อุบัติการณ์ของลูกไก่ขาถ่าง
หรือขาบิดในฝูงไก่ และไก่งวงเพิ่มขึ้น เกิดจากกระบวนการฟัก โดยเฉพาะ
อุณหภูมิในตู้เกิด และการระบายอากาศ การจัดการในโรงฟัก
หรือระหว่างการขนส่งไปยังฟาร์มจึงมีบทบาทสำคัญมาก
สิ่งที่เห็นลูกไก่ขาถ่าง (Splayed legs) ที่โรงฟักอาจพบได้น้อยมาก
ตามปรกติไม่ควรเกินกว่าร้อยละ ๐.๓๕ ถึง ๐.๕ แต่อาจเพิ่มขึ้นในบางกรณี
ลูกไก่ที่พบภาวะนี้อาจเกิดขึ้นทั้งสองข้าง หรือข้างเดียว ขาชี้ออกด้านข้างจากข้อต่อสะโพก
และไม่สามารถยืนได้เอง บางครั้ง ปัญหาไปปรากฏที่ฟาร์ม
และเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของการคัดทิ้งระหว่างสามสัปดาห์แรก
สภาวะดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับความชื้นที่สูงระหว่างการฟัก
แต่ผลการวิจัย บ่งชี้ว่า อุณหภูมิที่สูงระหว่างช่วงสุดท้ายของพัฒนาการตัวอ่อนเป็นสาเหตุใหญ่
ปัญหาขาถ่างพบได้ในลูกไก่แรกฟักต้องยืนอยู่บนพื้นที่ลื่นไม่มั่นคง อุณหภูมิที่สูงระหว่างการบ่มยังมีผลกระทบอย่างมากต่อปัญหาขาถ่าง
เนื่องจาก ส่งผลต่อพัฒนาการของกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อ
และเมตาโบลิซึมของต่อมไทรอยด์
ตัวออ่นอาจเกิดความเครียดจากความร้อนในโรงฟักเชิงพาณิชย์
เนื่องจาก การออกแบบระบบการบ่ม และการฟัก ทำให้การไหลเวียอากาศไม่เพียงพอรอบฟองไข่ในบางตำแหน่ง
บางครั้ง การระบายอากาศที่ลดลงระหว่างการบ่ม และเวลาการฟักที่ยืดยาวผิดปรกติ ๑๒
ถึง ๒๔ ชั่วโมงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดความเครียดจากความร้อน เหนี่ยวนำให้เกิดอุบัติการณ์ลูกไก่ขาถ่างได้
การพัฒนากล้ามเนื้อ (Muscle development)
ลูกไก่ที่เผชิญหน้ากับอุณหภูมิการบ่มที่สูงขึ้นทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง
ไม่สามาถยืนขึ้นได้เมื่อฟักออกเป็นตัว เนื่องจาก ไกลโคเจนสำรองในกล้ามเนื้อที่ลดลง
และเส้นใยกล้ามเนื้อบางลงกว่าปรกติ
อุณหภูมิการฟักที่เพิ่มขึ้นกระตุ้นการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ความต้องการออกซิเจนผ่านรูเปลือกไข่สูงขึ้นอย่างมาก
ตัวอ่อนลูกไก่จึงเปลี่ยนจากการใช้ลิปิดในไข่แดงที่ต้องการออกซิเจนไปใช้แหล่งพลังงานสำรองจากไกลโคเจนที่เก็บไว้ในกล้ามเนื้อ
กระบวนการเผาผลาญไกลโคเจนไม่ต้องการออกซิเจน แต่สร้างกรดแลกติกขึ้นมาเป็นผลพลอยได้
ในสภาวะกรดขัดขวางการหดตัว และเมตาโบลิซึมของกล้ามเนื้อ ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมสภาวะความเป็นกรดได้ตามปรกติ
การสะสมของกรดแลกติกเป็นปัจจัยสำคัญทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า บางครั้งเกิดผลกระทบอย่างรุนแรง
และทำให้ตัวอ่อนตายช่วงท้ายของการฟักไข่ แต่บ่อยครั้ง ลูกไก่ที่ประสบกับปัญหาร้อนเกินฟักออกเป็นตัวได้
แต่จะแสดงอาการเฉื่อยชา และเซื่องซึม ไม่ค่อยอยากเดินเข้าหาอาหาร และน้ำ
และขาดอาหารที่ฟาร์มทำให้อัตราการตายสัปดาห์แรกสูงขึ้น
การพัฒนาเส้นเอ็น (Tendon development)
นักวิจัยยังพบว่า
สภาวะการบ่มมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการพัฒนาเส้นเอ็น
ความแข็งแรงของเส้นเอ็นมีความสำคัญมากต่อการเคลื่อนที่อย่างเหมาะสมในสัตว์ปีกทุกชนิด
โดยเฉพาะ ไก่งวง
ความแข็งแกร่งของโครงสร้าง
และการทำหน้าที่ทางกายภาพของเส้นเอ็นขึ้นกับการจัดเรียงอย่างถูกต้องของเส้นใยคอลลาเจนชนิดที่
๑ ระหว่างการเจริญเติบโตของตัวอ่อน เส้นใยคอลลาเจนโดยทั่วไปจะหนาขึ้นตามอายุ
