วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

 แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว์ปีก อาหารที่มีระดับโปรตีนสูงยังทำให้สมดุลของกรดอะมิโนไม่เหมาะสมอีกด้วย แล้วทำไมต้องไปยึดติดกับโปรตีน ส่วนที่เกินไปจากสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรัรบอาหารสัตว์ปีกไป ไม่สามารถใช้สำหรับการสังเคราะห์โปรตีน กรดอะมิโนที่ไม่ได้ใช้เหล่านี้จำเป็นต้องผ่านกระบวนการดีแอมมิเนชันในตับ จึงทำให้ตับอวัยวะที่สำคัญของร่างกายต้องทำลายอย่างหนัก  

ยิ่งไปกว่านั้นกระบวนการดีเอมิเนชันต้องใช้พลังงาน เป็นสารอาหารที่ราคาแพงที่สุดในอาหารสัตว์ปีก ส่งผลลบต่อผลการเลี้ยงไก่ รวมถึง สุขภาพ และภูมิคุ้มกันสัตว์ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น กรดอะมิโนที่ไม่ถูกใช้จะเปลี่ยนเป็นไนโตรเจน แล้วขับออกจากร่างกาย ส่งผลให้ระดับแอมโมเนียในโรงเรือนสูงขึ้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพสัตว์ และคนงาน เนื่องจาก สร้างความระคายเคืองต่อระบบหายใจทำให้ไวต่อการเกิดโรค

 

การแก้ไขปัญหา

               การจัดการปัญหาแอมโมเนีย ต้องขนส่งออกจากโรงเรือนด้วยระบบการระบายอากาศที่ทรงพลัง แล้วปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น ต้นทุนด้านพลังงานสำหรับโรงเรือนเลี้ยงไก่ยังเพิ่มขึ้น เนื่องจาก อากาศใหม่ที่เติมเข้ามาก็ต้องถูกทำให้เย็นลง ดังนั้น การลดโปรตีนในอาหารสัตว์ จึงไม่ใช่เพียงผลดีด้านเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ยังทำให้สัตว์สุขภาพดี และภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นด้วย โดยภาพรวมก็ทำให้ผลการเลี้ยงสัตว์ดีขึ้น โดยเฉพาะ ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร อัตราการเจริญเติบโต มวลไข่ไก่ และอัตราการตายลดลง

สารเติมอาหารสัตว์จากธรรมชาติ

               บริษัทออสเตรเลีย หรือเอพีซี ได้พัฒนาสารเติมอาหารสัตว์จากธรรมชาติที่ช่วยให้แบคทีเรียที่มีชีวิตกลุ่มแลคโตในลำไส้เจริญเติบโตดีขึ้น เป็นกุญแจสำคัญเพื่อบำรุงชั้นเยื่อเมือกในลำไส้ ช่วยให้การดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น ทำความเข้าใจอย่างง่าย โปรตีนและสารอาหารอื่นๆก็จะถูกใช้ประโยชน์ได้ดีด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ผนังลำไส้ก็ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด

               ผลงานวิจัยจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่า การใช้เอพีซีขนาด ๒ กิโลกรัมต่อตันอาหารสัตว์ ช่วยให้แบคทีเรียกลุ่มแลคโตเพิ่มขึ้น ๑๓ เท่าในลำไส้เปรียบเทียบกับไม่ได้ใช้ และลดพีเอชลงจาก ๖.๗ เป็น ๖.๒ ใส่เครื่องหมายตกกระใจ ขณะที่ แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มลดลงร้อยละ ๑๐ ทุกคนในธุรกิจทราบดีว่า ลำไส้ที่สุขภาพดี ช่วยให้สัตว์สุขภาพดีไปด้วย และช่วยลดการตายลงได้

               ผลิตภัณฑ์เอพีซีจากธรรมชาติ คัดเลือกคุณสมบัติในการจับแอมโมเนียในลำไส้ และช่วยให้การถ่ายทอดประจุดีขึ้น ดังนั้น สารอาหารกลุ่มมาโครอิลิเมนต์จึงสามารถลดลงได้ในสูตร รวมถึงผลของการทำหน้าที่เอนไซม์ไฟเตสอีกด้วย ตกกระใจอีกครั้ง!

