วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รักษาพื้นแกลบให้แห้งเพื่อสร้างกำไร



คุณภาพของวัสดุรองพื้นเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากต่อผลกำไรในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อวันนี้ โดยจำเป็นต้องมีความใส่ใจมากที่สุด เหตุผลร้อยประการที่ทำให้วัสดุรองพื้นเปียกนั่นเป็นคำตอบว่าทำอย่างไรจึงจะรักษาวัสดุรองพื้นให้แห้งอยู่เสมอ
ภายหลังการฟักเป็นตัว ลูกไก่ถูกเลี้ยงในโรงเรือนเลี้ยงไก่ สิ่งที่สำคัญที่สุด นอกเหนือจาก อุณหภูมิ และการให้อาหาร และน้ำอย่างถูกต้องคือ การจัดการวัสดุรองพื้นให้แห้ง และเมื่อวัสดุรองพื้นเปียกก็ต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้วัสดุรองพื้นเปียก
                ความชื้นที่ดีควรอยู่ระหว่าง ๒๐ ถึง ๒๕ เปอร์เซ็นต์ หากสูงถึงระดับ ๒๖ ถึง ๓๙ เปอร์เซ็นต์ก็จะส่งปัญหา และสูญเสียทางเศรษฐกิจ แต่ถ้าสูงเกินกว่า ๔๕ เปอร์เซ็นต์ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการผลิตมาก ตำแหน่งแรกที่ควรสังเกตเมื่อก้าวเข้าภายในโรงเรือนคือ ใต้ไลน์นิปเปิลแล้วกวาดตามองไล่ห่างออกไป แม้กระทั่งก่อนที่ความชื้นจะเพิ่มขึ้นถึงระดับ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ก็จะสามารถเห็นพื้นเปียกบนวัสดุรองพื้น หลังจากนั้นไม่นานก็จะจับกันเป็นแผ่น สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการจัดการที่ไม่ดีที่ไม่ได้เป็นผลมาจากคนเลี้ยงเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ผู้เลี้ยงไม่สามารถควบคุมได้เช่นเดียวกัน
                ชนิดของวัสดุรองพื้นมีความสำคัญมาก ทั่วโลกนิยมใช้ขี้กบจากไม้สีขาวเนื้ออ่อน (Soft white wood shaving) แต่ไม้เนื้อแดงแข็งกว่า ไม่สามารถดูดซับความชื้นได้ดีเท่ากับขี้กบจากไม้ไพน์เนื้อสีขาว (Pine white wood shaving) อย่างไรก็ตาม ในบางแห่งไม้เนื้อแดง (Red wood) มีคุณสมบัติดีกว่าวัสดุรองพื้นชนิดอื่นๆ ที่สามารถจัดหาได้ การเลือกใช้วัสดุรองพื้นที่ดีที่สุด จำเป็นทราบถึงคุณสมบัติอย่างรอบด้าน
วัสดุรองพื้นทางเลือกอื่นๆ
                เปลือกเมล็ดทานตะวันจากโรงงาน มีสีค่อนข้างดำ ดังนั้น พื้นโรงเรือนจึงดูเหมือนจะมืดกว่าปรกติ ควรเพิ่มแสงสว่างในพื้นที่กกเพิ่มขึ้น โดยอาจเลือกใช้หลอดไฟขนาดใหญ่มากขึ้น หรือสว่างมากขึ้น และจำนวนเพิ่มขึ้น
                แก่นถั่วลิสงบด (Ground nut kernels) อาจส่งผลกระทบต่อเท้าของไก่ เนื่องจาก การดูดซับความชื้นได้ไม่ดี และยังมีแนวโน้มที่จะมีเชื้อรา หากมีการเก็บรักษาไม่ถูกต้อง
                กรณีไม่สามารถหาสิ่งใดมาเป็นวัสดุรองพื้นได้จริงๆ ยกตัวอย่าง กรณีเร่งด่วน การใช้ฟางสับสามารถใช้ทดแทนได้ในพื้นที่การกกจนกระทั่งวัสดุรองพื้นที่ดีกว่าเดินทางมาถึง    
                วัสดุรองพื้นเปียกเมื่อระดับความชื้นสูงกว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของโรงเรือนเป็นโรงเรือนปิด หรือเปิด หรือระบบการให้น้ำ การจัดการลูกไก่มีความสำคัญตั้งแต่ลูกไก่วันแรก โดยผู้เลี้ยงพึงระลึกไว้เสมอว่า ลูกไก่ใช้ชีวิตตลอด ๓๕ วันกินน้ำเป็นสองเท่าของอาหาร
