วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

อุตสาหกรรมสัตว์ปีกอังกฤษในอุ้งมือสหรัฐฯ


อังกฤษกังวลของธุรกิจการผลิตสัตว์ปีกในประเทศ ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า ครึ่งหนึ่งของเนื้อไก่ในอังกฤษถูกผลิตโดยบริษัทที่ลงทุนบางส่วน หรือทั้งหมดของนักธุรกิจสหรัฐฯ ที่อาจได้รับผลกระทบต่ออาหารในประเทศ

ผลการศึกษาจากข้อมูลด้านอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นว่า มอยพาร์ก ที่เป็นบริษัทลูกของพิลกริมส์ ไพรด์ ปัจจุบันผลิตไก่เนื้อได้ ๓๑๒ ล้านตัวต่อปี ขณะที่ อะวารา ฟู้ด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างคาร์กิลของสหรัฐฯ และ Faccenda Foods ของอังกฤษ เชือดไก่จำนวน ๒๓๔ ล้านตัวต่อปี ไก่ราวหนึ่งพันล้านตัวถูกฆ่าในโรงเชือดอังกฤษทุกปี ผลการวิจัยพบว่า จำนวนหน่วยของสัตว์ปีก และสุกร ในการผลิตขนาดอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นมา จาก ๑,๖๖๙ เป็น ๑,๗๘๖ คำขอ โดยส่วนใหญ่เป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก

ข้อเท็จจริงที่ว่า สัตว์ในฟาร์มไม่ได้สร้างกำไรมากมายให้เกษตรกร ซึ่งถูกลดความสำคัญให้เป็นลูกจ้างผลิตสินค้าให้กับผู้ประกอบการอาหารขนาดใหญ่ เพื่อผลิตให้ต้นทุนต่ำที่สุด การเพิ่มขนาดการผลิตเป็นผลมาจากแรงจูงใจให้เปลี่ยนเป็นฟาร์มเป็นโรงงานผลิตไก่เนื้อในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เป็นการบิดเบือนตลาด เพราะความจริงแล้ว การเลี้ยงสัตว์ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนเป็นเงินก้อนโตคุ้มค่ากับเกษตรกรที่กลายเป็นลูกจ้างผลิตสินค้าให้กับผู้ประกอบการอาหารขนาดใหญ่ ติดกับดักอยู่บนลู่วิ่งสายพาน เกษตรกรบางรายก็ประสบความสำเร็จเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงการขยายธุรกิจให้ใหญ่โตขึ้นสร้างความหวังให้กับเพื่อนร่วมวิชาชีพ

ความไม่แน่นอนของกลไกการอุดหนุนภาคการเกษตรกรรมหลังปรากฏการณ์เบร็กซิต และความต้องการที่เพิ่มขึ้นจะกดดันให้เกษตรกรเกิดความหลากหลาย โดยเฉพาะ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ดึงดูดใจสำหรับทั้งเกษตรกรเดิม และรายใหม่ มาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์เป็นอังกฤษนับว่าสูงที่สุดในโลก เกษตรกรอังกฤษได้ยกระดับการผลิตด้านสวัสดิภาพสัตว์ และสิ่งแวดล้อมขึ้นสูงที่สุดแล้วในโลก ประเด็นสำคัญคือ สัตวบาล และผู้เลี้ยงไก่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ที่กำหนดสุขภาพสัตว์ และสวัสดิภาพสัตว์ ไม่ใช่ขนาด หรือระบบ หรือการผลิต   



เอกสารอ้างอิง

McDougal T. 2020. Concerns grow over US involvement in UK poultry industry. [Internet]. [Cited 2020 Apr 17]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2020/4/Concerns-grow-over-US-involvement-in-UK-poultry-industry-571370E/

ภาพที่ ๑  ผลกระทบของอุตสาหกรรมสัตว์ปีกอังกฤษในมือสหรัฐฯ (แหล่งภาพ Koos Groenewold)

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563

โรงเชือดสหรัฐฯเรียกร้องชุดตรวจโควิด ๑๙


การจัดหาชุดตรวจสอบสำเร็จรูปเพื่อใช้ในโรงเชือด ไม่ใช่หน้าที่หลักของกระทรวงเกษตรสหรัฯ หรือยูเอสดีเอ แต่ก็ได้พยายามทำทุกสิ่งเพื่อช่วยกอบกู้สถานการณ์โรคระบาด

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ เห็นถึงความสำคัญของโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ปีก และเนื้อสัตว์อื่นๆ จำเป็นต้องใช้ชุดตรวจสอบสำเร็จรูปสำหรับการทดสอบโรคโควิด ๑๙ แต่ก็ยอมรับว่า การจัดเตรียมชุดตรวจสอบสำเร็จรูปให้เพียงพอไม่ใช่หน้าที่ความรับผิดชอบที่หน่วยงานต้องจัดการโดยตรง

ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติโควิด ๑๙ ในสหรัฐฯ มีงบประมาณสำหรับความช่วยเหลือธุรกิจการผลิตอาหารตามโปรแกรม ซีเอฟเอพี หรือแผนให้ความช่วยเหลือธุรกิจอาหารที่ประสบปัญหาโรคโคโรนาไวรัส

โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ปีก และเนื้อสัตว์ เป็นภาคการผลิตที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพลเมืองสหรัฐฯ แต่โรงเชือดหลายแห่งในประเทศจึงจำเป็นต้องปฏิบัติงานต่อไปท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด ๑๙ อย่างไรก็ตาม โรงงานหลายแห่งมีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด ๑๙ ของคนงาน ได้แก่ ไทสันฟู้ดส์ คาร์กิลล์ เวยน์ฟาร์ม เฮาส์ออฟเรฟอร์ดฟาร์ม เอมไพร์โคเชอร์โพลทรีย์ แซนเดอร์สันฟาร์ม เมาท์แทร์ฟาร์ฒ เพอร์ดูฟาร์ม เวสต์ลิเบอร์ตีฟู้ด สมิธฟิลด์ฟู้ด เจบีเอส ลินคอล์น พรีเมียมโพลทรีย์ ฮอร์เมล์ฟู้ด กลุ่มโอเอสไอ เป็นต้น 

โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ปีก และเนื้อสัตว์ ยังคงดำเนินการต่อไป โดยเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ภายหลังการยืนยันผู้ติดเชื้อโควิด ๑๙ แล้วก็ตาม บางแห่งก็หยุดการดำเนินงานไปเลย ความต้องการชุดตรวจสอบสำเร็จรูปเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากเรียกได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการตรวจคัดกรองหาผู้ติดเชื้อได้ และหลังจากนั้น ผู้ติดเชื้อจะสามารถกลับมาปฏิบัติงานได้อีกเมื่อไร ขณะนี้ ผู้แทนจากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้พยายามอธิบายให้ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมพ์ และศูนย์ควบคุม และป้องกันโรคสหรัฐฯ หรือซีดีซี ผู้บริหาร และหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่น ถึงความสำคัญที่โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ปีก และเนื้อสัตว์ จำเป็นต้องใช้ชุดตรวจสอบสำเร็จรูปโควิด ๑๙ เพื่อตรวจคัดกรองโรค ทั้งที่ความจริงแล้ว ยูเอสดีเอ ก็ไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงในการบริหารชุดตรวจสอบโรคดังกล่าว แต่ก็พยายามเป็นผู้อำนวยความสะดวก และประสานงานเท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อให้รัฐบาลเล็งเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนนี้

  

เอกสารอ้างอิง

Grabber R. 2020. USDA: Meat, poultry plants need COVID-19 testing kits. [Internet]. [Cited 2020 Apr 20]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/40103-usda-meat-poultry-plants-need-covid-19-testing-kits

ภาพที่ ๑  โรงเชือดสหรัฐฯเรียกร้องชุดตรวจโควิด ๑๙  (แหล่งภาพ Diy13 Bigstock)

