บีเทอีนสามารถช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ได้ จากงานทดลองที่ศูนย์วิจัยสัตว์ปีกของเทราว์ นิวทริชัน ในสเปน แสดงให้เห็นว่า เซลโค ทีเอ็นไอบีเทนอีน ๙๖ ในอาหารสัตว์ปีกช่วยลดการใช้เมธัยโอนีน และซีสเทอีนลงได้ร้อยละ ๑๔ โดยการผลิตไก่เนื้อเป็นไปตามปรกติ
กลยุทธ์สูตรอาหารแม่นยำสำหรับไก่เนื้อต่อผลผลิต
และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สารเติมอาหารสัตว์ชนิดบีเทอีนเป็นตัวอย่างที่ดีที่ช่วยสนับสนุนไก่เนื้อภายใต้สภาวะเครียด
และลดต้นทุนการผลิตของฟาร์มได้ การใช้เครื่องมือทางโภชนาการสัตว์เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบของสภาวะอากาศร้อน
บีเทอีนเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ส่งผลเชิงบวกต่อกระบวนการเมธิเลชัน
และช่วยทดแทนตัวให้กลุ่มเมธิลที่มีต้นทุนสูง เช่น โคลีน คลอไรด์ ได้ ขณะที่
ต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นกดดันผู้ผลิตสัตว์ปีกอย่างมาก การเพิ่มกลยุทธ์บางอย่าง
เพื่อจัดการปัญหาการผลิตไก่เนื้ออาจส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น
แต่ก็ยังมีโอกาสที่ดีที่จะใช้สารเติมอาหารสัตว์บางชนิด ช่วยจัดการต้นทุนการผลิต
และยังช่วยให้การเลี้ยงไก่เนื้อภายใต้สภาวะความเครียดได้ดีขึ้น
เป็นการเพิ่มเติมคุณค่าของอาหารสัตว์มากขึ้นไปอีก สารเติมอาหารสัตว์บางชนิด
สามารถทำหน้าที่ร่วมกับสารอาหารบางชนิดจนส่งผลให้สัตว์ได้รับสารอาหารเกินความจำเป็นต่อการทำหน้าที่หลักของมัน
การทำความเข้าใจสูตรอาหารสัตว์ที่ดีขึ้นอาจจะทำให้มองเห็นโอกาสที่จะลดการให้สารอาหารบางชนิดที่มีราคาแพงในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นของร่างกายสัตว์
โดยสัตว์ยังคงได้รับสารอาหารตามความต้องการ และลดต้นทุนอาหารสัตว์ได้อีกด้วย กลยุทธ์บางอย่างอาจช่วยให้การออกแบบสูตรอาหารสัตว์
สามารถแทนที่สารเติมอาหารสัตว์ที่ราคาแพง เช่น โคลีนคลอไรด์ และเมธัยโอนีนได้
เป็นที่ทราบกันดีว่า
บีเทอีนสามารถใช้ทดแทนโคลีนคลอไรด์ได้ในสูตรอาหารสัตว์ปีกส่วนใหญ่
เมื่อใช้ค่าแมทริกซ์ด้วย
บทบาทของเมธัยโอนีน
หนึ่งในกรดอะมิโนที่มีความจำเป็นและสำคัญที่สุดใช้ในการสังเคราะห์โปรตีน
ในรูปผลึกจะเป็น ดีแอล-เมธัยโอนีน นอกจากนั้น เมธัยโอนีนยังให้ซีสเทอีน
และหมู่เมธิล ที่มีความสำคัญต่อการลดความเครียดจากสภาพอากาศร้อน
บีเทอีนในอาหารสัตว์ก็สามารถให้หมู่เมธิลได้ ดังนั้น
จึงเป็นสิ่งสนับสนุนที่จะช่วยทดแทนเมธัยโอนีนที่มีราคาแพงได้
ค่าเมทริกซ์ในสัตว์
ความรู้ทางทฤษฏีเกี่ยวกับการแทนที่เมธัยโอนีนอาจจะประเมินไว้สูงเกินไปเปรียบเทียบกับผลการใช้ในตัวสัตว์จริง
การทดลองประเมินค่าเมทริกซ์ในตัวสัตว์ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ เซลโก ทีเอ็นไอบีเทอีน ๙๖
สามารถใช้ได้โดยไม่มีผลกระทบต่อลูกไก่ การทดลองที่ศูนย์วิจัยสัตว์ปีกของเทราว์
นิวทริชัน พบว่า บีเทอีนสามารถใช้แทนเมธัยโอนีนได้ร้อยละ ๑๔
โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิต ไม่แตกต่างจากสูตรอาหารสัตว์ที่ใส่เมธัยโอนีนไปตามปรกติ
การทดลองนี้เลี้ยงไก่เป็นเวลา ๓๕ วัน ภายใต้สภาวะอุณหภูมิปรกติ ใช้สูตรอาหารสัตว์ที่ประกอบด้วย
ข้าวโพด ข้าวสาลี และถั่วเหลือง เติมโคลีนคลอไรด์ ๓๐๐ พีพีเอ็ม
เอกสารอ้างอิง
van
Beers S. 2023. Replace 14% of
broilers’ dietary methionine with crystallised betaine. [Internet].
[Cited 2023 Nov 10]. Available
from: https://www.poultryworld.net/health-nutrition/nutrition/replace-14-of-broilers-dietary-methionine-with-crystallised-betaine/
ภาพที่
๑
การศึกษาค่าเมทริกซ์ของวัตถุดิบในสูตรอาหารสัตว์ปีก สามารถช่วยเปิดประตูโอกาสของผู้ผลิตสัตว์ปีกลดการให้วัตถุดิบที่มีราคาแพง
โดยที่สัตว์ยังได้รับสารอาหารครบถ้วน และลดต้นทุนอาหารสัตว์ลง (แหล่งภาพ Trouw Nutrition)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น