วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ลูกไก่เข้าถึงอาหารเร็วช่วยให้โตดี

 นักวิจัย ภาควิชาโภชนาการสัตว์และการจัดการ มหาวิทยาลัยอุปซอลา จากสวีเดน ให้ความสำคัญกับการให้ลูกไก่เข้าถึงอาหารได้เร็วในระยะแรก

นักวิจัยพบว่า การให้ลูกไก่เข้าถึงอาหารได้เร็วช่วยให้การเจริญเติบโตได้ดีขึ้นในไก่เนื้อ แนวความคิดด้านการฟักลูกไก่ เช่น การฟักลูกไก่ในฟาร์ม (on-farm hatching) เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกไก่แรกเกิดได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต และการพัฒนาลำไส้ที่แข็งแรง การเสริมสาหร่ายสีน้ำตาลในสูตรอาหารสัตว์ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต การพัฒนาอวัยวะ ไมโครไบโอตาในลำไส้ และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่เหนี่ยวนำจากวัคซีน ไม่สามารถให้ผลลัพธ์อย่างที่คาดหวังไว้

ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า แม้ว่า สารสกัดจากสาหร่ายจะไม่สามารถส่งผลต่อไมโครไบโอตาในลำไส้ หรือการตอบสนองของแอนติบอดีที่เหนี่ยวนำจากวัคซีนในช่วง ๓๘ ชั่วโมงแรก ลูกไก่ที่ได้รับอาหารเร็ว กินอาหารโดยเฉลี่ย ๑๙.๖ กรัม และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๗ ขณะที่ ลูกไก่ที่ให้อาหารช้า น้ำหนักหายไปร้อยละ ๙.๑ โดยที่น้ำหนักลดลง และกินอาหารลดลงตลอดการวิจัย   

เอกสารอ้างอิง

Mcdougal T. 2022. The bigger picture: Early feed access to improve growth. [Internet]. [Cited 2022 Nov 7]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/nutrition/the-bigger-picture-early-feed-access-to-improve-growth/

ภาพที่ ๑ ลูกไก่เข้าถึงอาหารเร็วช่วยให้โตดี (แหล่งภาพ Photo: Van Assendelft Fotografie)




วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

นักวิจัยพยายามใช้ข้าวฟ่างเลี้ยงสัตว์ปีก

 ข้าวฟ่างเป็นวัตถุดิบอาหารที่อยู่ในรูปเมล็ดธัญพืชที่เป็นประโยชน์สำหรับปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยง และมนุษย์ แต่องค์ประกอบบางชนิดที่มีความจำเพาะในเมล็ดข้าวฟ่าง เช่น แทนนิน และโพลีฟีนอล ที่อาจส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพสัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงได้

เมล็ดข้าวฟ่างบางชนิดมีระดับแทนนินสูง จึงยังไม่นิยมใช้ผสมในอาหารสัตว์ปีก แต่ข้าวฟ่างชนิดที่มีระดับแทนนินต่ำ สามารถใช้ทดแทนวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทข้าวสาลี และข้าวโพดได้ นักวิจัย แนะนำให้ใช้ข้าวฟ่างที่มีระดับของแทนนินไม่เกินร้อยละ ๑ ในสูตรอาหารสัตว์ปีก หากมีระดับสูงถึงร้อยละ ๒ ถึง ๓ ให้หลีกเลี่ยง ยกเว้น ผ่านการแปรรูปเพื่อทำให้สารแทนนินหมดฤทธิ์ลงแล้ว

การใช้ประโยชน์จากข้าวฟ่าง

               มูลนิธิวิจัยด้านอาหารและเกษตรกรรม (Foundation for Food and Agriculture Research, FFAR) โดยจัดทุนวิจัยราว ๓๐ ล้านบาทเป็นทุนวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยเคลมสัน เพื่อศึกษาคุณสมบัติของข้าวฟ่างสำหรับเพิ่มคุณค่าทางพาณิชย์ และใช้สำหรับเป็นอาหารสัตว์   

ผู้อำนวยการด้านความร่วมมือเพื่ออนาคตของมูลนิธิวิจัยด้านอาหารและเกษตรกรรม มองว่า ข้าวฟ่างเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพอากาศ การนำมาใช้ประโยชน์เป็นการส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายของเมล็ดพันธุ์พืช สร้างความแข็งแกร่งให้กับแหล่งทรัพยากรอาหารโลก การเพิ่มการบริโภคข้าวฟ่างยังช่วยให้สหรัฐฯสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกได้

ข้าวฟ่างสามารถเพาะปลูกให้ผลผลิตสูง และยังมีศักยภาพทางพันธุกรรมในการผลิตวัตถุดิบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การเพาะปลูกมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ไม่ต้องบำรุงรักษามาก ช่วยให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนลงได้อีก การลงทุนศึกษาครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในการใช้ข้าวฟ่างมากขึ้นต่อไปได้

ประโยชน์สำหรับมนุษย์ แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์   

               นักปรับปรุงพันธุ์พืชจากมหาวิทยาลัยเคลมสัน อ้างว่า คณะนักวิจัยกำลังศึกษาสารที่เป็นองค์ประกอบในเมล็ดข้าวฟ่างที่มีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์

               เมื่อพบสารดังกล่าวแล้ว นักวิจัยจะใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์โดยไม่ใช้เทคนิคการตัดแต่งทางพันธุกรรม หรือจีเอ็มโอ เพื่อพัฒนาลูกผสมของเมล็ดข้าวฟ่างสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติดีขึ้นกว่าเดิม ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการประเมินผลของลูกผสมของเมล็ดข้าวฟ่างสายพันธุ์ใหม่ต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ปีก และความสามารถในการลดโรคสำคัญที่เป็นอันตรายภายในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ปีก

การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืช และพันธุกรรม เพื่อการผลิตสัตว์ตามโครงการนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ และการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่นี้จะเป็นการก่อให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต และเพิ่มมูลค่าให้กับเมล็ดธัญพืช และตลาดโปรตีนในสหรัฐฯ เมื่อมีความเข้าใจว่า เมตาโบไลต์จากพืชชนิดใด และจะทำให้ประโยชน์ต่อสุขภาพได้อย่างไรแล้ว จะช่วยให้นักวิจัยกำหนดทิศทางมุ่งสู่การปรับปรุงพันธุ์โดยอาศัยเทคโนโลยีระดับโมเลกุล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวฟ่าง เพาะปลูกได้ง่าย และทนทานต่อสภาพแวดล้อม ตลอดจนตอบโจทย์ความต้องการด้านโภชนาการที่มีราคาย่อมเยา เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตอาหาร และอาหารสัตว์ได้       

เอกสารอ้างอิง

Mcdougal T. 2022. Researchers aim to make sorghum more palatable for poultry. [Internet]. [Cited 2022 Sep 30]. Available from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/nutrition/researchers-aim-to-make-sorghum-more-palatable-for-poultry-diets/

ภาพที่ ๑ ข้าวฟ่างเป็นพืชไร่ที่สำคัญ (แหล่งภาพ gawchar555)



วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

บริษัทรัสเซียเรียกร้องให้แบนฟาร์มสัตว์ปีกหลังบ้าน

 สหภาพผู้เลี้ยงสัตว์ปีกรัสเซีย เรียกร้องรัฐบาลแบนการเลี้ยงสัตว์ปีกหลังบ้าน เนื่องจาก อาจเป็นแหล่งแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกในประเทศ   

นักกฎหมายรัสเซียเพิ่งผ่านผ่านกฎหมายไฟเขียวให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกหลังบ้านเมื่อเดือนกรกฏาคม พ.ศ.๒๕๖๕ มานี้เอง ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมราคาอาหารภายในประเทศที่พุ่งสูงขึ้นมา ตามปรกติ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกหลังบ้านในรัสเซียเป็นธุรกิจเล็กๆภายในครอบครัว เพื่อผลิตอาหารสำหรับการบริโภคภายในสมาชิกครอบครัวเท่านั้น จนกระทั่ง เกษตกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกหลังบ้าน อยากจะขึ้นทะเบียนฟาร์มของตัวเองให้เป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ขึ้นมาบ้าง เพื่อให้สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และให้อยู่ภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์ของรัฐ

ในรัสเซียเชื่อว่ามีฟาร์มสัตว์ปีกหลังบ้านจำนวนหลายล้านตัว โดยเฉพาะในเขตชนบท แม้ว่า ส่วนใหญ่ของผู้เลี้ยงก็มุ่งเน้นไปที่การปลูกผัก และมันฝรั่ง เป็นหลักมากกว่า ในช่วงที่มีการพิจารณากฎหมาย ระหว่างการพิจาราณากฎหมาย ผู้ผลิตสัตว์ปีกรายสำคัญในรัสเซีย แสดงความสงสัยต่อพฤติกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อเป็นไก่บ้านจำนวนมากของชาวรัสเซีย เพื่อให้เนื้อไก่ราคาถูกลงในตลาดภายในประเทศ

ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น

               ผู้ผลิตสัตว์ปีกรายใหญ่ในอุตสาหกรรมรัสเซีย Rosptitsesoyuz กังวลว่า กฏหมายฉบับใหม่นี้จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีก โดยเร่งให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก และส่งผลต่อการผลิต เนื่องจาก เชื้อไวรัสจากฟาร์มสัตว์ปีกหลังบ้านมีโอกาสระบาดไปสู่ฟาร์มขนาดใหญ่ได้ ในจำนวนการระบาดทั้งหมด ๕๓ ครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น ๔๖ ครั้งเป็นฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยอ้างอิงตามหน่วยงานสัตวแพทย์รัฐ

               สมาคมผู้ผลิตไก่งวงแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์กับสื่อท้องถิ่นถึงกรณีนี้ว่า สัตวแพทย์ไม่สามารถเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์มสัตว์ปีกหลังบ้านทั้งหมดได้จริง การตรวจเยี่ยมของสัตวแพทย์จะเป็นการตรวจสอบว่า การเลี้ยงการจัดการเป็นไปตามข้อกำหนดของผู้ผลิตสายพันธุ์สัตว์ปีกจริงๆ ผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุดของรัสเซีย Cherkizovo อ้างว่า ผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ ลงทุนไปมหาศาลไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ต่อระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ แต่ก็ไม่สามารถป้องกันโรคในฟาร์มตัวเองได้เลย หากฟาร์มรายย่อยเกิดป่วยด้วยโรคระบาดใกล้กับพื้นที่การผลิตของตนเอง ผู้ผลิตเนื้อรายใหญ่บางรายซื้อสัตว์ปีกทั้งหมดจากฟาร์มรายย่อยที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานที่ผลิตของตัวเองเป็นประจำทุกปี กฎหมายฉบับนี้จะทำให้ราคาของสัตว์ปีกเหล่านี้สูงขึ้น ภายใต้กฏระเบียบด้านสุขภาพสัตว์รัสเซียที่ใช้ในปัจจุบัน การระบาดของโรคไข้หวัดนกในฟาร์มขนาดเล็กที่มีสัตว์ปีกเพียงไม่กี่ตัว ก็จะต้องกำหนดเขตกักกันสัตว์ภายในโซน ๕ กิโลเมตร ฟาร์มสัตว์ปีกทุกแห่งต้องหยุดการเลี้ยงทันที ภายใต้กฎหมายใหม่ มิจฉาชีพสามารถซื้อสัตว์ปีกแล้วเลี้ยงไว้ใกล้กับพื้นที่การผลิตสัตว์ปีก เพื่อหวังจำหน่ายที่ราคาแพงกว่าตลาดได้   

