วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แก๊สแอมโมเนียในฟาร์มเลี้ยงไก่เลี้ยงสาหร่ายเป็นอาหารสัตว์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ

สาหร่ายพระเอกคนใหม่ในอนาคตสำหรับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ผลงานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยรัฐไอโอวา
                มูลสัตว์ปีกสร้างแก๊สแอมโมเนีย เมื่อแอมโมเนียแพร่เข้าสุ่บรรยากาศ แก๊สสามารถกลับลงไปสู่ระบบสิ่งแวดล้อมในรูปของฝนกรดเป็นสาเหตุให้สาหร่ายเจริญเติบโตในบ่อน้ำ และทะเลสาบ ปัญหาที่เรียกว่า ยูโทรฟิเคชัน (Eutrophication) เพื่อจำกัดการปลดปล่อยแก๊สแอมโมเนียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก และป้องกันมิให้สาหร่ายเจริญเติบโตในพื้นที่ที่ไม่พึงประสงค์ คณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบ และพัฒนาเครื่องทำปฏิกิริยาชีวภาพ (Bioreactor) ที่สามารถควบคุมแอมโมเนียมิให้ปลดปล่อยออกจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก และป้องกันการเจริญเติบโตของสาหร่ายในพื้นที่ที่ไม่พึงประสงค์ แต่จะนำแก๊สเหล่านี้มาใช้สำหรับเพาะสาหร่ายให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ในการควบคุมสิ่งแวดล้อม สิ่งนี้จะเป็นการจับคู่ที่สมบูรณ์แบบ เมื่อเราสามารถกำจัดแก๊สแอมโมเนียที่ปลดปล่อยสู่อากาศจากโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก และนำมาใช้เลี้ยงสาหร่าย  สาหร่ายที่ได้สามารถนำมาใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และสารเสริมสำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ นอกเหนือจากประโยชน์พึงได้จากการคัดกรองแก๊สอันตรายที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมจากโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก เช่น แอมโมเนีย และคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ แต่นำมาใช้สำหรับการผลิตสาหร่าย จึงสามารถลดต้นทุนในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายได้ เนื่องจาก แก๊สแอมโมเนียที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของสาหร่ายมีอยู่เหลือเฟือในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก ขณะนี้ ผู้วิจัยกำลังทดลองใช้เครื่องทำปฏิกิริยาชีวภาพขนาดเล็กปริมาตร ๕ ลิตร เพื่อขยายกำลังการผลิตในเชิงพาณิชน์ต่อไป สาหร่ายที่ได้สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ และแหล่งพลังงานเชื้อเพิงชีวภาพได้อีกด้วย เรียกว่าเป็นสถานการณ์แบบ Win-Win เลยทีเดียว นั่นคือ ขว้างหินก้อนเดียวได้นกสองตัว
 แหล่งที่มา            Iowa State Daily (12/12/12)

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การใช้กลีเซอรีนในการเลี้ยงไก่

ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกได้กระตุ้นให้มีการใช้วัตถุดิบอาหารทางเลือกในสัตว์ปีก โดยเฉพาะ กลีเซอรีน ท่ามกลางการขยายกำลังการผลิตไบโอดีเซล
                กลีเซอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของกลีเซอรีน และสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนข้าวโพด สิ่งตกค้าง เช่น เมธานอล และโซเดียมที่มีระดับสูง ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ในการผสมในอาหารสัตว์ได้ตามปรกติ รายงานการศึกษาหลายฉบับ พบว่า การใช้ Apparent metabolisable energy (AME) ของกลีเซอรีนภายหลังการปรับปรุงไนโตรเจนแตกต่างกันระหว่างไก่เนื้อ ไก่ไข่ และนกกะทา ขึ้นกับวิธีการสกัด/การแปรรูปการผลิต ภายหลังการผลิตไบโอดีเซล อย่างไรก็ตาม กลีเซอรีน มีสัดส่วนของพลังงานที่นำไปใช้ได้อย่างน้อย ๘๕ เปอร์เซ็นต์ ความรู้ของวิถีเมตาโบลิซึมหลักของกลีเซอรอล และส่วนประกอบอื่นๆของกลีเซอรีนมีความสำคัญสำหรับการศึกษาต่อไปในอนาคตของวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนชนิดนี้ รวมถึง การเสาะแสวงหาการจัดการข้อจำกัดของกลีเซอรีนในการใช้เป็นอาหารสัตว์ ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของกลีเซอรีน และการใช้เป็นแหล่งพลังงานในอาหารสัตว์จะช่วยให้เราสามารถผสมกลีเซอรีนในสูตรอาหารสัตว์ที่สมดุลได้โดยไม่มีผลกระทบทางลบต่อสุขภาพสัตว์ปีก     
แหล่งที่มา             All about Feed (29/11/12)

