัสก่อโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง จนถึงปัจจุบัน ประเทศฟิลลิปินส์ก็ยังปลอดจากโรคไข้หวัดนกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นมา   
แหล่งที่มา:            World Poultry (19/2/15)


วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หวัดนกสามสับไทป์รุมสกรัมไต้หวัน



รายงานโรคไข้หวัดนกระบาดในประเทศไต้หวัน พบว่า มีการระบาดเกิดขึ้นนับร้อยครั้งจากเชื้อไวรัสสามสับไทป์ มีไก่ป่วยไปแล้วกว่าแสนตัวทั่วประเทศ
รายงานโรคระบาดจาก OIE ไต้หวันมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรงสูง H5N8 ในเมือง Changhua, Yunlin, Chiayi และ Pingtung รวมถึง Tainan, Kaohsiung และ Raichung โดยมีฟาร์มเลี้ยงไก่กว่า ๕๒ แห่งที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรงสูง H5N2   
                จนถึงปัจจุบัน มีรายงานการระบาดของสับไทป์ H5N8 ไปแล้ว ๕๖,๑๗๘ ตัว โดยมีสัตว์ตายไปแล้ว ๕๖,๐๗๕ ตัวในแหล่งที่มีสัตว์ปีกไวรับต่อโรคกว่า ๓๖๕,๕๙๑ ตัว ได้มีการวางมาตรการทำลายสัตว์ปีกที่รอดชีวิตทั้งหมดเพื่อหยุดยั้งการระบาด จนถึงตอนนี้ทำลายไปแล้วมากกว่า ๙๒,๐๐๐ ตัว รวมถึง การควบคุมการเคลื่อนย้าย ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ ฟาร์มภายในรัศมี ๓ กิโลเมตรรอบพื้นที่ระบาดจะต้องมีการเฝ้าระวังเป็นเวลา ๓ เดือน ขณะเดียวกัน ไต้หวันก็ได้รายงานการระบาดโรคไข้หวัดนกสับไทป์ H5N2 ในฟาร์มสัตว์ปีก ๘๖ แห่งในหกเมืองเดียวกับที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกสับไทป์ H5N8 โดยเชื้อไวรัสได้ติดเชื้อ และฆ่าสัตว์ปีกแล้ว ๑๐๒,๒๖๐ ตัวจากสัตว์ปีกที่ไวรับต่อโรคทั้งหมด ๖๓๙,๓๐๔ ตัว ขณะนี้กำลังทำลายสัตว์ปีกทั้งหมดเช่นกัน และรายงานฉบับที่สามต่อ OIE ไต้หวันก็ได้รายงานการระบาดโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรงสับไทป์ H5N3 ในฟาร์มห่านสามแห่งในเมือง Pingtung โดยสองแห่งในนี้ติดเชื้อสับไทป์ H5N2 ไปแล้ว โดยมีห่านตายจำนวน ๔,๓๐๐ ตัวจาก ๑๑,๒๐๐ ตัว และกำลังทำลายสัตว์ปีกทั้งหมด
                กรมควบคุมโรคติดต่อของไต้หวันเน้นย้ำว่า เชื้อไวรัส H5N2 และ H5N8 ยังคงจำกัดการติดเชื้อเฉพาะสัตว์ปีก และยังไม่มีการระบาดในมนุษย์แต่อย่างใด
 แหล่งที่มา:          CIDRAP (30/1/15)



ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...