วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

USDA ค้นคว้าวัคซีนใหม่

วัคซีนสำหรับป้องกันโรคในไก่ต่อโรคติดเชื้อสองชนิดพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์จากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐฯ (USDA)
               นักจุลชีววิทยาชาวสหรัฐฯ Qingzhoug Yu และคณะที่ห้องปฏิบัติการวิจัยด้านสัตว์ปีกกแถบตะวันออกเฉียงใต้ สังกัดหน่วยงานบริการวิจัยด้านการเกษตร ในเมืองเอเธนส์ รัฐจอร์เจีย ได้พัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสำหรับการป้องกันโรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อ และนิวคาสเซิล สำหรับโรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อ และนิวคาสเซิลเป็นโรคติดเชื้อที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของสัตว์ปีก โดยเป็นสาเหตุทำให้สัตว์ปีกทั้งที่เลี้ยงไว้ในบ้าน และเชิงพาณิชย์ รวมถึง สัตว์ปีกป่าป่วย และเสียชีวิตทั่วโลก
เทคโนโลยี REVERSE GENETIC
               โดยการใช้เทคโนโลยี Reverse genetic นักวิจัยสามารถสร้างวัคซีนใหม่โดยการใส่ยีนจากเชื้อไวรัสกล่องเสียงอักเสบติดต่อลงในเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลสายพันธุ์ลาโซตาที่มีการใช้มาเป็นเวลานานมากกว่า 50 ปี เพื่อป้องกันโรคนิวคาสเซิล การทดลองในไก่อายุ 1 วัน จำนวน 100 ตัว และไก่เนื้อ อายุ 3 วัน จำนวน 120 ตัว พบว่า ไก่ทดลองแสดงอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่แสดงอาการเลย และอัตราการเจริญเติบโตไม่ได้ลดลง วัคซีนมีความคงทน และปลอดภัยในไก่ทุกอายุ วัคซีนชนิดนี้มีความปลอดภัยกว่าวัคซีนกล่องเสียงอักเสบติดต่อชนิดอ่อนแรงที่มีการใช้ในปัจจุบัน โดยมีความปลอดภัย และประสิทธิภาพดีทั้งที่ให้โดยการสเปรย์ หรือละลายน้ำในฟาร์มไก่โดยมีต้นทุนที่ต่ำ

แหล่งที่มา:          World Poultry (25/4/15)

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

หวัดนกรัสเซียกระทบส่งออก

การระบาดโรคไข้หวัดนกในเขต Astrakhan Oblast ของรัสเซีย ทำให้ปศุสัตว์เบลารุสได้สั่งห้ามนำเข้าสัตว์ปีกจากบริเวณดังกล่าวของประเทศ ก่อนหน้านี้ คาซักสถานก็ได้ประกาศห้ามนำเข้ามาแล้ว
               การทดสอบเบื้องต้น พบว่า นกป่าหลายสิบตัวที่ตายใกล้กับฟาร์มสัตว์ปีกในรัสเซียติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สับไทป์ H5N1 ที่เป็นอันตรายสู่มนุษย์ได้ ส่งผลให้การบริโภคเนื้อสัตว์ปีกในเขต Astrakhan Oblast ของรัสเซีย
               ในเวลาเดียวกัน กระทรวงเกษตรของเมือง Astrakhan Oblast มีความวิตกกังวลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลคาซักสถาน และเบลารุสต่อการสั่งห้ามนำเข้าสัตว์ปีก โดยอ้างว่า การกระทำดังกล่าวไม่มีเหตุผล และส่งผลกระทบทางลบต่อภาพพจน์ของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในรัสเซียโดยภาพรวม นั่นคือ ความเสียหายจะไม่จำกัดเพียงเมือง Astrakhan Oblast เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อผู้ผลิตสัตว์ปีกในรัสเซียทั้งหมด ขณะที่ ในคาซักสถานก็เกิดการระบาดของไข้หวัดนกเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ขณะนี้ ผู้ผลิตสัตว์ปีกที่เกิดโรคระบาดได้ลดต้นทุนการผลิตของตนเองลงแล้ว เพื่อมิให้เกิดความเสียหายยิ่งไปกว่านี้

 แหล่งที่มา:          VLADISLAV VOROTNIKOV (1/4/15)

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แบนไก่พันธุ์จากสหรัฐฯ และอังกฤษกระทบตลาดเนื้อไก่ทั่วโลก

ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ คนไทยได้กินไก่ และไข่แพงแน่ เหตุหวัดนกในสหรัฐฯ และอังกฤษ แล้วแบนนำเข้าไก่พันธุ์ การแพร่กระจายของโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรงสูงสร้างความเสียในฟาร์มไก่ไข่ และไก่งวงมากกว่า 20 ล้านตัวในสหรัฐฯ และหลายประเทศ โดยเฉพาะจีน รวมถึง ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สั่งห้ามนำเข้าไก่พันธุ์จากสหรัฐฯ ซึ่งถือว่าไม่สอดคล้องกับตามแนวทาง OIE โดยตัดสินใจแบนไก่พันธุ์จากทั้งประเทศที่มีการระบาด ขณะที่ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป และบราซิลยึดตามหลักการควบคุมโรคเป็นพื้นที่เรียกว่า “Regionalization” และนำเข้าสัตว์ปีกพันธุ์จากสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรที่เป็นแหล่งผลิตสัดส่วน 92-95 เปอร์เซ็นต์ของไก่พันธุ์เนื้อในโลกตามปรกติ   
ปัจจุบัน การสั่งห้ามการส่งไก่พันธุ์จากสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และคานาดา ยังไม่ได้ส่งผลต่อปริมาณการผลิตไข่ และเนื้อสัตว์ปีกนอกพื้นที่อเมริกาเหนือ แต่ผู้ผลิตไก่พันธุ์เตือนว่า การสั่งห้ามการส่งออกไก่พันธุ์จะส่งผลให้ตู้ฟัก และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกลดลงอย่างมากจนส่งผลต่อการขาดแคลนเนื้อ และไข่ในหลายประเทศที่มิได้ปฏิบัติตามแนวทางของ OIE และตัดสินใจสั่งห้ามนำเข้าสัตว์ปีกพันธุ์จากทั้งประเทศที่มีการระยาด ขณะนี้ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป และบราซิลยึดตามหลักการควบคุมโรคเป็นพื้นที่เรียกว่า “Regionalization” และยังคงนำเข้าสัตว์ปีกพันธุ์จากสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรที่เป็นแหล่งผลิตสัดส่วน92-95 เปอร์เซ็นต์ของไก่พันธุ์เนื้อในโลก ประเทศจีน และประเทศส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สั่งห้ามนำเข้าไก่พันธุ์จากสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557 เป็นต้นมา ผลกระทบดังกล่าวคล้ายคลึงกันทั้งในอเมริกาเหนือ และสหราชอาณาจักร แต่ไก่พันธุ์ไข่มีน้อยในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร บริษัทรายใหญ่มักตั้งอยู่ในประเทศอื่นๆในกลุ่มสหราชอาณาจักร
               ผลกระทบแรกของการแบนการนำเข้าสัตว์ปีกจากสหรัฐฯคาดว่า ชิ้นส่วนขา และเท้าไก่จากสหรัฐฯจะหายไปจากตลาดเอเชีย แต่ผลกระทบจะชัดเจนอย่างมาก เมื่อไก่ปู่ย่าพันธุ์ที่ไม่มีการนำเข้าในวันนี้ ไม่สามารถผลิตไก่พันธุ์ได้อีกต่อไปจากนั้นก็จะไม่มีเนื้อไก่ออกสู่ตลาดอีกต่อไป ฟาร์มไก่ปู่ย่าพันธุ์ และไก่พันธุ์ ยังคงกระจายอยู่ทั่วโลก ดังนั้นในตอนนี้จะยังช่องเวลาก่อนที่ผลกระทบจากการแบนการนำเข้าจะส่งผลไปถึงโรงงานแปรรูปการผลิต การสั่งแบนการนำเข้าได้ส่งผลกระทบต่อฟาร์มไก่พันธุ์ในสหรัฐฯตั้งแต่ต้นปี 2558 เป็นต้นมา ยังไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคจนกว่าจะถึงครึ่งปีหลังของปี 2559
                 บริษัทบางแห่งในประเทศที่มีนโยบายแบนการนำเข้าไก่พันธุ์จะต้องมีการผลัดขนที่ฟาร์มไก่พันธุ์ และไก่ปู่ย่าพันธุ์ แต่ก็จะเกิดปัญหาการผสมติดขึ้นใหม่ การผลัดขนอาจใช้ได้ในดีสำหรับแม่ไก่ แต่ไม่ได้ผลสำหรับไก่ตัวผู้ บริษัทผู้ผลิตไก่ไข่สามารถใช้วิธีการผลัดขนได้เพื่อรักษาตลาดไข่ หากไม่สามารถจัดหาลูกไก่ทดแทนได้ แต่ผลผลิตไข่รวมจะลดลง

               สภาสัตว์ปีกนานาชาติเรียกร้องให้ OIE ส่งเสริมประเทศสมาชิกให้ปฏิบัติตามแนวทางของ OIE ว่าด้วย การจำกัดการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีก และสัตว์ปีกพันธุ์ให้มีผลเฉพาะบริเวณพื้นที่เกิดโรคเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งประเทศ เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายต่อการค้าขาย และช่วยลดการขาดแคลนเนื้อสัตว์ปีก และไข่ในอนาคต สำหรับ OIE ได้แนะนำแนวทางให้คู่ค้าจำกัดการค้าขายโดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์สำหรับการตัดสินใจโดยจำกัดการค้าเป็นพื้นที่ หรือท้องถิ่นที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรค ไม่ใช่ทั้งประเทศ 

ลดโปรตีนให้ผลการเลี้ยงไก่ดีขึ้น

  แม้ว่าจะลดโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก ผลการเลี้ยงก็ยังดีขึ้นได้ และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ระดับโปรตีนที่สูงไม่จำเป็นแล้วในอาหารสัตว...