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ฟาร์มในเนเธอร์แลน์พบเชื้อ MRSA ราว 8 เปอร์เซ็นต์

ตรวจพบเชื้อสแตฟิโลคอคคัส ออเรียสดื้อยาเมธิซิลลิน (Methicillin-resistant Staphylococcus aureus, MRSA) ในฟาร์มไก่เนื้อ ประเทศเนเธอร์แลนด์ราว ๘ เปอร์เซ็นต์ทั้งในตัวไก่ และฝุ่นละออง  
                สื่อพิมพ์ได้รวบรวมผลการประเมินความเสี่ยงของ Netherlands Food and Consumer Product Safety Authority (NVWA) พบว่า เชื้อ MRSA หลากหลายชนิดมีความเชื่อมโยงกับการผลิตปศุสัตว์เป็นที่รู้จักกันในนาม “LA-MRSA” พบได้ทั้งในเนื้อสุกร และเนื้อลูกวัว โดยผู้ผลิตไก่เนื้อ สามารถพบเชื้อชนิดนี้ได้ประมาณ ๙ เปอร์เซ็นต์ สำหรับบุคลากรในโรงเชือด ยังสามารถพบเชื้อนี้ได้สูงถึง ๑๔ เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น NVWA จึงเห็นว่า ควรมีการเพิ่มมาตรการเพิ่มเติม เพื่อคุ้มครองพนักงานที่ปฏิบัติงาน และสัมผัสกับไก่เนื้อมีชีวิต
                ในโรงเชือด การทำให้สัตว์สลบด้วยแก๊ส สามารถลดโอกาสการติดเชื้อ MRSA ได้สูงถึง ๔ เท่าเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องช๊อตไฟฟ้าผ่านอ่างน้ำ เมื่อใช้วิธีการทำให้สัตว์สลบด้วยแก๊ส จะช่วยให้สัตว์เคลื่อนไหวน้อยลง มีโอกาสเกิดฝุ่นลดลง และปล่อยสู่อากาศได้น้อยเช่นกัน จึงช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อลงได้ นอกจากนั้น ยังลดการเจ็บปวดให้กับสัตว์อีกด้วย ดังนั้น NVWA จึงแนะนำให้โรงเชือดเปลี่ยนแปลงวิธีการฆ่าไก่ให้เป็นวิธีการที่สัตว์จะมีการเคลื่อนที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนั้น พนักงานความสวมหน้ากากป้องกัน เพื่อลดการติดเชื้อ MRSA ที่มาจากฝุ่นละอองในอากาศ ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง เชื้อ MRSA จะไม่เป็นอันตราย แต่สำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล เชื้อ MRSA จะมีอันตรายมากกว่าเชื้อที่มีความไวรับต่อยา นอกเหนือจากนั้น MRSA จะไม่สามารถตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทั่วไป เมื่อเร็วๆนี้ การเลี้ยงไก่เนื้อในประเทศเนเธอร์แลนด์ สามารถลดการใช้ยาปฏิชีวนะลงได้ถึง ๖๐ เปอร์เซ็นต์เทียบกับปี ค.ศ. ๒๐๐๙  
แหล่งที่มา             NVWA (5/12/12)

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กลุ่มผู้บริโภคอเมริกาเรียกร้องให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะเลี้ยงสัตว์

