วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

หวัดนกระบาดในสหรัฐฯแล้ว

อุตสาหกรรมกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกในสหรัฐฯ ตกที่นั่งลำบากอีกครั้ง และต้องเพิ่มมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพหลังตรวจพบโรคไข้หวัดนกในรัฐเทนเนสซี 
โรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง (HPAI) ปรากฏในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. ๒๐๑๖ เป็นต้นมา สมาคมผู้เลี้ยงสัตว์ปีกสหรัฐฯ เรียกร้องให้มีการเพิ่มความเข้มงวดความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค เมื่อวันที่ ๕ มีนาคมที่ผ่านมา ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกพันธุ์ของบริษัท ไทสัน ฟู้ด ในรัฐเทนเนสซี ตรวจพบเชื้อไวรัส โดยเกิดการระบาดเพียง ๑ ฟาร์ม และกำลังเฝ้าระวังโดยการเก็บตัวอย่างตรวจสอบโดยรอบรัศมี ๖ ไมล์รอบฟาร์ม และวันที่ ๖ มีนาคม กระทรวงเกษตร การค้า และผู้บริโภคแห่งรัฐวิสคอนซิน พบโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงต่ำ (LPAI) ในฟาร์มไก่งวงในเมืองบาร์รอน รัฐวิสคอนซิน
สภาไก่แห่งชาติ (National Chicken Council, NCC) อ้างว่า การทำลายสัตว์ปีกทั้งหมด ๗๓,๕๐๐ ตัวดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โรคนี้ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และจะไม่พลัดเข้าสู่วงจรการผลิตอาหาร ขณะเดียวกัน ไก่ที่รัฐวิสคอนซิน ๘๔,๐๐๐ ตัว กำลังถูกกักกันโรค และตรวจติดตาม แต่ยังไม่มีการทำลาย ฝูงสัตว์ปีกกลุ่มนี้จะนำจำหน่ายหากไม่พบโรค สภาไก่แห่งชาติยังอ้างว่า สหรัฐฯมีแผนการตรวจติดตาม และเฝ้าระวังโรคที่เข้มงวดที่สุดในโลก ภายใต้การควบคุมของภาครัฐตั้งแต่ระดับประเทศ และรัฐ เพื่อควบคุมการแพร่กระจายโรค และกำจัดโรคอย่างสมบูรณ์ กลุ่มผู้ประกอบการได้สนับสนุนให้สมาชิกเข้มงวดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และปฎิบัติงานร่วมกับภาครัฐ และคู่ค้า เพื่อลดการทำลายการตลาดส่งออก

เรียนรู้ขั้นตอนความปลอดภัยทางชีวภาพ
สมาคมสัตว์ปีก และไข่ แห่งสหรัฐฯ (USPOULTRY) กระตุ้นให้ยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพภายหลังการตรวจพบเชื้อ โดยใช้แบบตรวจสอบของกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐฯ เพื่อประเมินตัวเองสำหรับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และค้นห้าข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบริการสารสนเทศข้อมูลด้านสุขภาพสัตว์ และพืช กระทรวงเกษตร สหรัฐฯ ถึงเวลานี้ต้องกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ปีกยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยเฉพาะ การควบคุมนกป่า ในช่วงเวลานี้ของปี เครื่องมือสำหรับการประเมินตัวเองจะช่วยให้สำรวจจุดอ่อนของฟาร์ม รวมถึง ทรัพยากรที่จำเป็น และมองหาส่วนที่ขาดแคลน  
โรคไข้หวัดนกเป็นภัยคุกคามต่อการผลิตสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ การระบาดระหว่างปี ค.ศ. ๒๐๑๔ ถึง ๒๐๑๕ ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อุตสาหกรรมฟาร์มไก่ไข่ โดยสูญเสียสัตว์ปีกไปหลายล้านตัว  เพื่อควบคุมการระบาดของโรค จึงเพิ่มมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพทั่วทั้งอุตสาหกรรมสัตว์ปีก โดยเฉพาะผู้ประกอบการฟาร์มไก่ไข่มีบทเรียนจากความเสียหายอย่างร้ายแรงจากโรค ถึงตอนนี้ โรคนี้ก็ยังคงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญ และเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ต้องเข้มงวดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเพื่อป้องกันมิให้โรคแพร่ระบาดต่อไป

