วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

สถานการณ์การส่งออกเนื้อสัตว์ปีก สหรัฐฯ มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง



สถานการณ์การส่งออกเนื้อสัตว์ปีก สหรัฐฯ มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง
การส่งออกไปยังตลาดสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ปีกสรุปรายงานเจ็ดเดือนแรกของปี ค.ศ. ๒๐๑๒ ทะลุ ๒.๓ ล้านเมตริกตัน มีมูลค่ารวมที่ ๓ พันล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากเดิม ๙ ถึง ๑๘ เปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี ค.ศ. ๒๐๑๑ ทั้งปริมาณ และมูลค่าการส่งออกเป็นสถิติสูงที่สุดในช่วงเวลาเดียวกัน
                การส่งออกเนื้อไก่ (รวมทั้ง เท้าไก่) สำหรับเดือนกรกฏาคมลดลงราว ๗ เปอร์เซ็นต์ที่ ๒๗๓,๔๗๓ เมตริกตัน โดยมีมูลค่าการส่งออกเกือบ ๓๔๒ ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น ๒ เปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ในเดือนกรกฏาคม ยอดส่งออกไก่เนื้อลดลงมาก เนื่องจาก ยอดการส่งออกไปยังฮ่องกง จอร์เจีย คิวบา เวียดนาม และเกาหลีใต้ ลดลงจากเดิม แต่มีการเพิ่มการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ ได้แก่ เม็กซิโก คาซัคสถาน รัสเซีย ไต้หวัน และกานา ช่วยพยุงยอดรวมการส่งออกไปได้บ้าง รวมการส่งออกเนื้อไก่ (รวมทั้งเท้าไก่) ในเจ็ดเดือนแรกเป็นสถิติการส่งออกทั้งปริมาณ และมูลค่า มากกว่า ๑.๘ ล้านตัน มูลค่า ๒.๔ พันล้านเหรียญฯ เพิ่มจากปีที่แล้ว ๑๐ และ ๒๓ เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ตารางที่ ๑ ตลาดส่งออกสำคัญของสหรัฐฯ ปริมาณการส่งออกในเจ็ดเดือนแรกของปี ค.ศ.๒๐๑๒
ประเทศ
ปริมาณการส่งออก (เมตริกตัน)
สถานการณ์
เม็กซิโก
๓๑๑,๐๖๘ เมตริกตัน
เพิ่มขึ้น ๑๙ เปอร์เซ็นต์
รัสเซีย
๑๖๒,๙๖๔ เมตริกตัน
เพิ่มขึ้นเท่าตัว
คานาดา
๙๓,๘๖๙ เมตริกตัน
เพิ่มขึ้น ๒๐ เปอร์เซ็นต์
แองโกลา
๙๒,๑๓๗ เมตริกตัน
เพิ่มขึ้น ๒๘ เปอร์เซ็นต์
คิวบา
๘๗,๘๑๔ เมตริกตัน
เพิ่มขึ้น ๑๒๒ เปอร์เซ็นต์
ไต้หวัน
๗๒,๖๒๖ เมตริกตัน
เพิ่มขึ้น ๑๘ เปอร์เซ็นต์
อิรัก
๗๔,๖๐๔ เมตริกตัน
ลดลง ๔ เปอร์เซ็นต์
ฮ่องกง
๗๒,๐๖๕ เมตริกตัน
ลดลง ๔๖ เปอร์เซ็นต์
คาซักสถาน
๖๒,๔๕๙ เมตริกตัน
เพิ่มขั้น ๖ เท่า
จีน
๔๗,๔๑๘ เมตริกตัน
เพิ่มขึ้น ๔๖ เปอร์เซ็นต์

EFSA เตือนภัยซัลโมเนลลา สแตนเลย์ ระบาดทั่วยุโรป

                European Food Safety Authority (EFSA) และ European Center for Disease Prevention and Control ตีพิมพ์รายงานการประเมินความเสี่ยงเร่งด่วน เนื่องจากการระบาดของเชื้อ Salmonella enteric serovars Stanley ในหลายประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม เชก เยอรมัน ฮังการรี สโลวัก และสหราชอาณาจักร เชื่อว่า สาเหตุมาจากเนื้อไก่งวง