               ผลจากการลดโปรตีนช่วยให้ระดับแอมโมเนียที่วัดได้ลดลงร้อยละ ๕๐ การลดแมคโคร อีลีเมนต์  ช่วยลดต้นทุนสูตรอาหารสัตว์ ช่วยให้ระดับพีเอชในลำไส้ลดลง และลดการต่อต้านการทำหน้าที่ของเทรส อีลีเมนต์ได้อีกด้วย

งานวิจัย

               การทดลองในมหาวิทยาลัย แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การลดมาโคร อีลีเมนต์ลงแล้วใช้อีพีซีร้อยละ ๐.๒ ในอาหารไก่ไข่ หรือไก่พันธุ์ พบว่า เปลือกไข่แข็งแรงและน้ำหนักเพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการผลิตไข่ไก่ และไก่พันธุ์  

               นอกจากนั้น ความหนาแน่นที่สูงขึ้นของเปลือกไข่ไก่โดยการให้เอพีซี ช่วยลดการตายของลูกไก่แรกเกิดลงได้ อัตราการฟักสูงขึ้น และลูกไก่อายุวันแรกน้ำหนักเพิ่มขึ้น และสุขภาพดีขึ้น ทั้งนี้เป็นผลมาจากความหนาแน่นของเปลือกไข่ที่สูงขึ้น ช่วยยับยั้งการแทรกผ่านของแบคทีเรียก่อโรคระหว่างการฟัก

โปรตีนลดลงในอาหรสัตว์เป็นประโยชน์หลายอย่าง

               โดยสรุปแล้ว การลดโปรตีนมีประโยชน์อย่างมากสำหรับสิ่งแวดล้อม การใช้เอพีซี ช่วยให้ลดการใช้ถั่วเหลืองที่เป็นวัตถุดิบสำคัญที่ส่งผลอย่างมากต่อฟุ้ตพรินต์ด้านสิ่งแวดล้อม การลดถั่วเหลืองลงสามารถลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์โดยภาพรวมในการผลิตอาหารสัตว์อย่างยั่งยืน

               ยิ่งไปกว่านั้น เอพีซีช่วยลดการปลดปล่อยแอมโมเนียเข้าสู่สิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำคัญ การผลิตอาหารสัตว์ปีกโดยใช้สารเติมอาหารสัตว์จากธรรมชาติร้อยละ ๐.๒ จึงเป็นประโยชน์อย่างมาก ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้พัฒนามานานกว่า ๓๐ ปี

เอกสารอ้างอิง

APC. 2024. More performance with reduced protein!. [Internet]. [Cited 2024 Apr 19]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/nutrition/more-performance-with-reduced-protein/



วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2567

ไก่เนื้อขยันเดินเป็นสัญญาณสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี

 การประเมินสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มไก่เนื้อแบบอัตโนมัติยังเป็นประเด็นที่สำคัญ เนื่องจาก มีไก่ในโรงเรือนจำนวนมาก และวิธีการวัดผลก็แตกต่างกันไป การขยันเดินอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการประเมินสวัสดิภาพสัตว์แบบอัตโนมัติได้   

สมาร์ทเทคโนโลยีกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจติดตามและจัดการสัตว์ในฟาร์ม และจะช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพการผลิตและสวัสดิภาพสัตว์ ปัจจุบันการใช้สมาร์ทเทคโนโลยีก้าวหน้าไปมาแล้วในภาคการผลิตโคนม สำหรับการตรวจติดตามสวัสดิภาพสัตว์แบบอัตโนมัติจนช่วยให้สัตว์ได้รับการจัดสรรอาหารแบบเฉพาะตัว และการให้ยาอีกด้วย

