วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สังเกตพฤติกรรมไก่สำคัญที่สุด



การพึ่งพาอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติกำลังเพิ่มขึ้น แต่การตรวจติดตามพฤติกรรมไก่ยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการประเมินสภาวะแวดล้อมภายในโรงเรือน การสังเกตพฤติกรรมไก่เป็นประจำโดยพนักงานคนเลี้ยงไก่ประจำโรงเรือนอย่างสม่ำเสมอ พนักงานเลี้ยงไก่ต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมด และตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อความเปลี่ยนแปลงภายในโรงเรือน
ความกดดันที่เพิ่มขึ้นของผลตอบแทนทางการเงินสำหรับผู้เลี้ยงไก่เนื้อส่งผลให้มีบุคลากรทำงานในฟาร์มน้อยลง และจำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ระบบการระบายอากาศสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ ถึงกระนั้นก็ตาม สิ่งจำเป็นสำหรับการประเมิน และการจัดการตามความต้องการของไก่ให้ทันต่อเหตุการณ์ยังเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดิม พนักงานเลี้ยงไก่เป็นเคล็ดลับสำคัญสำหรับผลการเลี้ยงไก่ที่ดี และสวัสดิภาพสัตว์ วิธีการที่ดีที่สุดคือ การใช้เวลาในโรงเรือนสังเกตพฤติกรรมของไก่ พนักงานเลี้ยงไก่จำเป็นต้องสามารถเข้าใจพฤติกรรมไก่ปรกติได้เป็นอย่างดีเป็นเคล็ดลับสำคัญของการจัดการฟาร์มไก่เนื้อ ควรมีการกำหนดแผนการทำงานมาตรฐานว่า พนักงานต้องตรวจพฤติกรรมไก่บ่อยเพียงใด กำหนดรายการตรวจสอบ หรือค่าที่กำหนดของระบบสิ่งแวดล้อม  















 การสังเกตพฤติกรรมไก่    
                ระบบการควบคุมสิ่งแวดล้อมอัตโนมัติมักทำงานไม่ประสานงานกัน และจำเป็นต้องมีการปรับแต่งใหม่บ่อยๆ สิ่งเหล่านี้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย หากไม่มีการใช้เวลาสำหรับการสังเกตพฤติกรรมของไก่ แม้ว่า ระบบการควบคุมอัตโนมัติจะมีการทำงานอย่างถูกต้อง แต่วิธีการเดียวที่จะทราบว่า สภาวะแวดล้อมมีการจัดการได้อย่างถูกต้องคือ การสังเกตพฤติกรรมของไก่ ท้ายที่สุด อัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร และอัตราการรอดชีวิตก็จะสะท้อนสภาวะแวดล้อมที่ไก่ดำรงชีวิตอยู่ การละเลยสัญญาณของพฤติกรรมไก่มีผลกระทบทางลบต่อผลการเลี้ยง พนักงานเลี้ยงไก่ที่ดีใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าเพื่อประเมินความต้องการของไก่ได้รับการตอบสนองสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมภายในโรงเรือน (ภาพที่ ๑)
              พนักงานเลี้ยงไก่ควรสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือน และพฤติกรรมของไก่ที่ช่วงเวลาต่างๆของวันโดยคนๆคนเดียวกัน การสังเกตควรดำเนินการภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมการจัดการประจำวันเรียบร้อยแล้ว แต่การตรวจสอบเฉพาะเพื่อตรวจติดตามพฤติกรรมของฝูงไก่ก็ควรทำด้วยเช่นกัน
 ภาพที่ ๑ ประสาทสัมผัสทั้งห้าของพนักงานเลี้ยงไก่
ฟัง (Hearing) ฟังเสียงร้อง เสียงหายใจ เสียงการทำงานของอุปกรณ์ เช่น พัดลม และเครื่องให้อาหารอัตโนมัติ
กลิ่น (Smell) สังเกตกลิ่นในสภาวะแวดล้อม เช่น ระดับแอมโมเนีย อากาศมีกลิ่นอับชื้นหรือไม่
มอง (Sight) สังเกตพฤติกรรมไก่ เช่น การกระจายตัวในโรงเรือน และจำนวนไก่ที่กำลังกินอาหาร กินน้ำ และพัก สังเกตสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นในอากาศ คุณภาพวัสดุรองพื้น สังเกตสุขภาพไก่ และอาการ เช่น ท่าทาง การตื่นตัว ตา และท่ายืน
สัมผัส (Touch) อุ้มไก่คลำกระเพาะพัก และตรวจสอบสภาวะทั่วไป สังเกตการเคลื่อนที่ของอากาศที่ไหลไปตามผิว มีฝุ่นหรือไม่ รู้สึกร้อนไปหรือเย็นไปหรือไม่ อย่างไร
ชิม (Taste) น้ำ และอาหาร  























