วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566

โอโอซิสต์ แพทเทิร์น ช่วยตรวจติดตามเชื้อบิดในไก่เนื้อ

 การผสมผสานระหว่างการวินิจฉัยสมัยใหม่ และการสร้างแบบจำลองคาดการณ์จำนวนโอโอซิสต์ต่อกรัม สามารถช่วยให้ผู้ผลิตสัตว์ปีกตรวจสอบ และติดตามโรคบิดในสัตว์ปีก

            โรคบิดมีสาเหตุจากโปรโตซัว เรียกว่า เชื้อบิด หรือคอคซิเดีย อยู่ในจีนัส ไอเมอเรีย ซึ่งมีวงจรแบ่งได้เป็น ๓ ระยะ รวมถึง โอโอซิสต์ ที่สามารถขับผ่านมูลสัตว์ที่ติดเชื้อได้ การแพร่กระจายของโรคบิดผ่านฝูงสัตว์ปีกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ถึงสัปดาห์ สัตว์ปีกที่รอดชีวิตมักมีผลผลิตต่ำ และมีความไวรับต่อโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตายที่มาจากเชื้อ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ และ ซัลโมเนลลา

               เม็กแฮน โบว์แมน ผู้จัดการฝ่ายผลิตส่วนเดต้า แพลตฟอร์ม บริษัท แอนเซอรา เห็นว่า ผู้ผลิตสัตว์ปีกได้รับแรงกดดันที่จะเพิ่มผลผลิตให้ได้กำไร การใช้แพลตฟอร์มการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยให้บริษัทค้นพบปัญหาที่เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในการผลิตสัตว์ปีก

               วิธีการใหม่สำหรับตรวจติดตามเชื้อบิดด้วยเทคนิคการวินิจฉัยโรคสมัยใหม่ และสร้างแบบจำลองการพยากรณ์โรคบิด ที่สามารถจำแนกชนิดของเชื้อโดยขนาดของโอโอซิสต์ และคำนวณรูปแบบโอพีจี (Oocysts per Gram, OPG)

การติดตามข้อมูลแบบเรียลไทม์สำหรับการจัดการโรคบิดตั้งแต่ระยะแรก    

แพลตฟอร์มเทคโนโลยีใหม่ใช้ไมโครฟลูอิด กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนส์ และคอมพิวเตอร์ วิสชั่น คำนวณจำนวนและจำแนกชนิดของเชื้อโอโอซิสต์ที่พบในมูลสัตว์ปีก ข้อมูลนี้เป็นการประมวลจากข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และสามารถแบ่งปันข้อมูลแบบเรียลไทม์ผ่านแอพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ

 แอพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ออกแบบให้สามารถแสดงจำนวนโอพีจี ในช่วงเวลาต่างๆ สัมพันธ์กับเป้าหมายการเลี้ยงในฟาร์ม แสดงข้อมูลเป็นสีเขียว สำหรับค่าที่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือสีส้มสำหรับค่าที่อยู่นอกช่วงที่คาดหวังไว้ เมื่อสังเกตพบเชื้อบิด

สัตวแพทย์สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อปรับโปรแกรมการจัดการได้เร็วกว่าก่อนหน้านี้ ๖ ถึง ๘ สัปดาห์ ซึ่งต้องรอให้จบรอบการเลี้ยง เมื่อเริ่มต้นพัฒนาโปรแกรมแล้ว จึงความสัมพันธ์กับผลการเลี้ยง แล้วประเมินความเสี่ยงเปรียบเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในฝูงก่อนที่ทราบผลสุดท้ายของการเลี้ยงเรียบร้อยแล้ว ด้วยแพลตฟอร์มนี้มีสัตว์ปีกมากกว่า ๕๐ ล้านตัวที่ได้รับการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิดแล้ว

เทคโนโลยีของแอนเซอรา

แอนเซอราเป็นแพลตฟอร์มระบบการตรวจติดตามโรคบิด (Coccidia System Monitoring, CSM) เพื่อประเมินความเสี่ยง และคำนวณผลกระทบทางเศรษฐกิจ ข้อมูลจากการเก็บตัวอย่างง่ายๆ ถูกวิเคราะห์อย่างรวดเร็วบนระบบคลาวด์ แบบจำลองข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้สามารถเข้าถึงแนวโน้มจากผลการเลี้ยงในอดีต และปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้เห็นรูปแบบของเชื้อบิดแบบเกือบจะเรียลไทม์ และยังสามารถวิเคราะห์เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพที่สุดได้

ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย ลดการกรอกข้อมูล และแรงงาน ด้วยแพลตฟอร์มซีเอสเอ็มของแอนเซอรา ช่วยประหยัดเวลาให้กับทีมฝ่ายผลิต และสัตว์แพทย์จากการกรอกข้อมูลประจำวัน โดยทีมงานฝ่ายผลิตสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงประจักษ์ สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจได้ทันที ดังนั้น จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมการปฏิบัติงาน สุดท้ายประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารก็ดีไปด้วย

ช่วยเพิ่มผลผลิตจากแผนการควบคุมโรคบิดที่มีประสิทธิภาพ และคุ้มทุน การตรวจพบอย่างรวดเร็ว และเตือนให้ผู้จัดการฟาร์มด้วยแอพลิเคชัน ไลฟ์ออพส์ (Live Ops) สัตวแพทย์และนักวิชาการอาหารสัตว์จะสามารถปรับแก้ไขประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร ทำให้ไก่เนื้อมีผลผลิตที่เหมาะสม และได้น้ำหนักสม่ำเสมอ

สุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีขึ้น ด้วยการตรวจสอบ และค้นหาเชื้อบิดตั้งแต่อายุ ๔ ถึง ๘ สัปดาห์ ไลฟ์ ออพส์ และสัตวแพทย์สามารถทำงานเชิงรุกควบคุมปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แพลตฟอร์มนี้มีความชาญฉลาดในการให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการป่วย และตายในฝูงไก่เนื้อ    

เปลี่ยนข้อมูลดิบมหาศาลย่อยให้เป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ เช่นเดียวกับการผลิตอาหาร ข้อมูลจำเป็นต้องเตรียมอย่างดีเยี่ยม ล้างให้สะอาด แล้วแปรรูปให้พร้อมสำหรับการรับประทานได้เลย แอนเซอรารวบรวมข้อมูลเชื้อจุลชีพจากการสังเกต แล้วประมวลผลเป็นแนวโน้มการผลิต และข้อมูลแบบเปิดเผย แก่นหลักของแพลตฟอร์มนี้ ช่วยให้อัลกอริธึมของข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ค้นพบรูปแบบที่ซ่อนอยู่ แล้วแปลงให้เป็นคำตอบอย่างง่าย และตรงกับเป้าหมายสำหรับผู้ผลิตอาหารมากที่สุด ผลลัพธ์ที่ได้ ผู้ผลิตสัตว์ปีกจะมองเห็นข้อมูลที่บ่งชี้ถึง ความเสี่ยง คาดการณ์ผลการเลี้ยงเชิงปริมาณ และปรับปรุงการจัดการโดยอาศัยข้อมูล  นอกเหนือจากเชื้อบิด ก็ยังมีระบบการตรวจติดตามเชื้อ ซัลโมเนลลา (Salmonella System Monitoring, SSM)   

เอกสารอ้างอิง

Ancera. 2023. Threats, decreased. Margins, increased. [Internet]. [Cited 2023 Jun 21]. Available from: https://www.ancera.com/

Doughman E. 2023. Oocyst patterns could monitor coccidia control in broilers. [Internet]. [Cited 2023 Jun 21]. Available from: https://www.wattagnet.com/broilers-turkeys/diseases-health/article/15541013/oocyst-patterns-could-monitor-coccidia-control-in-broilers   

ภาพที่ ๑ โอโอซิสต์ แพทเทิร์น ช่วยตรวจติดตามเชื้อบิดในไก่เนื้อ  (แหล่งภาพ KANIN.studio | AdobeStock.com)




วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2566

การควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา ในสัตว์ปีกตั้งแต่ที่ฟาร์ม

ยุคใหม่สำหรับการเก็บตัวอย่าง ซัลโมเนลลา กฏระเบียบ และการควบคุมในสัตว์ปีกกำลังเริ่มต้น และกดดันกระบวนการผลิตที่ฟาร์มเพื่อลดเชื้อจากการประชุมโพลทรีย์เทคซัมมิต ผู้ร่วมประชุมถกเถียงกันถึงวิธีการใหม่สำหรับควบคุม ทดสอบ และลดเชื้อ ซัลโมเนลลา ก่อนเข้าสู่โรงงานแปรรูปการผลิต โดยวิทยากร ได้แก่ ดร.ดักกลาส ฟัลนีเชก สัตวแพทย์อาวุโสด้านสุขภาพสัตว์ปีกอาวุโส และ ดร.นิกกี้ ชาเรียต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่วิทยาลัยสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยจอร์เจีย และเจฟฟรีย์ ไนเดอร์เมเยอร์ ผู้อำนวยการความปลอดภัยอาหารที่บัตเตอร์บอล