การทำลายตลาดค้าสัตว์ปีก
ข่าวการปรากฏของโรคไข้หวัดนกในฟาร์มสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ กำลังสร้างความเสี่ยงต่อการระงับการส่งออกไก่จากสหรัฐฯ อ้างตามรายงานจากรอยเตอร์ เกาหลีใต้ที่กำลังจัดการโรคไข้หวัดนกระบาดในประเทศตัวเอง ก็จะระงับการนำเข้าสัตว์ปีกจากสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ ๖ มีนาคม เป็นต้นไป นอกจากนั้น การรับการส่งออกไข่ไก่จากสหรัฐฯบางส่วนเข้าสู่ประเทศในเอเชียก็จะหยุดลงเช่นกัน โดยเฉพาะ สัตว์ปีกมีชีวิต และไข่จะถูกระงับการส่งออก ขณะที่ เนื้อไก่ และผลิตภัณฑ์จากไข่ที่ผ่านการให้ความร้อนยังสามารถนำเข้าไปได้  
  เมื่อวันที่ ๖ มีนาคมที่ผ่านมา สิงค์โปร์ และไต้หวันก็ประกาศห้ามนำเข้าสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก ไข่แปรรูป และสัตว์ปีกมีชีวิตจากเมืองลินคอล์น รัฐเทนเนสซี และเมืองบาร์รอน รัฐวิสคอนซิน
เอกสารอ้างอิง
Alonzo A. 2017. US poultry industry urges caution against avian flu. [Internet]. [Cited 2017 Mar 6]. Available from: http://www.wattagnet.com/articles/30038-us-poultry-industry-urges-caution-against-avian-flu?utm_source=KnowledgeMarketing&utm_medium=email&utm_content=Poultry%20Update&utm_campaign=17_03_07_Poultry%20Update_Tuesday&eid=89973158&bid=1684864
ภาพที่ ๑ โรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง (HPAI) ปรากฏในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. ๒๐๑๖  (แหล่งภาพ: Iowa Turkey Federatio)


วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560

๑๒ ขั้นตอนลดการปนเปื้อนในฟาร์ม

เรียนรู้ ๑๒ ขั้นตอนเพื่อช่วยให้ฟาร์มลดปนเปื้อนเชื้อโรค เพื่อความปลอดภัยอาหาร ข่าวดีสำหรับความปลอดภัยอาหารคือ เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายกว่าที่คิด วิธีการที่ดีที่สุดเพื่อลดเชื้อโรคในการผลิตอาหารคือ การป้องกัน หลักการของความปลอดภัยอาหารมี ๓ ปัจจัยหลักคือ การกำจัดเชื้อออกจากอาหาร ป้องกันไม่ให้เชื้อในอาหารแพร่กระจายออกไป และป้องกันไม่ให้เชื้อเจริญเติบโต ในสหรัฐฯ แต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ ๑ รายต่อประชากร ๖ คน
ความปลอดภัยอาหารไม่ต้องใช้กฏหมายควบคุม ความจริงแล้วเป็นจริยธรรมสำหรับผู้ผลิตอาหารต่อผู้บริโภค คำแนะนำ ๑๒ ขั้นตอนง่ายๆที่ช่วยให้ผู้ประกอบการฟาร์มผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัยสอดคล้องกับกฏหมาย Food Safety Modernization Act (FSMA0 ได้แก่ 
๑. ล้างมือด้วยเทคนิคที่ดี
๒. ผู้ป่วยให้หยุดงานพักรักษาตัวที่บ้าน
๓.  ป้องกันมิให้สัตว์ทั้งสัตว์ป่า และสัตว์เลี้ยง เข้ามาในฟาร์ม
๔. การจัดการน้ำ ไม่ให้มีการปนเปื้อน และแพร่กระจายโรค
๕. ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อพื้นที่ และอุปกรณ์ทุกชนิดด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม
๖. การจัดการมูลสัตว์อย่างเหมาะสม
๗. สวมชุดที่ฟาร์มเตรียมไว้ให้ก่อนเข้าภายในฟาร์ม
๘. การใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ถูกต้อง
๙. ทำความสะอาดอุปกรณ์ และเครื่องมืออย่างถูกต้อง
๑๐. ระลึกไว้เสมอว่า พื้นสกปรกเสมอ อย่าวางอุปกรณ์ และเครื่องมือบนพื้นในฟาร์ม
๑๑. จัดแยกสัดส่วนพื้นที่การทำงานให้ชัดเจนระหว่างพื้นที่กำลังทำความสะอาดจากพื้นที่ที่ผ่านการทำความสะอาดแล้ว
๑๒. ล้างมืออีกครั้ง ไม่มีคำว่าพอแล้ว เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรฝึกให้บุคลากรในฟาร์มเรียนรู้เทคนิคการล้างเมืออย่างถูกต้อง
อย่าลืมว่า ความปลอดภัยอาหารไม่ต้องรอให้กฏหมายบังคับ ใช้สำนึกความรับผิดชอบจริยธรรมในใจเป็นพันธะสัญญาต่อผู้บริโภค  
เอกสารอ้างอิง