เริ่มต้นได้ตั้งแต่ก้าวเท้าเข้าสู่โรงเรือน
                การสังเกตฝูงไก่ และสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นได้ตั้งแต่ ก้าวเข้าสู่โรงเรือนเลี้ยงไก่ ก่อนเข้าโรงเรือนจำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าก่อนว่า สภาวะภายในโรงเรือน และระบบการจัดการต่างๆคาดว่าจะเป็นอย่างไร หากสิ่งแวดล้อมต่างจากที่คาดไว้ก็เป็นเครื่องบ่งชี้แรกว่า อาจมีปัญหาบางประการเกิดขึ้นแล้ว ขณะเปิดประตูโรงเรือน ให้สังเกตว่า ประตูเปิดอย่างไร ประตูเปิดได้ยากเล็กน้อย เปิดง่าย หรือเปิดยากมาก บ่งชี้ถึง ความดันอากาศภายในโรงเรือน และสะท้อนให้เห็นถึงการตั้งค่าการระบายอากาศ หากประตูเปิดยากมากก็หมายความว่า ความดันลบภายในโรงเรือนสูง ดังนั้น การไหลของอากาศอาจสูงมากเกินไป หากประตูเปิดได้ง่ายมาก ไม่มีแรงต้านทานเลยขณะเปิดประตูก็แสดงว่า ความดันลบอาจต่ำเกินไป และการไหลอากาศน้อย
                การสังเกตไก่ด้วยสายตาจะเป็นเครื่องบ่งชค้ที่ดีถึงสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับตัวไก่ และเมื่อเห็นการกระจายตัวของไก่ดีก็เป็นสัญญาณที่ดีว่า การจัดการระบายอากาศอยู่ในระดับที่ดี
ความดันอากาศลบ
                เมื่อเดินเข้าสู่โรงเรือนเลี้ยงไก่ หยุด และมองที่ฝูงไก่ สังเกตว่า มีการกระจายตัวของไก่เป็นอย่างไร การกระจายตัวของไก่อย่างสม่ำเสมอเป็นเป้าหมายสำคัญ และเกิดขึ้นได้ด้วยการจัดการอุณหภูมิ และความเร็วลม รวมถึง ความดันภายในโรงเรือน ความดันที่เป็นลบ และมีความเร็วลมเข้าสู่ภายในควรเพียงพอต่อการนำอากาศเข้าไปสู่กลางโรงเรือนอันเป็นตำแหน่งที่มีการผสมรวมกับอากาศอุ่นภายในโรงเรือนก่อนจะตกลงสู่ระดับตัวไก่ ดังนั้น ความดันอากาศลบในอุดมคติภายในโรงเรือนจะแปรผันไปตาม              
๑.      ความกว้างของโรงเรือน (ระยะทางที่อากาศเคลื่อนที่จากทางเข้าของอากาศสู่ยอดหลังคาโรงเรือน
๒.    มุมของเพดานด้านใน
๓.     รูปร่างของเพดานด้านใน (เรียบ หรือมีสิ่งกีดขวาง)
๔.     ปริมาณอากาศที่เปิดเข้าสู่ภายในโรงเรือน
                 หากระบบการระบายอากาศมีการทำงานอย่างถูกต้อง และไม่มีการรั่วไหลของอากาศจากโรงเรือน การจัดการความดันลบสำหรับอายุ (และการระบายอากาศ) จึงจะถูกต้อง และการกระจายของตัวไก่ภายในโรงเรือนก็จะมีความสม่ำเสมอ (ภาพที่ ๒)
ภาพที่ ๒ การระบายอากาศที่ถูกต้อง












ความดันอากาศลบต่ำ หรือสูงเกินไป
                หากรูปแบบการกระจายตัวของไก่ผิดปรกติ อาจแสดงให้เห็นว่า เกิดปัญหาเกี่ยวกับการระบายอากาศภายในโรงเรือนที่จำเป็นต้องมีการแก้ไข หากความดันลบไม่ถูกต้อง (ต่ำ) อากาศเย็นจากภายนอกจะตกลงมาสู่ตัวไก่โดยตรงทำให้ไก่จะรู้สึกไม่สบาย และมีปัญหาคุณภาพวัสดุรองพื้น หากเป็นเช่นนี้ ไก่จะมีการหลบหลีกจากพื้นที่ที่อากาศเย็นตกลงมาโดยตรง ในกรณีนี้ ควรลดช่องเปิดอากาศเข้า หรือเพิ่มความเร็วพัดลมให้มั่นใจว่า อากาศที่เข้ามาจะเคลื่อนที่ไหลไปตามผนังของเพดานโรงเรือน (ภาพที่ 3) ในทางตรงกันข้าม หากความดันลบสูงเกินไป ความเย็นจากลมจะปรากฏในบริเวณส่วนกลางของโรงเรือน ในสภาวะเช่นนี้ ควรเพิ่มช่องเปิดอากาศเข้า (ภาพที่ 4)                               
ภาพที่ ๓ ความดันอากาศลบต่ำเกินไป 