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563

โปแลนด์ ผู้ผลิตสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดในยุโรป


โปแลนด์ยังจะยืนหยัดเป็นผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดในยุโรป ความต้องการเนื้อสัตว์ปีกที่กำลังเติบโต รายงานจากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดว่าในปีนี้ การผลิตเนื้อไก่ในโปแลนด์จะถึง ๒.๒ ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑.๕ จากปีที่แล้ว แม้ว่าจะเติบโตในระดับปานกลาง โปแลนด์ก็ยังขึ้นแท่นเป็นผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดในยุโรปอยู่ดี

ไก่เนื้อคิดเป็นร้อยละ ๘๕ ของการผลิตเนื้อสัตว์ปีกทั้งหมด ตามมาด้วยไก่งวงร้อยละ ๑๔ ทั้งสองชนิดเป็นสินค้าหลักสำหรับอุตสาหกรรมการแปรรูปเนื้อสัตว์ในโปลแนด์ ราคาหน้าฟาร์มเฉลี่ยสำหรับไก่เนื้อในเดือนมกราคมราว ๓๒ บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกันของปีที่แล้วร้อยละ ๓ เนื้อเป็ด และห่านผลิตไม่มาก และส่วนใหญ่ส่งออกไปยังเยอรมัน และยุโรปตะวันตก การผลิตเนื้อสัตว์ปีกในโปแลนด์มีปัจจัยสำคัญขึ้นกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ท้องถิ่น โดยเฉพาะ ข้าวโพด และนำเข้ากากถั่วเหลืองราว ๒ ล้านเมตริกตันจากอเมริการใต้ และสหรัฐฯ



เนื้อสัตว์ปีกเพื่อสุขภาพที่ดี ในราคาไม่แพง

การบริโภคเนื้อสัตว์ปีกในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ คาดว่าจะสูงถึง ๒๗.๕ กิโลกรัมต่อหัว เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ร้อยละ ๒ เทียบกับประเทศไทยก็ยังสูงกว่าเกือบสองเท่า ไทยบริโภคเนื้อสัตว์ปีกเพียง ๑๕ กิโลกรัมต่อหัวเท่านั้น คนไทยยังช่วยกันอร่อย และบำรุงสุขภาพในราคาสบายกระเป๋ากันต่อไปได้อีก

การบริโภคเนื้อสัตว์ปีกคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๓๖ ของเนื้อสัตว์ทั้งหมดในโปแลนด์เปรียบเทียบกับเนื้อสุกร ร้อยละ ๕๑ และเนื้อโค ร้อยละ ๕ เท่านั้น แม้ว่า ผู้บริโภคโปแลนด์ก็ยังชื่นชอบเนื้อสุกร โดยบริโภคกันเฉลี่ย ๔๑ กิโลกรัมต่อหัวต่อปี เนื้อสัตว์ปีกกลับเป็นที่ยอมรับว่า เป็นเนื้อสัตว์ที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า ในราคาไม่แพง ทำให้ช่วยขับเคลื่อนความต้องการมากขึ้นไปอีก อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์โปแลนด์ยังสามารถผลิตไส้กรอก และปาเต (เนื้อบดผสมไขมัน) จากสัตว์ปีกโดยเลียนแบบสินค้าจากเนื้อสุกรได้อีกด้วย

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ นี้ การบริโภคเนื้อสัตว์ปีกจะยังคงเติบโต เนื่องจาก การผลิตที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และการส่งออกที่ลดลง เนื่องจาก ปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนก HPAI และราคาเนื้อสุกรที่พุ่งสูงขึ้น

โรคไข้หวัดนกชนิด HPAI ส่งผลลบต่อการส่งออก

ตามรายงานข่าวคาดว่า การส่งออกเนื้อไก่จะขึ้นสูงแตะ ๑.๓๔ ล้านเมตริกตันในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ ๑๒ อย่างไรก็ตาม หากมองด้านมูลค่าสินค้า เนื้อไก่โปแลนด์มีมูลค่าราว ๘.๒ หมื่นล้านบาท บ่งชี้ว่า ราคาลดลง

หลายประเทศยกเลิกการสั่งห้ามนำเข้าสินค้าเนื้อสัตว์ปีก และไข่จากโปแลนด์แล้ว ภายหลังการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิด HPAI ในประเทศตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นมา ถึงเดือนมีนาคมปีนี้ การระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิด HPAI ยืนยันแล้ว ๓๐ แห่งในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก การห้ามส่งออกจะยังคงส่งผลกระทบต่อการส่งออกของโปแลนด์ในปีนี้ เชื่อว่าลดลงร้อยละ ๗ จากปีที่แล้ว 



เอกสารอ้างอิง

Berkhout N. 2020. Will Poland remain the EU’s largest poultry meat producer?. [Internet]. [Cited 2020 Apr 16]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2020/4/Will-Poland-remain-the-EUs-largest-poultry-meat-producer-571216E/

ภาพที่ ๑ โปแลนด์ ผู้ผลิตสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดในยุโรป  (แหล่งภาพ Alison Marras)


วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563

สหรัฐฯพบหวัดนกในรัฐเซาท์แคโรไลนา


สหรัฐฯยืนยันโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงในฟาร์มสัตว์ปีกครั้งแรกในรอบ ๓ ปี โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานการพบโรคไข้หวัดนก HPAI H7N3 ในฟาร์มไก่งวงเมืองเชสเตอร์ฟิลด์ รัฐเซาท์แคโรไลนา

ตามข่าว USDA อ้างว่าไม่เป็นอันตรายต่อคน และไม่พบผู้ป่วยจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ ตามรายงานต่อ OIE กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ แจ้งว่า ฟาร์มที่เกิดโรคมีความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับฟาร์มที่เคยติดเชื้อ LPAI H7N3 มาก่อนแล้ว บ่งชี้ว่า เชื้อไวรัสเกิดการกลายพันธุ์

ก่อนหน้านี้ไม่กี่เดือน USDA ร่วมกับนักวิจัย และเกษตรกรได้ทำงานร่วมกันเพื่อพยายามควบคุมโรค LPAI H5 และ H7 ที่วนเวียนอยู่ในรัฐนอร์ธ และเซาท์ แคโรไลนา มาแล้ว

โฆษกของ USDA ชื่อว่า Lyndsay Cole ฟาร์มที่เกิดโรคคาดว่าเกิดการติดเชื้อ LPAI มาก่อน แต่ในเวลาต่อมาเกิดการกลายพันธุ์เป็นเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงขึ้น นักวิจัยของ USDA ที่ห้องปฏิบัติการ NVSL ได้จับตาเชื้อไวรัสที่รุนแรงต่ำอย่างใกล้ชิด และในเวลาต่อมาก็พบว่า เชื้อไวรัสดังกล่าวเกิดการกลายพันธุ์กลายเป็นเชื้อรุนแรงทำให้ไก่งวงตายไป ๑,๕๘๓ ตัว ดังนั้น จึงตัดสินใจทำลายไก่งวงที่เหลือไปอีก ๓๒,๕๗๗ ตัว  

สมาคมไก่งวงแห่งชาติยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์จากไก่งวงยังปลอดภัย และอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร ฝูงไก่งวงที่ติดเชื้อถูกทำลายอย่างรวดเร็ว และจะไม่นำไปจำหน่ายเด็ดขาด ขณะนี้ได้มีการฆ่าเชื้อ และทำความสะอาดฟาร์มที่เกิดโรค และเฝ้าระวังในพื้นที่ใกล้เคียงอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้สหรัฐฯเคยประสบปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาดในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และ ๒๕๕๘ เมื่อเกิดความเสียหายในฟาร์ม โดยส่วนใหญ่เป็นฟาร์มไก่ไข่ ๕๐ ล้านตัว