สัตว์รายตัว และในฝูง

               ในฟาร์มโคนม สัตว์แต่ละตัวมีความสำคัญต่อผลผลิตเชิงเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องคอยเฝ้าตรวจสอบและจัดการสม่ำเสมอ แต่เป็นสิ่งที่ค่อนข้างปฏิบัติได้ยากในภาคการผลิตสัตว์ปีก เนื่องจาก หน่วยย่อยของธุรกิจประกอบด้วยสัตว์หลายหมื่นตัว หรือเป็นล้านตัว

               ในภาคการผลิตไก่เนื้อส่วนใหญ่เลี้ยงกัน ๒๐,๐๐๐ ถึง ๕๐,๐๐๐ ตัวในโรงเรือน ฟาร์มหนึ่งก็มีหลายโรงเรือน แล้วเลี้ยงกัน ๗ รุ่นต่อปี ดังนั้น คุณค่าทางเศรษฐกิจของไก่แต่ละตัวน้อยมากเทียบกับธุรกิจทั้งหมด ดังนั้น การตัดสินใจจัดการ เช่น การให้ยา การปรับแผนการให้แสง ความสูงของอุปกรณ์ให้น้ำและอาหาร ไม่ใช่เพื่อไก่แต่ละตัว แต่เพื่อภาพรวมของฝูงโดยรวม ผู้ผลิตสัตว์ปีกให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ด้านสวัสดิภาพสัตว์ เช่น แผลที่ข้อเข่า และการตาย ไม่ใช่ ไก่แต่ละตัว แต่เป็นร้อยละของทั้งฝูง 

               ศาสตราจารย์มาเรียน ดอว์กินส์จากภาควิชาชีววิทยาที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ยกประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ควรมองเป็นรายตัวไม่ใช่เหมาฝูง สัตว์ไม่กี่ตัวเท่านั้นที่ทุกข์ทรมาน มีความสุขหรือรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้น การมองระดับฝูงไม่เพียงพอที่จะประกันได้ว่าเป็นไปตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ได้จริง

สมาร์ทเทค

                 ศาสตราจารย์ดอว์กินส์ เชื่อว่า สมาร์ทเทคจะช่วยปฏิวัติหลักสวัสดิภาพไก่เนื้อ ตอนนี้ พรีซิสชั่น ครอป อะกริคัลเจอร์ ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า เทคโนโลยีจะสร้างประโยชน์ได้ ที่ผ่านมาก็พัฒนาการผลิตปุ๋ย หรือการจัดการน้ำให้พืชเป็นรายต้นไม่ใช่ทั้งพื้นที่

               การจัดการฟาร์มสัตว์ปีกแม่นยำไม่ได้มีประโยชน์ต่อผลผลิต แต่ยังได้ประโยชน์ต่อสวัสดิภาพสัตว์ แถมในระดับรายตัวด้วย ยกตัวอย่างเช่น เตือนให้ผู้เลี้ยงทราบตำแหน่งของไก่ป่วย หรือขาพิการ หรือบริเวณพื้นที่โรงเรือนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพสัตว์ เช่น มีไก่กระจุกตัวกันหนาแน่น หรือนอนหมอบอยู่

 

               โรงเรือนที่ประกอบด้วยไก่หลายพันตัวมักจัดการแบบเหมารวม แต่ความจริงแล้ว ฝูงไก่มีไก่จำนวนมาก แต่ละตัวก็ได้รับผลกระทบแตกต่างกันไป และผลลัพธ์ต่อสวัสดิภาพสัตว์ก็ไม่เหมือนกัน

               แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยียังไม่พร้อมสำหรับแก้ไขปัญหานี้ได้ เนื่องจาก การแยกไก่รายตัวออกจากทั้งฝูงหลายพันหลายหมื่นตัวที่มีสีขาวเหมือนๆกัน แตกต่างจากพืชที่เคลื่อนที่ รวมกัน แตกกระจายออกจากกันหันไปตามแสง จึงทำให้การประมวลภาพเป็นไปได้ยากอย่างยิ่ง ภาพอุณหภูมิและเสียงมีปัญหาคล้ายคลึงกันในการแยกแยะไก่แต่ละตัวจากพื้นหลังในแต่ละพารามิเตอร์