สหภาพผู้บริโภคในนิวยอร์กเรียกร้องให้มีการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการผลิตปศุสัตว์ เนื่องจาก การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปส่งเสริมให้มีการขยายตัวของเชื้อดื้อยาซูเปอร์บั๊ก และทำให้การใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับการรักษามีประสิทธิภาพลดลง
                CDC ริเริ่มการรณรงค์ให้มีความตระหนักถึงภัยคุกคามของเชื้อต้านยาปฏิชีวนะ โดยเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นที่แพทย์ และผู้ป่วยต้องทำงานร่วมกันในการปรับปรุงการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้ในยามวิกฤติการณ์ของชีวิตในอนาคต นอกจานั้น เรายังต้องคิดใหม่เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปในปศุสัตว์ ขณะนี้ได้ถึงเวลาที่จะหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ เพื่อเก็บไว้ใช้สำหรับการรักษาทางมนุษย์  
                เมื่อสองปีที่แล้ว ดร.โทมัส ไฟร์เดน ผู้อำนวยการ CDC ได้ชี้ให้เห็นถึงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่หนักแน่นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์ และการดื้อยาในมนุษย์ ขณะนี้ องค์กรต่างๆด้านสาธารณสุขทั้งสมาคมแพทย์อเมริกา สมาคมสาธารณสุขอเมริกา ชมรมโรคติดเชื้อแห่งอเมริกา และองค์การอนามัยโลยได้ตกลงให้มีการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการผลิตสัตว์ที่ใช้สำหรับเป็นอาหาร เนื่องจาก เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษาโรคทางการแพทย์สูงขึ้น ผู้ป่วยต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนานขึ้น และเสียชีวิตมากมาย โดย CDC ประเมินว่า ประชากรกว่า ๑๐๐,๐๐๐ รายต่อปีเสียชีวิตจากโรคที่ติดมาจากโรงพยาบาล ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะที่ใช้ทางการแพทย์ ในต้นปีนี้ US FDA ได้ขอให้บริษัทยา และผู้เลี้ยงสัตว์ให้ยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนำสำหรับส่งเสริมการเจริญเติบโตทั้งหมดภายในสามปี เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สหภาพผู้บริโภคได้รณรงค์การบริโภคเนื้อสัตว์ที่ปราศจากยา เพื่อให้ร้านค้าไม่นำเนื้อสัตว์ และเนื้อไก่ที่ยังใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับส่งเสริมการเจริญเติบโตของสัตว์ โดยเริ่มจาก Trader Joe’s ที่กลายเป็นผู้นำในการรณรงค์ให้คุ้มครองสุขภาพผู้บริโภค และรักษาประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะไว้โดยการจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเท่านั้น    
แหล่งที่มา             Meat and Poultry (12/11/12)

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เตือนหวัดนกระบาดที่ออสเตรเลีย

ในนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนก
โรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรงระบาดในออสเตรเลียเป็นครั้งแรกในรอบ ๑๕ ปี ขณะนี้ สั่งทำลายไก่ไข่ไปแล้ว ๕๐,๐๐๐ ตัว อย่างไรก็ตาม โรคไข้หวัดนกที่เกิดการระบาดครั้งนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับสับไทป์ H5N1 ที่เคยเกิดการระบาดครั้งแรกในฮ่องกงเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๙๗ แล้วทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว ๓๖๖ รายทั่วโลก ฟาร์มที่เกิดการระบาดเป็นฟาร์มไก่ไข่เลี้ยงปล่อยอิสระ ขณะนี้ได้กำหนดพื้นที่จำกัด (Restricted area) เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 กิโลเมตรโดยรอบ และพื้นที่ควบคุม เส้นผ่านศูนย์กลาง 7 กิโลเมตรล้อมรอบ ภายใต้การจำกัดการกักกันสัตว์ป่วย และสอบย้อนกลับถึงต้นตอการระบาดของโรค อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบสับไทป์ของ N ที่แน่ชัด แต่ไม่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยอาหารทั้งเนื้อสัตว์ปีก และไข่ การแพร่กระจายของโรคเกิดจากการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกจากฟาร์ม ถึงกระนั้น กรมปศุสัตว์ออสเตรเลียก็เชื่อมั่นว่าจะไม่มีการแพร่กระจายของโรคต่อไป   
แหล่งที่มา             OIE (22/11/12)

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตื่นหวัดนกระบาดในอินเดียกระทบส่งออก