ผลวิจัย

นักวิจัยเพิ่งเผยแพร่ผลการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในนกป่าของจีนระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ถึง๒๕๖๒ เพื่อติดตามเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H16N3 ที่พบแล้วหลายประเทศในปัจจุบัน และกำลังวิตกว่าอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ผู้วิจัยสามารถแยกเชื้อไวรัส H16N3 ได้ 2 ตัวอย่างที่สามารถจับกับตัวรับของเซลล์ทั้งมนุษย์ และสัตว์ปีก และพบหลักฐานว่า สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสมาจากสัตว์ชนิดอื่นๆ นำเข้าสู่เชื้อไวรัสไข้หวัดนก H16N3 บ่งชี้ว่า เชื้อไวรัสนี้สามารถติดเชื้อสู่สัตว์ชนิดอื่นๆและอาจเป็นอันตรายต่อทั้งมนุษย์ และสัตว์ได้ในอนาคต โดยนักวิจัยเขียนไว้ในบทความวิจัยว่า จำเป็นต้องเพิ่มการตรวจติดตามการอุบัติใหม่ และการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H16N3 ในนกป่าอย่างใกล้ชิดมากขึ้น  



เอกสารอ้างอิง

McDougal T. 2020. US battles high-pathogenic bird flu in South Carolina turkey farm. [Internet]. [Cited 2020 Apr 15]. Available from:


ภาพที่ ๑ สหรัฐฯรับกับหวัดนกในรัฐแคโรไลนา จากภาพเจ้าหน้าที่กำลังทำให้ไก่ตายอย่างมีมนุษยธรรมด้วยแก๊ส (แหล่งภาพ Ruud Ploeg)

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2563

ตลาดค้าสัตว์ปีกจีน ในมรสุม ASF, Covid-19 และ AI


การผลิต การบริโภค และการนำเข้าเนื้อไก่ในจีน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปีนี้ เนื่องจาก ปริมาณเนื้อสุกรยังขาดแคลนจากสถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) อย่างไรก็ตาม ด้วยสามปัจจัยการเติบโตของตลาดประจำปียังจำกัด เนื่่องจาก ความผันผวนด้านการผลิตอันเป็นผลมาจากรายงานเกี่ยวกับการฟื้นตัวของการผลิตสุกร ผู้บริโภคขาดแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมจากเนื้อสุกรเป็นเนื้อไก่ และอุปสรรคด้านการผลิต และการขนส่ง เนื่องจาก สถานการณ์โรคโควิด ๑๙

การผลิตสัตว์ปีกในจีน

เนื่องจาก โรค ASF ระบาด ปริมาณการผลิตสุกรในจีนคาดว่ายังคงไม่เพียงพอตลอดปีนี้ ทำให้ราคาเนื้อสุกรแพงขึ้นจนทำให้ความต้องการโปรตีนจากเนื้อสัตว์ประเภทอื่นเพิ่มขึ้น การผลิตไก่ในจีนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น ๑๕.๘ เมตริกตันในปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๕ เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว การเติบโตด้านการผลิตเนื้อไก่ยังคงจำกัดเนื่องจากหลายปัจจัย

  • ภาคการผลิตเนื้อไก่เนื้อคาดว่าจะขยายตัว จีนนำเข้าไก่ปู่ย่าพันธุ์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ๘๔ เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๐ จากปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ขณะที่นิวซีแลนด์ยังคงเป็นแหล่งที่ใหญ่ที่สุด ขณะที่ โปแลนด์ส่งออกไปยังจีนเติบโตขึ้นร้อยละ ๒๐๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ อย่างไรก็ตาม การส่งออกของโปแลนด์ทั้งลูกไก่ และเนื้อสัตว์ปีกถูกระงับจากจีนเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา หลังจากการรายงานข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดนก HPAI ในฟาร์มสัตว์ปีก เพื่อชดเชยความต้องการของตลาดจากโปแลนด์ จีนจะหันกลับมานำเข้าไก่มีชีวิตจากสหรัฐฯในปี พ.ศ.๒๕๖๓ นี้ แผนการผลิตพันธุ์ไก่ภายในประเทศกำลังเติบโต บริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของจีนรายงานความสำเร็จในการพัฒนาสายพันธุ์ไก่เนื้อสีขาว และส่งให้กับศูนย์ทดสอบสัตว์ปีกแห่งชาติจีน เพื่อประเมินประสิทธิภาพการผลิตในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ หากพันธุกรรมไก่ที่วิจัยขึ้นมาใหม่นี้ผ่านการจดทะเบียนก็จะสามารถผลิตลูกไก่ปู่ย่าพันธุ์จำหน่ายทั้งภายในประเทศ และส่งออกต่อไปได้
  • การรับรู้ของผู้บริโภคว่าการผลิตสุกรฟื้นตัวในช่วงแรก ทำให้การผลิตไก่เนื้อลดลง ในเดือนพฤศจิกายน และธันวาคมปีที่แล้ว ราคาเนื้อสุกรตกลง เนื่องจาก รัฐบาลจีนอ้างว่า การลดประชากรสุกรในประเทศถึงจุดต่ำสุดแล้ว และกำลังฟื้นตัว โดยเชื่อว่า ในปีหน้า พ.ศ. ๒๕๖๔ การผลิตสุกรในจีนจะฟื้นตัวสมบูรณ์แบบ หลังจากนั้น ราคาไก่เนื้อตกลงทันที ขณะที่สองเดือนแรกของปีนี้ พ.ศ. ๒๕๖๓ ราคาเนื้อสุกรพุ่งทะยายสูงเป็นประวัติการณ์ ๒๗๕ บาทต่อกิโลกรัมในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้น ราคาเนื้อสุกร และเนื้อไก่ยังคงผันผวน
  • แรงจูงใจของผู้บริโภคต่อการเปลี่ยนเป็นเนื้อไก่ ด้วยราคาเนื้อสุกรที่แพงมาก ผู้บริโภคจำนวนมากตัดสินใจเลือกซื้อเนื้อไก่แทนเนื้อสุกร แต่ข้อมูลแสดงให้เห็นว่ายังมีการเพิ่มขึ้นของราคาเนื้อไก่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แถมยังร่วงลงอีกตั้งแต่พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคชาวจีนยังชื่นชอบเนื้อสุกรมากกว่าเนื้อไก่ และการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคจะไม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ความวิตกต่อโรคระบาดโควิด ๑๙ มีผลกระทบไม่มากต่อการผลิตเนื้อไก่ในจีน รัฐบาลจีนกำหนดให้มีการควบคุมการเดินทาง และธุรกิจหลายแห่งถูกสั่งให้ปิดลงชั่วคราวในช่วงตรุษจีน นอกจากนั้น การจำกัดการเดินทางเนื่องจากโควิด ๑๙ ได้สร้างความเสียหายต่อการเคลื่อนย้ายลูกไก่พันธุ์ อาหารสัตว์ และการจับไก่เข้าสู่โรงเชือด ข้อจำกัดเหล่านี้ได้กลับคืนเป็นปรกติแล้ว แต่ผู้ประกอบการยังไม่เร่งรีบตัดสินใจเพิ่มการผลิต

การนำเข้าเนื้อไก่ในจีน

ราคาเนื้อสุกรที่แพงมากจะทำให้จีนต้องนำเข้าเนื้อไก่เพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่าจะพุ่งสูงขึ้นร้อยละ ๑๖.๔ เป็น ๖๗๕,๐๐๐ เมตริกตันในปี ค.ศ.๒๕๖๓ นี้ การเพิ่มขึ้นนี้คิดเป็นร้อยละ ๗๐ จากปี พ.ศ. ๒๕๖๑ และ ๒๕๖๒ ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น ปริมาณรวมของผลิตภัณฑ์ในประเทศยังคงจำกัดเนื่องจากปัจจัยด้านการผลิตดังกล่าวข้างต้น

