นักวิเคราะห์เชื่อว่า ปริมาณเนื้อสัตว์ปีก
และไข่ในประเทศจีนจะขาดแคลนในอีกหกเดือนข้างหน้านี้ เนื่องจาก สถานการณ์โรคโควิด
๑๙ ราคาเนื้อสัตว์ปีกตกลงอย่างหนักในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
เนื่องจาก การจำกัดการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก และโรงเชือดถูกขยายเวลาปิดออกไป
ทำให้ซัพพลายเชนกลายเป็นอัมพาต อุปสรรคของการขนส่ง
และการขาดแคลนแรงงานก็เป็นปัญหาให้สินค้าทั้งเนื้อไก่ เนื้อสุกร และเนื้อโค ไม่สามารถระบายออกจากห้องเย็นได้หลายพันตู้
ขณะนี้
โคโรนาไวรัสได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจด้านการเกษตรของจีนอย่างหนัก
การผลิตสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒ เมื่อปีที่แล้วเป็น ๒๒.๓๙ ล้านตัน เนื่องจาก
ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์เองก็ได้พยายามปรับตัวต่อตลาดภายหลังวิกฤติโรคระบาด African Swine Fever (ASF)
ความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน
นักวิเคราะห์จากโรโบแบงค์
วิเคราะห์สถานการณ์โปรตีนจากสัตว์ แสดงความเห็นถึง ความผันผวนของซัพพลายเชน
ยังพบได้ในโรงงานอาหารสัตว์
และโรงเชือดที่ถูกปิดต่อเนื่องกันหลายสัปดาห์กำลังกลายเป็นปัญหาที่แท้จริง
ทุกกระบวนการในการผลิตจำเป็นต้องทำงานต่อเนื่องกันไป หากกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งหยุดชะงักก็จะทำลายความสมดุลด้านการผลิตลง
ผลกระทบในอินเดีย
ขณะเดียวกันในอินเดีย
ยอดการจำหน่ายเนื้อสัตว์ปีก และไข่ก็ลดลงในช่วงการระบาดของโคโรนาไวรัส
ตลาดค้าส่งก็มียอดร่วงลงร้อยละ ๕๐ สำหรับเนื้อสัตว์ปีก ขณะที่
ตลาดค้าปลีกก็ตกลงร้อยละ ๒๕ ถึง ๓๐ เช่นเดียวกับ ยอดจำหน่าย
และราคาไข่ก็ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะ ในตลาดค้าส่งเกิดข่าวลือที่เกิดจากความเข้าใจผิดกระจายอยู่ในสังคมโซเชียลมีเดีย
การระบาดของโรคทำให้บางประเทศสั่งแบนการนำเข้าสินค้าสัตว์ปีก เช่น
แอฟกานิสถานสั่งห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ปีกผ่านพรมแดนทั้งจากอิหร่าน
และปากีสถาน โดยอ้างความกังวลต่อการแพร่กระจายโคโรนาไวรัส
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2020. Global poultry trade affected by Coronavirus. [Internet]. [Cited
2020 Feb 26]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2020/2/Global-poultry-traded-affected-by-Coronavirus-547412E/
ภาพที่ ๑ ปริมาณเนื้อสัตว์ปีก
และไข่ในประเทศจีนจะขาดแคลนในอีกหกเดือนข้างหน้านี้ (แหล่งภาพ Henk
Riswick)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น