หวัดนกระบาดในฟาร์มวิจัยเลี้ยงไก่งวงของรัฐฯในบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย
ไก่งวงราว ๓,๖๐๐ ตัว ตายภายหลังการระบาดของหวัดนก และสั่งทำลายอีก ๗๐๐ ตัว ขณะนี้ กำหนดรัศมีรอบ Surveillance zone 10 กิโลเมตร ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายของฟาร์มไก่ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันกว่า ๑๕ แห่ง การระบาดครั้งนี้ ได้สร้างความหวั่นเกรงต่อเกษตรกร และผู้ประกอบการส่งออกใน Tamil Nadu ว่า การค้าขายผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกระหว่างประเทศจะถูกควบคุมทั้งตลาดต่างประเทศ และภายในประเทศ แม้ว่า ฟาร์มสัตว์ปีกในรัฐดังกล่าวจะไม่เกิดการระบาด แต่ความตื่นกลัวของผู้ซื้อจะทำให้แบนการค้าขายผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกระหว่างประเทศได้ในที่สุด ขณะนี้ เลขานุการกรมสัตวบาลสัตว์ (Animal Husbandry Deparment, AHD) ของอินดเย นาย Gokul Chandra Pati ได้ยืนยันการระบาดของโรคไข้หวัดนกโดยการจัดทำรายงานส่งให้กับ OIE เรียบร้อยแล้ว จากผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการโรคสัตว์ระดับความปลอดภัยสูงใน Bhopal ที่ส่งให้กับ OIE พบว่า สาเหตุของการระบาดเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง (HPAI) อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้อ้างว่า การระบาดของโรคปรากฏเป็นโซน หรือคอมพาร์ตเมนต์เท่านั้น ไม่ใช่ทั้งประเทศ
                ประธานคณะกรรมการประสานงานไข่ระดับชาติ (National Egg Coordination Committee, NECC) ในโซน Namakkal นาย P. Selvaraj ให้ข้อมูลกับสื่อท้องถิ่นว่า เมื่อมีการรายงานการระบาดของโรคไข้หวัดนก ชาวฮินดูในหลายประเทศแบนการนำเข้าไข่ และผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก เช่นเดียวกับที่เคยเกิดมาแล้วก่อนหน้านี้ เมื่อโอมานแบนการนำเข้าไข่ อย่างไรก็ตาม หลายประเทศ เช่น แอฟกานิสถาน และอัลจีเรีย จะยังนำเข้าไข่จากอินเดีย แม้ว่า OIE จะจัดให้อินเดียเป็นกลุ่มประเทศที่มีปัญหาโรคไข้หวัดนกก็ตาม เนื่องจาก เชื่อว่า ไข่จาก Namakkul มีความปลอดภัย เพราะห่างไกลจากพื้นที่ระบาดของโรค
แหล่งที่มา             The Hindu (29/10/12)

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การฆ่าเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพด้วยเกลือ และน้ำ

เทคโนโลยีการกระตุ้นทางเคมีด้วยกระแสไฟฟ้าที่ไม่เป็นพิษของ Watter โดยการใช้น้ำ เกลือ และกระแสไฟฟ้า เพื่อช่วยให้เกิดความปลอดภัย เป็นทางเลือกของยาฆ่าเชื้อที่ไม่เป็นพิษ มีประสิทธิภาพสูง และมีความยั่งยืน
                เทคโนโลยีนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถนิวทรัลไลส์เชื้อแบคทีเรีย รา และไวรัส อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ หรือเครื่องมือ ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อเป็นผลร่วมของการใช้อนุมูลอิสระจากสารประกอบคลอรีนที่ถูกผลิตจากการผ่านกระแสฟฟ้าผ่านน้ำเกลือ ซึ่งเตรียมจากเกลือแกงในน้ำเปล่า ขณะนี้ Watter Technology ได้นำมาใช้ในโรงฟักผ่านบริษัท Pas Refrom และได้มีการแสดงสาธิตที่งานยูโรเทียร์
แหล่งที่มา World Poultry (14/11/12)

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โรงงานในสหรัฐฯเรียกคืนสินค้าเนื้อไก่ปรุงสุก



FSIS ประกาศให้ Wayne Farms Inc. ใน Alabama เรียกคืนสินค้าผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ปรุงสุกแช่แข็ง ๒๘,๕๒๘ ปอนด์ เนื่องจาก อาจพบแปลกปลอมเป็นชิ้นส่วนของปากกาพลาสติก  
รายการสินค้าที่จะถูกเรียกคืน ประกอบด้วย Fully cooked grill marked white meat chicken strips น้ำหนัก 900 ปอนด์ ผลิตตั้งแต่วันที่ ๓ ตุลาคมที่ผ่านมา USDA ให้หมายเลขสินค้า 372277174001 ถึง 372277254005 บนฉลาก รวมถึง Combo cases อีก 3 ชุด ที่ผลิตวันที่ ๖, ๑๙ และ ๒๔ กันยายนที่ผ่านมา สินค้าได้ถูกกระจายไปยัง Kentucky เพื่อเตรียมเป็นสินค้าปลีก
                FSIS แจ้งเตือนไปยัง Wayne Farms ภายหลังจากบริษัทได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้าว่า พบสิ่งแปลกปลอม ขณะที่มีการเตรียมการแปรรูปการผลิตต่อ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการเจ็บป่วยจากการบริโภคสินค้าเหล่านี้ การเรียกคืนสินค้านี้เป็น Recall Class II เป็นอันตรายที่ต่อสุขภาพที่เป็นผลมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์
แหล่งที่มา World Poultry (6/11/12)