ด้วยรูปแบบการการค้าตามปรกติ การนำเข้าเนื้อไก่จะสูงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ดังนั้น โควิด ๑๙ ส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อภาพรวมการนำเข้าในปีนี้ อย่างไรก็ตาม การระบาดของโรคไปทั่วโลกก็อาจส่งผลร้ายต่อการค้าขายในตลาดเนื้อไก่อย่างรุนแรง

บราซิลยังเป็นผู้นำด้านการส่งออกเนื้อไก่ให้จีน โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่าร้อยละ ๘๐ ในช่วงสามปีที่ผ่านมา แต่ยังหดตัวลง เนื่องจากอุปสรรคด้านการเจรจาต่อรองระหว่างรัฐบาลในปีที่แล้ว ร่วมกับคู่แข่งรายใหม่ที่เพิ่มขึ้น

การส่งออกเนื้อไก่ของจีน

การส่งออกเนื้อไก่ของจีนคาดว่าจะลดลงในปี ค.ศ. ๒๕๖๓ นี้เป็น ๓๗๕,๐๐๐ เมตริกตัน เนื่องจาก ปริมารสินค้าภายในประเทศที่มีน้อย และความเสียหายจากการระบาดของโรคโควิด ๑๙ตลาดส่งออกหลักของจีน ได้แก่ ฮ่องกง และมาเก๊า ขณะที่ ตลาดส่งออกเหล่านี้เติบโตขึ้น การส่งออกในสองเดือนแรกของปีนี้ก็ลดลงแล้วร้อยละ ๑๓ เนื่องจากความเสียหายโดยตรงจากโควิด ๑๙ จริงแท้เลยทีเดียว



เอกสารอ้างอิง

Berkhout N. 2020. China 2020 poultry forecast: ASF, Covid-19 and AI. [Internet]. [Cited 2020 Apr 9]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2020/4/China-2020-poultry-forecast-ASF-Covid-19-and-AI-567348E/


ภาพที่ ๑ ตลาดค้าสัตว์ปีกจีน ในมรสุม ASF, Covid-19 และ AI  (แหล่งภาพ pixabay.com)


วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2563

โปแลนด์ การผลิตสัตว์ปีกเพื่อสร้างพลังงานทดแทนแห่งอนาคต


โรงงานใหม่สามแห่งของโปแลนด์กำลังก่อสร้างโดยมุ่งหมายเปลี่ยนของเสียจากการผลิตสัตว์ปีกให้เป็นพลังงานไฟฟ้า วิสัยทัศน์ความทะเยอทะยานของชาวโปแลนด์อยากสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า ขณะนี้ กำลังลงทุนก่อสร้างโรงงานเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเปลี่ยนของเสียจากการผลิตสัตว์ปีกให้เป็นพลังงานทดแทนใหม่ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ ๒.๐ เมกาวัตต์จากโรงงาน ๓ แห่งในจังหวัด West Pomerania ในทางตอนเหนือของประเทศโปแลนด์

ผลิตภัณฑ์สุดท้ายของกระบวนการเป็นพลังงานไฟฟ้าใหม่ และปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้ของเสียจากการผลิตสัตว์ปีกเป็นสับสเตรต ตามแผนการผลิตเต็มกำลังสำหรับสองโรงงานได้พลังงาน ๐.๕ เมกะวัตต์ และโรงงานที่สามจะผลิตได้ ๑ เมกะวัตต์

ของเสียจากการผลิตสัตว์ปีกราว ๕๐,๐๐๐ ตันคิดเป็นร้อยละ ๑ ของทั้งหมดที่มีการผลิตในโปแลนด์ต่อปี จะใช้สำหรับผลิตเป็นพลังงานไบโอแก๊สแหล่งใหม่ โดยสถานที่เลือกไว้สำหรับกาผลิตไบโอแก๊สอยู่ภายในรัศมี ๑๐๐ กิโลเมตรของทะเลบัลติกเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการนำส่งพลังงานตามโครงการนี้ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โรงงานเหล่านี้อยู่ใกล้กับทะเลบัลติก การใช้พลังงานทดแทนจะช่วยลดพลังงานจากถ่านหิน และทดแทนปุ๋ยเคมีด้วยแร่ธาตุที่สามารถใช้หมุนเวียนได้

ดักเตอร์ บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

บริษัท ดักเกตอร์กำลังเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้อีกครั้ง โดยการสร้างนวัตกรรมแหวกแนวด้วยหลักเศรษฐศาสตร์หมุนเวียน มุ่งหมายต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก สร้างแหล่งพลังงานทดแทน และแก้ปัญหาความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับการเกิดของเสียที่ท้าทายอนาคต

บริษัทแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ๒๕๕๒ ร่วมทุนกันระหว่างฟินแลนด์ และสวิสเซอร์แลนด์โดยมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ขณะนี้ บริษัทได้พัฒนากระบวนการผลิตพลังงานธรรมชาติสมบูรณ์แล้ว พร้อมสำหรับใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ปีที่ผ่านมา บริษัทได้สร้างโรงงานผลิตไบโอแก๊ส และปุ๋ยธรรมชาติในเม็กซิโก โครงการต่อไปกำลังดำเนินการในโปแลนด์ รวมถึงแห่งอื่นๆในยุโรป และอเมริกา

โปแลนด์ ศึกษาการผลิตไบโอแก๊สจากมูลไก่

 ขณะที่ ของเสียเป็นซับสเตรตที่ดีสำหรับการผลิตไบโอแก๊ส บางแหล่งรวมถึง มูลสัตว์ปีกถือว่าท้าทายมากเพราะเป็นวัสดุชนิดเดียวที่ต้องใช้ระบบไร้อากาศ อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวได้ถูกแก้ไขแล้วโดยนักวิจัยจากโปแลนด์ โดยตีพิมพ์ในบทความวิจัยวารสาร Journal of Ecological Engineering นักวิจัย Jakub Mazurkiewics และคณะที่มหาวิทยาลัย Lublin และมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่ง Poznan ค้นคว้าสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการหมักมูลไก่ด้วยการย่อยระบบไร้อากาศ และยังศึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายของปุ๋ย เพิ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา โดยใช้ชื่อว่า ความเป็นไปได้ของโรงงานไบโอแก๊สในฟาร์มเลี้ยงไก่



เอกสารอ้างอิง


ภาพที่ ๑ โปแลนด์รุกผลิตสัตว์ปีกเพื่อสร้างพลังงานทดแทนแห่งอนาคต (แหล่งภาพ Ductor)

