วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พยากรณ์สัตว์ปีกโลก ยอดการผลิตเนื้อไก่สูงเกินกว่า ๑๐๐ ล้านตัน (ต่อ)

               ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ มีเจ็ดประเทศที่สามารถผลิตเนื้อไก่ได้มากกว่าล้านตันต่อปี (ตารางที่ ๒) ทำให้ยอดรวมทั้งหมดเป็น ๓๘.๓ ล้านตันคิดเป็นสัดส่วน ๙๑ เปอร์เซ็นต์ของทุกพื้นที่รวมกัน ข้อมูลล่าสุดจาก USDA ว่าด้วยการผลิตไก่เนื้อ แสดงให้เห็นว่า ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ นี้ ผลผลิตใน USA คาดว่าจะสูงเป็นสถิติใกล้ ๑๘.๔ ล้านตัน ขณะที่บราซิล การผลิตเข้าใกล้ ๑๓.๕ ล้านตัน แทนที่ประเทศจีนที่เคยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลกอันดับ ๒ ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง (ตารางที่ ๔) ในทางตรงกันข้าม มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในระดับการผลิตทั้งในประเทศเม็กซิโก และอาร์เจนตินา ประมาณ ๓.๒ และ ๒.๑ ล้านตัน ตามลำดับ ส่วนผู้ผลิตรายสำคัญอื่นๆ เช่น เปรู โคลัมเบีย และคานาดา ยอดการผลิตยังอยู่ใกล้ล้านตันต่อปี
               อ้างอิงตามสำนักงานพยากรณ์ความต้องการ และการผลิตสินค้าเกษตร (World Agricultural Supply and Demand Estimates) คาดการณ์ว่า การผลิตในสหรัฐฯ ในปีนี้จะใกล้เคียง ๑๘ ล้านตัน เนื่องจาก ราคาอาหารสัตว์คาดกว่าจะลดลง ๒.๒ เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของผลผลิตเนื้อไก่ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ดันขึ้นไปถึง ๑๘.๕ ล้านตัน น้ำหนักเฉลี่ยของซากสัตว์เพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงสี่เดือนแรกของปีที่ผ่านมา โดยน้ำหนักมีชีวิตเฉลี่ยเป็น ๒.๘ กิโลกรัม หรือสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี พ.ศ.๒๕๕๗ คิดเป็น ๑.๘ เปอร์เซ็นต์ใล้กับการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยตลอดทั้งปี พ.ศ.๒๕๕๗
               การผลิตไก่เนื้อในบราซิล คาดว่าจะขยายตัวเป็น ๒.๕ เปอร์เซ็นต์ใกล้กับสถิติ ๑๓.๑ ล้านตันในปี พ.ศ.๒๕๕๘ อันเป็นผลมาจากการส่งออกที่สูงขึ้น อ้างอิงตามรายงาน USDA ผลกำไรจะเป็นบวกต่อไป ในอัตราที่ลดลง เนื่องจาก ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนั้น ยังมีความไม่แน่นอน อันเนื่องจาก สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของบราซิลชลอการขยายตัว ในรอบห้าปีที่ผ่านมาระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๒ ถึง ๒๕๕๗ การผลิตไก่เนื้อมีแนวโน้มเจริญเติบโต ๒.๘ เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยเชื่อว่า อาจเติบโตได้อีกถึง ๓ เปอร์เซ็นตในปี พ.ศ.๒๕๕๙ เป็น ๑๓.๕ ล้านตัน  รองประธานสมาคมโปรตีนจากสัตว์สำหรับส่วนสัตว์ปีกแห่งบราซิล (ABPA) เชื่อว่า สิ่งท้าทายที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมไก่ในอีก ๑๐ ถึง ๒๐ ปีข้างหน้าคือ สมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม และสวัสดิภาพสัตว์ ที่กำลังมีความต้องการสูงขึ้น
               มาตรการสำหรับเม็กซิกต่อการต่อสู้กับการระบาดของโรคไข้หวัดนกในปี พ.ศ.๒๕๕๕ ถึง ๒๕๕๗ พบว่า ขณะนี้พร้อมแล้วที่จะให้การผลิตกลับไปเหมือนดังเดิมตามรายงานของ USDA สำหรับภาคไก่เนื้อ เชื่อว่าจะมีการขยายตัวในอัตรา ๓ เปอร์เซ็นต์ต่อปี ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ นี้ก็จะขยับเข้าใกล้ ๓.๒ ล้านตัน ในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๒ ถึง ๒๕๕๗ อุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อในอาร์เจนตินามีการเติบโตอย่างรวดเร็วที่อัตรามากกว่า ๑๐ เปอร์เซ็นต์ต่อปีจนเกินกว่า ๒ ล้านตันแล้ว ข้อมูลคาดการณ์สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๕๘ คาดว่า จะมีการเพิ่มขึ้นอีก ๐.๕ เปอร์เซ็นต์เป็น ๒.๐๖ ล้านตัน แต่ปี พ.ศ.๒๕๕๙ เชื่อว่าจะเติบโตน้อยลงโดยมียอดการผลิตเป็น ๒.๑ ล้านตัน การผลิตไก่เนื้อในคานาดาเชื่อว่าจะเพิ่มขึ้น ๓ เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ และเพิ่มขึ้นอีก ๒ เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ โดยมียอดการผลิตสูงกว่า ๑.๑ ล้านตัน   
.
ภาพที่ ๑ ผลผลิตเนื้อไก่ทั่วโลกมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าทวีปอเมริกา (ล้านตัน)
 
