ผู้เลี้ยงสัตว์ปีกบราซิลกำลังนิยมเลี้ยงพ่อไก่ยักษ์ร่างสูง ๑.๒ เมตร สร้างกำไรเป็นกอบเป็นกำ
เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว
รูเบนซ์ บราส เริ่มต้นเลี้ยงสัตว์ปีก ยังจินตนาการไม่ออกเลยว่า
การตัดสินใจเปิดบริษัท ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกพญายักษ์ ครั้งนี้จะใหญ่ได้ทั้งผลตอบแทน
และขนาดของไก่ที่เลี้ยง ผู้ผลิตพันธุ์ไก่สามารถจำหน่ายได้ราคาสูงถึง ๑.๕ แสนบาท
มูลค่าเป็นพันเท่าของต้นทุนการขายไก่ตามปรกติ
พันธุ์ยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก
พันธุ์ไจแอนท์ อินเดียน
พัฒนาขึ้นจากไก่พื้นเมืองในบราซิล เป็นหนึ่งในพันธุ์ไก่ที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลก
โดยเฉพาะ ความสูง โดยการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างพันธุ์ไก่เลี้ยงปล่อยอิสระ
กับพันธุ์ไก่ชน สามารถให้ผลผลิตเนื้อและไข่ที่ดีเยี่ยม
สายพันธุ์นี้มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก
สามารถเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงาม และสำหรับการผสมข้ามกับสายพันธุ์อื่นๆ
เพื่อให้สายพันธุ์ดีขึ้น ตัวผู้สูงได้ถึง ๑.๒ เมตร และตัวเมีย ๑ เมตร
สายพันธุ์ไก่ยักษ์อินเดียนกำลังรอให้มีการรับรองเป็นสายพันธุ์ใหม่อย่างเป็นทางการ
กำลังเป็นที่สนใจของผู้ผลิตสัตว์ปีกบราซิล ในระยะแรกเป็นเพียงงานอดิเรก
ต่อมาสายพันธุ์อื่นๆก็หันมาสนใจ และวันนี้กลายเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรได้
นิชมาร์เก็ต
ไก่ยักษ์อินเดียนนิยมเลี้ยงเป็นงานอดิเรก
และสามารถต่อยอดเป็นอาชีพสร้างรายได้จากการจำหน่ายทั่วประเทศบราซิล ราคาไข่ตอนนี้ราคาสองพันกว่าบาท
ถ้าเลี้ยงต่อเป็นไก่อายุสัก ๖ เดือนก็จะขายได้ราคาสูงขึ้นราวสองพันเจ็ดร้อยบาท ขณะนี้
ชาวบราซิลก็รอการรับรองให้เป็นสายพันธุ์ใหม่ก็จะยิ่งกระตุ้นผู้เลี้ยงชาวบราซิลให้หันมาเลี้ยงเพิ่มขึ้นอีก
บริษัท อะวิคัลจูรา ไจแกนเต้ ยังคงเป็นผู้เล่นในตลาดนิชมาร์เก็ตในบราซิล แต่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ไข้หวัดนก ทำให้การเคลื่อนย้ายไก่มีชีวิตยากลำบากในบราซิล จึงหันมาส่งเป็นไข่เชื้อไปยังผู้ผลิตใกล้เคียง ฟาร์มของบริษัทมีไก่ราว ๓๐๐ ตัว รวมเพศผู้และเมีย ซึ่งยังไม่เพียงพอที่จะไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อไก่
เอกสารอ้างอิง
Azevedo D. 2023. Brazilian farmer makes big gains
from giant roosters. [Internet]. [Cited 2023 Nov 8]. Available from: https://www.poultryworld.net/poultry/genetics/brazilian-farmer-makes-big-gains-from-giant-roosters/
ภาพที่
๑
ไก่ยักษ์อินเดียนตัวผู้สูงถึง ๑.๒ เมตร และสามารถขายได้ราวหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
(แหล่งภาพ Avicultura
Gigante)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น