เอกสารอ้างอิง

Vorotnikov V. 2022. Russian agri giants call to ban backyard poultry farming. [Internet]. [Cited 2022 Sep 23]. Available from: https://www.poultryworld.net/poultry/broilers/russian-agri-giants-call-to-ban-backyard-poultry-farming/

ภาพที่ ๑ ฟาร์มสัตว์ปีกหลังบ้านในรัสเซียนิยมเลี้ยงภายในครอบครัว เพื่อผลิตอาหารสำหรับการบริโภคกันเอง (แหล่งภาพ Zoe Schaeffer)



วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

หวัดนกระบาดหนักในสหรัฐฯ

 ในปีนี้ โรคไข้หวัดนกระบาดหนักในสหรัฐฯแล้วกว่าครึ่งประเทศในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ โดยเกิดการระบาดตั้งแต่ ๑ ถึง ๗๗ ครั้ง    

โรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง ได้สร้างความเสียหายไปแล้วเกือบครึ่งประเทศของสหรัฐฯ โดยฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างน้อย ๑ แห่งต่อรัฐที่พบการระบาดในปี พ.ศ.๒๕๖๕ นี้ แต่ในบางรัฐก็เกิดการระบาดอย่างหนักมาก และทำลายสัตว์ไปจำนวนมาก จากข้อมูลของหน่วยบริการตรวจสอบสุขภาพพืชและสัตว์ กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐฯ โดยเป็นข้อมูลที่รายงานยืนยันโรคแล้วตั้งแต่วันที่ ๘ พฤศจิกายนเป็นต้นมา

๑.     มินเนโซตา เป็นรัฐที่เกิดการระบาดหนักที่สุด รายงานการตรวจพบโรคแล้ว ๗๗ ครั้ง เกือบทั้งหมดเป็นฟาร์มไก่งวง (เนื้อ) หรือฟาร์มไก่งวงพันธุ์ รวมถึง ฟาร์มไก่ไข่ โดยสองแห่งแรกยืนยันโรคไว้ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม และรายล่าสุดในวันที่ ๑ พฤศจิกายน

๒.    เซาท์ ดาโกตา รายงานการระบาดรวมแล้ว ๔๔ ครั้ง ส่วนใหญ่พบในไก่งวง แต่ก็ยังพบได้ในสัตว์ปีกที่เลี้ยงไว้สำหรับเกมส์กีฬา และฟาร์มไก่ไข่ ๑ แห่ง และยังมีฟาร์มสัตว์ปีกพันธุ์ที่ไม่บ่งชี้ชนิดของสัตว์อีก ๑ แห่ง เซาท์ ดาโกตา ยืนยันการพบโรคครั้งแรกตั้งแต่วันที่ ๕ มีนาคม และรายล่าสุดพบในวันที่ ๑ พฤศจิกายน

๓.    เพนน์ซิลวาเนีย จนถึงปัจจุบัน เพนน์ซิลวาเนียพบโรคแล้ว ๒๓ ครั้ง ในฟาร์มหลากหลายชนิดสัตว์ ทั้งไก่เนื้อ ไก่ไข่ ไก่งวง และเป็ด สองรายล่าสุดยืนยันโรคไว้ตั้งแต่วันที่ ๘ พฤศจิกายน โดยมีการรายงานครั้งแรกในวันที่ ๑๕ เมษายน

๔.    ยูทาห์ พบโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงแล้วทั้งหมด ๑๙ ครั้ง เกือบทั้งหมดเป็นฟาร์มไก่งวง (เนื้อ) และอีกหนึ่งรายเป็นฟาร์มไก่ไข่ ยูทาห์พบโรคครั้งแรกในวันที่ ๒๕ เมษายน ขณะที่ รายล่าสุดพบในวันที่ ๒๕ ตุลาคม

๕.    ไอโอวา  รายงานยืนยันโรคไปแล้ว ๑๗ ครั้ง พบทั้งในฟาร์มไก่งวง และไก่ไข่ รายงานครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ขณะที่ รายล่าสุดพบในวันที่ ๖ พฤศจิกายน

๖.     แคลิฟอร์เนีย ยืนยันโรคไปแล้ว ๑๔ ครั้ง โดยพบในฟาร์มสัตว์ปีกหลากหลายชนิดสัตว์ทั้งฟาร์มไก่เนื้อ ไก่งวง ไก่ไข่ และเป็ด รายงานครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม และล่าสุดวันที่ ๑๓ ตุลาคม

๗.    วิสคอนซิน ฟาร์ม ๑๑ แห่งพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง ทั้งฟาร์มไก่งวง ไก่ไข่ เป็ด และสัตว์ปีกที่เลี้ยงไว้สำหรับเกมส์กีฬา ทุกรายยืนยันโรคในช่วงระหว่างวันที่ ๑๔ มีนาคมถึง ๗ พฤศจิกายน

๘.    อินเดียนา และนอร์ธ แคโรไลนา จนถึงวันนี้ ฟาร์ม ๙ แห่งในรัฐอินเดียนาพบโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง  โดยเป็นฟาร์มไก่งวง (เนื้อ) เป็ด (เนื้อ) หรือเป็ดพันธุ์ โดยรัฐอินเดียนาเป็นรัฐแรกในสหรัฐฯที่ยืนยันโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงในสหรัฐฯ โดยพบในฟาร์มไก่งวงตั้งแต่วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ นับตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายนก็ไม่มีรายงานเพิ่มเติม

๙.     รัฐมิสซูรี และเนบราสกา รัฐมิสซูริพบโรคไปแล้ว ๖ ฟาร์ม สี่ฟาร์มเป็นฟาร์มไก่งวง (เนื้อ) หนึ่งฟาร์มเป็นฟาร์มไก่งวงพันธุ์ทดแทน และอีกฟาร์มเป็นไก่เนื้อ โดยยืนยันโรคระหว่างวันที่ ๔ มีนาคม ถึง ๖ เมษายนที่ผ่านมา รัฐเนบราสกาก็พบการระบาด ๖ ฟาร์ม ทั้งไก่เนื้อ ไก่ไข่ และเกมเบิร์ด โดยยืนยันโรคระหว่างวันที่ ๒๒ มีนาคมถึง ๑๘ ตุลาคม