ภาพที่ ๔ ความดันอากาศลบสูงเกินไป












                หากการปรับความเร็วลมไม่พอดีกับการเปิดช่องอากาศเข้า จะเกิดจุดอับอากาศภายในโรงเรือนที่มีการเคลื่อนที่ของอากาศน้อย หรือไม่มีเลย ในสภาวะเช่นนี้ก็จะเกิดพื้นที่ที่ไก่จะพยายามหลีกหนี หากต้องการแก้ไข จะต้องมีการปรับช่องอากาศเข้าใหม่
ความหนาแน่นในการเลี้ยงไก่
                ไม่ว่าอากาศเย็นเกินไป หรือจุดอับอากาศล้วนเป็นสาเหตุสำคัญให้ไก่หลบหลีกออกจากพื้นที่ดังกล่าว ทำให้ความหนาแน่นในการเลี้ยงสูงกว่าบริเวณอื่นๆ พื้นที่การกินอาหาร และน้ำก็จะน้อยลง คิดง่ายๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ไก่ในฝูงสัดส่วน ๑ ใน ๓ ควรกินอาหาร อีก ๑ ใน ๓ ควรกินน้ำ และอีก ๑ ใน ๓ ควรพักผ่อน พฤติกรรมเหล่านี้จะถูกขัดขวางหากอุณหภูมิในโรงเรือนไม่ถูกต้อง
* หากอุณหภูมิสูงเกินไป จำนวนไก่ที่นั่งพัก หรือจับกลุ่มกันอยู่ใกล้กับผนังโรงเรือนที่อุณหภูมิเย็นกว่า จำนวนไก่ที่กำลังกินน้ำจะเพิ่มขึ้น
* หากอุณหภูมิต่ำเกินไป ไก่อาจสุมรวมกัน และจำนวนไก่ที่กำลังกินอาหาร และน้ำลดลง
ใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมด
                หลังจากเข้าสู่ภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่ และสังเกตพฤติกรรมของฝูงไก่แล้ว เดินช้าๆไปตามความยาวของโรงเรือนจนทั่วโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดเพื่อสังเกตความผิดปรกติของพฤติกรรมไก่ และสิ่งแวดล้อม การเดินให้ทั่วทั้งโรงเรือนเป็นสิ่งจำเป็นที่จะมั่นใจได้ว่า มีความผิดปรกติเกิดขึ้นน้อยที่สุดในสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมของไก่ทั่วทั้งโรงเรือน ควรนั่งลงในระดับของตัวไก่ เพื่อตรวจสอบว่า สภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนมีกลิ่นอับชื้นหรือไม่ ระดับแอมโมเนียเริ่มสูงขึ้นหรือยัง ไก่มีอาการหายใจหอบแรงหรือไม่ หากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายสิ่งดังกล่าวเกิดขึ้น บ่งชี้ว่า ควรปรับอัตราการระบายอากาศต่ำสุดให้เพิ่มขึ้นอีก หรือมีปัญหาเรื่องการกระจายตัวของอากาศภายในโรงเรือน เช่น อาจจำเป็นต้องเปิดช่องอากาศเข้าเพิ่มขึ้นอีกสักหน่อย
                ประเมินอุณหภูมิของโรงเรือน มีพื้นที่ที่ลมโกรกเกินไปจนไก่หลบหลีกพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่ ไก่มีการหนีออกจากพื้นที่ดังกล่าวอย่างไร เสียงหายใจ หรือเสียงร้อง ลักษณะพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้ไก่มีชีวิตอย่างมีความสุขภายในโรงเรือน
ควรเดินตรวจบ่อยแค่ไหน?
               พึงระลึกว่า ไม่มีโรงเรือนใดที่เหมือนกันทั้งหมด แต่ละโรงเรือนจำเป็นต้องมีพนักงานเลี้ยงไก่เฉพาะสำหรับระบบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ โดยยึดพฤติกรรมของไก่เป็นสำคัญ การเดินตรวจไก่บ่อยๆ จะช่วยให้พนักงานเลี้ยงไก่เรียนรู้พฤติกรรมปรกติ และหากมีสิ่งใดเบี่ยงเบนไปจากปรกติก็จะสามารถรับทราบได้ง่ายและรวดเร็ว  และการกำหนดตัววัดด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม ก็จะสามารถปรับให้เหมาะสมได้ทั้งความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ และประสิทธิภาพการผลิต
แหล่งที่มา:            John Powley (5/8/14)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...