วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

หวัดนกชนิดอ่อนแรงระบาดในเนเธอร์แลนด์



โรคไข้หวัดนกระบาดในฟาร์มเลี้ยงไก่ทางตอนเหนือของเนเธอร์แลนด์ แม่ไก่กว่า ๒๒,๐๐๐ ตัวถูกคัดทิ้ง
                อ้างอิงข้อมูลจากกรมเศรษฐกิจ เนเธอร์แลนด์ โรคที่กำลังระบาดมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสับไทป์ H7N7 ชนิดความรุนแรงต่ำ ขณะนี้ ได้มีมาตรการควบคุมโรครอบพื้นที่ปลอดภัยเป็นรัศมี ๑ กิโลเมตร ห้ามขนส่งสัตว์ปีก ไข่ มูลสัตว์ หรือวัสดุรองพื้นออกนอกพื้นที่ ไก่ป่วยไม่แสดงอาการปรากฏให้เห็น ยกเว้น ไข่ลดลง
แหล่งที่มา:            World Poultry (30/3/15)

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

ปีทองของฟัวกราอาหารจานหรู



ผู้ผลิตเมนูอาหารจานหรู ฟัวกราที่ผลิตจากตับห่าน หรือเป็ด ประสบความสำเร็จอย่างสูงเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ผ่านมา เพียงในฝรั่งเศสประเทศเดียว ผู้บริโภคซื้อฟัวกรามูลกว่ากว่าแสนล้านบาท อัตราการเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ ๔ เทียบกับปีที่ผ่านมา
                เมื่อหักต้นทุนแล้วคิดเป็นมูลค่าของกำไรเป็นเงินกว่าสองพันล้านบาท สูงกว่าเมื่อปีที่ผ่านมากว่า ๙๘ ล้านบาท โดยเป็นมูลค่าจากการส่งออกที่สูงขึ้นเป็น ๘๑ ล้านบาท แต่ยอดการนำเข้าลดลง ๘๐ ล้านบาท
                ปัจจุบัน ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ผลิตฟัวกรารายใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดการผลิตราว ๑๙,๖๐๐ ตันเมื่อปีที่ผ่านมา ในประเทศฝรั่งเศส มากกว่า ๓๐,๐๐๐ ครัวเรือนซื้อฟรัวกรามาบริโภคในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ชาวฝรั่งเศสยังต้องการฟัวกราบนโต๊ะอาหารในเทศกาลต่างๆ ในขนาด และรูปแบบต่างๆกันไป เมื่อปีที่ผ่านมา มีผลิตภัณฑ์ในซูเปอร์มาเก็ตต่างกันมากกว่า ๗๖ ชนิด นอกเหนือจากนั้น ประเทศฝรั่งเศสยังส่งออกสินค้าฟรัวกราไปยังประเทศต่างๆ โดยมีประเทศสเปนเป็นประเทศผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุด ขณะที่ เบลเยียมรองลงมา ประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่หวังว่าจะเป็นตลาดใหม่ ได้แก่ ฮ่องกง ไทย เวียดนาม สำหรับสหรัฐฯ พึ่งมีการตัดสินในรัฐแคลิฟอร์เนียให้ยกเลิกการแบนฟรากรัวเมื่อเร็วๆนี้ ทำให้ขณะนี้ ร้านอาหารในแคลิฟอร์เนียเริ่มนำฟัวกราคืนสู่เมนูอาหารแล้ว
                ปัจจุบัน ฟาร์มผู้ผลิตห่าน และเป็ดในฝรั่งเศส ได้ดำเนินการไปตามกฏระเบียบของสหภาพยุโรปใหม่สำหรับการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือน และตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๙ เป็นต้นไป ฟาร์มทุกแห่งต้องปฏิบัติตามมาตรฐานนี้ เมื่อสองปีที่ผ่านมา ฝรั่งเศสก็ยังเกรงว่า การผลิตจะลดลง เนื่องจาก กฏระเบียบนี้ แต่จนถึงตอนนี้ มากกว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ของสมาชิกเลี้ยงห่าน และเป็ดไปตามมาตรฐานนี้เรียบร้อยแล้ว
แหล่งที่มา:            Ruud Peys (16/3/15)

