วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หวัดนกลามแปดจังหวัดเวียดนาม



เวียดนามรายงานการระบาดของโรคไข้หวัดนก H5N1 ในแปดจังหวัด ตามรายงานข่าวของกระทรวงเกษตร และการพัฒนาชนบท
                การระบาดของโรคไข้หวัดนกในจังหวัด Nam Dinh ทางตอนเหนือของเวียดนาม และอีกหลายจังหวัด ได้แก่ Ca Mau, Dak Lak, Khanh Hua, Kon Tum, Long An, Quang Ngai และ Tay Ninh ทางตอนกลาง และตอนใต้ของประเทศ มีการทำลายสัตว์ปีกที่ติดเชื้อไปแล้วกว่า ๓๐,๐๐๐ ตัว โดยเฉพาะจังหวัด Quang Ngai เกิดความเสียหายมากที่สุด มีสัตว์ปีกตายกว่า ๕,๐๐๐ ตัว จังหวัดอื่นๆก็ยกระดับการเตือนภัยระดับสูง เนื่องจาก ฟาร์มไก่กว่า ๕ ล้านตัวในจังหวัด Quang Nam ยังไม่ได้ให้วัคซีนป้องกันโรคเลย ขณะนี้ นายกรัฐมนตรี เหงียน เติ๋น สุง แต่งตั้งทีมตรวจสอบ เพื่อสนับสนุนการยับยั้งการระบาดของโรคไข้หวัดนก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง รวมถึง รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร และการพัฒนาชนบท (MARD) ที่ดำรงตำแหน่งผู้นำคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน และควบคุมโรคไข้หวัดนกให้มีการวางมาตรการป้องกันการแพร่กระจายโรคไปสู่คน จนถึงปัจจุบัน เวียดนามมีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนก H5N1 แล้ว ๒ รายทางตอนใต้ของจังหวัด Binh Phuoc และ Dong Thap
แหล่งที่มา:            World Poultry (17/2/14)    
             

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

จีนพบหวัดนกพันธุ์ใหม่ชนิดที่สองในรอบปี



พบเหยื่อรายแรกติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ในมนุษย์ สับไทป์ H10N8 ในประเทศจีน
                หญิงชราวัย ๗๓ ปีจากเมืองหนางฉางจากการติดเชื้อที่ตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิตก่อนการเสียชีวิต แม้ว่า จะยังไม่ยืนยันแหล่งที่มาของการติดเชื้อที่แน่นอน ล่าสุดมีรายงานผู้ติดเชื้อเป็นรายที่สองแล้วในมณฑลเจียงซีเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคมที่ผ่านมา จึงเป็นที่วิตกกังวลกันมากว่า เชื้อไวรัสสับไทป์ H10N8 กำลังหมุนเวียนอยู่ในสิ่งแวดล้อม และคอยเวลาติดเชื้อเข้าสู่มนุษย์ในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งที่ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จีนก็มีการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สับไทป์ H7N9 ที่มีอัตราการตายถึงหนึ่งในสี่ของผู้ติดเชื้อ ผลการศึกษาของ Lancet แสดงให้เห็นว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้มีโครงสร้างทางพันธุกรรมสองชนิด ได้แก่ H5N1 และ H7N9 ที่กระโดดจากสัตว์ปีกสู่มนุษย์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายรายมาแล้ว ผู้วิจัยกล่าวว่า เชื้อไวรัส H10N8 ไม่ก่อโรคในสัตว์ปีก นั่นคือ เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปได้อย่างเงียบๆในฟาร์ม โดยที่สัตว์ปีกไม่แสดงอาการของโรค อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัย ยังแสดงให้เห็นว่า โรคมิได้แพร่กระจายจากคนสู่คน ซึ่งอาจเป็นอันตรายมากกว่านั้น อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องจับตามองเชื้อไวรัสนี้อย่างใกล้ชิด จะประเมินอันตรายของเชื้อไวรัสชนิดนี้ต่ำไปไม่ได้
แหล่งที่มา:            World Poultry (6/2/14)    

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เติม DDGS ลงอาหารสัตว์ได้เท่าไร



