วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แก๊สแอมโมเนียในฟาร์มเลี้ยงไก่เลี้ยงสาหร่ายเป็นอาหารสัตว์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ

สาหร่ายพระเอกคนใหม่ในอนาคตสำหรับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ผลงานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยรัฐไอโอวา
                มูลสัตว์ปีกสร้างแก๊สแอมโมเนีย เมื่อแอมโมเนียแพร่เข้าสุ่บรรยากาศ แก๊สสามารถกลับลงไปสู่ระบบสิ่งแวดล้อมในรูปของฝนกรดเป็นสาเหตุให้สาหร่ายเจริญเติบโตในบ่อน้ำ และทะเลสาบ ปัญหาที่เรียกว่า ยูโทรฟิเคชัน (Eutrophication) เพื่อจำกัดการปลดปล่อยแก๊สแอมโมเนียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก และป้องกันมิให้สาหร่ายเจริญเติบโตในพื้นที่ที่ไม่พึงประสงค์ คณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบ และพัฒนาเครื่องทำปฏิกิริยาชีวภาพ (Bioreactor) ที่สามารถควบคุมแอมโมเนียมิให้ปลดปล่อยออกจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก และป้องกันการเจริญเติบโตของสาหร่ายในพื้นที่ที่ไม่พึงประสงค์ แต่จะนำแก๊สเหล่านี้มาใช้สำหรับเพาะสาหร่ายให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ในการควบคุมสิ่งแวดล้อม สิ่งนี้จะเป็นการจับคู่ที่สมบูรณ์แบบ เมื่อเราสามารถกำจัดแก๊สแอมโมเนียที่ปลดปล่อยสู่อากาศจากโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก และนำมาใช้เลี้ยงสาหร่าย  สาหร่ายที่ได้สามารถนำมาใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และสารเสริมสำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ นอกเหนือจากประโยชน์พึงได้จากการคัดกรองแก๊สอันตรายที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมจากโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก เช่น แอมโมเนีย และคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ แต่นำมาใช้สำหรับการผลิตสาหร่าย จึงสามารถลดต้นทุนในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายได้ เนื่องจาก แก๊สแอมโมเนียที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของสาหร่ายมีอยู่เหลือเฟือในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก ขณะนี้ ผู้วิจัยกำลังทดลองใช้เครื่องทำปฏิกิริยาชีวภาพขนาดเล็กปริมาตร ๕ ลิตร เพื่อขยายกำลังการผลิตในเชิงพาณิชน์ต่อไป สาหร่ายที่ได้สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ และแหล่งพลังงานเชื้อเพิงชีวภาพได้อีกด้วย เรียกว่าเป็นสถานการณ์แบบ Win-Win เลยทีเดียว นั่นคือ ขว้างหินก้อนเดียวได้นกสองตัว
 แหล่งที่มา            Iowa State Daily (12/12/12)

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การใช้กลีเซอรีนในการเลี้ยงไก่

ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกได้กระตุ้นให้มีการใช้วัตถุดิบอาหารทางเลือกในสัตว์ปีก โดยเฉพาะ กลีเซอรีน ท่ามกลางการขยายกำลังการผลิตไบโอดีเซล
                กลีเซอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของกลีเซอรีน และสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนข้าวโพด สิ่งตกค้าง เช่น เมธานอล และโซเดียมที่มีระดับสูง ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ในการผสมในอาหารสัตว์ได้ตามปรกติ รายงานการศึกษาหลายฉบับ พบว่า การใช้ Apparent metabolisable energy (AME) ของกลีเซอรีนภายหลังการปรับปรุงไนโตรเจนแตกต่างกันระหว่างไก่เนื้อ ไก่ไข่ และนกกะทา ขึ้นกับวิธีการสกัด/การแปรรูปการผลิต ภายหลังการผลิตไบโอดีเซล อย่างไรก็ตาม กลีเซอรีน มีสัดส่วนของพลังงานที่นำไปใช้ได้อย่างน้อย ๘๕ เปอร์เซ็นต์ ความรู้ของวิถีเมตาโบลิซึมหลักของกลีเซอรอล และส่วนประกอบอื่นๆของกลีเซอรีนมีความสำคัญสำหรับการศึกษาต่อไปในอนาคตของวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนชนิดนี้ รวมถึง การเสาะแสวงหาการจัดการข้อจำกัดของกลีเซอรีนในการใช้เป็นอาหารสัตว์ ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของกลีเซอรีน และการใช้เป็นแหล่งพลังงานในอาหารสัตว์จะช่วยให้เราสามารถผสมกลีเซอรีนในสูตรอาหารสัตว์ที่สมดุลได้โดยไม่มีผลกระทบทางลบต่อสุขภาพสัตว์ปีก     
แหล่งที่มา             All about Feed (29/11/12)