   เชื้อ ซัลโมเนลลา ไม่ได้เริ่มขึ้นในโรงงานแปรรูปการผลิต เป้าหมายจึงสมควรป้องกันลูกไก่เนื้อ หรือไก่งวงตั้งแต่การเลี้ยงที่ฟาร์ม ถือเป็นสิ่งท้าทายใหญ่ เนื่องจาก ขั้นตอนการผลิตเอื้ออำนวยสำหรับเชื้อแบคทีเรียอย่างมาก ผู้ผลิตสัตว์ปีกต้องให้ความสำคัญกับการแสวงหานวัตกรรมใหม่สำหรับควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา ความปลอดภัยต้องเริ่มต้นตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก

ผลกระทบของกฏระเบียบ

               กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ยังไม่กำหนดกฏระเบียบไว้ที่ฟาร์ม ดังนั้น ผู้ผลิตสัตว์ปีกต้องอาศัยวิธีการควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา ในผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกโดยสมัครใจเอง อย่างไรก็ตาม หน่วยงานตรวจสอบและความปลอดภัยอาหาร หรือเอฟซิส ได้นำเสนอกรอบโครงร่างการลดเชื้อ ซัลโมเนลลา ประกาศไว้เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตของกฏระเบียบการควบคุมเชื้อโดยทางอ้อมไว้

               หากกฏระเบียบใหม่นี้บังคับใช้แล้ว บริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีกก็จะต้องตรวจสอบเชื้อ ซัลโมเนลลา จากฟาร์มที่เข้าสู่โรงเชือด เป็นการสนับสนุนการควบคุม และตรวจสอบโดยหน่วยงานตรวจสอบและความปลอดภัยอาหารสหรัฐฯ และช่วยยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สุดท้าย

               หน่วยงานตรวจสอบและความปลอดภัยอาหารสหรัฐฯ ได้ประกาศแนวทางปฏิบัติไว้ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา ในเนื้อสัตว์ปีกดิบ โดยผนวกเอาการให้วัคซีนในสัตว์ปีกพันธุ์โดยใช้การสเปรย์วัคซีนเชื้อเป็นที่โรงฟัก การควบคุมเชื้อในโรงงานอาหารสัตว์ การอดอาหารก่อนเข้าโรงฆ่า และเพิ่มความเข้มงวดความปลอดภัยอาหารในโรงเรือนไก่เนื้อ

               การควบคุมเชื้อทั้งฟาร์ม และโรงเชือดพร้อมกัน คาดว่าจะช่วยให้การควบคุมเชื้อโดยภาพรวมดีขึ้นอย่างมาก หากบางบริษัทยังปฏิบัติเฉพาะที่โรงเชือดก็จะมีสถานะในอุตสาหกรรมด้อยลงไป ยิ่งหากไม่กำหนดมาตรการควบคุมสักอย่างก็จะยิ่งลดระดับให้ต่ำที่สุดไปอีก

การตรวจสอบในฟาร์ม

               ปัจจุบัน ผู้ผลิตสัตว์ปีกจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับวิธีการที่สามารถใช้ได้ให้สอดคล้องกับร่างกฏระเบียบใหม่นี้ หนึ่งในวิธีการนี้สามารถทำได้โดยการนำสัตว์ปีกที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดไว้เป็นลำดับแรกในการทำงาน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนไปยังฝูงถัดไป ซึ่งเป็นสิ่งที่มีการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางอยู่แล้วในยุโรป แต่ในสหรัฐฯ ยังไม่มีการปฏิบัติกันอย่างจริงจัง ผลการศึกษาล่าสุด พบว่า อุบัติการณ์เชื้อ ซัลโมเนลลา ในฟาร์มสัตว์ปีกอยู่ระหว่างร้อยละ ๘๓ ถึง ๙๐ ทำให้วิธีการนี้ปฏิบัติได้ค่อนข้างลำบาก