เผยงานวิจัยเพื่อประเมินผลของการเติม และพลังงานที่สามารถเมตาโบไลส์ได้ (ME) DDGS ต่อคุณภาพเม็ดอาหาร ความสามารถในการย่อย รอยโรคเท้าอักเสบ และผลการเลี้ยงไก่เนื้อ
                ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า สามารถใช้ DDGS ได้ในสัดส่วนถึง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ในอาหารไก่เนื้อ เมื่อคำนวณสูตรอาหารตาม AA อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ระดับสูงสุดที่ใช้เติมลงในอาหารได้ควรเป็นเท่าไร เมื่อคำนวณสูตรอาหารตาม CP ค่า MG ของ DDGS โดยทั่วไปคำนวณโดยอาศัย crude fat โปรตีน และไฟเบอร์
                 Crude fat สามารถประเมินโดยอาศัยการสกัด หรือการมีการให้ Acid hydrolysis pre-treatment กอน โดยสามารถให้ค่า crude fat ประมาณ ๒ เปอร์เซ็นต์ใน DDGS ดังนั้นจึงมีค่า ME ที่สูงกว่าประมาณ ๒.๒ เปอร์เซ็นต์
                ไก่เนื้อเพศผู้จำนวน ๑,๒๖๐ ตัว แบ่งกลุ่มแบบสุ่มเป็น ๕ กลุ่ม โดยให้มี ๖ ซ้ำต่กลุ่มการทดลอง มีไก่จำนวน ๓๕ ตัวต่อกลุ่ม การทดลองแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่ให้ DDGS และจัดเรียงแบบ factorial arrangement of two analytical methods สำหรับการวิเคราะห์ CF (AOAC 920.39 และ 954.02) และเติม DDGS เป็น 2 ระดับ (๑๕ และ ๓๐ เปอร์เซ็นต์) ค่า DDGS ME ที่ใช้สำหรับสูตรอาหารเป็น ๒,๖๓๑ และ ๒,๖๘๙ กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม อาหารสูตรแรกเป็นแบบ crumbled form ประกอบด้วย DDGS ๖ เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อถึงระยะเติบโต และระยะสุดท้ายเป็นแบบ pelleted from พบว่า การกินอาหาร และน้ำหนักตัวที่อายุ ๑๔, ๓๕ และ ๔๙ วัน และอัตราแลกเปลี่ยนอาหาร ที่อายุ ๓๕ และ ๔๙ วัน เก็บตัวอย่างลำไส้เล็กส่วนท้ายวิเคราะห์ความสามารถในการย่อยอาหาร ที่อายุ ๕๐ วัน ประเมินรอยโรคที่เท้า ผลการทดลอง พบว่า ค่าวิเคราะห์ที่ ๙๕๔.๐๒ ส่งผลให้ลดการเติมไขมันลงได้ และช่วยเพิ่มคุณภาพเม็ดอาหาร ในทางตรงข้าม การเติม DDGS ที่สัดส่วน ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ลดคุณภาพเม็ดอาหร ลดน้ำหนัก การแลกเปลี่ยนอาหาร การย่อยได้โปรตีน และเพิ่มอุบัติการณ์รอยโรคที่เท้า ไก่เนื้อสามารถให้ DDGS ที่สัดส่วน ๑๕ เปอร์เซ็นต์เมื่อคำนวณสูตรโดยอาศัย CP และวิธีการคำนวณ CF และ ME ส่งผลต่อผลการเลี้ยงไก่เนื้อได้   
แหล่งที่มา:            Wilmer Pacheco, Adam Fahrenholz, Charles Stark, Peter Ferket, John T. Brake, North Carolina State University, Raleigh, NC USA. Proceedings International Poultry Scientific Forum (2014), Atlanta, GA, USA
 

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การแก้ปัญหาวัสดุรองพื้นโดยอาศัยกรด

แก๊สแอมโมเนียที่ผลิตจากวัสดุรองพื้นระหว่างการเลี้ยงไก่ส่งผลกระทบต่อตา และสุขภาพของระบายใจ รวมถึง ประสิทธิภาพการผลิต
                การแก้ไขปัญหาวัสดุรองพื้นเสียภายในโรงเรือนระหว่างการกกลูกไก่โดยใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงวิธีเดียว สามารถควบคุมปัญหาได้ระยะหนึ่งเท่านั้น นักวิจัยจึงพยายามใช้กรดระหว่างเลี้ยง เพื่อปรับสมดุลของความเข้มข้นแอมโมเนียภายในวัสดุรองพื้น และผลการเลี้ยงในไก่เนื้อที่เลี้ยงในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน
                การทดลองทั้งหมด ๓ รุ่น ระยะเวลาระหว่างฝูงเป็นเวลา ๑๔ วันให้คล้ายกับการเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์จริง แต่ละกลุ่มการทดลองแบ่งเป็น ๔ ซ้ำ สำหรับ ๕ กลุ่มการทดลอง ในแต่ละกลุ่มการทดลอง มีไก่เนื้อ จำนวน ๔๒ ตัว เลี้ยงด้วยเครื่องให้อาหารตามท่อ และอุปกรณ์ให้น้ำแบบนิปเปิล แบ่งเป็น กลุ่มควบคุมลบ (ไม่มีการแก้ปัญหาเลย) ให้กรดครั้งเดียวหนึ่งวันก่อนลงลูกไก่ (-๑ วัน) ให้สองครั้ง (-๑ และ ๒๘ วัน) ให้ช่วงท้ายด้วย (-๑, ๒๘ และ ๔๓ วัน) และให้ทุกสองสัปดาห์ (-๑, ๑๔, ๒๘ และ ๔๒ วัน) และให้ทุกสองสัปดาห์จนถึง ๔๓ วันจากอายุการเลี้ยงทั้งหมด ๕๖ วัน โดยใช้ขนาดตามที่ผู้ผลิตแนะนำคือ ๑๐๐ ปอนด์ต่อ ๑,๐๐๐ ตารางฟุต ผลการวิจัย บ่งชี้ว่า การให้ทุกสองสัปดาห์ให้ผลดีที่สุดในการลดความเข้มข้นแอมโมเนีย ตามด้วยการให้ช่วงท้าย โดยความเข้มข้นแก๊สแอมโมเนียได้ลดลง ๕๖.๖ และ ๒๑.๘ เปอร์เซ็นต์ที่อายุ ๔๒ และ ๕๗ วัน ตามลำดับ สำหรับการให้ทุกสองสัปดาห์

  แหล่งที่มา Proceedings of the 2013 International Poultry Scientific Forum, Atlanta, GA USA
 

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...