ตารางที่ ๒ อันดับประเทศผู้ผลิตเนื้อไก่รายใหญ่ในทวีปอเมริกาในปี พ.ศ.๒๕๕๘
ประเทศ

สหรัฐฯ
17546.1
เม็กซิโก
12435.5
อาร์เจนตินา
2801.3
โคลัมเบีย
1276.8
เวเนซูเอลา
1273.0
เปรู
1203.2
คานาดา
992.3

 ตารางที่ ๓ ผู้ผลิตเนื้อไก่รายใหญ่ในทวีปอเมริกา (พันตันของน้ำหนักไม่รวมเครื่องใน)
การผลิตเนื้อไก่ (พันตันของน้ำหนัก ไม่รวมเครื่องใน)
ประเทศ
2543
2548
2549
2550
2551
2552
2553
2554
2555
2556
2557
2558
2559
สหรัฐฯ
13703
15870
15930
16226
16561
15935
16563
16694
16621
16976
17299
17966
18365
บราซิล
5980
9350
9355
10305
11033
11023
12312
12863
12645
12308
12692
13080
13480
เม็กซิโก
1936
2498
2592
2683
2853
2781
2822
2906
2958
2907
3025
3100
3160
อาร์เจนตินา
870
1030
1200
1320
1435
1500
1680
1770
2014
2060
2050
2060
2100
หมายเหตุ ข้อมลูจาก USDA

แหล่งข้อมูล        World Poultry (19/2/16) 

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พยากรณ์สัตว์ปีกโลก ยอดการผลิตเนื้อไก่สูงเกินกว่า ๑๐๐ ล้านตัน

ทวีปอเมริกาเป็นผู้ผลิตเนื้อไก่รายใหญ่ที่สุดในโลก แต่อุตสาหกรรมมีการเติบโตช้ากว่าภูมิภาคอื่นๆในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การผลิตเนื้อไก่โลกจะสูงที่สุดแตะ ๑๐๐ ล้านตันในปี พ.ศ.๒๕๕๙ นี้ โดยที่ทวีปอเมริกามียอดการผลิตราว ๔๔.๓ ล้านตัน หรือ ๔๔ เปอร์เซ็นต์ 

               ตลาดค้าสัตว์ปีกทั่วโลกสำหรับปีนี้เชื่อว่าจะสูงถึง ๙๙ ล้านตันเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๕๗ มียอดรวมทั้งหมด ๙๖.๓ ล้านตัน ขณะที่ในทวีปอเมริกามีการผลิตมากที่สุด ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ คาดว่าสัดส่วนจะลดลงจาก ๔๖.๕ เหลือ ๔๓.๘ เปอร์เซ็นต์ของผลรวมการผลิตทั่วโลก เนื่องจาก อัตราการเจริญเติบโตในทวีปอเมริกาลดลงประมาณ ๓ เปอร์เซ็นต์ตลอดทศวรรษที่ผ่านมาเปรียบเทียบกับพื้นที่การผลิตทวีปอื่นๆที่ลดลง ๔ เปอร์เซ็นต์ และค่าเฉลี่ยทั่วโลก ลดลง ๓.๕ เปอร์เซ็นต์ ปีหน้านี้ ทั้งบราซิล และสหรัฐฯ คาดว่า การผลิตเฉลี่ยสูงกว่าทั่วโลก จะส่งผลให้พื้นที่แถบนี้มีสัดส่วนประมาณ ๔๔ เปอร์เซ็นต์ FAO ได้นำเสนอข้อมูลไว้ในตารางที่ ๑ รวมถึง คาดการณ์การผลิตจากไก่ไข่คัดทิ้ง และไก่หลังบ้าน