การกินน้ำ
                ไก่เนื้ออายุ ๓๕ วัน น้ำหนัก ๒.๑ กิโลกรัม มี FCR เป็น ๑.๕๕ กินอาหารประมาณ ๓.๒๕๕ กิโลกรัม จะกินน้ำมากกว่าอาหาร ๑.๗๕ เท่า คิดเป็น ๕,๖๙๖ มิลลิลิตร หรือ ๕.๖๙๖ ลิตรต่อตัว หรือหากกินน้ำมากกว่าอาหาร ๒ เท่า คิดเป็น ๖,๕๑๐ มิลลิลิตร หรือ ๖.๕ ลิตร บ่อยครั้ง วัสดุรองพื้นเปียกตั้งแต่อายุเพียง ๑๔ วัน ขณะที่ลูกไก่มีน้ำหนักเพียง ๔๘๐ ถึง ๕๐๐ กรัมเท่านั้น และกินอาหารไปแล้ว ๕๐๐ กรัม หากกินน้ำมากกว่าอาหาร ๑.๗๕ เท่า คิดเป็น ๘๗๕ มิลลิลิตร หรือ ๐.๘๗๕ ลิตรต่อตัว หรือหากกินน้ำมากกว่าอาหาร ๒ เท่า คิดเป็น ๑,๐๐๐ มิลลิลิตร หรือ ๑.๐ ลิตร
                สาเหตุที่วัสดุรองพื้นเปียกตั้งแต่อายุ ๑๔ วัน บ่งชี้ถึง ปัญหาการจัดการไม่ได้มีการปรับให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้น โรงเรือนหลายแห่งที่เลี้ยงไก่มาเป็นเวลานานกว่า ๑๐ ปีแล้วยังเลี้ยงไก่จำนวนเท่าเดิม อย่างไรก็ตาม การพัฒนาด้านพันธุกรรม และอาหารสัตว์ได้ก้าวหน้าไปมาก การให้วัคซีนที่โรงฟัก สารส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร (Gut health promoters) สารลดความเครียดแบบผสมน้ำที่ให้ภายหลังการให้วัคซีนละลายน้ำ และการเปลี่ยนอาหาร ส่งผลให้น้ำหนักไก่ต่อตารางเมตรได้เพิ่มขึ้นไปประมาณ ๒๐ เปอร์เซ็นต์  
ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อวัสดุรองพื้น
                ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อวัสดุรองพื้น ได้แก่ ความหนาแน่น ชนิดของอุปกรณ์การให้น้ำ หรือนิปเปิล มีถ้วยหรือไม่ ความจริงถ้วยก็มีทั้งข้อดี และข้อเสีย การไม่ใช้ในระยะเริ่มต้นแล้วค่อยเสริมตามความจำเป็น ความดันน้ำจะมีการปรับให้ถูกต้องเพื่อให้อัตราการไหลของน้ำที่ปลายนิปเปิลสอดคล้องกับความต้องการของไก่ ไม่ให้มีความดันน้ำสูงเกินไป ไก่เรียนรู้ที่จะไม่กินอาหารมากเกินไปหากน้ำไม่เพียงพอ นั่นคือ หากน้ำไม่เพียงพอก็จะหยุดกิน ผู้เลี้ยงควรใช้เวลาในโรงเรือนเลี้ยงไก่ ไม่ใช่เพียงแค่เดินผ่านแล้วบอกว่า ไก่ดูดี ให้นั่งลงใจเย็นๆ มองดูไก่ สังเกตพฤติกรรมว่า ไก่เดินอย่างสบายบนวัสดุรองพื้นหรือไม่ การไหลของอากาศเป็นอย่างไร วัดความเร็วลมที่ระดับตัวไก่ ไม่ว่าโรงเรือนเลี้ยงไก่จะเป็นระบบอุโมงค์ลม (Tunnel system) หรือปล่อยอากาศไหลทางขวาง (Cross flow) ให้วัดอุณหภูมิใกล้กับตำแหน่งที่อากาศไหลออก โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบเลเซอร์อินฟาเรด (IR, infra red laser) รวมถึง ตำแหน่งที่อากาศไหลเข้า วัดปริมาณแอมโมเนีย และคาร์บอนไดออกไซด์อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนฤดูกาล
ฟังเสียงไก่
                อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทำให้การเลี้ยงไก่ลดเวลาเหลือเพียง ๓๕ วันเท่านั้น หากเกิดความผิดพลาดในระยะแรกของการเลี้ยงก็ยากที่จะฟื้นเป็นปรกติได้ ให้ฟังเสียงไก่ที่คุณเลี้ยงบอกคุณเบาๆว่า อากาศร้อน หรือเย็นเกินไปหรือไม่ พฤติกรรมการกินน้ำเป็นอย่างไร ได้รับน้ำเพียงพอหรือไม่ โดยการกดหัวนิปเปิลแถวกลางที่หน้า และหลังโรงเรือน หากเครื่องมือวัดอัตราการไหลของน้ำต่อนาทีไปตามท่อน้ำ ควรตรวจสอบวันละ ๔ ครั้ง  สูตรที่ใช้เมื่อสิบปีก่อนให้คำนวณอัตราการไหลของน้ำที่เหมาะสมโดยนำอายุ (สัปดาห์) คูณด้วย ๗ มิลลิลิตร แล้วบวกอีก ๒๐ มิลลิลิตร ยกตัวอย่างเช่น ไก่อายุ ๓ สัปดาห์ คำนวณโดยนำ ๗ คูณด้วย ๓ สัปดาห์ แล้วบวกด้วย ๒๐ เป็น ๔๑ มิลลิลิตรต่อนาที ปัจจุบัน น้ำหนักไก่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาก อนุมาณว่าให้บวกเพิ่มขึ้นไปอีก ๑๐ เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากผู้ผลิตสายพันธุ์ไก่ และอุปกรณ์การให้น้ำสามารถให้ข้อมูลที่ดีกว่านี้สำหรับภูมิอากาศ และชนิดของโรงเรือนต่างๆ 
การตรวจติดตามสุขภาพด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสม      
                เพื่อปรับสภาวะสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงไก่ให้เหมาะสมจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ตรวจวัดที่เหมาะสม แม้ว่า โรงเรือนสมัยใหม่จะมีการใช้ระบบประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ก็จะเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับการวัดระดับแอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซด์ ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วลม การวัดความชื้น (เปอร์เซ็นต์) ในวัสดุรองพื้นจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์วัด ได้แก่ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรดชนิดมือถือ (Hand held infrared thermometer) เพื่ออ่านค่าความชื้นที่บริเวณผิวแกลบ จากนั้นให้เขี่ยแกลบตอนบนออกโดยใช้ไม้สามง่ามเพื่อเปิดช่องว่างให้อ่านค่าความชื้นในชั้นที่ลึกลงไป ความชื้นของวัสดุรองพื้น +/- ๓๕ ถึง ๔๐ เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของความชื้นที่เหมาะสมไม่ควรสูงกว่า ๒๐ เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น การประเมินอย่างหยาบๆด้วยการขยี้แกลบในมือก็สามารถทำได้เบื้องต้น หากแกลบจับตัวกัน และเกาะกันเป็นลูกบอล แสดงว่า วัสดุรองพื้นเปียกเกินไป หากวัสดุรองพื้นกระจายร่วงตกลงบนพื้นเป็นผง แสดงว่า วัสดุรองพื้นแห้งเกินไป หากวัสดุรองพื้นเกาะกันในตอนแรก แล้วค่อยๆแตกจากกัน แสดงว่า ความชื้นอยู่ระหว่าง ๒๐ ถึง ๒๕ เปอร์เซ็นต์ การเลี้ยงไก่ก็เหมือนกับการเล่นเกมส์เสี่ยงทาย ต้นทุนถูกมาก และเราต้องรู้ตัวให้แน่ชัดว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น ผลลัพธ์บอกให้เราทราบว่า เราต้องทำอะไร หากเราไม่มีเครื่องมือที่ถูกต้องเหมาะสม เรากำลังทำให้ตัวเอง และเพื่อนร่วมงานยุ่งยากในการทำงาน  
 แหล่งที่มา:          Marshall, K. (2014). Keeping the litter dry to make a profit. World Poultry. 30 (9): 201.