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ฟาร์มในเนเธอร์แลน์พบเชื้อ MRSA ราว 8 เปอร์เซ็นต์

ตรวจพบเชื้อสแตฟิโลคอคคัส ออเรียสดื้อยาเมธิซิลลิน (Methicillin-resistant Staphylococcus aureus, MRSA) ในฟาร์มไก่เนื้อ ประเทศเนเธอร์แลนด์ราว ๘ เปอร์เซ็นต์ทั้งในตัวไก่ และฝุ่นละออง  
                สื่อพิมพ์ได้รวบรวมผลการประเมินความเสี่ยงของ Netherlands Food and Consumer Product Safety Authority (NVWA) พบว่า เชื้อ MRSA หลากหลายชนิดมีความเชื่อมโยงกับการผลิตปศุสัตว์เป็นที่รู้จักกันในนาม “LA-MRSA” พบได้ทั้งในเนื้อสุกร และเนื้อลูกวัว โดยผู้ผลิตไก่เนื้อ สามารถพบเชื้อชนิดนี้ได้ประมาณ ๙ เปอร์เซ็นต์ สำหรับบุคลากรในโรงเชือด ยังสามารถพบเชื้อนี้ได้สูงถึง ๑๔ เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น NVWA จึงเห็นว่า ควรมีการเพิ่มมาตรการเพิ่มเติม เพื่อคุ้มครองพนักงานที่ปฏิบัติงาน และสัมผัสกับไก่เนื้อมีชีวิต
                ในโรงเชือด การทำให้สัตว์สลบด้วยแก๊ส สามารถลดโอกาสการติดเชื้อ MRSA ได้สูงถึง ๔ เท่าเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องช๊อตไฟฟ้าผ่านอ่างน้ำ เมื่อใช้วิธีการทำให้สัตว์สลบด้วยแก๊ส จะช่วยให้สัตว์เคลื่อนไหวน้อยลง มีโอกาสเกิดฝุ่นลดลง และปล่อยสู่อากาศได้น้อยเช่นกัน จึงช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อลงได้ นอกจากนั้น ยังลดการเจ็บปวดให้กับสัตว์อีกด้วย ดังนั้น NVWA จึงแนะนำให้โรงเชือดเปลี่ยนแปลงวิธีการฆ่าไก่ให้เป็นวิธีการที่สัตว์จะมีการเคลื่อนที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนั้น พนักงานความสวมหน้ากากป้องกัน เพื่อลดการติดเชื้อ MRSA ที่มาจากฝุ่นละอองในอากาศ ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง เชื้อ MRSA จะไม่เป็นอันตราย แต่สำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล เชื้อ MRSA จะมีอันตรายมากกว่าเชื้อที่มีความไวรับต่อยา นอกเหนือจากนั้น MRSA จะไม่สามารถตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทั่วไป เมื่อเร็วๆนี้ การเลี้ยงไก่เนื้อในประเทศเนเธอร์แลนด์ สามารถลดการใช้ยาปฏิชีวนะลงได้ถึง ๖๐ เปอร์เซ็นต์เทียบกับปี ค.ศ. ๒๐๐๙  
แหล่งที่มา             NVWA (5/12/12)

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...