        ข้อมูลจาก USDA เกี่ยวกับการผลิตเนื้อไก่ทั่วโลกมีแนวโน้มขยายตัว ๓.๔ เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยมีผลผลิตไต่ขึ้นจาก ๖๓.๑ ล้านตันในปี พ.ศ.๒๕๔๘ ถึง ๘๗.๙ ล้านตันในปีนี้ ขณะที่ปี พ.ศ.๒๕๕๙ เชื่อว่าจะมียอดการผลิตมากกว่า ๘๙ ล้านตัน (ตารางที่ ๑)
               แม้ว่าจะมีการระบาดของโรคไข้หวัดนก ภาพรวมสำหรับอุตสาหกรรมสัตว์ปีกส่วนใหญ่ยังเป็นไปด้วยดี เนื่องจาก ราคาอาหารสัตว์ที่ดี และภาวะการแข่งขันสำหรับเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆมีน้อย  ผู้ผลิตรายใหญ่ในละตินอเมริกากำลังพยายามมองหาวิธีการต่อสู้ และป้องกันการระบาดของโรคนี้ รวมถึง การจัดงบประมาณ และแผนฉุกเฉิน และการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ
               พยากรณ์ตลาดเนื้อสัตว์ปีกในระยะยาวจะมีการเจริญเติบโตต่อไปอีกประมาณ ๒ เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยมีผลผลิตใกล้เข้าสู่ ๑๓๔ ล้านตันในปี พ.ศ.๒๕๖๗ โดยภาพกว้าง เนื้อไก่จะมีสัดส่วนเกือบ ๘๙ เปอร์เซ็นต์ของเนื้อสัตว์ปีกทุกประเภท โดยในปี พ.ศ.๒๕๖๗ นั้น การผลิตเนื้อไก่จะเป็น ๑๑๙ ล้านตัน การผลิตเนื้อไก่ในทุกประเทศในทวีปอเมริกาช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๓ และ ๒๕๕๖ ขยายตัวราว ๓.๕ เปอร์เซ็นต์ต่อปี จาก ๒๗.๑ เป็น ๔๒.๑ ล้านตัน โดยสหรัฐฯจะเป็นผู้ผลิตลำดับหนึ่งโดยมียอดการผลิต ๑๗.๖ ล้านตันในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ แม้ว่า อัตราการเจริญเติบโตจะต่ำกว่า ๒ เปอร์เซ็นต์ต่อปี สวนทางกลับอุตสาหกรรมบราซิลที่มีการขยายตัวใกล้ ๖ เปอร์เซ็นต์ต่อปีจนมียอดการผลิตสูงถึง ๑๒.๔ ล้านตันในช่วงเวลาเดียวกัน
แหล่งข้อมูล        World Poultry (19/2/16)



