และการออกกำลังกาย เอ็นประกอบด้วยโปรตีโอไกลแคนหลายชนิด โดยเฉพาะ ดีโคริน (Decorin) มีหน้าที่ควบคุมการสร้างองค์ประกอบของเอ็นโดยจำกัดการสร้างเส้นใยคอลลเจน
และการจัดเรียงทิศทางของเส้นเอ็นโดยอาศัยความเค้นแรงดึง
ผลการวิจัยประเมินโปรคอลลาเจนชนิดที่ ๑
และดีคอลลินด้วยเทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคมีในเส้นเอ็นกาสตร๊อกนีเมียสของไก่ที่ถูกบ่มภายใต้อุณหภูมิที่เปลือกไข่ตามมาตรฐาน
๓๗.๖ องศาเซลเซียส หรือภายใต้สภาวะผิดปรกติ อุณหภูมิที่เปลือกไข่ต่ำ ๓๖
องศาเซลเซียสระหว่าง ๗ วันแรก และอุณหภูมิที่เปลือกไข่ต่ำ ๓๙ องศาเซลเซียสระหว่าง
๗ วันสุดท้าย พบว่า เส้นใยคอลลาเจนบางลงในไก่ที่มาจากกระบวนการฟักที่ผิดปรกติตั้งแต่เมื่อฟักเป็นตัว
ที่อายุ ๔ ๑๔ และ ๒๑ วัน ตามลำดับ
การพัฒนากระดูก (Bone development)
การพัฒนากระดูกในสัตว์ปีกอาจได้รับผลกระทบโดยกระบวนการฟัก
การสร้างโครงสร้างแมทริกซ์ของคอลลาเจนในกระดูกเริ่มขึ้นระหว่างการฟักช่วงแรก
นักวิจัยแสดงให้เห้นว่า กระดูกของสัตว์ปีกเริ่มต้นกระบวนการสร้างกระดูก (Ossification)
เช่น การแสดงออกของคอลลาเจนชนิด เอ็กซ์ การปรากฏของเอนไซม์อัลคาไลน์
ฟอสฟอเตส และการแสดงออกของเอนไซม์เมตัลโลโปรตีเนส ตั้งแต่ที่อายุ ๑๖
วันของการฟักในไก่เนื้อ และ ๑๘ วันของการฟักในไก่งวง รายงานผลการวิจัยอีกฉบับ
พบว่า การสร้างกระดูกยาวในไก่งวงเริ่มต้นตั้งแต่ตัวอ่อนอายุ ๑๒ วัน และมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นภายหลังการฟักเป็นเวลา
๒๐ วัน หรือหนึ่งสัปดาห์ก่อนฟักเป็นตัว
ปัจจัยหลายประการที่ควบคุมกระบวนการสร้างกระดูกอ่อนที่เรียกว่า เอนโดคอนดรัล
ออสซิฟิเคชัน (Endochondral ossification) ของกระดูกยาวที่อาจได้รับผลกระทบจาการฟัก
โดยเฉพาะในระหว่างระยะพลาโต (plateau stage) ของการใช้ออกซิเจน
หรือ ๓ ถึง ๔ วันก่อนการฟัก เมื่อกระดูกมีอัตราการยืดยาวรวดเร็วที่สุด
อย่างไรก็ตาม
ปัญหาการพัฒนากระดูกอาจมีสาเหตุจากสภาวะการบ่มที่ไม่เหมาะสมเพียงเล็กน้อยที่ระยะใดๆของการเจริญเติบโตตัวอ่อนก็ได้
การเพิ่มจำนวน
และการพัฒนาของเซลล์กระดูกอ่อนอาจได้รับผลกระทบโดยความเครียดจากอุณหภูมิระหว่างกระบวนการฟักได้
สภาวะที่ไม่เหมาะสมเพียงเล็กน้อยในตู้ฟักมีอิทธิพลโดยตรงต่ออุบัติการณ์ของโรคทิเบียล
ดิสคอนโดรพลาเซีย (Tibial dyschondroplasia) หรือการเปลี่ยนแปลงของกระดูกยาวภายหลังการฟัก
บ่อยครั้งที่สังเกตพบว่า การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการกระดูกแข้งส่วนปลาย
และการสร้างกระดูกคอนไดล์ที่ผิดปรกติที่ทำให้เกิดปัญหาขาบิด
ในช่วงแรกของชีวิตคล้ายคลึงมากกับสภาวะขาถ่าง อุณหภูมิการบ่มส่งผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของการทำหน้าที่ “ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ไอจีเอฟวัน และโกรธฮอร์โมน (Thyroid-IGF1-GH
hormonal axis)” ที่ควบคุมพัฒนาการของเซลล์กระดูกอ่อนที่บริเวณแถบการเจริญเติบโตของกระดูก
(Growth plate) และพัฒนาการของกระดูกทั่วไป นอกเหนือจากนั้น
ลิปิด แร่ธาตุ และวิตามินในไข่แดงก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อการปรับรูปร่าง
และการปรับรูปร่างใหม่ของกระดูก หากไข่แดงไม่ถูกดูดซึมระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว
กระดูกจะม่สามารถได้รับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการพัฒนากระดูกในระยะแรก
ความเครียดจากกระบวนการฟัก
ปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อปัญหาขาถ่าง
ซึ่งเป็นความไม่สมมาตรระหว่างขาข้างซ้าย และขวา เนื่องจากความเครียดจากการฟักไข่ ในการทดลองทั้งหมด
สังเกตพบว่า ความเครียดจากขั้นตอนก่อนการฟักส่งผลต่อความไม่สมมาตรสัมพัทธ์ของพารามิเตอร์บางชนิดของกระดูกในไก่งวง
และไก่ ความไม่สมมาตรสัมพัทธ์ระหว่างแขนขา
และคุณลักษณะทางฟีโนไทป์ทั้งสองข้างสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการฟักไข่ที่ส่งผลต่อความเครียดระหว่างพัฒนาการของตัวอ่อนลูกไก่
ยิ่งความไม่สมมาตรของกระดูกสูงมากเท่าไรก็ยิ่งเชื่อมโยงต่อปัญหาการเคลื่อนที่
และทำให้คะแนนท่าเดินยิ่งแย่ลง ความไม่สมมาตรสัมพัทธ์เป็นพารามิเตอร์ที่ใช้สำหรับประเมินสวัสดิภาพสัตว์
แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงบ้างเกี่ยวกับความเพียงพอของพารามิเตอร์นี้สำหรับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์ปีกโตเต็มวัยแล้ว
ปัจจัยอื่นๆที่อาจส่งผลต่อความไม่สมมาตรสัมพัทธ์ภายหลังการฟักไข่
แต่ดูเหมือนจะเป็นวิธีการประเมินสวัสดิภาพสัตว์ปีกที่แม่นยำสำหรับพัฒนาการตัวอ่อนลูกไก่ในไข่ฟัก
ความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์สัตว์ปีก
บ่อยครั้งที่กล่าวถึงกันว่า
มีความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์สัตว์ปีกต่อความชุกของปัญหาขา หรืออุบัติการณ์ของลูกไก่ขาถ่าง
ผู้วิจัยประเมินรูปแบบของอุณหภูมิการบ่ม ๓ ลักษณะต่อสายพ่อแม่พันธุ์เพศเมีย ๓ สายในไก่งวงที่สายปู่ย่าพันธุ์เพศเมียมีการผสมข้ามกันกับสายปู่ย่าพันธุ์เพศผู้
๓ สาย ด้วยวิธีนี้ คุณลักษณะด้านการให้ไข่คล้ายคลึงกัน แต่พันธุกรรมของตัวอ่อนมีความแตกต่างกัน
รูปแบบของอุณหภูมิ ๓ ลักษณะ ได้แก่ รูปแบบของอุณหภูมิที่สูงขึ้น ปรกติ และต่ำลง
ผลการทดลอง บ่งชี้ว่า ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการฟัก และสายพันธุ์ต่อพัฒนาการของกระดูก
คะแนนของความผิดปรกติการจัดท่ากระดูกเป็นมุมขากาง หรือหุบ (Valgus/varus angular
deformities) อย่างไรก็ตาม รูปแบบการฟักส่งผลกระทบโดยตรงต่อพารามิเตอร์ต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพกระดูก
และขา บ่งชี้ว่า โดยไม่ขึ้นกับสายพันธุ์ไก่ การฟักมีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพขา
รูปแบบอุณหภูมิการฟักที่สูงทำให้อุบัติการณ์ของลูกไก่ขาถ่างเมื่อฟักสูง โดยไม่ขึ้นกับสายพันธุ์
ลูกไก่ที่ฟักออกมาเกือบร้อยละ ๒๐ ที่รูปแบบอุณหภูมิการฟักสูงเกิดปัญหาขาถ่าง
ผลบางประการของตัวอ่อนที่ผ่านการฟักที่อุณหภูมิสูงสังเกตได้ขณะฟักเป็นตัวปรากฏเป็นลูกไก่ขาถ่าง
แต่อุณหภูมิที่สูงยังส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ การใช้สารอาหาร โครงสร้างของตัวไก่
และสุขภาพของไก่ และไก่งวงโดยภาพรวม ลูกไก่ขาถ่างเป็นตัวบ่งชี้ว่า เกิดสภาวะความเครียดจากความร้อนแล้ว
และจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาการจัดการเครื่องจักร หรือการจัดการโรงฟัก
เอกสารอ้างอิง
Oviedo-Rondón EO and
Wineland MJ. 2011. Incubation distress easily leads to splayed legs. [Internet].
[Cited 2011 Aug 23]. Available from: https://www.poultryworld.net/Breeders/Incubation/2011/8/Incubation-distress-easily-leads-to-splayed-legs-WP009251W/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น