๑๐.   รัฐโคโลราโด และนอร์ธดาโกต้า พบโรคระบาดในฟาร์ม ๕ แห่งในรัฐโคโลราโด โดยสามแห่งเป็นฟาร์มไก่ไข่ หนึ่งแห่งเป็นไก่รุ่นทดแทน และอีกหนึ่งแห่งเป็นไก่พันธุ์ (เนื้อ) รัฐโคโลราโดยืนยันโรคครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน และล่าสุดยืนยันแล้วเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายนนี้ เช่นเดียวกับรัฐนอร์ธดาโกต้าก็พบโรค ๕ ฟาร์ม ทั้งหมดเป็นฟาร์มไก่งวง (เนื้อ) โดยครั้งแรกรายงานไว้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ขณะที่ รายล่าสุดเกิดขึ้นในวันที่ ๒๗ กันยายนที่ผ่านมา

๑๑.  รัฐแมรี่แลนด์ เกิดโรคระบาดขึ้น ๔ ฟาร์ม สองฟาร์มเป็นไก่ไข่ หนึ่งฟาร์มเป็นไก่ไข่ระยะไก่รุ่น และอีกฟาร์มเป็นไก่เนื้อ ทั้งหมรายงานโรคตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม

๑๒.   รัฐเดลาแวร์ เป็นรัฐที่ ๑๕ ของสหรัฐฯที่พบการระบาดของโรค โดยพบในฟาร์ม ๓ แห่งเป็นฟาร์มไก่ไข่ระยะไก่รุ่น และระยะให้ไข่ และฟาร์มไก่เนื้อ ตามลำดับ ทั้งหมดเกิดโรคในเดือนมีนาคม

๑๓.   รัฐเคนทักกี พบโรคยืนยันแล้ว ๒ แห่งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์     

รัฐอื่นๆที่ได้รับการยืนยันโรคอย่างน้อย ๑ ครั้งในฟาร์มสัตว์ปีก ได้แก่ รัฐอาร์คันซอ มิสซิสซิปปี โอไฮโอ คาซอ มิชิแกน ไอดาโฮ นิวยอร์ก และเท็กซัส   

เอกสารอ้างอิง

Graber R. 2022 Which states have had most flocks hit by avian flu?. [Internet]. [Cited 2022 Nov 10]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/46169-which-states-have-had-most-flocks-hit-by-avian-flu

ภาพที่ ๑ โรคไข้หวัดนกระบาดหนักในสหรัฐฯ (แหล่งภาพ Kimmer | Bigstock)



วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ซูเปอร์มาร์เก็ตอังกฤษจำหน่ายเฉพาะเนื้อไก่โตช้า

 รีเทลเลอร์ มาร์กส์แอนด์สเปนเซอร์ กลายเป็นซูเปอร์มาร์เก๊ตแห่งแรกของสหราชอาณาจักรที่จำหน่ายเนื้อไก่สดภายใต้มาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ระดับสูง และใช้สายพันธุ์ไก่เนื้อโตช้าจาก Oakham Gold range

ความเคลื่อนไหวภายหลังผลสำรวจโดย ยูกอฟ พบว่า ผู้ใหญ่ชาวสหราชอาณาจักรร้อยละ ๘๑ คิดว่า รีเทลเลอร์ผู้จำหน่ายอาหารควรให้ความสำคัญกับการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มให้ดีขึ้น

เนื้อไก่ที่เป็นธรรมชาติ และรสชาติดีขึ้นสำหรับผู้บริโภค

              สอดคล้องกับพันธสัญญา  เบทเทอร์ ชิ้กเก้น ผู้ค้าปลีกได้เปลี่ยนไปใช้สายพันธุ์ฮับบาร์ด ที่สอดคล้องกับมาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์ รวมถึง การใช้สูตรอาหารสัตว์ที่ใช้วัตถุดิบหลายชนิดร่วมกัน ที่ออกแบบสำหรับส่งเสริมการเติบโตตามธรรมชาติที่ช้าลง และการพัฒนากล้ามเนื้อ และยังมีฤทธิ์ชาติที่ดีที่สุดสำหรับผู้บริโภค  เมื่อไก่ถูกเลี้ยงให้โตช้าลง ก็จะแข็งแรง ปรับตัวได้ง่าวขึ้น โดยเฉพาะในอากาศร้อน  ไก่จะมีพื้นที่การเลี้ยงเพิ่มขึ้นกว่าเดิมร้อยละ ๒๐ และมีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเลี้ยง โดยมีอุปกรณ์ให้จิกเล่น และเกาะคอน ซึ่งเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมตามธรรมชาติ

มาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ที่สูงขึ้นกว่าเดิม

การลงทุนด้านมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ ผู้ค้าปลีกเรียกร้องผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองจากอาร์เอสพีซีเอ (RSPCA Assured) และลงนามในพันธสัญญาเบทเทอร์ ชิกเก้น ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ Compassion in World Farming ที่กำหนดไว้ตาม Farm Animal Welfare ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นมา ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกจากฟาร์มโอคแฮมโกล์ด ส่งให้กับมาร์กแอนด์สเปนเซอร์ มีความสุขกับการเลี้ยงสัตว์ของตัวเอง สัตว์มีความอยากรู้อยากเห็นมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ มีพื้นที่อาบฝุ่น เกาะคอน และจิกของเล่น แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติอย่างแท้จริง ผู้เลี้ยงสัตว์ก็รู้สึกภาคภูมิใจในงานของตัวเอง และเนื้อจากสัตว์เหล่านี้ก็จะมีรสชาติที่ดีขึ้นอีกด้วย