               ยุโรปไม่ใช้ยาฆ่าเชื้อระหว่างการแปรรูปเนื้อสัตว์ปีก ดังนั้น การบังคับให้คัดกรองก่อนที่ฟาร์มไก่เนื้อจึงเป็นไปอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะสำหรับเชื้อ ซัลโมเนลลา เอนเทอไรทิดิส และไทฟิมูเรียม หากผลเป็นบวก ก็จะทำลายฝูงสัตว์ทั้งหมด ในบางประเทศของสหภาพยุโรป ยังอนุโลมให้เปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่อื่นๆได้ ผลการวิจัยเชื้อ ซัลโมเนลลา ซีโรไทป์ต่างๆจากผู้ผลิตสัตว์ปีก ๔ คอมเพล็กซ์ พบว่า ในคอมเพล็กซ์หนึ่ง โพรไฟล์ของเชื้อ ซัลโมเนลลา แตกต่างกันไประหว่างฟาร์ม ขณะที่คอมเพล็กซ์อื่นๆ มีความแตกต่างกันน้อยกว่า       

               คอมเพล็กซ์ที่พบโพรไฟล์ของเชื้อ ซัลโมเนลลา แตกต่างกันไประหว่างฟาร์ม พบว่า ร้อยละ ๕๐ ของตัวอย่างประกอบด้วยเชื้อหลายซีโรวาร์ และฟาร์มตัวเองร้อยละ ๘๐ ให้ผลบวกต่อเชื้อ ซัลโมเนลลา โดยการทดลองนี้ ผู้วิจัยได้ให้คะแนนความเสี่ยงจาก ๐ ถึง ๔ สำหรับแต่ละฟาร์มที่ตรวจพบเชื้อ ซัลโมเนลลา และความชุกของเชื้อ การประเมินความเสี่ยงนี้เป็นตัวอย่างสำหรับผู้ผลิตสัตว์ปีกในการจัดลำดับฟาร์มส่งเข้าโรงเชือด จากการประเมินโพรไฟล์ และปริมาณของเชื้อ ซัลโมเนลลา ที่ฟาร์ม สามารถเป็นข้อมูลสำคัญช่วยลดเชื้อ ซัลโมเนลลา ในโรงเชือด และสร้างความมั่นใจว่าได้ปฏิบัติสอดคล้องกับร่างกฏระเบียบใหม่นี้ได้ พื้นที่สีเทาในการผลิตสัตว์ปีกบางแห่งจำเป็นต้องตั้งคำถามว่า เมื่อไร และที่ไหนที่ควรเก็บตัวอย่าง อะไรบ่งชี้ถึง การปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลา สูง และตัวบ่งชี้อื่นๆที่ผู้ผลิตสามารถใช้ประเมินฝูงสัตว์ปีกของตัวเองได้       

กลยุทธ์การลดเชื้อ ซัลโมเนลลา

               การทำแผนที่ไบโอแมปปิ้ง และรวบรวมข้อมูลเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการระดับไมโคร และมีผลต่อวิธีการควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา ที่ผู้ผลิตสัตว์ปีกเลือกใช้

               การเก็บข้อมูลทั้งก่อนและหลังเข้าโรงเชือดเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจาก ข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้บ่งชี้ว่า ซีโรไทป์อะไรที่พบในฟาร์ม และสามารถนำเข้าสู่โรงเชือด

               อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ซีโรไทป์ และปริมาณเชื้อในตัวอย่าง ที่เข้าสู่โรงเชือด เป็นข้อมูลที่มีค่าสำหรับการศึกษาเชื้อ ซัลโมเนลลา หรือประเมินโอกาสของการปนเปื้อนข้าม นักวิจัยพยายามใช้การวางแผนและกลยุทธ์ในการจัดการเชื้อ ซัลโมเนลลา หากพบเชื้อในฝูงสัตว์ก่อนเข้าโรงเชือด เช่น หากพบเชื้อในโรงเรือนแห่งหนึ่ง สัตว์ปีกสามารถเปลี่ยนแผนการผลิตไปสู่การปรุงสุก หรือใช้การแปรรูปด้วยความดันสูง (high-pressure processing, HPP)