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สหรัฐฯอนุญาตให้ใช้แบคเทอริโอฝาจกำจัดลิสเตอเรีย



การใช้แบคเทอริโอฝาจเป็นเครื่องมือจากธรรมชาติที่รับรองให้ใช้แล้วในสหรัฐอเมริกา หลังจากผู้ประกอบการในโรงงานผลิตอาหารเนื้อสัตว์ แสวงหาวิถีทางป้องกันการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์ของตนเอง การล้างระบบการผลิตโดยใช้เชื้อไวรัสที่มีชีวิต และสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียจากผลิตภัณฑ์ จะช่วยให้ผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีอีกต่อไป    
                ผลิตภัณฑ์ใหม่จากประเทศเนเธอร์แลนด์ชื่อว่า Listex P100 จาก EBI Food Safety ได้รับการรับรองว่า มีความปลอดภัยจากองค์การอาหาร และยา และกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (USDA)
                ผู้ประกอบการในโรงงานผลิตอาหารเนื้อสัตว์ แสวงหาวิถีทางป้องกันการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์ของตนเอง การล้างระบบการผลิตโดยใช้เชื้อไวรัสที่มีชีวิต และสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียจากผลิตภัณฑ์ จะช่วยให้ผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีอีกต่อไป
                การรับรองอนุญาตผลิตภัณฑ์ชนิดนี้อยู่บนพื้นฐานของความปลอดถภัย และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ และการทดสอบรสชาติของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการบำบัดด้วยแบคเทอริโอฝาจ ยืนยันว่า ลิสเท็กซ์ พี ๑๐๐ มีความปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบต่อรสชาติ กลิ่น สี และลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการบำบัด  ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท EBI นาย Mark Offerhaus ได้เล็งเห็นถึงความปลอดภัยอาหารเป็นประเด็นสุดยอดของบริษัทผู้ผลิตอาหารแปรรูป และผู้บริโภค และบริษัทกำลังมุ่งหาวิถีทางสีเขียวมากกว่าการใช้สารเคมี การใช้แบคเทอริโอฝาจเป็นการอาศัยกลไกตามธรรมชาติ จะทำให้เกิดความปลอดภัยของเนื้อสัตว์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ ในไม่ช้า ผู้ผลิตอาหารในสหรัฐฯจะได้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ลิสเท็กซ์เช่นเดียวกับยุโรป
แหล่งที่มา:            World Poultry (6/7/07) 

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิจัยเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงด้วยอาหาร GMO ปลอดภัย



จากการศึกษาในสัตว์นับแสนล้านตัว รวมไก่เนื้อเข้าไปอีก ๙ พันล้านตัวต่อปี พิสูจน์แล้วว่า วัตถุดิบอาหารสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) ปลอดภัยสำหรับใช้เป็นอาหารปศุสัตว์
                บทความด้านวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเดวิส รายงานว่า ผลผลิต และสุขภาพของสัตว์ที่เลี้ยงสำหรับเป็นอาหารโดยใช้อาหารสัตว์จีเอ็มโอ เริ่มใช้มาเป็นเวลา ๑๘ ปีผ่านมาแล้วไม่ได้แตกต่างจากสัตว์ที่เลี้ยงด้วยอาหารสัตว์ที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ โดยผลการศึกษายังพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันของคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อ นม หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มาจากสัตว์ที่เลี้ยงด้วยอาหารตัดแต่งพันธุกรรม หรือจีเอ็มโอแต่อย่างใด