การประเมินสวัสดิภาพสัตว์

                 ปัญหาอันดับที่สามจากการประเมินสวัสดิภาพสัตว์ ตามหลักการอิสระ ๕ ประการ แต่ละรายการก็เป็นส่วนสำคัญต่อการกำหนดเป้าหมายด้านสวัสดิภาพสัตว์ โดยทำข้อตกลงร่วมกับผู้ผลิตสัตว์ปีก นักวิทยาศาสตร์ และความเห็นจากภายนอก แต่ยังขาดรายละเอียดคำแนะนำว่า การประเมินผลด้านสวัสดิภาพสัตว์ในทางปฏิบัติควรเป็นอย่างไร

               การใช้ในฟาร์มจริง จำเป็นต้องแปลงให้เป็นสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่งผู้ตรวจประเมินที่เป็นมนุษย์สามารถนำไปปรับใช้ได้ หรือไม่ก็ดัดแปลงให้เป็นอัลกอริทึมสำหรับเครื่องจักร คู่มือคุณภาพด้านสวัสดิภาพสัตว์สำหรับไก่เนื้อ แบ่งได้เป็น การให้อาหารที่ดี โรงเรือนที่ดี สุขภาพที่ดี และการแสดงออกทางพฤติกรรมเหมาะสม แล้วทำเป็นรายการที่ต้องตรวจประเมินในแต่ละหัวข้อ เช่น ความสะอาดของขน และคุณภาพวัสดุรองพื้น สำหรับประกอบการให้คะแนนโรงเรือนที่ดี ตรวจไม่พบข้อเข่าเป็นแผล และอกเป็นหนอง สำหรับสุขภาพที่ดี การทำเช็กลิสต์ใช้เวลา และบางประเด็นก็ความเห็นแตกต่างกันไป

               แม้ว่า การประเมินสวัสดิภาพสัตว์ระบบอัตโนมัติสำหรับไก่เนื้อมีความก้าวหน้าไปมาก แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมกันในเชิงพาณิชย์ เนื่องจาก หลักการสวัสดิภาพสัตว์ที่ใช้กันเป็นที่ยอมรับกันดีอยู่แล้ว และยังสามารถตรวจพบปัญหาที่ส่งผลต่อสวัสดิภาพสัตว์ในระดับฝูงได้เป็นอย่างดี

ไก่ขยันเดิน

               พฤติกรรมที่บ่งชี้ว่า ไก่ขยันเดิน หรือเดินได้อย่างต่อเนื่อง ยังไม่สามารถตรวจวัดได้อย่างสมบูรณ์ แต่ก็ถือได้ว่าตอบโจทย์ในการประเมินไก่ที่มีสุขภาพดี โดยสัมพันธ์กับหลักการสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีได้ ทั้งนี้ ง่ายสำหรับเครื่องจักรที่จะสามารถตรวจจับปัญหาได้ นับเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับระบบการตรวจประเมินสวัสดิภาพสัตว์แบบอัตโนมัติ เป็นพื้นฐานที่การตรวจประเมินสวัสดิภาพสัตว์จะถูกตรวจติดตามมากขึ้น และสามารถนำมาประมวลเป็นพื้นฐานความรู้ใหม่สำหรับอนาคต โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ที่มีความสลับซับซ้อนมากกว่าในอดีต                                                                                                                                     

เอกสารอ้างอิง

Mcdougal T. 2024. Active walking in broiler chickens – a flagship for good welfare. [Internet]. [Cited 2024 Mar 18]. Available from: https://www.poultryworld.net/poultry/broilers/active-walking-in-broiler-chickens-a-flagship-for-good-welfare/

ภาพที่ ๑ ไก่มีจำนวนมากในโรงเรือน มูลค่าของไก่แต่ละตัวน้อยเทียบกับทั้งฝูง (แหล่งภาพ Canva)



ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...