               ผลการทวนสอบขั้นตอนการผลิต สามารถลดปริมาณเชื้อ ซัลโมเนลลา ได้โดยใช้เทคโนโลยี HPP ได้ อย่างไรก็ตาม อาจทำให้คุณสมบัติด้านประสาทสัมผัสเปลี่ยนแปลงไป และมีข้อจำกัดเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ การแช่แข็งอย่างรวดเร็ว และการเก็บสินค้าแช่แข็งสามารถลดปริมาณเชื้อ ซัลโมเนลลา ในเนื้อสัตว์ปีกได้เช่นเดียวกัน เทคโนโลยีการควบคุมเชื้อโดยแบคเทอริโอฝาจกำลังนิยมใช้แพร่หลาย และสามารถใช้ควบคุมเชื้อ ซัลโมเนลลา ได้ในสัตว์ปีก   

               ก่อนที่จะจับสัตว์ปีกเข้าสู่โรงงาน การจัดการและตรวจประเมินกระบวนการด้านสุขอนามัยเป็นสิ่งจำเป็นต่อการควบคุมกระบวนการผลิต นอกเหนือจากการขัดมือ การพักการผลิตเพื่อทำความสะอาด การเตรียมสารเคมี และควบคุมอุณหภูมิ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการด้านสุขอนามัยที่ต้องคอยตรวติดตามบ่อยๆ เนื่องจาก ส่งผลต่อความชุกของเชื้อ ซัลโมเนลลา ต่ออุปกรณ์การแปรรูปเนื้อสัตว์       

เอกสารอ้างอิง

Johnson M. 2023. Salmonella control in poultry should include pre-harvest. [Internet]. [Cited 2022 Nov 4]. Available from: https://www.wattagnet.com/latest-news/article/15536821/salmonella-control-in-poultry-should-include-pre-harvest

ภาพที่ ๑ สัตวแพทย์ในโรมาเนียเดินภายในโรงเรือนสัตว์ปีกในเมืองคาราราซิ เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๗ (แหล่งภาพ Meredith Johnson)



วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2566

๖ นวัตกรรมที่จำเป็นสำหรับการผลิตสัตว์ปีก

๑. การคาดการณ์น้ำหนักสัตว์ปีก การคาดการณ์น้ำหนักอย่างแม่นยำช่วยให้เกษตรกรได้รับข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจ โดยเฉพาะ สำหรับการวางแผนการจัดการผลิต การคาดการณ์ผลผลิตจะช่วยให้ผู้ผลิตสัตว์ปีกเตรียมการป้องกันล่วงหน้าไม่ให้เกิดปัญหา เช่น โรคระบาด และช่วยให้สัตว์มีชีวิตที่ดี โดยการลดช่วงเวลาที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์

๒. การทดสอบสุขภาพสัตว์ปีกมีความจำเพาะน้อย ในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก โดยเฉพาะ ด้านสัตวแพทย์ กำลังรู้สึกผิดที่ยังไม่มีวิธีการวินิจฉัยที่จำเพาะให้เร็วกว่านี้ หากอาการของโรคระบบหายใจปรากฏขึ้น จำเป็นต้องมีการตอบสนองทันทีในการทดสอบโรคนิวคาสเซิล หรือโรคหลอดลมอักเสบ แต่สิ่งที่อาจจะพลาดไปบ้างเป็นการประเมินสรีรวิทยาทั่วไป การตรวจวัดสำหรับความเครียด การอักเสบ สุขภาพกล้ามเนื้อ และ/หรือชีวเคมีของเลือด จะเป็นประโยชน์ในการประเมินสุขภาพสัตว์ปีก

๓.  โรงเรือนสำหรับไก่ ไม่ใช่โรงเรือนเลี้ยงไก่ โรงเรือนสัตว์ปีกสมัยใหม่น่าทึ่งมาก อย่างไรก็ตาม เป็นการออกแบบโดยวิศวกร และจำเป็นต้องมีความละเอียดปราณีตมากขึ้น  อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมาก ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกโรงเรือนไก่ที่เหมาะสมจริงๆ ผู้ผลิตสัตว์ปีกต้องวิเคราะห์ว่า โรงเรือนเลี้ยงไก่ควรเป็นอย่างไร แล้วเริ่มต้นสร้างโรงเรือนดังกล่าว โดยอาศัยความรู้ที่ว่า ไก่กำลังมีกิจกรรมอะไรบ้างในส่วนต่างๆของโรงเรือน   