 หมายเหตุ ข้อมูลปี 2557-2559 มาจากการคาดการณ์

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แคลเซียม และไฟเตสในไก่เนื้อ

ไฟเตสกำลังมีการวิจัยกันอย่างกว้างขวาง แต่ยังมีข้อมูลน้อยเกี่ยวกับนิเวศวิทยาของเชื้อจุลชีพในระบบทางเดินอาหารของไกเนื้อ โดยไฟเตสยังช่วยปลดปล่อยแคลเซียมจากอาหารสัตว์ ต้องใส่แคลเซียมมากน้อยเพียงใดเมื่ออาหารสัตว์มีการเสริมไฟเตส
               ไฟเตสเชื่อว่าเป็นสารเติมอาหารสัตว์ที่มีการศึกษามากที่สุดชนิดหนึ่ง ใช้เป็นเอนไซม์เสริมที่ใช้ในสูตรอาหารของสัตว์เลี้ยงที่ไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง ช่วยเพิ่มผลผลิต โดยช่วยในการสร้างสารอาหารมากมายหลายชนิด รวมถึง  มาโครอิเลเมนต์ และแร่ธาตุที่มีอยู่น้อยในการศึกษาหลายครั้งในสัตว์ชนิดต่างๆ การเสริมไฟเตสในสูตรอาหารสัตว์ ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้แร่ธาตุอาหารจากหินแป้ง และฟอสเฟตโดยการปลดปล่อยฟอสฟอรัส และแคลเซียมออกจากไฟเตตที่มีความซับซ้อน เอนไซม์ไฟเตส ช่วยลดปริมาณการเติมฟอสเฟต และแคลเซียมในรูปอนินทรีย์ที่ใช้ในสูตรอาหารสัตว์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ในรูปของโมโน หรือไดแคลเซียม ฟอสเฟต อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเอนไซม์ไฟเตสปลดปล่อยฟอสฟอรัสได้มากกว่าแคลเซียม (ตามสัดส่วนของความต้องการ) ดังนั้น การเสริมเอนไซม์ไฟเตสจึงต้องเติมหินแป้งมากขึ้น เพื่อให้อัตราส่วนระหว่างแคลเซียม และฟอสฟอรัสเป็น ๒ ต่อ ๑ ในอาหารสัตว์
               อาหารสัตว์มีระดับฟอสฟอรัส และแคลเซียมแตกต่างกัน ดังนั้น การศึกษาปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียม และไฟเตสจึงมีรายละเอียดมาก การทดลองในมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวิตในโปแลนด์โดยใช้ลูกไก่พันธุ์ รอส เพศเมียอายุ ๑ วัน แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลของการเสริมเอนไซม์ไฟเตสต่อผลการเลี้ยงไก่เนื้อที่ใช้แคลเซียม และฟอสฟอรัสในระดับแตกต่างกันต่อประชากรไมโครไบโอตา และเมตาโบไลต์ในทางเดินอาหารส่วนต่างๆกัน
               ผลต่อประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร พบว่า อัตราการตายต่ำ น้อยกว่า ๓ เปอร์เซ็นต์ โดยไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มการทดลอง ในทุกระยะของการทดลอง และทุกพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต โดยไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับแคลเซียม และฟอสฟอรัส และการเสริมไฟเตส นั่นคือ ไม่พบผลกระทบของความเข้มข้นของแคลเซียม และฟอสฟอรัสต่อการกินอาหารตลอดการทดลอง อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ถึง ๒๑ การลดระดับของฟอสฟอรัส และแคลเซียมส่งผลต่อการเพิ่มน้ำหนักที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยอาหารก็แย่ลงเช่นกัน
               ในระยะแรกของการเลี้ยง (อายุ ๑ ถึง ๑๔ วัน) การเติมไฟเตสที่ระดับ ๕๐๐๐ เอฟทียูต่อกิโลกรัมช่วยเพิ่มน้ำหนัก การกินอาหาร และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารที่ดีขึ้น ในช่วงอายุ ๑๕ ถึง ๒๑ วัน การเสริมไฟเตสก็ช่วยเพิ่มน้ำหนัก และลดประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร แต่ไม่มีลผต่อการกินอาหาร ระหว่างอายุ ๒๒ ถึง ๔๒ วัน มีเพียงประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารเท่านั้นที่ดีขึ้น โดยภาพรวมนับตั้งแต่อายุ ๑ ถึง ๔๒ วัน การเสริมไฟเตสที่ระดับ ๕๐๐๐ เอฟทียูต่อกิโลกรัมในอาหาร ช่วยเพิ่มน้ำหนักตัว และลดประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร โดยไม่มีผลต่อการกินอาหาร
               ผลต่อแบคทีเรีย และกรดแลกติกในลำไส้ จำนวนรวมของแบคทีเรีย (DAPI counts) ต่ำลง โดยการลดความเข้มข้นของแคลเซียม และฟอสฟอรัส แต่เพิ่มขึ้นโดยการเสริมไฟเตส ไม่มีสูตรอาหารใดที่ส่งผลต่อจำนวนของเชื้อแบคเทอรอยเดส จำนวนของเชื้อคลอสตริเดียม และเอนเทอโรคแบคเทอริซีอีลดลงในอาหารจากลำไส้เล็กส่วนท้ายที่เก็บตากไก่กินอาหารที่ขาดแคลเซียม และฟอสฟอรัส ไม่มีผลกระทบที่เห็นชัดของระดับแคลเซียม และฟอสฟอรั และการเสริมไฟเตสต่อความเข้มข้นของกรดอะซิติก และแลกติก เช่นเดียวกับปริมาณรวมของ SCFA ในกระเพาะพัก อย่างไรก็ตาม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างไฟเตส และระดับแคลเซียม และฟอสฟอรัส สังเกตพบสำหรับอะซิเตต และ SCFA
               โดยสรุปแล้ว นักวิจัย พบว่า ฟอสฟอรัสเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการหมักในลำไส้เล็กส่วนท้าย โดยไฟเตสมีบทบาทสำคัญในการควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ของไก่ อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบความเชื่อมโยงที่ชัดเจนของระดับฟอสฟอรัส และแคลเซียมในอาหารสัตว์