Gantz A. 2017. 12 food safety steps to minimize microbial contamination. [Internet]. [Cited 2017 Feb 24]. Available from: http://www.wattagnet.com/articles/29942-food-safety-steps-to-minimize-microbial-contamination

ภาพที่ ๑ อินโฟ กราฟฟิก ขั้นตอนลดการปนเปื้อนจุลินทรีย์ (แหล่งภาพ Andrea Gantz)

วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

โลกของวีอาร์ ประตูสู่โลกเสมือนจริงในฟาร์มไก่

ขณะนี้มีแอพลิเคชันเต็มไปหมดในชีวิตประจำวันของเรา มหาวิทยาลัยจอร์เจียกำลังปฏิวัติเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง หรือวีอาร์ใช้ในฟาร์มสัตว์ปีกแล้ว
               เมื่อเราคิดถึงโลกความเป็นจริงเสมือน (Virtual reality, VR) ส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงด้านความบันเทิงที่กำลังวิวัฒนาการเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในโลกของวีดีโอเกมส์ที่เหนือความเป็นจริง แต่สิ่งเหล่านี้ก็ดูจะห่างไกลจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียเทคแห่งแอตแลนตากำลังพยายามเปลี่ยนแปลงโดยมองหาความเป็นไปได้ในการใช้วีอาร์มาใช้ในภาคธุรกิจฟาร์มบ้าง ตั้งแต่การออกแบบฟาร์มผลิตสัตว์ปีกไปจนถึงวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการชำแหละชิ้นส่วนไก่
               ตอนนี้ นักวิจัยกำลังค้นหาวิธีการใช้วีอาร์เป็นเครื่องมือสำหรับการทำวิจัยในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก เช่น การใช้เทคโนโลยีสามมิติที่สามารถสร้างความประทับใจขณะที่ผู้เล่นควบคุมปุ่มต่างๆ และย้ายวัตถุต่างๆได้ในแบบสามมิติ รวมถึง การมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวเหมือนอยู่ในสถานที่จริง เชื่อว่า น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ขณะนี้ VR ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกยังอยู่ในขั้นตอนของการส่งเสริม หรือเป็นไปได้ยาก ในฤดูร้อน ค.ศ. ๒๐๑๖ บริษัทแลคผู้เลี้ยงสัตว์ปีกไข่ปล่อยอิสระในสหราชอาณาจักรได้ร่วมกับแมคโดนัลด์ ริเริ่มให้ลูกค้าได้ทดลองท่องเที่ยวไปในฟาร์มตามความจริงเสมือน เพื่อให้ลูกค้าของแมคโดนัลด์ได้ทำความเข้าใจพันธสัญญาต่อการผลิตในฟาร์มของบริษัทโดยแสดงเป็นภาพยนตร์ ๓๖๐ องศาให้ผู้บริโภคได้เห็นทุกมุมมอง ตั้งแต่โรงเรือนแม่ไก่ของเลค ฟาร์ม และอาคารบรรจุไข่ รวมถึง ฟาร์มประเภทอื่นๆในสหราชอาณาจักร ขณะที่ ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Austin Steward จากมหาวิทยาลัยไอโอวาก็ได้สร้างโลกความจริงเสมือนที่เรียกว่า ปศุสัตว์ทุติยภูมิ เพื่อเผยให้เห็นการใช้ชีวิตของสัตว์ปีกในฟาร์มขนาดใหญ่ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้ท่องเที่ยวไปได้ทั่วทุกมุมของฟาร์ม โครงการนี้ยังเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อนาคตของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกได้มากกว่าความเป็นจริง