๔. ทำความเข้าใจพฤติกรรมไก่ ผู้ผลิตสัตว์ปีกยังต้องเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมไก่ เทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยให้เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมไก่ เทคโนโลยีใหม่ช่วยให้ผู้ผลิตสัตว์ปีกมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับการกินอาหาร การกินน้ำ การพักผ่อนและการละเล่น รวมถึง พฤติกรรมต่างๆว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร และใช้เวลานานขนาดไหน

๕. การตรวจติดตามสิ่งแวดล้อม ข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือนสัตว์ปีก รวมถึง ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ และความเข้มข้นแอมโมเนีย สามารถช่วยให้ผู้เลี้ยงปรับให้เหมาะสมกับสัตว์ได้ตามอายุและสถานกาณ์ จนถึงเวลานี้ ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกสามารถทราบอุณหภูมิได้ทุก ๑๕ ถึง ๒๐ วินาที ไม่ใช่ ๒๐ นาทีเหมือนเดิม ทราบพฤติกรรมการกินน้ำได้ทุก ๑๐ ถึง ๑๕ นาที การกินอาหารทุก ๓๐ ถึง ๔๐ นาที แล้วรีบแก้ไขปัญหาก่อนที่จะบานปลาย

๖. การจัดการวัสดุรองพื้นเป็นประเด็นที่สลับซับซ้อน แต่มีความสำคัญในทุกองค์ประกอบตั้งแต่ความปลอดภัยอาหารไปจนถึงเศรษฐกิจและสุขภาพสัตว์ปีก ยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมากว่า ช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ความแตกต่างระหว่างวัสดุรองพื้นที่ดีและไม่ดี วิธีการจัดการวัสดุรองพื้น   

เอกสารอ้างอิง

Doughman E. 2023. 6 aspects of poultry production in need of innovation. [Internet]. [Cited 2022 Dec 5]. Available from: https://www.wattagnet.com/poultry-future/new-technologies/blog/15536990/6-aspects-of-poultry-production-in-need-of-innovation

ภาพที่ ๑ ฟาร์มสำหรับเลี้ยงไก่เนื้อตั้งแต่อายุวันแรกไปจนถึงครึ่งเดือน (แหล่งภาพ orestligetka – Fotolia)


 



วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2566

หวัดนกลุกลามสู่พื้นที่ผลิตสัตว์ปีกหลักบราซิล

 โรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงได้ลุกลามจากทางตอนใต้ของประเทศไปยังศูนย์กลางสำคัญของการผลิตสัตว์ปีกในบราซิล

               โรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงถูกตรวจพบในรัฐผู้ผลิต และส่งออกสัตว์ปีกอันดับสามของบราซิล ริโอแกนด์ดูซุล หลังจากที่เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม เจ้าหน้าที่รัฐได้แจ้งว่า หงส์คอดำมีผลการทดสอบเป็นบวกต่อไวรัสในบริเวณพื้นที่ชายหาดของซานตาวิตอเรียดูพาลมาร์ นับเป็นครั้งแรกที่ตรวจพบเชื้อไวรัสในรัฐนี้ตั้งแต่โรคไข้หวัดนกเริ่มเข้ามาในบราซิลสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ยอดรวมของการระบาดเป็น ๓ ครั้งแล้ว

               ผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการยืนยันว่า นกป่วยหรือตายที่พบในเมือง Lagoa da Mangueira ติดเชื้อไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ได้เข้าตรวจเยี่ยมพื้นที่ ๗๔ แห่งภายในรัศมี ๑๐ กิโลเมตรของการระบาด เพื่อสอบสวนโรคระบาด ไม่พบการติดเชื้อในสัตว์ปีกที่เลี้ยงในฟาร์ม

พื้นที่การผลิตสัตว์ปีกที่สำคัญ

               เมืองริโอแกนด์ดูซุล เลี้ยงไก่เนื้อเกือบร้อยละ ๑๓.๘ ของไก่เนื้อทั้งหมดในบราซิล และมากกว่าร้อยละ ๑๖.๒ เป็นไปเพื่อการส่งออก และเป็นเมืองที่มีการส่งออกไข่ไก่เป็นอันดับสองของประเทศ คิดเป็นร้อยละ ๒๙ ของการส่งออกไข่ไก่ทั้งหมด ยังตามเหลังเพียงเมืองมาโตกร๊อสโซเท่านั้น  