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โรคไทยฟอยด์ไก่ระบาดในฟาร์มไก่ไข่ไอร์แลนด์เหนือ



ไก่ไข่จำนวนกว่า ๑๒๕,๐๐๐ ตัวถูกทำลายในกรงโดย Ready Egg Products ใน Fermanagh ประเทศไอร์แลนด์เหนือ จากการระบาดของเชื้อ Salmonella gallinarum
                การติดเชื้อ Salmonella gallinarum ที่เป็นสาเหตุของโรคไทยฟอยด์ไก่เป็นสายพันธุ์ของเชื้อซัลโมเนลลาที่พบได้ยาก และมีความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์น้อย การยืนยันการระบาดโรคโดย Northern Irish Department of Agriculture and Rural Development (DARD) แม้ว่าจะยังไม่ทราบแหล่งต้นตอที่แน่ชัด รัฐบาลกำลังวิตกกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของเชื้อ Salmonella gallinarum ในฟาร์มไก่ไข่ใน Fermanagh อย่างไรก็ตาม เชื้อซัลโมเนลลาชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องประกาศ และการควบคุมโรคสามารถดำเนินการได้เองโดยบริษัท อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะช่วยบริษัทในการกำจัดสัตว์ป่วยทั้งหมด ๑ ใน ๓ โรงเรือนในพื้นที่การระบาด ด้วยวิธีที่มีมนุษยธรรม และรวดเร็ว    
                สิ่งที่น่าสนใจสำหรับการระบาดครั้งนี้คือ เชื้อ Salmonella gallinarum พบได้น้อยในสหราชอาณาจักร และเป็นเรื่องผิดปรกติที่จะตรวจแยกพบเชื้อชนิดนี้ในฟาร์มเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์ ตามปรกติจะสามารถพบเชื้อได้เฉพาะในฟาร์มเลี้ยงไก่หลังบ้าน อย่างไรก็ตาม เชื้อชนิดนี้ส่วนใหญ่จะปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ได้ดีในสัตว์ปีก แต่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์ค่อนข้างน้อย
การระบาดอย่างรวดเร้ว
                โรคนี้มักพบในไก่ระยะเจริญเติบโต  และสมบูรณ์พันธุ์ ลักษณะสำคัญของโรคจะมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว มีอัตราการป่วยสูง และการตายแบบเฉียบพลัน หรือกึ่งเฉียบพลัน อาการของไก่ และสัตว์ปีกอื่นๆ ได้แก่ เบื่ออาหาร ท้องเสีย แห้งน้ำ อ่อนแอ และตายในที่สุด
แหล่งที่มา Farming UK (6/11/12)

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

FSIS ประกาศว่าด้วย การปรับเปลี่ยนมาตรการควบคุมเชื้อซัลโมเนลลา



FSIS (Food Safety and Inspection Service) ใน USDA ประกาศการปรับปรุงมาตรการควบคุมเชื้อซัลโมเนลลา
                ประกาศจาก FSIS ใน USDA ประกาศฉบับที่ 66-12 เกี่ยวกับมาตรการที่เป็นจริง หรือปรับเปลี่ยนกระบวนการควบคุมเชื้อซัลโมเนลลาชั่วคราว ติดตามมาด้วยประกาศฉบับที่ 41-11 เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๒๐๑๑ มีข้อแนะนำให้มีการเร่งรัดกำหนดการของ FSIS ที่ให้มีการทวนสอบการเก็บตัวอย่างเมื่อผู้ประกอบการมีการเปลี่ยนแปลงระบบความปลอดภัยอาหาร หรือการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตชั่วคราวโดยไม่ได้มีการพิสูจน์ความถูกต้องตามระบบ HACCP
แหล่งที่มา World Poultry (2/11/12)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...