แหล่งข้อมูล        Emmy Koeleman, All About Feed &Dairy Globa (16/2/16) 

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เตือนฟาร์มไก่อังกฤษลดใช้ยาปฏิชีวนะ

การใช้ยาปฏิชีวนะที่มีความสำคัญสำหรับมนุษย์ถูกตักเตือนในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗ แม้ว่า อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกพยายามลดการใช้ลง แต่ก็ยังคงมีใช้ให้เห็น
สภาสัตว์ปีกแห่งสหราชอาณาจักร (British Poultry Council, BPC) บ่งชี้ว่า การใช้ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนเพิ่มขึ้นถึง ๕๙ เปอร์เซ็นต์ในช่วงสิบสองเดือนที่ผ่านมา คิดเป็นน้ำหนักรวมของยา ๑.๑๒๖ ตันที่มีการใช้กันในปี พ.ศ.๒๕๕๗ เปรียบเทียบกับ ๐.๗๑ ตันที่ใช้กันในปีก่อน
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์อิสระ อ้างว่า ไก่เนื้อมากกว่า ๒๐ ล้านตัวถูกรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หลังจากสหรัฐฯได้ถอนยาจากฟาร์มสัตว์ปีกในปี ๒๕๔๘ ถึงตอนนี้ Defra ก็ได้เสนอให้รัฐบาลต้องเร่งรัดสำนึกใช้ยาด้วยความรับผิดชอบ 
มาตรการควบคุมการจำหน่ายยาปฏิชีวนะยังไม่เพียงพอ ดังนั้น จึงต้องหันมารณรงค์ที่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อให้มีการเปรียบเทียบการใช้ยาจริงในฟาร์มกับประเทศอื่นๆในยุโรป สภาสัตว์ปีกแห่งสหราชอาณาจักรได้เปรียบเทียบการใช้ยาต่อต้านจุลชีพระหว่างสมาชิกตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๕ และ๒๕๕๗ โดยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับองค์กรด้านสัตวแพทย์ มีเพียงไม่กี่แห่งที่ปฏิบัติอย่างจริงจัง ดังนั้น สภาสัตว์ปีกสหราชอาณาจักรจึงเริ่มจัดตั้งกลุ่มรณรงค์การลดยาปฏิชีวนะขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๕๔ สภาสัตว์ปีกสหราชอาณาจักรมีบทบาทในการเป็นผู้นำลดการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยมุ่งกลุ่มที่ใช้สำหรับการแพทย์ ในปี พ.ศ.๒๕๕๔ สมาชิกของสภาสัตว์ปีกยุโรป ตัดสินใจหยุดการใช้ยากลุ่มเซฟาโลสปอริน ในปี พ.ศ.๒๕๕๖ ถึง ๒๕๕๗ การใช้ยาปฏิชีวนะรวมในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ปีกลดลง ๓๐ เปอร์เซ็นต์
แหล่งข้อมูล Jake Devies, Poultry World (4/2/16) 



วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สมองเล็กเพราะไข้ซิก้านี่เอง?