               ในทางตรงกันข้ามกับเมืองเอสปิริโตซานดตพบโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงมากที่สุด ผลิตไก่เนื้อไม่ถึงร้อยละ ๐.๗ ของประเทศ แม้จะเป็นผู้ผลิตไข่ไก่รายสำคัญ

เอกสารอ้างอิง

WATTPoultry. 2023. HPAI spreads to major Brazilian poultry producing state. [Internet]. [Cited 2023 May 30]. Available from: https://www.wattagnet.com/regions/latin-america/article/15538037/hpai-detected-in-major-brazilian-poultry-producing-state



วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566

โอโวสตาร์ ยูเนียน ผู้ผลิตไข่ไก่ยูเครนยังส่งออกสดใส

 ผู้ผลิตไข่ไก่รายใหญ่ของยูเครน โอโวสตาร์ ยูเนียน ส่งออกไข่ไก่เติบโตเกือบสี่เท่าในไตรมาสแรกปีนี้

               ยอดส่งออกไข่ไก่พร้อมเปลือกรวมแล้ว ๑๐๕ ล้านฟองเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ๒๗ ล้านฟองในไตรมาสเดียวกัน โดยตลาดส่งออกคิดเป็นร้อยละ ๔๔ ของยอดจำหน่ายของบริษัทเทียบกับปีที่แล้วเพียงร้อยละ ๑๑

               สิ้นสุดไตรมาสแรกของปีนี้ จำนวนแม่ไก่รวมทั้งหมดของบริษัท ๗.๑๒ ล้านตัวเป็นแม่ไก่ที่กำลังไข่ ๖.๓๘ ล้านตัว น้อยกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วเล็กน้อย ดังนั้น บริษัทสามารถผลิตไข่ไก่ได้ ๓๖๒ ฟอง ลดลงร้อยละ ๒ เปรียบเทียบกับทีที่แล้ว การส่งออกที่แข็งแกร่งช่วยดันยอดจำหน่ายโดยภาพรวมเป็น ๒๔๐ ล้านฟองเปรียบเทียบกับ ๒๓๒ ล้านฟองในไตรมาสแรกของปีที่แล้ว

               ราคาเฉลี่ยของไข่ไก่ในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕๖ เป็น ๔.๘๑ บาท ในภาคการผลิตไข่แปรรูปยังไม่เปลี่ยนแปลง ปริมาณไข่ไก่แปรรูปในไตรมาสแรกของปีนี้ยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ๙๒ ล้านฟอง ปีนี้บริษัทสามารถผลิตไข่ไก่ผง ๔๐๖ ตัน และไข่เหลว ๓,๐๗๓ ฟอง

การระงับส่งออกยุโรป

                  โอโวสตาร์ ยูเนียน ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประเทศผู้นำเข้าไข่ไก่ของบริษัท แต่เชื่อว่าส่วนใหญ่เป็นประเทศในสหภาพยุโรป ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา สหภาพเกษตรกรยูเครน เตือนว่า ยุโรปกำลังระงับการนำเข้าอาหารจากยูเครน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหลายภาคการผลิต รวมถึง การผลิตไข่ไก่

เวลาที่ท้าทาย

               สภาวะทางการตลาดยังเป็นสิ่งท้าทายสำหรับบริษัท นับตั้งแต่เริ่มปีที่สองของสงครามรัสเซีย-ยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ บริษัทต้องทำงายภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ผันผวนตลอดเวลา บรัทพยายามจัดการให้ทุกขั้นตอนส่งผลกระทบน้อยที่สุด เพื่อให้การผลิต และการจำหน่ายสินค้าใกล้เคียงกับก่อนเกิดสงครามมากที่สุด ทั้งชนิดของสินค้า และช่องทางการจำหน่ายสินค้าได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ ให้สอดคลอ้งกับความต้องการตลาดที่แท้จริง ภายใต้สภาวะเช่นนี้ บริษัทยังประเมินตัวเองในระดับที่น่าพอใจแล้ว

เอกสารอ้างอิง

Global Poultry Sector Authors. 2023. Ovostar Union enjoys strong exports despite production decline. [Internet]. [Cited 2023 May 26]. Available from: https://www.poultryworld.net/poultry/layers/ovostar-union-enjoys-strong-exports-despite-production-decline/

ภาพที่ ๑ ไข่ไก่โอเคทีต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าไข่ปรกติ ๕๐ ถึง ๗๕ สตางค์ในตลาด (แหล่งภาพ Koos Groenewold)



ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...