วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

อ่างจุ่มเท้าส่วนใหญ่ไร้ประสิทธิภาพ

ผู้ผลิตในฟาร์มสัตว์ปีกกำลังถูกเรียกร้องให้ทบทวนวิธีการจัดการโดยการจุ่มเท้าก่อนเข้าโรงเรือน ภายหลังผลการวิจัยล่าสุด แสดงให้เห็นว่า การจุ่มเท้าก่อนเข้าโรงเรือนมักไม่มีประสิทธิภาพ
               ผลการศึกษาโดยภาควิชาแบคทีเรียวิทยาที่หน่วยสุขภาพสัตว์และพืช (APHA) ในสหราชอาณาจักร ประเมินประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อซัลโมเนลลาจากการจุ่มเท้าในฟาร์มสัตว์ปีก
               การนำเข้าโรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่โรงเรือนสัตว์ปีกผ่านรองเท้าบู๊ทของคนงานในฟาร์ม และผู้เยี่ยมฟาร์มมีความเสี่ยงสูงมาก แต่ประสิทธิภาพของการจุ่มเท้าเพื่อการป้องกันเชื้อโรคเหล่านี้ยังมีความไม่นอนอยู่มาก นักวิจัยจึงเก็บตัวอย่างรอบเท้าบู๊ทที่ผ่านการจุ่มลงในอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อจากฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่เชิงพาณิชย์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อ SE จากผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้ออยู่ระหว่าง ๓๗ ถึง ๘๖ เปอร์เซ็นต์ โดยการศึกษาครั้งนี้ชี้ไปถึงปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของอ่างจุ่มเท้า ได้แก่ ความเข้มข้น ปริมาณของสารอินทรีย์ หรือดิน แกลบที่เจือปนในน้ำยาจุ่มเท้า อุณหภูมิ ไบโอฟิลม์ และเวลาการสัมผัสเชื้อโรค อ่างจุ่มเท้ามักถูกละเลยในการเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ หรือถูกฝน และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆอันส่งผลต่อการลดประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อลงได้
               รายงานจาก APHA อ้างว่า SE ถึงเป็นเชื้อโรคอุบัติใหม่ที่คุกคามสุขภาพของมนุษย์ จำเป็นที่สัตวแพทย์ และอุตสาหกรรมต้องทบทวนวิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการอ่างจุ่มเท้าเพื่อควบคุมโรค

แหล่งที่มา:          World Poutry (17/9/15)

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

ไก่ไข่ US เริ่มเลี้ยงใหม่หลังหยุดหวัดนก

หลังจากเผชิญกับวิกฤติการณ์ไข้หวัดนกในช่วงฤดูใบไม้ผลิตที่ผ่านมา อุตสาหกรรมฟาร์มไก่ไข่ใน US ในพื้นที่แถบตะวันตกตอนกลางกำลังกลับมาฟื้นฟูการผลิตอีกครั้ง เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศได้เพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ และเตรียมพร้อมสำหรับการหวนกลับมาของเชื้อไวรัสในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่นกอพยพจะกลับมาอีกครั้ง
               ฟาร์มไก่ไข่ที่ประสบปัญหาโรคไข้หดวัดนกในช่วงฤดูใบไม้ผลิตที่ผ่านมากำลังทำงานกันอย่างขะมักเขม้นเพื่อพลิกฟื้นฟูการผลิตไข่กลับมาอีกครั้ง ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๑๒ ถึง ๑๘ เดือนก่อนที่การผลิตจะกลับคืนมาอย่างสมบูรณ์ โดยฟาร์มเหล่านี้ต้องเป็นไปตามกฏระเบียบที่กำหนดไว้โดย USDA-APHIS ว่าด้วยการทำความสะอาด และการฆ่าเชื้ออย่างเข้มงวด ความท้าทายอีกประการคือ การขาดแคลนแม่ไก่สาว อันเป็นผลมาจากความต้องการแม่ไก่สาวพร้อมๆกัน และการตรวจพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในฟาร์มไก่พันธุ์ และไก่พันธุ์สาว ส่งผลให้จำนวนไก่ลดลงไม่เพียงพอต่อความต้องการ แม่ไก่พันธุ์หนึ่งตัวสามารถผลิตลูกไก่ได้ ๑๒๐ ตัวเท่านั้น ดังนั้น การเสียไก่พันธุ์ไปจึงยิ่งส่งผลต่อปริมาณไข่ในตลาดอย่างมาก
               แม้ว่า มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ และการป้องกันโรคจะมีความสำคัญต่อฟาร์มไก่ไข่มาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว แต่การแพร่กระจายของโรคไข้หวัดนกอย่างรวดเร็วในฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา แม้ว่า เกษตรกร และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสัตว์ปีกจะพยายามอย่างดีที่สุด ดังนั้น ฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่จึงได้เพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพให้เข้มข้นขึ้นอีก ได้แก่ การเพิ่มแผนควบคุมการเคลื่อนย้ายคนงาน สัตว์ปีก ยานพาหนะ และอุปกรณ์ การตรวจสอบอาหารสัตว์ และน้ำไม่ให้มีความเสี่ยงต่อโรค และลดการสัมผัสระหว่างไก่ในฟาร์มกับนกตามธรรมชาติ ปัจจุบัน ฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ได้เข้มงวดการควบคุมยานพาหนะเข้าออก เพิ่มกระบวนการฆ่าเชื้อ และการฝึกอบรมพนักงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการไข่ในอเมริกา  เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั้งหมดต้องทำงานร่วมกับสัตวแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสัตว์ เพื่อประเมินแผนความปลอดภัยทางชีวภาพ