ไข้ซิก้าเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า โรคไวรัสซิก้ามีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ซิก้า อาการคล้ายคลึงกับไข้เลือดออก ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ ๖๐ ถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่แสดงอาการ อาการของโรค ได้แก่ ไข้ ตาแดง ปวดข้อ ปวดศีรษะ และปรากฏเม็ดตุ่มผื่นคัน โดยทั่วไป อาการค่อนข้างน้อย และมีอาการปรากฏเพียงระยะเวลาสั้นๆ แค่ ๗ วันเท่านั้น ไม่ปรากฏผู้เสียชีวิตจนกระทั่งรายแรกเมื่อปีที่ผ่านมา การติดเชื้ออาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการภูมิแพ้ตัวเองที่เรียกว่า กลุ่มอาการจีบีเอส หรือกิลแลง บาร์เร
               ไข้ซิก้าแพร่กระจายโดยยุงลาย รวมถึง การรับเลือด และเพศสัมพันธ์ โรคอาจแพร่จากแม่สู่ลูกได้ในครรภ์ และเป็นสาเหตุของอาการสมองเล็ก (Microcephaly) การวินิจฉัยมักอาศัยการตรวจเลือด ปัสสาวะ หรือน้ำลาย เพื่อตรวจหาอาร์เอ็นเอของเชื้อไวรัสจากผู้ป่วย โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยระมัดระวังไม่ให้ยุงกัด โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายงานการระบาดของโรค เช่น การใช้สารไล่ยุงทาตามร่างกาย กางมุ้งนอน และกำจัดแหล่งน้ำนิ่งที่ยุงอาศัยแพร่พันธุ์ ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๘ สาธารณสุขบราซิลแนะนำให้พ่อแม่พิจารณาหลีกเลี่ยงแผนการมีครรภ์ช่วงที่การระบาดของโรค และแนะนำให้สตรีมีครรภ์หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่โรคระบาด แม้ว่าจะไม่มีวิธีการบำบัดรักษาอย่างจำเพาะ แต่การใช้ยาพาราเซตามอล หรืออะเซตามิโนเฟน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรค ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
               เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคแยกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๙๐ แต่เพิ่มมีรายงานการระบาดในมนุษย์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ สหพันธรัฐไมโครนีเซีย ประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเกาะเล็กๆในมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๙ โรคได้แพร่ระบาดไปยังหลายประเทศในทวีปอเมริกา นอกเหนือจาก แอฟริกา เอเชีย และแปซิฟิก เนื่องจาก การระบาดเริ่มต้นที่ประเทศบราซิลตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๘ ดังนั้น องค์การอนามัยโลกจึงประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศในเดือนกุมภาพันธ์นี้เอง

อาการ และกลุ่มอาการของโรค
                  อาการ และกลุ่มอาการของโรคไข้ซิก้า ได้แก่ ไข้ ผื่นคัน ปวดตามข้อ เยื่อตาอักเสบ (ตาแดง) ปวดกล้ามเนื้อ และข้อต่อ และปวดศีรษะ อาการ และกลุ่มอาการโดยภาพรวมคล้ายคลึงกับโรคไข้เลือดออก และชิคุนกุนยา ระยะฟักตัวนับตั้งแต่ยุงกัดจนเริ่มแสดงอาการของโรค ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าใช้เวลาไม่กี่วันไปจึงถึงเป็นสัปดาห์ อาการของโรคเป็นเวลาหลายวันจนถึงเป็นสัปดาห์ และค่อนข้างน้อยไม่จำเป็นต้องไปนอนรักษาที่โรงพยาบาล การเสียชีวิตพบได้ยาก ภาวะเลือดออก อาจพบได้เป็นเลือดออกปนมากับน้ำเชื้อของผู้ชาย (Hematospermia)  

               ระหว่างการตั้งครรภ์ เชื่อว่า เชื้อสามารถแพร่จากมารดาสู่บุตรในครรภ์ได้ และเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะศีรษะเล็ก (Microcephaly) แต่ก็ยังมีรายงานการเกิดโรคนี้เพียงไม่กี่รายเท่านั้น โดยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ มีรายงานจากกระทรวงสาธารณสุขบราซิล เตือนประชาชนให้ทราบถึงความเชื่อมโยงระหว่างโรคซิก้าไวรัส และภาวะศีรษะเล็กในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบราซิลจากการตรวจพบทารกที่ปรากฏโรคอย่างรุนแรง ๒ ราย โดยผลการเจาะตรวจน้ำคร่ำ ยืนยันการปรากฏของเชื้อไวรัสซิก้าในน้ำคร่ำ ผลการตรวจอัลตราซาวด์ พบทารกทั้งสองรายมีลักษณะของศีรษะเล็ก เนื่องจาก สมองหลายส่วนถูกทำลาย ทารกรายหนึ่ง ยังตรวจพบการสะสมแคลเซียมที่ตา และมีลูกตาขนาดเล็ก (Microphthalmia) อีกด้วย ดังนั้น รัฐบาลบราซิลจึงยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างการติดเชื้อไวรัสซิก้าในสตรีมีครรภ์ และภาวะศีรษะเล็กในทารก โดยมีผู้ป่วยที่สงสัยภาวะศีรษะเล็กอย่างน้อย ๒,๔๐๐ รายในประเทศช่วงปีที่ผ่านมา และเสียชีวิตไปแล้ว ๒๙ ราย   