ผู้บริหารมาร์กแอนด์สเปนเซอร์ เปิดเผยถึงเป้าหมายของบริษัทในการใช้เนื้อสัตว์ปีกที่มีมาตรฐานการผลิตสอดคล้องกับหลักสวัสดิภาพสัตว์ ตามความต้องการของผู้บริโภค การยกระดับสวัสดิภาพสัตว์เป็นองค์ประกอบสำคัญของคำมั่นสัญญาในการเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เริ่มจากสายพันธุ์ไก่ที่เป็นไปตามมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ เลี้ยงให้เจริญเติบโตช้าลง ทำให้เนื้อสัตว์มีคุณภาพที่ดีขึ้น และรสชาติดีกว่าเดิมให้กับผู้บริโภค

ผู้บริหาร องค์กรอาร์เอสพีซีเอ แสดงความยินดีต่อบริษัทที่พัฒนาไปสู่การผลิตเนื้อไก่สดที่ได้รับการรับรองอาร์เอสพีซีเอ และเลี้ยงให้โตช้าลงกว่าปรกติทั้งหมด นับเป็นการเคลื่อนไหวในทางที่ดีที่สุดสำหรับการเลี้ยงไก่ในอนาคต ถือเป็นความสำเร็จสำหรับสวัสดิภาพสัตว์ สร้างความหวังและเป็นตัวอย่างให้กับผู้ค้าปลีกรายอื่นๆ

ผู้อำนวยการโลกด้านธุรกิจอาหารขององค์กร Compassion in World Farming แสดงความยินดีกับการเคลื่อนไหวดังกล่าว ก้าวแรกของไก่สด Oakham Gold เป็นคำมั่นสัญญาว่าผู้ผลิตอาหารจะปรับปรุงการเลี้ยงไก่ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น โดยใช้สายพันธุ์ไก่ที่แข็งแรง เพื่อให้มีสุขภาพดี และมีความเป็นอยู่ที่ดี สร้างมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ให้ดีขึ้นเป็นไปตามมาตรฐานสำหรับผู้บริโภค และกระตุ้นให้ผู้ค้าปลีกรายอื่นๆคล้อยตามไปด้วย  

เอกสารอ้างอิง

Mcdougal T. 2022. UK supermarket to only stock slower-reared, higher-welfare fresh chicken. [Internet]. [Cited 2022 Sep 29]. Available from: https://www.poultryworld.net/poultry/broilers/uk-supermarket-to-only-stock-slower-reared-higher-welfare-fresh-chicken/

ภาพที่ ๑ องค์กร ฮิวแมนลีก แห่งสหราชอาณาจักร เรียกร้องว่า การเลี้ยงไก่เนื้อที่นิยมกันทั่วไปในปัจจุบัน ผิดกฎหมายสวัสดิภาพสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์มของอังกฤษปี พ.ศ. ๒๕๕๐ (แหล่งภาพ Marks and Spencer)



วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

สหรัฐฯหันมาเลี้ยงลูกไก่ไข่เพศผู้ผลิตเนื้อไก่

 คิปสเตอร์ (Kipster) ตัดสินใจยุติการทำลายลูกไก่เพศผู้ โดยปล่อยให้ไปเลี้ยงร่วมกับลูกไก่ไข่เพศเมีย เพื่อผลิตเป็นเนื้อไก่ทางเลือกใหม่

ในสหรัฐฯ ลูกไก่เพศผู้ราว ๓๐๐ ล้านตัวต่อปีถูกทำลายในอุตสาหกรรมการผลิตไข่ไก่ แต่คิปสเตอร์ บริษัทดัทช์ ผู้เล่นใหม่ในตลาดไข่ไก่สหรัฐฯ ตัดสินใจใช้ลูกไก่เหล่านี้มาเลี้ยงต่อไปเพื่อผลิตเนื้อไก่ทางเลือกใหม่ ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า พ่อไก่ของคิปสเตอร์ชุดแรกก็จะมีอายุถึง ๑๕ สัปดาห์ พ่อไก่สัญชาติอเมริกันเหล่านี้จะถูกผลิตเป็นเนื้อไก่สำหรับการบริโภคต่อไป คิปสเตอร์ เห็นความสำคัญที่จะให้ลูกไก่เพศผู้มีชีวิตต่อไป ในเมื่อผู้บริโภคยังคงกินไก่ ทำไมจึงไม่เปิดโอกาสให้พี่ชายของแม่ไก่บ้าง ทั้งนี้ก็จะช่วยลดจำนวนไก่เนื้อลงได้บ้าง

แหล่งโปรตีนที่ยังไม่ได้ใช้

               พ่อไก่ และแม่ไก่ปลดจากฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ สามารถเป็นแหล่งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ แม่ไก่สามารถใช้ผลิตเป็นเนื้อไก่ได้เมื่ออายุสัก ๙๐ สัปดาห์ภายหลังสิ้นสุดระยะเวลาการให้ไข่ลงแล้ว เนื้อจากพ่อไก่ และแม่ไก่น้ำหนักหนึ่งปอนด์ สามารถทดแทนเนื้อจากไก่เนื้อหนึ่งปอนด์ แคปสเตอร์เป็นผู้ผลิตที่ใส่ใจต่อสวัสดิภาพสัตว์ในการผลิตไข่ไก่ และตัดสินใจประสานหลักความเมตตาเข้ากับนวัตกรรม เอเอซพีซีเอคาดหวังว่า บริษัทผู้ผลิตอาหารจะให้ความสำคัญต่อการสร้างโอกาสของแคปสเตอร์ที่จะยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ในการผลิตไข่ไก่ องค์กรคอมพาสชันในฟาร์มโลก ยังแสดงความเห็นเพิ่มเติมถึง ความสูญเสียจากการบ่มไข่ฟักหลายล้านฟองที่ฟักเป็นลูกไก่เพศผู้ แต่ไม่เป็นที่ต้องการ และแสดงความยินดีต่อแคปสเตอร์ที่ตัดสินใจริเริ่มความพยายามที่จะยกเลิกประเด็นที่เป็นปัญหาด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่ใหญ่ที่สุด และยังสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมากในอุตสาหกรรมการผลิตไข่ไก่สหรัฐฯ  