แหล่งที่มา:          WATTAg.Net.com (28/8/15)

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

ตลาดค้าสัตว์ปีกสยายปีกฝ่าคลื่นหวัดนก

ผู้ผลิตสัตว์ปีกเกือบทั้งหมดในโลกประสบความสำเร็จในไตรมาสที่ ๓ ของปีท่ามกลางข่าวคราวการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรงสูง
               โรโบแบงค์ คาดการณ์ว่า ปลายปีนี้จนถึงปีหน้าจะเป็นเวลาที่ตลาดค้าสัตว์ปีกเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก ต้นทุนอาหารสัตว์ที่ลดลง และปริมาณสัตว์ปีกในตลาดที่น้อย HPAI เป็นปัญหา และอุปสรรคสำคัญ อย่างไรก็ตาม จำนวนครั้งของการระบาดมีแนวโน้มต่ำลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา จึงเป็นเวลาที่ผู้ผลิตจะเริ่มตั้งลำการผลิตใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผลการเลี้ยงในประเทศต่างๆส่วนใหญ่ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ควรมีการยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพให้เป็นความสำคัญอันดับแรก หากมีการระบาดใหม่ก็จะส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อตลาดค้าสัตว์ปีกในภูมิภาค และทั่วโลกดังที่เคยปรากฏในอดีต ประเทศบราซิล และไทยเป็นผู้ผลิตที่จะมาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดจากสหรัฐฯ และจีน
               สำหรับสหรัฐฯ โรโบแบงค์ เชื่อว่า ตลาดที่แข็งแกร่งที่มีสมดุลการตลาดอย่างเหมาะสม และมีการควบคุมการผลิตสินค้าสู่ตลาดอย่างเข้มงวด มีการตรวจพบ HPAI รายสุดท้ายเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฏาคมที่ผ่านมา ถึงปัจจุบัน มีการทำลายไก่ไปแล้ว ๔๘ ล้านตัว นับตั้งแต่การระบาดครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสัตว์ปีกในสหรัฐฯกำลังเริ่มต้นฟื้นฟูกระบวนการผลิตอีกครั้ง ขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมตัวที่จะรับมือกับการหวนคืนของโรคไข้หวัดนกในช่วงฤดูใบไม้ร่วงจากนกป่าอีกครั้ง พื้นฐานทางกรตลาดช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกทั่วโลก แต่ผู้บริโภคในสหรัฐฯคงต้องเผชิญกับราคาเนื้อสัตว์ปีก และไข่ที่สูงขึ้นในช่วงวันขอบคุณพระเจ้า และคริสต์มาส คาดการณ์ว่า ราคาแม่ไก่ทั้งตัวแช่แข็งสำหรับช่วงไตรมาสที่ ๓ นี้จะอยู่ระหว่าง ๘๔ ถึง ๘๗ บาทต่อกิโลกรัม มีราคาสูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วราว ๑๑ เปอร์เซ็นต์  
               USDA คาดว่า การผลิตเนื้อไก่งวงในช่วงหกเดือนแรกของปี พ.ศ.๒๕๕๙ คาดว่าจะมีผลผลิตรวมประมาณ ๖.๒ ล้านตัน หลังจากที่การผลิตไก่งวงลดลงอย่างมากในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน เนื่องจาก การระบาดของ HPAI ในไก่งวง โดยเฉพาะ รัฐมินเนโซตา โดยปัจจัยสำคัญสำหรับการผลิตไก่งวง ได้แก่ จำนวนไก่งวงที่เข้าโรงฆ่า และการผลิตเนื้อไก่งวงที่กำลังลดลงในเดือนกรกฏาคม และมิถุนายน ประการที่สองคือ การส่งออกไก่งวงลดลง ดังนั้น ปริมาณสินค้าผลิตภัณฑ์จากไก่งวงจึงน้อยลงในตลาดภายในประเทศ    
               สำหรับสถานการณ์การผลิตเนื้อสัตว์ปีกโลก โรโบแบงค์ รายงานว่า สหภาพยุโรปยังคงมีตลาดที่เข้มแข็งจากสมดุลการตลาดที่ดี และการควบคุมการผลิตที่เข้มงวด ขณะเดียวกัน สภาวะทางเศรษฐกิจในบราซิลมีแนวโน้มลดลง ทำห้ผู้บริโภคปรับตัวซื้อสินค้าเนื้อสัตว์ปีกที่มีราคาแพงน้อยลง รัสเซียมีผลผลิตที่ดีขึ้น เนื่องจาก ต้นทุนอาหารสัตว์ที่ต่ำลง เนื้อโค และเนื้อสุกรมีออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นชดเชยราคาเนื้อสัตว์ปีกที่สูง เนื้อสัตว์ปีก และสุกรในประเทศจีนจะขาดตลาดในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ฟาร์มไก่พันธุ์ทั่วโลกจะลดลงในภูมิภาค เนื่องจาก การสั่งห้ามนำเข้าสัตว์ปีกพันธุ์ เนื่องจากโรคไข้หวัดนก ทั้งในจีน และตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาจได้เห็นราคาค้าสัตว์ปีกที่ดีดตัวขึ้น เนื่องจาก ราคาสุกรที่สูงในประเทศจีน   