ผู้บริโภคยุโรปพร้อมกินแมลงแล้ว



ผู้บริโภคมากกว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ยอมรับได้กับการรับประทานเนื้อปลา เนื้อไก่ หรือเนื้อสุกร จากฟาร์มสัตว์ที่เลี้ยงด้วยอาหารสัตว์ใช้โปรตีนจากแมลง สหภาพยุโรปพึ่งจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการ PROteINSECT เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคในสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการยอมรับผลิตภัณฑ์ที่เลี้ยงด้วยโปรตีนจากแมลง
                เมื่อปีที่ผ่านมา โครงการ PROteINSECT ได้สอบถามผู้บริโภคเกี่ยวกับความคิดเห็นในการใช้โปรตีนจากแมลงเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่กำลังเริ่มมีการใช้ในยุโรปเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนเพิ่มเติมในอาหารสัตว์ พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความเห็นเป็นบวกมากกว่าที่คาดไว้มาก โดยผู้บริโภคมากกว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ยอมรับได้กับการรับประทานเนื้อสุกร เนื้อไก่ หรือเนื้อปลาจากสัตว์ที่เลี้ยงด้วยแมลง
                โครงการสำรวจครั้งที่ ๒ กำลังดำเนินการต่อไปเพื่อยืนยันว่า ความคิดเห็นดังกล่าว จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยใช้ผู้ตอบแบบสอบถามอย่างน้อย ๑,๐๐๐ รายทั่วยุโรป ผลการสำรวจจะแจ้งให้กับผู้ดำเนินโครงการวิจัย เพื่อเป็นการกำหนดนโยบายความมั่นคงทางอาหารสำหรับสหภาพยุโรปต่อไปในอนาค
                แมลงเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนชั้นยอดสำหรับการเลี้ยงสัตว์ปศุสัตว์ แต่ยังคงห้ามใช้สำหรับเป็นแหล่งอาหารในสัตว์สำหรับการบริโภคเนื้อเป็นอาหาร ดังนั้น คำถามต่างๆจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจให้เรียบร้อยก่อนที่รัฐบาลจะอนุญาตให้มีการใช้แมลงในห่วงโซ่การผลิตอาหารนี้ โดยเฉพาะ การยอมรับของผู้บริโภค จนถึงขณะนี้ ยังขาดจุดเล็กๆน้อยๆในส่วนของผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ต้องสร้างความเข้าใจ และต้องการสอบถามความเห็นเพิ่มเติม
                ขณะนี้ ประเด็นความเห็นด้านความปลอดภัยอาหารถูกบรรจุไว้ในการพิจารณาของสหภาพยุโรปเรียบร้อยแล้ว ล่าสุดได้มีการยอมรับว่า แมลงเป็นทางออกสำหรับปัญหาการขาดแคลนโปรตีน จำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อชดเชยการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีน ขณะเดียวกัน DG Sante ได้ขอให้เจ้าพนักงานด้านความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรป (EFSA) ให้ความเห็นด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม
แหล่งที่มา:            World Poultry 20/3/15)

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

โรคลึกลับสังหารไก่ในอินเดียนับหมื่น



โรคลึกลับส่งผลให้สัตว์ปีกในเมือง Baramulla ประเทศอินเดียตายไปหลายพันตัว โดยเฉพาะ ฟาร์มสัตว์ปีกฟาร์มหนึ่งในพื้นที่ Amargarh ตายไปจำนวนมากเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสงสัยว่าจะเป็นโรค Ranikhet Disease (RKD) แต่ก็ยังไม่ตัดประเด็นโรคอื่นๆที่อาจเป็นสาเหตุได้เช่นกัน
                เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์กำลังวินิจฉัยหาสาเหตุของการตายของสัตว์ปีกจำนวนมากในครั้งนี้ แต่จากอาการของสัตว์ป่วยเชื่อว่า สาเหตุน่าจะมาจากโรค Ranikhet Disease (RKD)
                ขณะนี้ การตายของสัตวปีกจำนวนมากได้สร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ผลิตสัตว์ปีกในพื้นที่ต่างๆอย่างมาก สำหรับธุรกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกในเมืองดังกล่าวมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในไม่กี่ปีที่ผ่านมา คนงานกว่า ๓๐,๐๐๐ คนเลี้ยงชีพด้วยการใช้แรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก มีฟาร์มที่จดทะเบียนฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกแล้ว ๕๑๐ ฟาร์มกับกรมปศุสัตว์ ขณะที่ มีฟาร์มที่ไม่ได้จดทะเบียนอีกกว่า ๑๕๐ ฟาร์มในบริเวณเดียวกันนี้
แหล่งที่มา:            World Poultry (11/3/15)

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

UK ให้ทุนสนับสนุนระบบทำให้วัสดุรองพื้นแห้ง



เกษตรกรในสหราชอาณาจักรสามารถขอทุนสนับสนุนสำหรับการจัดซื้อระบบการทำให้วัสดุรองพื้นแห้งในฟาร์มเลี้ยงไก่
                เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่สามารถขอทุนสนับสนุนจากหน่วยงาน Rural Payments Agency (RPA) โดยมีงบประมาณระหว่าง ๑,๗๕๐,๐๐๐ ถึง ๕๐ ล้านบาท และสามารถสนับสนุนให้เป็นสัดส่วนที่สูงถึง ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณที่นำเสนอมา ทุนสนับสนุนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบสำหรับกำจัดความชื้นจากวัสดุรองพื้นในฟาร์มเลี้ยงไก่ให้ได้อย่างน้อย ๘๕ เปอร์เซ็นต์ และมีการระบบการดักความร้อนมาใช้ใหม่สำหรับการทำให้วัสดุรองพื้นแห้ง หรือใช้สำหรับการกกลูกไก่
                ผู้สมัครรอรับทุนสามารถนำไปใช้สำหรับการติดตั้งระบบ ระบบการแลกเปลี่ยนความร้อน ถังน้ำ ปั๊ม ท่อน้ำ หน่วยหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ เพื่อนำส่ง และกระจายอากาศอุ่นจากน้ำร้อนไปสู่โรงเรือนเลี้ยงไก่ ผู้สมัครขอรับทุนต้องใช้ปั๊มความร้อนสำหรับการดักจับ และนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่จากถังหมักชีวภาพสำหรับให้ความร้อนภายในโรงเรือนผ่านระบบการระบายอากาศที่ใช้อยู่
แหล่งที่มา:            World Poultry (11/3/15)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...