เอกสารอ้างอิง

Berkhout N. 2022. First in US begins sparing male chicks as alternative meat source. [Internet]. [Cited 2022 Nov 7]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/market-trends-analysis-the-industrymarkets-2/first-in-us-begins-sparing-male-chicks-as-alternative-meat-source/

ภาพที่ ๑ ลูกไก่เพศผู้ ๓๐๐ ล้านตัวต่อปีถูกทำลายในการผลิตไข่ไก่ คิปสเตอร์ ตัดสินใจใช้ลูกไก่เหล่านี้มาเลี้ยงต่อไปเพื่อผลิตเนื้อไก่ทางเลือกใหม่ ในภาพเป็นพ่อไก่ของแคปสเตอร์ (แหล่งภาพ Kipster)




วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

การผลิตเนื้อสันในไก่คุณภาพด้วยเทคโนโลยี

 ผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกต้องการใช้ประโยชน์เนื้อสันในอกไก่ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ทั้งน้ำหนักและคุณภาพ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถเก็บข้อมูลกระบวนการผลิตทั้งหมดได้แบบเรียลไทม์ โดยใช้ทั้ง IRIS FI และ Fillet distributor ของมาเรล จะช่วยยกระดับคุณภาพของเนื้อสันในไก่ให้มีคุณภาพเป็นเลิศ โดยอาศัยการคัดสินค้าบนสายพานการผลิตตามคุณภาพที่เป็นเทคโนโลยีโดดเด่นในอุตสาหกรรมนี้  

ผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกกำลังมองหาเครื่องมือที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการชั่งน้ำหนัก และคัดคุณภาพเนื้อสันในอกไก่ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ให้ได้สูงที่สุด สินค้าที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้นที่จะสามารถบรรจุจำหน่ายได้ตามข้อกำหนดของสินค้า ขณะที่ช่วงน้ำหนักอื่นๆก็จะถูกคัดแยกออกไป ดังนั้น การคัดคุณภาพเนื้อสันในอกไก่จึงมักใช้แรงงานคนเท่านั้น ขณะนี้ มาเรล ได้พัฒนาเครื่องจักรสำหรับการคัดสินค้าและจำแนกไปตามคุณภาพได้ตามที่กำหนดทุกๆชิ้นอย่างครบถ้วน

จำแนกสินค้าตามคุณภาพ

              ความต้องการของผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกคือ การจำแนกสินค้าตามคุณภาพให้ได้ครบถ้วนทุกชิ้นตลอดทั้งโรงงาน ตั้งแต่ยังอยู่บนสายพานลำเลียงเหนือศีรษะ และบนสายพานลำเลียงสินค้าเนื้อสันในอกไก่ การใช้อุปกรณ์ที่อาศัยเทคโนโลยีใหม่อย่าง SensorX, IRIS Fillet Inspector และ SystemFlex Distributor conveyors ช่วยในการคัดแยก และการกระจายสินค้าเนื้อสันในอกไก่แต่ละชิ้นไปตามสายพาน เป็นทางเลือกที่ทำให้ให้ความฝันของผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกเป็นจริงได้

              ยิ่งกว่าการเพิ่มมูลค่า เมื่อวัตถุดิบทุกชิ้นถูกคัดแยกไปจำหน่ายให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด สอดคล้องกับเป้าหมายของมาเรลที่ต้องการคัดแยกสินค้าเนื้ออกไก่ ทั้งนี้เข้ากับแนวความคิดด้านโลจิสติก เติมผลิตภัณฑ์หลายแบบในระบบการผลิต แล้วแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่คัดแยกตามน้ำหนัก และคุณภาพ ตลอดทุกขั้นตอนผ่านการคัดแยกวัตถุดิบ และคำสั่งซื้อสินค้า เพื่อให้ประสิทธิภาพการผลิตสูงที่สุด

น้ำหนัก

              โดยทั่วไป ระบบไลน์การแปรรูปเนื้อสันในส่วนอกประกอบด้วยขั้นตอนการถอดกระดูก สถานีการตัดแต่ง การสแกนกระดูก และอุปกรณ์การชั่ง เครื่องเซนเซอร์เอ็กซ์ (SensorX) รวมเอาระบบการตรวจสอบด้วยเอ็กซ์เรย์ และการชั่งน้ำหนักในกระบวนการแปรรูปเนื้อสันในส่วนอก เช่นเดียวกับขั้นตอนอื่นๆ อุปกรณ์การชั่งสามารถแทรกอยู่ในแต่ละขั้นตอนนั้นๆได้ด้วย จนกระทั่งปัจจุบัน การคัดแยกเนื้อสันในอกไก่เกือบทั้งหมดอาศัยข้อมูลจากการชั่งน้ำหนัก อย่างไรก็ตาม บริษัทให้บริการด้านอาหาร ไม่ได้กำหนดเฉพาะน้ำหนักสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคุณภาพด้วย เครื่องคัดแยกเนื้อสันในอกไก่ของมาเรล สามารถปรับใช้ข้อมูลด้านคุณภาพประกอบร่วมกับน้ำหนัก เช่น ตำแหน่ง และคุณภาพจากภายนอก ซอฟต์แวร์ของมาเรลมีฐานข้อมูลที่แม่นยำสำหรับการตัดสินใจได้อย่างแม่งยำ