                ปัจจุบัน สัตว์ที่เลี้ยงไว้ผลิตอาหาร เช่น แม่โค สุกร แพะ ไก่ บริโภควัตถุดิบอาหารสัตว์จีเอ็มโอราว ๗๐ ถึง ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ในสหรัฐฯเพียงประเทศเดียวมีการผลิตสัตว์สำหรับผลิตอาหารกว่า ๙ พันล้านตัวต่อปี โดยร้อยละ ๙๕ บริโภคอาหารสัตว์ที่มีส่วนประกอบผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม ผลการศึกษาความชุก และผลกระทบของอาหารสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมต่อประชากรปศุสัตว์โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย UC Davis ยืนยันว่า เนื้อ นม ไข่ จากสัตว์ที่บริโภคอาหารสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมมิได้แตกต่างจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่บริโภคอาหารปรกติ และควรมีการติดฉลากผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ และสัตว์ปีกที่กินอาหารสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อให้สามารถสอบย้อนกลับตามห่วงโซ่การผลิตอาหารได้        
แหล่งที่มา:            World Poultry (9/10/14) 

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แม่ไก่ไข่ดีให้กินเปปเปอร์มินต์



การศึกษาผลของการใช้ใบเปปเปอร์มินต์แห้งในสูตรอาหารไก่ไข่ต่อผลผลิตไข่ คุณภาพไข่ และรูปแบบเมตาโบลิซึมในซีรัม พบว่า การเสริมใบเปปเปอร์มินต์ช่วยเพิ่มผลผลิตของไก่ไข่ระหว่างระยะไข่ช่วงท้าย
แม่ไก่ไข่พันธุ์ไฮไลน์บราวน์ อายุ ๖๔ สัปดาห์ แบ่งเป็น ๕ กลุ่มการทดลองโดยเสริมใบเปปเปอร์มินต์ที่อัตราส่วน ๐, ๕, ๑๐, ๑๕ และ ๒๐ กรัมต่อกิโลกรัม ตามละดับเป็นเวลา ๑๒ สัปดาห์
                แต่ละกลุ่มการทดลองแบ่งเป็น ๖ กลุ่มย่อย ตลอดการทดลอง พบว่า ช่วยเพิ่มน้ำหนักไข่ จำนวนไข่ มวลไข่ และการกินอาหารในระหว่างอายุ ๖๔ ถึง ๖๘, ๖๘ ถึง ๗๒, ๗๒ ถึง ๗๖ และ ๖๔ ถึง ๗๖ สัปดาห์ นอกเหนือจากนั้น ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารยังลดลงตามระดับของใบเปปเปอร์มินต์ที่เพิ่มขึ้นในอาหารไก่ไข่
                การเสริมใบเปปเปอร์มินต์แห้งที่ระดับ ๒๐ กรัมต่อกิโลกรัม พบว่า มีผลผลิตดีที่สุดโดยภาพรวม สัดส่วนของเปลือกไข่ ความหนาของเปลือกไข่ และ Haugh unit ของอาหารไก่ไข่ที่เสริมเปปเปอร์มินต์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01)
                อย่างไรก็ตาม การเสริมใบเปปเปอร์มินต์ไม่ได้ส่งผลต่อคุณภาพของไข่ ทั้งสัดส่วนของไข่ขาว และไข่แดง รวมถึง ความสูงของอัลบูมิน ยิ่งไปกว่านั้น ระดับของคอเลสเตอรอลในซีรัมยังลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) แต่โปรตีนรวมทั้งหมดในซีรัมเพิ่มขึ้นตามระดับของใบเปปเปอร์มินต์ที่เสริมในอาหารสัตว์ สรุปการทดลองว่า ใบเปปเปอร์มินต์สามารถใช้เป็นสารเติมอาหารสัตว์สำหรับการเพิ่มผลผลิตในฟาร์มไก่ไข่ระหว่างการไข่ช่วงท้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แหล่งที่มา:            AllAboutFeed.net (14/11/14) 

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...