                ซีโรวาร์ Stanley พบได้บ่อยในโรคติดเชื้อในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะนี้ มีผู้ป่วยที่ยืนยันการติดเชื้อ Salmonella Stanley รวมทั้งหมด 418 รายรายงานในสหภาพยุโรป ระหว่างเดือนสิงหาคม 2011 ถึงกันยายน 2012
                เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายนที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรปได้ร้องขอความช่วยเหลือทางวิชาการไปยัง EFSA และ ECDC เพื่อค้นหาแหล่งที่มาของการระบาดของเชื้อ
๑.       รายงานสรุประบาดวิทยาเชิงบรรยายของผู้ป่วย และการประเมินแนวโน้มของอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
๒.    การเปรียบเทียบข้อมูลแหล่งที่อาจเป็นที่มาของเชื้อภายในสหภาพยุโรป
๓.     การประเมินหลักฐานที่เชื่อว่าเป็นที่มาของการระบาดโดยอาศัยข้อมูลทางระบาดวิทยา และการวิเคราะห์ระดับโมเลกุลทั้งในมนุษย์ อาหาร และสัตว์  
                ภายในสหภาพยุโรป ECDC ได้ประสานความร่วมมือในการศึกษาสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยการรวบรวมข้อมูลระบาดวิทยา และจุลชีววิทยา เพื่อสนับสนุนการสอบสวนเชิงสาธารณสุขในประเทศสมาชิกต่างๆ การระบาดของเชื้อ Salmonella Stanley ได้รับการยืนยันแล้ว ๑๖๗ ราย และสงสัยอีก ๒๕๔ รายในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป ขณะที่ ผู้ป่วยมิได้มีประวัติการเดินทางนอกยุโรปภายในช่วงระยะเวลาการฟักตัวของโรคซัลโมเนลลาโลซิส จึงเชื่อได้ว่า Multi-state outbreak กำลังระบาดในหลายประเทศในยุโรป ระบาดวิทยาเชิงบรรยาย บ่งชี้ว่า การถ่ายทอดเชื้อมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน และมีหลายแห่งในสหภาพยุโรปที่มีการปนเปื้อนเชื้อแล้วจากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XbalI-PFGE
                การศึกษาในออสเตรีย เบลเยียม เยอรมัน เชก โปแลนด์ และฮังการี สามารถจำแนกลายพิมพ์ Xbal-PFGE ที่เหมือนกัน และเชื้อยังมีภาวะต้านทานต่อยา nalidixic acid เหมือนกัน โดยมีความไวรับต่อยา ciprofloxacin ลดลง โดยเป็นตัวอย่างเชื้อที่มาจากวงจรการผลิตไก่งวง และบางตัวอย่างยังสามารถตรวจพบในฟาร์มไก่เนื้อ และไก่พันธุ์ (เนื้อ) และเนื้อจากสัตว์ชนิดอื่นๆ ทั้งเนื้อโค และเนื้อสุกร
                การรวบรวมข้อมูลทางระบาดวิทยา และจุลชีววิทยา สำหรับการศึกษาทางสาธารณสุข อาหาร และสัตวแพทย์ บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า วงจรการผลิตไก่งวงเป็นแหล่งที่มาของการระบาด อย่างไรก็ตาม แหล่งที่มาจากอาหาร และสัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น เนื้อโค เนื้อสุกร และเนื้อไก่ก็ยังไม่สามารถตัดออกไปอย่างสิ้นเชิงได้
                ขณะที่ มาตรการควบคุมโรคยังไม่มีการดำเนินการเพื่อกำจัดแหล่งต้นตอของเชื้อ และอาหารที่อาจมีการปนเปื้อนในตลาด จึงเป็นไปได้ว่า จะยังคงมีผู้ป่วยจากโรคติดเชื้อ S. Stanley เพิ่มเติมรายงานต่อไปในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่บุคคลที่ปฏิบัติงานในห่วงโซ่อาหารทุกระดับจากการผลิตไปจนถึงผู้บริโภคจำเป็นต้องเพิ่มความเข้มงวด ทั้งอนามัยส่วนบุคคล เช่น การล้างมือ การผลิตอาหารอย่างปลอดภัย หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนข้ามระหว่างอาหารพร้อมรับประทาน และเนื้อดิบ โดยเฉพาะ เนื้อไก่งวง ขณะนี้ ECDC, EFSA และห้องปฏิบัติการอ้างอิงเชื้อซัลโมเนลลาใน EU กำลังสนับสนุนประเทศสมาชิกทั้งหมด เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ PFGE จากตัวอย่างเชื้อ S. Stanley ในอาหาร สัตว์ และมนุษย์ ระหว่างปี ค.ศ. ๒๐๑๑ ถึง ๒๐๑๒ และส่งผลมาที่ ECDC เพื่อช่วยให้สามารถนำผลการวิเคราะห์มาใช้ศึกษาความหลากหลายของเชื้อ S. Stanley ใน EU นำมาใช้ประเมินความเสี่ยงได้อย่างแม่นยำ ข้อมูลเพิ่มเติมในการสืบย้อนกลับ และไปข้างหน้ารายการอาหารในห่วงโซ่อาหารที่จำเป็นต่อความเข้าใจ และการประเมินความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการระบาด นอกจากนั้น ข้อมูลนี้จะช่วยในการบ่งชี้แหล่งต้นตอของการระบาด และการแพร่กระจายของเชื้อในห่วงโซ่อาหารได้ต่อไปอีกด้วย ขณะเดียวกัน ข้อมูลนี้ยังจะช่วยให้สามารถตัดสินใจให้มาตรการการจัดการเพื่อควบคุมการปนเปื้อนของเชื้อนี้ในการผลิตสัตว์ และห่วงโซ่อาหาร มาตรการเหล่านี้ มีเป้าหมายในการช่วยควบคุมการระบาด และป้องกันการป่วยในมนุษย์เพิ่มเติม เมื่อข้อมูลเหล่านี้ได้รับการวิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว ECDC และ EFSA จะได้ออกมาตรการให้ผู้จัดการความเสี่ยงในการตรวจสอบ และควบคุมเชื้อ S. Stanley ในการผลิตไก่งวง รวมถึง การปนเปื้อนเชื้อในเนื้อไก่งวง และอาจรวมถึง ไก่เนื้อด้วยเช่นเดียวกัน
 แหล่งที่มา            EFSA (28/9/12)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...