การตรวจสอบสินค้าสนับสนุนระบบการสอบย้อนกลับได้ดีขึ้น

              ตามปรกติ เมื่อสินค้าถูกปล่อยจากแชคเคิลบนสายพานลำเลียงเหนือศีรษะ (overhead conveyor shackle) แล้ว ก็จะสูญเสียความสามารถในการสอบย้อนกลับสินค้า ข้อมูลไก่รายตัวที่เคยรวบรวมได้ก่อนหน้านี้ในกระบวนการผลิต และเชื่อมโยงกับแชคเคิลจะไม่สามาถสอบย้อนกลับได้อีกต่อไป เมื่อชิ้นส่วนไก่ เช่น เนื้อสันในอกอยู่บนสายพานลำเลียงสินค้า (conveyor belt) ในห้องผลิต แต่ด้วยสายพานลำเลียงของมาเรลด้วยระบบซิสเต็มเฟล็กซ์ (SystemFlex conveyor) ใช้เทคโนโลยีเอไอ และการตรวจสอบสินค้าตามสายพานการผลิต สามารถระบุตำแหน่ง และสอบย้อนกลับสินค้าเหล่านี้ในกระบวนการได้  ด้วยระบบนี้จะคอยติดตามลักษณะสินค้า ขณะนี้อยู่บนสายพานระบบซิสเต็มเฟล็กซ์ได้ตลอดเวลา ระบบนี้สามารถทราบได้ตลอดเวลาว่า เนื้อสันในอกแต่ละชิ้นอยู่ในตำแหน่งใดบนสายพาน และสามารถสอบย้อนกลับไปยังแต่ละขั้นตอนการผลิตได้อีกด้วย

การประเมินคุณภาพด้วยสายตาจากระบบไอริส เอฟไอ

              การทำงานของไอริส เอฟไอ (IRIS FI) เพื่อให้มั่นใจในการประเมินคุณภาพด้วยสายตาเนื้อสันในอกไก่ภายหลังการตัดแต่ง การใช้เครื่องมือนี้จะช่วยให้คัดแยกสินค้าตามน้ำหนัก และคุณภาพได้พร้อมกัน ขั้นตอนการคัดแยกเนื้อสันในอกไก่ ไอริส เอฟไอ อาศัยกล้องบันทึกภาพที่มีความทันสมัย ตรวจสอบวัตถุ ภาพถ่ายที่ชัดเจนช่วยในการตรวจพบสิ่งผิดปรกติ เช่น จุดเลือดออก ผิวหนัง ปริมาณไขมัน หรือรูปร่างที่ผิดเพี้ยนไปจากปรกติ ระบบไอริส เอฟไฟ สามารถปรับระดับความเข้มงวดได้ตั้งแต่เข้มงวดอย่างมากไปจนถึงสามารถผ่อนปรนปล่อยไปได้ตามที่ลูกค้าต้องการ โดยอาศัยการตรวจสอบเลือด และไขมัน ทั้งนี้ไม่ต้องผ่านมือมนุษย์ หรือพนักงานอย่างที่เคยเป็นมาก่อน และไม่ต้องพึ่งพาการตัดสินใจของมนุษย์ที่มีความไม่แน่นอนอีกต่อไป จึงช่วยให้สุขศาสตร์ดีขึ้น สินค้ามีคุณภาพ และปลอดภัย ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน ไอริส เอฟไอ ยังรวบรวมข้อมูลด้านคุณภาพจากการตรวจสอบด้วยสายตาเป็นชุดข้อมูลของสินค้าแต่ละชนิด พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา จึงเป็นการคัดแยกสินค้าตามคุณภาพได้เป็นอย่างดี 

การคัดแยกสินค้าที่ดีที่สุด                                                                                                                                                              การรวบรวมข้อมูลทั้งหมดอย่างครอบคลุมทั้งน้ำหนัก รูปร่าง คุณภาพ และตำแหน่งของสินค้า ประมวลผลร่วมกับคำสั่งซื้อสินค้า ซอฟต์แวร์อินโนวาจึงสามารถคัดแยกสินค้าเนื้ออกสันในแต่ละชิ้นได้อย่างดีที่สุด หากคุณภาพต่ำกว่าปรกติ ก็จะใช้เป็นชิ้นส่วนย่อยโดยผ่านทางไอคัต (I-Cut route) หากสินค้าสมบูรณ์แบบทั้งน้ำหนัก และขนาดสำหรับบรรจุสินค้าทั้งชิ้นได้ ก็จะเข้าทางบรรจุผ่าน โรโบแบทเชอร์ (RoboBatcher)

การแจกจ่ายสินค้าเนื้อสันในอกไก่

              เครื่อง ฟิลเล ดิสทริบิวเตอร์ (Fillet Distributor) ของมาเรลอาศัยระบบสายพานลำเบียงของระบบซิสเต็มเฟล็กซ์  กำหนดให้แจกจ่ายผลิตภัณฑ์จากการคำนวณโดยซอฟต์แวร์ สายพานเปิด และปิดตามแนวตั้งเพื่อเปลี่ยนทิศทางสินค้าไปตามคุณภาพที่แตกต่างกันไปตามกระบวนการผลิตต่างๆ     เมื่อเครื่อง ฟิลเล ดิสทริบิวเตอร์ ปล่อยสินค้าไปอีกสายพาน ตำแหน่งของการตรวจวัดเนื้อแต่ละชิ้น น้ำหนัก และเกรดคุณภาพจะยังคงเหมือนเดิม เครื่องตรวจสอบสินค้าถูกควบคุม และเทียบมาตรฐานซ้ำอีกครั้งบนสายพาน ดังนั้น ระบบยังสามารถรับรู้ตำแหน่งที่แน่นอนไปจนตลอดกระบวนการทั้งหมด ผู้บริหารโรงงานสามารถคัดแยกสินค้าต่างๆได้ตามข้อมูลด้านคุณภาพสินค้าภายหลังการตัดแต่ง สายพานด้านบนจะเข้าสู่โรโบแบทเชอร์ หรือกระบวนการบรรจุด้วยถาดอื่นๆ ขณะที่ สายพานด้านล่างจะเข้าสู่กระบวนการมาริเนชัน หรือกระบวนการ shawarma-strip หรือ schnitzel