แหล่งที่มา:          Meat &Poultry (10/9/15)

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

ฝรั่งเศส ผู้นำอียูเลี้ยงไก่อินทรีย์

จำนวนฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกในระบบอินทรีย์ในสหภาพยุโรปในปี พ.ศ.๒๕๕๗ มีเพียง ๒๘.๕ ล้านตัว เมื่อรวมเอาสัตว์ปีกที่ยังไม่อยู่ในสถิติแล้ว แนวโน้มจำนวนสัตว์ปีกอินทรีย์ในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นเกือบ ๖ เปอร์เซ็นต์ ในจำนวนนี้ ๑๒.๗๕ ล้านตัวเป็นสัตว์ปีกอินทรีย์ที่เลี้ยงในฝรั่งเศสที่อ้างว่า เป็นประเทศที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีกอินทรีย์มากที่สุดโดยมีมากกว่า ๑๒.๗๕ ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ๘.๙ เปอร์เซ็นต์
รองลงมาได้แก่ เยอรมัน ที่ยังมีสถิติไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ ๔.๙๓ ล้านตัว และสหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ที่มีมากกว่า ๒.๓๕ ล้านตัว โดยเนเธอร์แลนด์มีแนวโน้มสูงขึ้น ๘.๕ เปอร์เซนต์จากปี พ.ศ.๒๕๕๖ และสหราชอาณาจักรต่ำกว่าปีที่แล้ว ๓.๖ เปอร์เซ็นต์ อื่นๆ ได้แก่ เบลเยี่ยม เพิ่มขึ้น ๑๐.๕ เปอร์เซ็นต์ มีจำนวนสัตว์ปีก ๒.๐๙๘ ล้านตัว สวีเดน ๙ ล้านกว่าตัว เพิ่มขึ้น ๓.๘ ล้านตัว และโปแลนด์ประมาณ ๒.๕ แสนตัว เพิ่มขึ้น ๕.๖ เปอร์เซ็นต์
ขณะที่ประเทศที่มีแนวโน้มลดลงในสัตว์ปีกอินทรีย์ ได้แก่ โรมาเนีย ลดลง ๒๒.๑ เปอร์เซ็นต์เป็น ๕๗,๗๙๗ ล้านตัว ลัตเวียลดลง ๑๐.๓ เปอร์เซ็นต์เป็น ๒.๔ หมื่นตัว ไซปรัสลดลง ๙.๘ เปอร์เซ็นต์เหลือแปดพันกว่าตัว เอสโทเนีย ๖ เปอร์เซ็นต์เหลือสองหมื่นกว่าตัว สโลวาเกีย ลดลง ๕.๓ เปอร์เซ็นต์เหลือ ๘,๒๕๐ ตัว และลิธัวเนีย ลดลง ๑.๒ เปอร์เซ็นต์เหลือ ๖,๑๗๐ ตัว บัลกาเรียไม่เปลี่ยนแปลง เพราะมีเพียง ๕๐๐ ตัว

แหล่งที่มา:          World Poultry (9/9/15)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...