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

น้ำมันหอมระเหย ความหวังใหม่ลดใช้ยาปฏิชีวนะ

น้ำมันหอมระเหยเป็นกุญแจสำคัญทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะส่งเสริมการเจริญเติบโตในสัตว์ปีกจากผลการวิจัยของบริษัทคาร์กิล ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารสหรัฐฯ แต่น้ำมันระเหยมีกลไกการทำงานอย่างไรที่สารเติมอาหารสัตว์ชนิดอื่นๆที่ไม่ใช่ยาไม่สามารถทำได้
               ผลการวิจัยเลือกหาสารเติมอาหารสัตว์ที่เป็นประโยชน์สูงที่สุดสอดคล้องกับความต้องการลูกค้า ผลผลิตที่ดีคงเส้นคงวา พบว่า น้ำมันหอมระเหยน่าจะให้ผลได้ดีที่สุดบรรลุกุญแจสำคัญ ๔ ประการสำหรับสุขภาพลำไส้
               น้ำมันหอมระเหยกุญแจสำคัญสำหรับเสริมสุขภาพลำไส้ที่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการผลิตสัตว์ปีก เนื่องจาก ระบบทางเดินอาหารมีหน้าที่สำคัญต่อการให้ผลผลิตที่ดี กุญแจสำคัญ ๔ ประการของสุขภาพลำไส้ ประกอบด้วย
๑.     การสร้างความสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้
๒.    ควบคุมการทำหน้าที่ภูมิคุ้มกัน และกระบวนการอักเสบ
๓.    ช่วยส่งเสริมการย่อย และการดูดซึมสารอาหาร
๔.    เพิ่มประสิทธิภาพปกป้องเชื้อก่อโรค
               ขณะที่ สารเติมอาหารสัตว์ทุกชนิด ให้ผลที่ดีในบางประการ นักวิจัยจากคาร์กิล พบว่า น้ำมันหอมระเหย โดยเฉพาะที่มีองค์ประกอบของไทม์ ซินนามอน และโอริกาโน ให้ผลที่ดีที่สุดโดยภาพรวมต่อสุขภาพลำไส้ รวมถึง ฤทธิ์ต่อต้านเชื้อจุลชีพ การปรับสมดุลของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ส่งเสริมการย่อยสารอาหาร และกระตุ้นการสร้างเมือก
               ฤทธิ์ต่อต้านเชื้อโรค พบว่า น้ำมันหอมระเหยออกฤทธิ์ต่อเชื้อก่อโรคได้อย่างกว้างขวาง และส่งผลโดยตรงต่อการทำหน้าที่ของทางเดินอาหาร นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นมา การวิจัยทั้งในตัวสัตว์ และห้องปฏิบัติการที่ศูนย์นวัตกรรมด้านอาหารสัตว์ของคาร์กิลในประเทศเนเธอร์แลนด์ สหรัฐฯ จอร์แดน ฝรั่งเศส โปแลนด์ อินเดีย มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสารเติมอาหารสัตว์ รวมถึง น้ำมันหอมระเหย โปรไบโอติก ยีสต์ และกรดไขมันสายกลาง (MCFA)
         บทบาทของน้ำมันหอมระเหยต่อการลดการใช้ยาปฏิชีวนะ พบว่า น้ำมันหอมระเหยมีประสิทธิภาพออกฤทธิ์ควบคุมการติดเชื้อในลำไส้ เช่น โรคซัลโมเนลโลซิส และโรคบิด สามารถนำมาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะได้มากกว่า ๘๕ เปอร์เซ็นต์ โดยผลการวิจัยพบความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างกลุ่มที่ให้ยาปฏิชีวนะ และกลุ่มที่ให้น้ำมันหอมระเหย
               ผลการวิจัย แสดงให้เห็นถึง น้ำมันระเหยสำหรับผสมในอาหารสัตว์ เพื่อส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร และลดการใช้ยาปฏิชีวนะ นักวิจัยสนับสนุนให้ผสมทั้งน้ำมันหอมระเหย และกรดอินทรีย์เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงที่สุด นักวิจัยด้านโภชนาการของคาร์กิลกำลังทำงานร่วมกับผู้ผลิตสัตว์ปีกโดยตรงเพื่อออกแบบแผนการให้อาหารสัตว์ให้สอดคล้องกับการจัดการฟาร์ม การทดลองด้านประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารจากผลการศึกษาทั้ง ๑๒ การทดลอง แสดงให้เห็นว่า ไก่ที่ให้สูตรอาหารพิเศษของคาร์กิลที่เรียกว่า “Promote Basic Nucleus additive” ที่ใช้ส่วนผสม ๗ ชนิดจากการคัดเลือกสันเป็นพิเศษ โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะสามารถเพิ่มน้ำหนักได้ราว ๒ เปอร์เซ็นต์ และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหารที่ดีขึ้นกว่าเดิม ๑.๕ เปอร์เซ็นต์ โดยมีค่า ROI เป็น ๕ ต่อ ๑ สำหรับผู้ผลิต
แหล่งข้อมูล        World Poutlry (4/2/16)