ลดความสูญเสีย

              การใช้อุปกรณ์ดิสทริบิวเตอร์หลายชุดร่วมกัน ช่วยให้ผู้บริหารโรงงานมีทางเลือกในการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น เมื่อใช้ซิสเต็มเฟล็กซ์ดิสทริบิวเตอร์ ๒ ชุดร่วมกันบนสายพานลำเลียง ก็จะมีโอกาสเตรียมสินค้าได้อย่างน้อย ๓ ชนิดด้วยกัน ดิสทริบิวเตอร์ชุดแรกจะเลือกเฉพาะช่วงน้ำหนักที่กำหนด หรือสามารถคัดเลือกสินค้าที่มีคุณภาพเกรดบีออกจากกระบวนการผลิต ชนิดสินค้าหลักจะเข้าสู่โรโบแบทเชอร์ เพื่อผลิตเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักเฉพาะ คัดเฉพาะเนื้อสันในอกที่มีน้ำหนักเฉลี่ย ๒๕๐ กรัม รวมกันในถาดขนาด ๕๐๐ กรัม ดิสทริบิวเตอร์ชุดที่สองสามารถเปลี่ยนทิศทางสินค้าไปยังสินค้าชนิดที่สาม สินค้าที่ต้องตัดเป็นชิ้นส่วนย่อย เช่น schnitzels ก็จะผ่านไปยังเครื่อง สมาร์ทสพลินเตอร์ (SmartSplitter) แล้วแบ่งบรรจุด้วยเครื่องชั่งมัลติเฮด (Multihead Weigher) ตลอดเวลาการทำงานของเครื่องจักร ซอฟต์แวร์อินโนวา (Innova software) ก็จะคัดเลือกเนื้อสันในอกที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละชนิดสินค้า เพื่อลดความสูญเสีย และรวบรวมเนื้อสันในที่เหมาะสำหรับแต่ละสินค้าได้อย่างเหมาะสม   

เอกสารอ้างอิง

Marell. 2022. Quality-driven in-line distribution of poultry fillets. [Internet]. [Cited 2022 Oct 28]. Available from: https://www.poultryworld.net/the-industrymarkets/processing/quality-driven-in-line-distribution-of-poultry-fillets/

ภาพที่ ๑  การทำงานของไอริส เอฟไอ และเครื่อง ฟิลเล ดิสทริบิวเตอร์ ช่วยคัดเลือกเนื้อสันในที่มีคุณภาพดีเข้าสู่ขั้นตอนการบรรจุลงถาดต่อไปได้ (แหล่งภาพ Marell)











ภาพที่ ๒ กล้องตรวจสอบด้วยระบบไอริส เอฟไอ (IRIS Fillet Inspection, IRIS FI) สามารถประเมินคุณภาพภายนอกสินค้าได้ทุกชิ้น
















ภาพที่ ๓ ระบบการตรวจสอบสินค้า สามารถระบุตำแหน่ง และยังเพิ่มชุดข้อมูลสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าได้อย่างแม่นยำ 


วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

สมาร์ทวอชสำหรับพนักงานผลิตสัตว์ปีก

 เจบีเอส และไทสันฟู้ดส์ ลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ สมาร์ทวอชสำหรับพนักงานในโรงเชือดสัตว์ปีก โดยแอพลิเคชันสามารถตรวจติดตามการเคลื่อนไหวระหว่างการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และช่วยในการฝึกปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น  

แอพลิเคชันใหม่ชื่อว่า เมนทอร์ (Mentore)” สำหรับนาฬิกาสมาร์ทวอช ออกแบบขึ้นเพื่อฝึกการปฏิบัติงานให้กับพนักงานในโรงเชือดสัตว์ปีก ได้รับทุนจากเจบีเอส และไทสันฟู้ดส์

บริษัทเทคโนโลยีรายนี้ชื่อว่า อิเทอเรตแล็บส์ ได้พัฒนาแอพลิเคชันที่ใช้เซนเซอร์สำหรับการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้แรง การหมุน ความเร็ว และทิศทางการเคลื่อนที่ของแขนพนักงาน สามารถทำงานได้ดีกับนาฬิกาสมาร์ทวอช ซัมซุง วอทช์ ๔ โดยใช้ระบบเอไอตรวจสอบให้พนักงานเคลื่อนที่อย่างปลอดภัย

ก่อนหน้านี้ บริษัทมุ่งเน้นอุปกรณ์ที่สวมใส่ใช้ในอุตสาหกรรม สำหรับการตรวจติดตามและบันทึกการเคลื่อนที่ของพนักงาน เตือนให้หัวหน้างานทราบแบบเรียลไทม์ หากการเคลื่อนที่นั้นก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายของกล้ามเนื้อและกระดูก

เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ จึงช่วยเพิ่มผลผลิตให้ดีขึ้นกว่าเดิม

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการโรงเชือดสัตว์ปีกประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จึงพยายามแสวงหาตัวช่วยด้านเทคโนโลยีที่ช่วยบรรเทาปัญหาแรงงาน และสร้างความปลอดภัยที่ดีขึ้นกว่าเดิม

จนกระทั่งปัจจุบัน การรวบรวบ และวิเคราะห์ข้อมูลที่ระดับปฏิบัติการเป็นสิ่งท้าทายอย่างมาก แต่ในเวลานี้ ผู้วิจัยค้นพบวิธีการยกระดับมาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานได้แล้ว สำหรับไทสัน นักวิจัยกำลังมองหาเทคโนโลยีใหม่ และเอไอที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพและการทำงานของพนักงาน อิเทอเรตแล็บส์ใช้ไอโอที หรือแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตออฟทิงส์จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมช่วยให้บรรลุความสำเร็จทั้งความปลอดภัย และผลผลิตของสถานประกอบการผลิตในอเมริกาเหนือได้

เอกสารอ้างอิง

Doughman E. 2022. JBS, Tyson Foods invest in poultry worker wearables. [Internet]. [Cited 2022 Oct 21]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/46053-jbs-tyson-foods-invest-in-poultry-worker-wearables

ภาพที่ ๑ สมาร์ทวอชสำหรับพนักงานผลิตสัตว์ปีก (แหล่งภาพ ARVD73 | bigstockphoto)



ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...