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563

มหัศจรรย์ของปลากระป๋องในวิกฤติโรคระบาด


ในสหรัฐฯ ปลาทูน่ากระป๋องหายไปจากชั้นวางสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลาที่มีการกักกันโรคโควิด ๑๙ ทำไม? ชาวสหรัฐฯไม่เลือกโปรตีนจากแหล่งอื่น
ในเวลาที่วิกฤติยังคงมีโอกาส แม้จะไม่ใช่สำหรับทุกคน ไม่กี่วันที่ผ่านมา แหล่งข่าวในอเมริการายงานถึงโอกาสสดใสในธุรกิจปลาทูน่ากระป๋องหลังการระบาดโควิด ๑๙ ทำให้ความต้องการเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ ๕๐
ในปานานมา คลังเก็บสินค้าปลาทูนากระป๋องทั้งเดือนมีนาคมที่ผ่านมาหายไปในพริบตาเพียงเวลาสามวัน ตัวแทนบริษัทสัญชาติสเปนอ้างว่า ยอดจำหน่ายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๘๐ เป็นร้อยละ ๓๐๐ ในวันแรกของวิกฤติการณ์ในเอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา และคอสตาริกา
ความตื่นตระหนกของผู้บริโภคนำไปสู่การกว้านซื้อปลาทูนากระป๋อง และกระดาษทิชชูเป็นสินค้าหลัก กระดาษทิชชูเป็นสินค้าที่มีขนาดใหญ่เทอะทะมาก และทุกคนทราบดีว่า เป็นสินค้าจำเป็นที่ต้องหยิบลงในรถเข็น สำหรับชนชั้นวางสินค้า กระดาษทิชชูกินพื้นที่ใหญ่โต แต่ก็หายไปอย่างรวดเร็วในพริบตา ยิ่งทำให้ผู้บริโภคใจหายต้องรีบตัดสินใจแย่งกันซื้อกันก่อนหมด
แล้วปลาทูน่ากระป๋อง ไม่ค่อยได้เห็นในรถเข็นเท่าไร แต่ก็มีไม่กี่คนสังเกตว่า หายไปจากชั้นวางสินค้าเสมอเมื่อตั้งใจจะไปเลือกสินค้า ในปี ค.ศ. ๒๐๐๙ ที่ผ่านมา เมื่อไข้หวัดใหญ่ H1N1 เคยระบาดในเม็กซิโก ปลาทูน่ากระป๋องไม่มีให้ซื้อเลย แต่ก็ไม่มีใครคิดจะซื้อ "chilorio" อาหารอเมริกาใต้คล้ายกับหมูฝอยปรุงรสด้วยเครื่องเทศจากเม็กซิโก
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ปลาทูน่าเป็นอาหารสุขภาพที่ปรุงได้ง่าย เอร็ดอร่อย แต่ก็น่าจะมีบางสิ่งที่ดึงดูดใจผู้บริโภคในช่วงเวลาวิกฤติ อาจเป็นด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๘๕ มิลลิเมตร และหนา ๓๕ มิลลิเมตร เหมาะพอดีมือ และเป็นอาหารที่ปลอดภัย และเก็บรักษาได้เป็นเวลานาน
 แล้วปลาทูน่ามีอะไรที่เนื้อไก่ ไข่ หรือโปรตีนจากสัตว์ประเภทอื่นๆไม่มี ความจริงแล้ว เนื้อสัตว์ปีกก็เป็นแหล่งของโปรตีนที่ราคาไม่แพง เตรียมอาหารได้ง่าย น่าจะมีใครสักคนลองวิเคราะห์ปรากฏการณ์ปลาทูน่ากระป๋อง แล้วลองปรับสินค้าเนื้อสัตว์ปีกให้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในครัวยามเกิดสถานการณ์วิกฤติโรคระบาดเหมือนกับปลาทูน่ากระป๋อง และกระดาษทิชชู
 
เอกสารอ้างอิง
Ruiz B. 2020. The magic of a can of tuna in times of health crisis. [Internet]. [Cited 2020 Apr 3]. Available from: https://www.wattagnet.com/blogs/25-latin-america-poultry-at-a-glance/post/39989-the-magic-of-a-can-of-tuna-in-times-of-health-crisis?oly_enc_id=2248A6821912I1W


วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2563

เพอร์ดูผู้ผลิตไก่รายใหญ่สหรัฐฯ เผชิญวิกฤติโควิด ๑๙


บริษัทเพอร์ดูฟาร์มอ้างว่าพยายามทำทุกทางแล้วเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ยังผลิตสินค้าได้ แม้ว่า พนักงานราวห้าสิบหน่วยผละงานที่โรงเชือด ของบริษัทเพอร์ดูฟาร์มในรัฐจอร์เจีย เนื่องจาก วิตกกังวลต่อความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และการจ่ายค่าแรงระหว่างการระบาดของโรค

พนักงานพยายามเรียกร้องค่าชดเชย โดยอ้างว่าบริษัทไม่ได้มีมาตรการควบคุมโรคที่ดี ไม่มีการทำความสะอาด ไม่มีการจ่ายเงินพิเศษ ขณะที่ พนักงานแบกรับความเสี่ยงต่อชีวิตในการทำงาน  

พนักงานส่วนอื่นๆก็กังวลว่า คนงานที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ในไลน์การผลิตอ้างว่า สัมผัสกับเชื้อโควิด ๑๙ แล้ว นอกจากนั้น ห้องน้ำที่ใช้ร่วมกันยังสกปรก มีอาหารหล่นอยู่ที่พื้น แม้ว่าบริษัทจะอ้างว่ามีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อเป็นประจำทุกวัน

ความรับผิดชอบของเพอร์ดู

เพอร์ดูทราบดีว่า ความรู้สึกวิตกกังวลท่ามกลางห้วงเวลาแห่งความผันผวน และพยายามทำทุกวิถีทางที่สามารถพึงกระทำได้ เพื่อดูแลพนักงานให้ยังทำงานได้อย่างปลอดภัยในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ นอกจากนั้น ยังมีการให้รางวัลตอบแทนสำหรับพนักงานสำหรับพนักงานรายวัน เมื่อสองเดือนที่ผ่านมาก็เพิ่งให้โบนัสกับพนักงานในบริษัท  สำหรับมาตรการป้องกันเพื่อคุ้มครองสุขภาพของพนักงานก็ได้ดำเนินการล่วงหน้ามาแล้วหลายครั้ง รวมถึง การเพิ่มการทำความสะอาด และฆ่าเชื้อพื้นที่ปฏิบัติงานทุกแห่ง เป็นประจำทุก ๒๔ ชั่วโมง และสนับสนุนให้พนักงานทำงานที่บ้าน หากรู้สึกไม่ค่อยสบาย หรือคิดว่ามีโอกาสสัมผัสโรค

เพอร์ดูได้ขยายเวลาสำหรับการให้บริการศูนย์ Wellness Centers ในบริษัท เพื่อให้พนักงานทุกคน และครอบครัวสามารถใช้บริการได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นโยบายด้านการชดเชยค่าจ้างระหว่างการลางานก็ปรับให้มีความยืดหยุ่นในช่วงเวลานี้ เพื่อผ่อนคลายความกังวลของพนักงาน ความตั้งใจทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้พนักงานทุกคนตลอดซัพพลายเชนการผลิตอาหารของเพอร์ดู พนักงานที่อุทิศตนให้กับบริษัท ผู้ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อสร้างความมั่นใจว่า การผลิตอาหารจะยังคงดำเนินการต่อไปได้ทั่วประเทศ และทั่วโลก เพื่อให้ผู้บริโภคยังคงมีอาหารรับประทาน เป็นกำลังกายสำหรับต่อสู้กับโรคระบาด และฟื้นฟูจากวิกฤติการณ์ที่กำลังท้าทายมนุษยชาติ

วิกฤติแรงงานกำลังส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนของอาหาร

ผู้ประกอบการผลิตเนื้อสัตว์ในอเมริกาเหนือบางแห่งประกาศให้โบนัสกับเกษตรกร และพนักงานในโรงเชือด ที่ยังคงปฏิบัติงานต่อไปในช่วงโรคโควิด ๑๙ ระบาด ผู้ผลิตสัตว์ปีกหลายแห่ง รวมถึง เพอร์ดู วางแผนพลิกฟื้นตลาดค้าปลีก เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของซูเปอร์มาร์เก็ตที่ชั้นวางสินค้าว่างเปล่าจนกลายเป็นสิ่งชินตาไปแล้ว สภาไก่แห่งชาติสหรัฐฯ (NCC) และสมาคมไก่งวงแห่งชาติ (NTF) แสดงความห่วงใยว่า วิกฤติแรงงานที่กำลังเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกอาจแย่ลงไปอีก เนื่องจาก ผลของการระบาดโรคโควิด ๑๙



เอกสารอ้างอิง


ภาพที่ ๑ เพอร์ดูผู้ผลิตไก่รายใหญ่ในสหรัฐฯ รับมือวิกฤติโควิด ๑๙  (แหล่งภาพ travelarium | Bigstock.com)



วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2563

นักวิจัยจับตาโรคไข้หวัดนกในฮังการี


ฮังการีพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสองสับไทป์พร้อมกัน ได้แก่ เอช ๕ เอ็น ๒ และเอช ๕ เอ็น ๘ นักวิจัยกำลังจับตามองเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดรุนแรง สองสับไทป์ที่วนเวียนอยู่ในฮังการี โดยพบการรีแอสซอร์ตเมนต์เกิดขึ้นแล้ว การระบาดใหม่ของโรคนี้ถูกยืนยันในสัตว์ปีกในเยอรมัน และโปแลนด์ รวมถึง ไต้หวัน และเวียดนาม

การระบาดใหม่ของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงสองสับไทป์หมุนเวียนในฮังการี ได้แก่ เอช ๕ เอ็น ๘ ที่คล้ายคลึงกับเชื้อไวรัสที่เคยตรวจพบในปี พ.ศ.๒๕๖๑ ถึง ๒๕๖๒ อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกสับไทป์ เอช ๕ เอ็น ๒ จากการเปิดเผยของสำนักงานวิจัยด้านสุขภาพสัตว์ และความปลอดภัยอาหารแห่งอิตาลี (IZSVe) โดยอ้างว่าเป็นการรีแอสซอร์ตเมนต์ใหม่ที่ประกอบด้วยยีนจากเชื้อไวรัสเอช ๕ เอ็น ๘ และจากเชื้อไวรัสไข้หวัดนกอีกสับไทป์ที่มีความรุนแรงต่ำที่พบในนกป่า และสัตว์ปีกเลี้ยงย่านยุโรป และเอเชีย

เชื้อไวรัสทั้งสองสับไทป์ตรวจพบในฮังการีก่อนการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง โดยพบครั้งแรกกลางเดือนกุมภาพันธ์ รายแรกเป็นเป็ดมูลาร์ดที่พบการติดเชื้อร่วมกันของเชื้อไวรัสทั้งสองชนิด การระบาดครั้งล่าสุด เชื้อเอช ๕ เอ็น ๒ ตรวจพบในแม่ไก่ไข่ และฟาร์มเป็ดที่ผลตรวจเป็นบวกต่อเอช ๕ เอ็น ๘ สำหรับ IZSVe เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของยุโรปสำหรับการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก และนิวคาสเซิล

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฮังการีได้รายงานการระบาด HPAI ต่อ OIE ทั้งหมด ๓๙ ครั้งในสัตว์ปีก สองครั้งเป็นการระบาดครั้งแรกที่ได้รับการยืนยันในฟาร์มเป็ดใน Csongrad รวมสัตว์ปีกที่ติดเชื้อมากกว่า ๑๙๕,๖๐๐ ตัว โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของเมือง แม้ว่าจะยืนยันการพบเชื้อไวรัสเอช ๕ เอ็น ๘ ก็ตาม แต่ไม่มีสัตว์ตัวใดแสดงอาการของโรค และไม่มีการตาย สัตว์ปีกทั้งหมดถูกทำลาย รวมถึง ซากสัตว์อีกด้วย

นอกเหนือจากนั้น เอช ๕ เอ็น ๘ ยังมีการรายงานการระบาดใหม่อีก ๓๗ ครั้งในช่วงวันที่ ๒๒ ถึง ๓๐ มีนาคมที่ผ่านมา โดยพบใน ๘ เมืองทางตอนใต้ของเมือง Baks-Kiskun ติดกับเมือง Csongrad รายงานอย่างเป็นทางการ ไม่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนสัตว์ปีก แต่มีสัตว์ปีกอย่างน้อย ๒๘๒,๗๔๒ ตัวที่เกี่ยวข้องกับการระบาดครั้งนี้ โดยมีสัตว์ปีกตายมากกว่า ๔,๒๐๐ ตัว และที่เหลือถูกทำลาย

การระบาดครั้งล่าสุด ทำให้ยืนยันจำนวนครั้งของการระบาดในเมือง  Baks-Kiskun รวมแล้วเป็น ๓๘ ครั้ง โดยเกิดความเสียหายโดยตรงจากการตาย และทำลายเกือบสามแสนตัวเข้าไปแล้ว

รายงานโรค HPAI ครั้งแรกทางตะวันตกของโปแลนด์

โรค HPAI ถูกตรวจพบเป็นครั้งแรกทางตะวันตกของงโปแลนด์ ตามรายงานที่กระทรวงเกษตรโปแลนด์แจ้งต่อ OIE โดยเริ่มระบาดตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ที่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกมากกว่า ๙๔,๒๐๐ ตัวในจังหวัด Lobusz มีสัตว์ปีกตายราว ๖๐๐ ตัว ที่เหลือถูกทำลาย อ้างตามรายงานต่อ OIE เป็นการระบาดครั้งที่ ๓๑ แล้วในโปแลนด์ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคมเป็นต้นมา โดยมีจำนวนสัตว์ปีกตาย หรือทำลายไปแล้วมากกว่า ๕๑๘,๐๐๐ ตัว

เยอรมันรายงานโรค HPAI เป็นแห่งที่สาม

เมื่อปลายเดือนมีนาคมยังมีการรายงานการระบาดใหม่ของ HPAI ที่เชื่อมโยงกับสับไทป์เอช ๕ เอ็น ๘ ในบริเวณตอนกลางของเมือง Saxony-Anhalt การติดเชื้อยืนยันภายหลังไก่งวง ๑๒๐ ตัวตายจากจำนวน ๒๐,๐๐๐ ตัวตามรายงานจากกระทรวงเกษตรต่อ OIE พื้นที่ควบคุมถูกประกาศ แต่แถบรอยต่อเมืองที่โรคถูกยืนยันในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา รวมถึง Saxony ทางตอนล่างของ Saxony และ Brandenburg

ในเมือง Saxony เชื้อไวรัสแวเรียนต์ชนิดเดียวกันถูกตรวจพบในเป็ดตัวหนึ่งที่ตายในสวนสัตว์ใน Zwickau อ้างตามรายงานล่าสุดของ OIE โดยไม่มีสัตว์ปีกชนิดใดจากจำนวน ๒๘๕ ตัวที่สวนสัตว์แสดงอาการของโรค     

การระบาดก่อนหน้านี้สองครั้งในบริเวณนี้เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม ทั้งสองครั้งอยู่ในเมือง Leipzig ซึ่งเชื้อไวรัสถูกตรวจพบในอีแร้ง และสัตว์ปีกเลี้ยงหลังบ้าน

โรค HPAI สงบแล้วในสาธารณรัฐเชก

ภายในสัปดาห์ที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ในสาธารณรัฐเชกประกาศสถานการณ์การระบาดของโรค HPAI ในประเทศสงบแล้วต่อ OIE

รายงานนี้เป็นผลมาจากการระบาดของโรค HPAI สองครั้งจากสับไทป์ H5N8 ในฝูงสัตว์ปีกขนาดเล็กในทางตอนกลางของเมือง Vysocina ในกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ถัดมาเป็นฟาร์มไก่งวงเชิงพาณิชย์ในเมืองติดกัน Pardubice

ไต้หวันยังรายงานเพิ่มอีก ๗ หน

สภาการเกษตรกรรมแห่งไต้หวันยืนยันการระบาดอีกสองครั้งของโรค HPAI จากสับไทป์ H5N2 ที่วนเวียนอยู่ในฟาร์มสัตว์ปีกของประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๑๕ เป็นต้นมา

การระบาดครั้งล่าสุดทั้งสองฟาร์มในตำบล Yunlin มีไก่พื้นเมืองมากกว่า ๘,๐๐๐ ตัวในเมือง Dongshi และไก่งวงราว ๑,๔๕๐ ตัวในเมือง Tuku รวมแล้วไต้หวันรายงานการระบาดไปแล้วในปีนี้ ๑๔ ครั้ง

สำหรับปีนี้ ไต้หวันยืนยันการปรากฏของเชื้อไวรัสชนิดนี้ในฟาร์ม ๒๖ แห่ง และความเสียหายโดยตรงของสัตว์ปีกรวมแล้วมากกว่า ๒๕๖,๐๐๐ ตัว

