การเปลี่ยนสีของแสงไฟจากสีฟ้าเป็นสีแดงระหว่างวงจรการวางไข่ สามารถส่งผลต่อภูมิคุ้มกันได้จากผลการวิจัยสหรัฐฯ
การศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปีเกี่ยวกับผลของการเปลี่ยนแสงไฟสีฟ้าระหว่างระยะไก่สาวและสีแดงในระยะที่วางไข่ในแม่ไก่ไข่
แม่ไก่ระยะไข่จำเป็นต้องใช้แสงสำหรับการเจริญเติบโต และเริ่มต้นวางไข่
อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์สัตว์ปีก
และการซื้อหาหลอดไฟแอลอีดีง่ายมากขึ้น ช่วยให้นักวิจัยพบว่า
แสงไฟแต่ละชนิดให้ผลไม่เหมือนกันเลย
ในอดีต นักวิจัยพบว่า แม่ไก่ไข่ภายใต้แสงสีแดง จะเริ่มต้นวางไข่ได้เร็ว และยังให้ผลผลิตไข่ที่สูงกว่าแม่ไก่ที่เลี้ยงภายใต้แสงสีขาว หรือเขียว และผลการศึกษษจำนวนมากพบความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นแสงสั้น เช่น แสงสีฟ้า ช่วยให้ไก่เจริญเติบโตได้ดี และลดพฤติกรรมในแม่ไก่
ความสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกัน
ผลการวิจัยล่าสุด พบว่า สัตว์ปีกที่เลี้ยงภายใต้แสงสีแดงจะมีอัตราส่วนของม้ามต่อน้ำหนักตัวที่ตำกว่ากลุ่มควบคุม
บ่งชี้ว่า ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอกว่า
การศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยเลี้ยงแม่ไก่พันธุ์ไฮไลน์ ดับบลิว ๓๖ จำนวน ๑,๐๐๐ ตัวเลี้ยงในระบบโรงเรือนที่ไม่ขังกรง แบ่งเป็น ๒ ห้อง แม่ไก่ที่เลี้ยงภายใต้แสงสีฟ้าในช่วงอายุ ๑ ถึง ๑๘ สัปดาห์ แล้วเปลี่ยนเป็นแสงสีแดงในช่วงอายุ ๑๙ ถึง ๓๑ สัปดาห์ พบว่า กลุ่มควบคุมที่เลี้ยงในอีกห้องหนึ่งภายใต้หลอดไฟแอลอีดีปรกติตลอดการศึกษา
ขนาดฟองไข่และองค์ประกอบ
การเปลี่ยนจากแสงสีฟ้าเป้นสีแดง ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของขนาดฟองไข่และองค์ประกอบ นักวิจัย พบว่า แม่ไก่ที่เลี้ยงในแสงสีฟ้ามีน้ำหนักตัวที่สูงกว่าที่ช่วงไก่สาว เมื่อเปลี่ยนเป็นสีแดง แม่ไก่สามารถผลิตไข่ที่มีสัดส่วนของไข่แดงที่สูงขึ้น และไข่ขาวที่ต่ำลงเปรียบเทียบกับแม่ไก่ที่ได้รับแสงจากหลอดแอลอีดีปรกติ
จำนวนไข่ที่ผลิตได้
อย่างไรก็ตาม จำนวนไข่ที่ผลิตได้จริง และอีกหลายปัจจัยก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามสีของแสง นักวิจัยเชื่อว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างการให้แสงสว่างกับการผลิตไข่ของแม่ไก่ น้ำหนักสมอง การเคลื่อนที่ และความเข้มข้นของฮอร์โมน
เอกสารอ้างอิง
Mcdougal
T. 2022. The effect of light colour and changes on egg
production. [Internet]. [Cited 2022 Aug 19].
Available from: https://www.poultryworld.net/poultry/layers/the-effect-of-light-colour-and-changes-on-egg-production/
ภาพที่
๑
การเปลี่ยนสีของแสงไฟจากสีฟ้าเป็นสีแดงระหว่างวงจรการวางไข่
สามารถส่งผลต่อภูมิคุ้มกันได้ (แหล่งภาพ Mcdougal, 2022)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น