นอกเหนือจากนั้น โครงการของจอร์เจียเทคยังสนใจระบบการขนส่ง ระบบการแขวนไก่มีชีวิตตั้งแต่ในฟาร์มเพื่อใช้ในโรงเรือนไก่โดยตรง การออกแบบนี้จะใช้ VR แทนที่จะใช้การออกแบบโดยคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่มีการโต้ตอบ (Interactive computer aided desing, CAD) ค่อนข้างน้อย อุปกรณ์บางชิ้นสามารถทดลองนำไปวางในพื้นที่ว่างในโรงงานฯ ว่าพอดีกันหรือไม่ และยังประยุกต์ใช้ VR สำหรับการสร้างแบบจำลองของ CAT scans เพื่อตรวจโครงสร้างผิวหนัง และกระดูก เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์การจัดการโรงงานโดยใช้หุ่นยนต์ทั้งหมดไปจนถึงการออกแบบอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการชำแหละเนื้อไก่ ผู้วิจัยกำลังวิจัยโครงการชำแหละเนื้อไก่โดยต้องมีการจำลองการเคลื่อนไหวของมีดเป็นสามมิติ เพื่อสำรวจหาวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการชำแหละเนื้อโดยวีอาร์จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แสวงหาวิธีดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วจากการสแกนโครงสร้างกระดูกไก่ด้วยระบบดิจิตอล นักวิจัยได้สร้างแอพพลิเคชันโดยใช้ HTC Vive ระบบการจำลองเหตุการณ์โลกเสมือนจริง ร่วมกับหูฟังสวมศีรษะ และครอบตา และคอนโทรเลอร์บังคับมือให้ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์แบบสามมิติในโลกดิจิตอล แอพพลิเคชันยังสามารถสร้างเพื่อรองรับระบบอื่นๆที่มีอยู่แล้วในตลาด เช่น Oculus Rift และระบบที่มีราคาถูกลง เช่น Gear VR และ Google Cardboard นอกจากนั้น ผู้วิจัยกำลังคิดว่าจะใช้เป็นเครื่องมือด้านการศึกษาเพื่อให้นักศึกษาทำความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับสรีรวิทยาของไก่ โดยช่วยในการสังเกต และสามารถมีปฏิสัมพันธ์ด้วยได้ ขณะนี้ ไม่ใช่ทุกบ้านจะมีหูฟังสวมศีรษะของ Oculus Rift แต่เชื่อว่า เทคโนโลยีวีอาร์จะมีบทบาทสำคัญในชีวิตของเราในหลากหลายทางมากขึ้นๆในไม่ช้าทั้งด้านการบันเทิง การแพทย์ และการศึกษา คณะผู้วิจัยจากจอร์เจียเทคหวังว่า วีอาร์จะนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมสัตว์ปีก
 เอกสารอ้างอิง
The Poultry Site. 2017. Are you ready for virtual reality poultry farming?. [Internet]. [Cited 2017 Feb 8]. Available from: http://www.thepoultrysite.com/poultrynews/38162/the-next-frontier-virtual-reality-for-the-poultry-industry/


ภาพที่ ๑ โลกความเป็นจริงเสมือน (Virtual reality, VR) ในภาคธุรกิจฟาร์มบ้าง ตั้งแต่การออกแบบฟาร์มผลิตสัตว์ปีกไปจนถึงวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการชำแหละชิ้นส่วนไก่ (แหล่งภาพ The Poultry Site, 2017.)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...