เชื้อไวรัส HPAI สับไทป์ H5N5 ถูกตรวจพบครั้งแรกในไต้หวันในเดือนกันยายน ค.ศ. ๒๐๑๙ การระบาดห้าครั้งล่าสุดได้รับการยืนยันแล้ว ทำให้จำนวนการระบาดรวมแล้วเป็น ๒๓ ครั้ง โดยสัตว์ปีกเกือบ ๕๖,๐๐๐ ตัวได้รับผลกระทบจากการระบาดครั้งล่าสุด รวมถึง ฟาร์มไก่ไข่ ไก่งวง และเป็ดเนื้อ เชื้อไวรัสถูกตรวจพบที่ฟาร์มในเมือง Yunlin, Pingtung และ Changhua และในเมือง Tianan ฟาร์มไก่ไข่แห่งหนึ่งยังพบผลบวกต่อ H5N2 พร้อมกันด้วย

เวียดนามยืนยันการระบาดใหม่อีก ๕ ครั้ง

ในชุดการระบาดของโรค HPAI ที่เกิดจากสับไทป์ H5N6 ในจังหวัดทางตอนเหนือของประเทศ กระทรวงเกษตรเวียดนามรายงานการระบาดใหม่อีก ๕ ครั้งต่อ OIE

ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เชื้อไวรัสถูกตรวจพบในฝูงสัตว์ปีกในหมู่บ้านภายในเมืองฮานอย และจังหวัด Thanh Hoa โดยมีสัตว์ปีกตายราว ๔๖๐ ตัว และทำลายไป ๔,๓๐๐ ตัว

การระบาดครั้งนี้ทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นในบริเวณนี้ตั้งแต่กลางมกราคมรวมแล้วเกือบ ๗๐,๐๐๐ ตัวจาก ๓๔ หมู่บ้านทางจังหวัดทางตอนเหนือของประเทศแปดจังหวัด

ในทางตอนใต้ของเวียดนาม ยังมีการยืนยันการระบาด ๕ ครั้งของ HPAI สับไทป์ H5N1 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา รายงานล่าสุดยืนยันเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ โดยกระทรวงเกษตรรายงานต่อ OIE ว่า สถานการณ์ของโรคสงบลงแล้ว

เอกสารอ้างอิง

Lindin J. 2020. New light shed on avian flu situation in Hungary. [Internet]. [Cited 2020 Apr 2]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/39977-new-light-shed-on-avian-flu-situation-in-hungary

ภาพที่ ๑ ฮังการีพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสองสับไทป์พร้อมกัน (แหล่งภาพ bangoland | Bigstock)



วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563

ผลกระทบของโควิด ๑๙ ต่อตลาดค้าเนื้อสัตว์ปีก


นักวิเคราะห์เชื่อว่า ปริมาณเนื้อสัตว์ปีก และไข่ในประเทศจีนจะขาดแคลนในอีกหกเดือนข้างหน้านี้ เนื่องจาก สถานการณ์โรคโควิด ๑๙ ราคาเนื้อสัตว์ปีกตกลงอย่างหนักในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจาก การจำกัดการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก และโรงเชือดถูกขยายเวลาปิดออกไป ทำให้ซัพพลายเชนกลายเป็นอัมพาต อุปสรรคของการขนส่ง และการขาดแคลนแรงงานก็เป็นปัญหาให้สินค้าทั้งเนื้อไก่ เนื้อสุกร และเนื้อโค  ไม่สามารถระบายออกจากห้องเย็นได้หลายพันตู้

ขณะนี้ โคโรนาไวรัสได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจด้านการเกษตรของจีนอย่างหนัก การผลิตสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒ เมื่อปีที่แล้วเป็น ๒๒.๓๙ ล้านตัน เนื่องจาก ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์เองก็ได้พยายามปรับตัวต่อตลาดภายหลังวิกฤติโรคระบาด African Swine Fever (ASF)

ความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน

นักวิเคราะห์จากโรโบแบงค์ วิเคราะห์สถานการณ์โปรตีนจากสัตว์ แสดงความเห็นถึง ความผันผวนของซัพพลายเชน ยังพบได้ในโรงงานอาหารสัตว์ และโรงเชือดที่ถูกปิดต่อเนื่องกันหลายสัปดาห์กำลังกลายเป็นปัญหาที่แท้จริง ทุกกระบวนการในการผลิตจำเป็นต้องทำงานต่อเนื่องกันไป หากกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งหยุดชะงักก็จะทำลายความสมดุลด้านการผลิตลง

ผลกระทบในอินเดีย

ขณะเดียวกันในอินเดีย ยอดการจำหน่ายเนื้อสัตว์ปีก และไข่ก็ลดลงในช่วงการระบาดของโคโรนาไวรัส ตลาดค้าส่งก็มียอดร่วงลงร้อยละ ๕๐ สำหรับเนื้อสัตว์ปีก ขณะที่ ตลาดค้าปลีกก็ตกลงร้อยละ ๒๕ ถึง ๓๐ เช่นเดียวกับ ยอดจำหน่าย และราคาไข่ก็ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะ ในตลาดค้าส่งเกิดข่าวลือที่เกิดจากความเข้าใจผิดกระจายอยู่ในสังคมโซเชียลมีเดีย การระบาดของโรคทำให้บางประเทศสั่งแบนการนำเข้าสินค้าสัตว์ปีก เช่น แอฟกานิสถานสั่งห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ปีกผ่านพรมแดนทั้งจากอิหร่าน และปากีสถาน โดยอ้างความกังวลต่อการแพร่กระจายโคโรนาไวรัส

เอกสารอ้างอิง

McDougal T. 2020. Global poultry trade affected by Coronavirus. [Internet]. [Cited 2020 Feb 26]. Available from:  https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2020/2/Global-poultry-traded-affected-by-Coronavirus-547412E/

ภาพที่ ๑ ปริมาณเนื้อสัตว์ปีก และไข่ในประเทศจีนจะขาดแคลนในอีกหกเดือนข้างหน้านี้ (แหล่งภาพ Henk Riswick)


วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563

สัตวแพทย์ในวิกฤติโควิด ๑๙


ท่ามกลางวิกฤติโควิด องค์กร และบริษัทด้านสัตวแพทย์ทั่วโลก กำลังยื่นมือช่วยเตรียมอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เชื้อไวรัสกลุ่มโคโรนาไวรัส สามารถจำแนกได้เป็น กลุ่มอัลฟา โคโรนาไวรัส เช่น โรค PED และ TGE ก่อโรคท้องเสียในสุกร โรค Canine coronavirus ก่อโรคท้องเสีย และโรค FIP (Feline infectious peritonitis, FIP) ในแมว กลุ่มเบตา โคโรนาไวรัส เช่น โรค SARS, COVID-19, MERS ในมนุษย์ กลุ่มแกมมา โคโรนาไวรัส เช่น โรค IB ในไก่ สังเกตว่า หลายโรคเป็นโรคที่สัตวแพทย์คุ้นเคย หรือมีประสบการณ์กับโรคโดยตรงอยู่แล้วทั้งสัตว์ปีก สุกร และสัตว์เลี้ยง
เมื่อไวรัสก็คือไวรัส ไม่จำเป็นต้องเป็นเชื้อโรคในมนุษย์ หรือสัตว์ หมายความว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสัตว์ก็สามารถหยิบยื่นความช่วยเหลือให้กับวิกฤติการณ์โคโรนาไวรัสนี้ได้ เช่นเดียวกับสิ่งที่สัตวแพทย์ทั่วโลกกำลังพยายามทำอยู่
สัตวแพทย์ในสเปน
ในขณะที่ โรคโควิด ๑๙ ระบาดในสเปน บริษัทด้านสุขภาพสัตว์ในสเปนอย่าง "ฮิปรา (Hipra)" ก็ได้พยายามแบ่งปันอุปกรณ์ และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีชีวภาพให้กับองค์กรสาธารณสุข บริษัทยา และวัคซีนทางสัตวแพทย์แห่งนี้ให้ห้องปฏิบัติการใหม่กับโรงพยาบาลสำหรับการวิเคราะห์ตัวอย่างเชื้อไวรัส รวมถึง พรินต์เตอร์สามมิติสำหรับโรงงานในการผลิตอุปกรณ์ช่วยหายใจที่มีความจำเป็นทางการแพทย์อย่างมาก โดยบริษัทด้านสุขภาพสัตว์แห่งนี้ถือเป็นภาระ และความรับผิดชอบให้การใช้ทรัพยากรทุกอย่างที่ตัวเองมีอยู่เข้าไปช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านสาธารณสุข และเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันอย่างเต็มที่เพื่อควบคุมโรคระบาดครั้งนี้ให้ได้
สัตวแพทย์ในเนเธอร์แลนด์
ในเนเธอร์แลนด์ หน่วยงานด้านสุขภาพสัตว์ชื่อว่า "รอยัล จีดี (Royal GD)" ก็เป็นอีกหน่วยงานด้านสัตวแพทย์ ที่พยายามให้ความช่วยเหลือด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองโรคโควิด ๑๙ การบริการตรวจสอบวันต่อวันด้วยห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยที่สุด รอยัลจีดี เป็นหน่วยบริการด้านสุขภาพสัตว์ที่มีประสบการณ์สูงมากในงานวิจัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัส ตามปรกติ จีดี มุ่งวิจัยเชื้อไวรัสในสัตว์ แต่หลักการของวิธีการวิจัยเชื้อไวรัสในสัตว์ก็เหมือนกับเชื้อวไรัสในมนุษย์นั่นเอง สำหรับการศึกษาเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ การทดสอบต้องถูกทวนสอบความถูกต้องในมนุษย์ก่อน และจีดีก็ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมโรคในมนุษย์ การตรวจสอบเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ น้ำลายของผู้ป่วยจะถูกตรวจสอบด้วยเครื่องพีซีอาร์ (Polymerase chain reaction device, PCR) เพื่อเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสสำหรับการตรวจสอบ ขณะนี้ จีดี มีห้องปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพพร้อมเครื่องพีซีอาร์จำนวนมาก สามารถตรวจสอบตัวอย่างได้หลายพันตัวอย่างเป็นประจำทุกปี สำหรับการวินิจฉัยโรคโควิด ๑๙ ห้องปฏิบัติการพร้อมรับตัวอย่างมากกว่า ๒๐๐๐ ตัวอย่างต่อวัน  
สัตวแพทย์ในฝรั่งเศส
ในฝรั่งเศส หน่วยงานด้านสุขภาพสัตว์อย่าง "บริษัท ซีวา (Ceva Sante Animale)" กำลังศึกษาเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ด้วยความระมัดระวัง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมโรคโควิด ๑๙ แม้ว่าจะไม่สามารถใช้ห้องปฏิบัติการของตนเองที่มีความทันสมัยอย่างมาก สำหรับการวิจัยวัคซีนโควิดได้ แต่สำหรับสุขภาพสัตว์ นักวิจัยของบริษัทก็ทำงานกับเชื้อโคโรนาไวรัสในสัตว์เป็นประจำอยู่แล้ว ด้วยประสบการณ์การทำงานด้านวัคซีนโคโรนาไวรัสในสัตว์อย่างลึกซึ้งเป็นเวลายาวนาน นักวิจัยของซีวาเองก็กำลังศึกษาเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ นี้อย่างระมัดระวัง 
สัตวแพทย์ในสหรัฐฯ
แม้ว่าจะเป็นเชื้อโคโรนาไวรัสเหมือนกัน แต่สัตว์ปีกไม่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด ๑๙ อย่างไรก็ตาม สำหรับสัตวแพทย์แล้ว เชื้อไวรัสแฟมิลีโคโรนาไวรัสรู้จักคุ้นเคยกันมานานแสนนานแล้ว โคโรนาไวรัส แบ่งได้เป็น อัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา เป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีความสำคัญกับโรคทางระบบหายใจ ทางเดินอาหาร ระบบประสาท ไต และตับ สำหรับสัตว์ปีก เชื้อไวรัสโคโรนาไวรัสที่รู้จักกันดีที่สุดคือ โรคหลอดลมอักเสบ เป็นแกมมาโคโรนาไวรัส ไม่ติดต่อสู่คน แต่โควิด ๑๙ เป็นเบตาโคโรนาไวรัส
เชื้อไวรัสกลุ่มนี้พบได้ทั้งในมนุษย์ และสัตว์ ดังนั้น สมาคมพยาธิวิทยาด้านสัตว์ปีกแห่งอเมริกัน (AAAP) และมหาวิทยาลัยจอร์เจีย โดยนักไวรัสวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญ ดร.มาร์ก แจ็ควู้ด ได้นำเสนอความเห็นที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์
๑. อุตสาหกรรมสัตว์ปีก และผู้เชี่ยวชาญในแวดวงสัตว์ปีกมีประสบการณ์อย่างมากกับโรคหลอดลมอักเสบติดต่อที่เป็นโคโรนาไวรัสเหมือนกัน ความจริงแล้วสามารถแบ่งบันความรู้ให้กับวงการแพทย์ได้
๒. โควิด ๑๙ ยังไม่มีหลักฐานพิสูน์ว่าจะติดต่อสู่สัตว์ปีกได้ และไม่น่าจะติดได้เช่นกัน ดังนั้น สัตว์ปีกจึงไม่มีความเสี่ยงต่อโรคโควิด ๑๙
๓. เนื้อสัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์ เช่น ไข่ และไส้กรอก ไม่ใช่แหล่งของเชื้อโคโรนาไวรัส
การระบาดของโคโรนาไวรัสครั้งนี้ ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ปีกควรถือโอกาสในการสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ การฆ่าเชื้อ และทำความสะอาด และการเฝ้าระวังโรค
ในการต่อสู้กับโรคระบาดโควิด ๑๙ สิ่งสำคัญที่สุดคือ พื้นฐานของเชื้อโคโรนาไวรัสมีเปลือกหุ้ม ดังนั้น จึงมีความไวรับต่อการฆ่าเชื้อด้วยสบู่ และสารฆ่าเชื้อทั่วไป การผลิตวัคซีนในมนุษย์มีความซับซ้อน เนื่องจาก การทำให้เชื้อไวรัสอ่อนแรงลงได้ค่อนข้างลำบาก ส่วนการพัฒนาวัคซีนรีคอมบิแนนท์ก็ยังให้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจนัก แม้ว่าจะมีการใช้อย่างแพร่หลายมากอยู่แล้วในการผลิตสัตว์ปีก แต่สัตว์ปีกไม่เหมือนมนุษย์ จำเป็นต้องมีงานวิจัยมากกว่านี้จนกว่าจะได้วัคซีนที่ดีเพียงพอ จงเดินหน้าผลิตไก่ และไข่ต่อไปในเวลานี้ โควิด ๑๙ ก็น่ากลัว แต่ความอดอยากที่อาจเป็นวิกฤติต่อไปเป็นสิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่า 

เอกสารอ้างอิง
Brockotter F. 2020. Veterinarian expertise in Corona crisis. [Internet]. [Cited 2020 Mar 30]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2020/3/Veterinarian-expertise-in-Corona-crisis-562693E/ 

ภาพที่ ๑ เครื่องพีซีอาร์ที่ห้องวิจัยของฮิปรา และโรยัล จีดี ในเนเธอร์แลนด์เป็นอุปกรณ์สำคัญที่กำลังใช้สำหรับช่วยตรวจสอบโควิด ๑๙  (แหล่งภาพ Hipra)



ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...