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อินเดียทำลายเป็ดไก่ติดหวัดนกกว่าแปดพันตัว

โรคไข้หวัดนกหวนคืนสู่อินเดีย ขณะที่มีรายงานระบาดเพิ่มขึ้นในไต้หวัน เวียดนาม และจีน
               โรคไข้หวัดนกได้รับการยืนยันการระบาดแล้วที่ฟาร์มในรัฐตรีปุระ ประเทศอินเดีย ไก่ และเป็ดมากกว่า ๘,๐๐๐ ตัว ถูกทำลาย ฟาร์มดังกล่าวตั้งอยู่ที่เมือง Gandhigram ทางตะวันตกของรัฐตรีปุระ บริเวณทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ติดกับประเทศบังคลาเทศ หลังจากการตายของไก่ เป็ด และสัตว์ปีก กรมปศุสัตว์ได้ส่งตัวอย่างให้ห้องปฏิบัติการหลายแห่งทั้งในท้องถิ่น และภายนอก โดยผลการตรวจยืนยันผลบวกต่อเชื้อไวรัสสับไทป์ H5 เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น สัตว์ปีกทั้งหมดในรัศมี ๑ กิโลเมตรรอบฟาร์มที่เกิดโรคระบาดจึงถูกสั่งทำลาย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แผนการเฝ้าระวังโรคจะกำหนดเป็นรัศมี ๑๐ กิโลเมตรถัดไป เพื่อตรวจติดตามการแพร่กระจายโรค
               การระบาดโรคไข้หวัดนกในไต้หวัน เวียดนาม และจีน สองสัปดาห์ที่แล้ว กรามปศุสัตว์ไต้หวันได้รายงานโรคระบาดไปยัง OIE จากเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสับไทป์ H5N2 ทั้งหมด ๗ ครั้ง ครอบคลุมฟาร์มสัตว์ปีกทั้งหมด ๖ แห่ง และสัตว์ปีกป่า ๑ ครั้ง ส่งผลให้มีการทำลายสัตว์ปีกทั้งหมด ๓๒,๓๑๐ ตัว เมื่อเร็วๆนี้ยังมีการทำลายเพิ่มอีก ๒๗,๕๓๘ ตัวภายหลังการยืนยันโรคอีกครั้งในเมืองชิงหัว จนถึงตอนนี้ เชื้อไวรัสไข้หวัดนกถูกตรวจพบในนกป่าไปแล้ว ๔ ครั้ง ขณะเดียวกันในประเทศเวียดนามก็มีรายงานการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรงสับไทป์ H5N6 ให้ OIE โดยตรวจพบในสัตว์ปีกเลี้ยหลังบ้านจำนวน ๖,๖๐๐ ตัว ในฟาร์มทางตอนกลาง และตอนเหนือของประเทศ โดยฟาร์มในจังหวัดหูหนานในจีนก็ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อหงส์ดำจำนวน ๑,๓๐๐ ตัว และนกยูงในฟาร์มแห่งหนึ่ง

               สิ่งที่ทำให้สถานการณ์ดูแย่ลงคือ การเกิดโรคในคนที่ประเทศจีน โดยมีการรายงานต่อ WHO ว่า มีการยืนยันผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก ๒ รายจากการติดเชื้อ H5N6 ในจังหวัดกวางตุ้ง ผู้ป่วยทั้งสองรายเดินชมตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิต หนึ่งในสองรายดังกล่าวได้เสียชีวิตลงแล้ว ขณะที่ นักธุรกิจชาวไต้หวันที่ติดเชื้อ H7N9 หลังจากไปเที่ยวจีนได้เสียชีวิตลงแล้วเช่นกัน โดยผู้ป่วยติดเชื้อภายหลังเที่ยวชมตลาดค้าสัตว์ปีกเช่นกัน

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...